110 likes | 1.3k Views
ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทาง DNA. มุมมองทางสังคมและจริยธรรม. ผู้จัดทำ. 1.นายโชคอมร แก้วมโนโชติ ชั้นม.6/6 เลขที่3ก. 2.นายณัฐพล ติรธรรมเจริญ ชั้นม.6/6 เลขที่4ก. 3.นายภูผา ฉลานุวัฒน์ ชั้นม.6/6 เลขที่5ข. 4.นายพีรพัฒน์ เพชรแปดริ้ว ชั้นม.6/6 เลขที่7ข. 5.นายชลวัฒน์ แว่นประโคน ชั้นม.6/6 เลขที่9ข.
E N D
ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทางDNAความปลอดภัยของเทคโนโลยีทางDNA มุมมองทางสังคมและจริยธรรม
ผู้จัดทำ 1.นายโชคอมร แก้วมโนโชติ ชั้นม.6/6 เลขที่3ก. 2.นายณัฐพล ติรธรรมเจริญ ชั้นม.6/6 เลขที่4ก. 3.นายภูผา ฉลานุวัฒน์ ชั้นม.6/6 เลขที่5ข. 4.นายพีรพัฒน์ เพชรแปดริ้ว ชั้นม.6/6 เลขที่7ข. 5.นายชลวัฒน์ แว่นประโคน ชั้นม.6/6 เลขที่9ข.
เนื่องด้วยเทคโนโลยีของการสร้าง DNA สายผสม และการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีความกว้างขวางพร้อม ๆ กับสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายบนโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้สังคมเริ่มตระหนักและหวั่นแกรงผลเสียที่อาจเนื่องมาจากเทคโนโลยีนี้ เพราะจากบทเรียนที่มนุษย์ได้รับจากเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น มักมีผลกระทบอื่น ๆ ตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนที่ได้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม มาจนถึงการปฏิวัติทางการเกษตรกรรม ที่ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพราะการปฏิวัติดังกล่าวส่งผลถึงการเปลี่ยแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างมากมายในเวลาต่อมา
ความหวั่นแกรงต่อความผิดพลาดของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดขึ้น เริ่มจากความหวาดกลัวว่าจะเป็นแนทางการเกิดเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ดื้อยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยีนต้านทานยาปฏิชีวนะถูกใช้เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรมสำหรับเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมทั้งในจุลินทรีย์ พืชและสัตว์ ดังนั้นในการทดลองวิจัยในห้องปฏิบัติการจึงต้องมีการควบคุม และมีระบบการกำจัดสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด มิให้เล็ดลอดออกไปจากห้องปฏิบัติการวิจัยดังกล่าว ซึ่งเป็นจรรยาบรรณของนักวิจัยที่พึงปฏิบัติและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค(BIOTEC)ได้ออกระเบียบของปฏิบัติงานวิจัยทางด้านนี้
ในทางเกษตร ประชาชนในหลายประเทศต่อต้านการใช้พืช GMOs และได้สร้างข้อตกลงเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพว่าอาหารที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ต้องมีการติดฉลากระบุว่าเป็นพืช GMOs เพื่อสิทธิของผู้บริโภค ทั้งนี้ด้วยความกังวลว่าพืชพันธุ์ที่มียีนของสิ่งมีชีวิตอื่นจะเป็นภัยต่อสุขภาพ และอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อาจถ่ายยีนต้านทานโรค ยีนต้านทานแมลง หนือยาฆ่าแมลงไปยังวัชพืชที่ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดวัชพืชที่แข็งแรงจนเป็นภัยต่อการทำการเกษตรโดยรวม เพราะไม่สามารถหาวิธีกำจัดได้ เป็นต้น ทั้งนี้จีงเป็นหน้าที่ของนักวิจัยที่จะศึกษายืนยังว่าผลกระทบที่สังคมกังวลนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด และชี้แจงให้สังคมรับทราบในผลการวิจัยที่ถูกต้องเชื่อถือได้ เพื่อห่แนวทางร่วมกันในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
นอกจากความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพที่เนื่องจาก GMOs แล้ว ข้อตระหนักทางสังคมอีกด้านหนึ่งที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีทาง DNAคือ จริยธรรมในการใช้ข้อมูลของจีโนม โดยเฉพาะจีโนมของมนุษย์ ว่เมื่อค้นคว้าจีโนมมนุษย์สำเร็จ ใครจะสามารถใช้ข้อมูลเหล่นนั้นได้ และใช้เพื่อการใดบ้าง บริษัทประกันภัย ประกันชีวิตจะตรวจยีนของผู้ยื่นขอกรมธรรม์ก่อน การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานจะตรวจยีนต่าง ๆ ก่อนได้หรือไม่ ว่ามีการเสี่ยงในด้านสุขภาพ กาย และจิตมากน้อยเพียงใด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักเป็นคำถามที่จะตามมาในสังคม เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีทุกคนควรมีสิทธฺในการรัยทราบความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการวางแผนการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีต่าง ๆ ร่วมกันในอนาคต
สำหรับแนวทางในการแก้ไขสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ดังนี้1. การวิจัยในห้องปฏิบัติการต้องมีการควบคุมและมีระบบการกำจัดสิ่งมีชีวิตดัดแแปลงพันธุกรรมทุกชนิด โดยไม่ให้ออกจากห้องปฏิบัติการ2. ผู้ทำการวิจัยต้องมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติการ3. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติควรออกระเบียบในการปฏิบัติการวิจัยด้านนี้4. ติดฉลากอาหารว่าเป็นผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอตระหนักถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่นำมาใช้สร้าง DNA สายผสมและการสร้างสิ่งมีชีวิตจีเอ็มโอ เช่นจุลินทรีย์ พืชและสัตว์ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่อย่างมากมายบนโลก และเกิดขึ้นเร็วกว่าวิธีธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้มีประชาชนคนไทยจำนวนมากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้จีเอ็มโอ โดยกลุ่มรณรงค์คัดค้านการใช้เทคโนโลยีด้านนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มองค์กรเอกชนและสื่อมวลชนที่พยายามเตือนภัยให้ประชาชนมีทัศนคติต่อจีเอ็มโอในด้านลบ แม้ว่าคำชี้แจงบางส่วนอาจมีข้อมูลความจริงบ้างแต่หลายครั้งที่การให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง หรือตีความเกินความน่าจะเป็น ขณะที่สินค้าจีเอ็มโอที่มีอยู่ในตลาดของสหรัฐอเมริกานั้นส่วนหนึ่งอาจส่งเข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ ถั่วเหลืองข้าวโพดที่เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้รับการประเมินความเสี่ยงแล้วว่าปลอดภัย ในขณะที่มาตรการควบคุมดูแลของประเทศไทยได้เริ่มตั้งแต่การควบคุมดูแลกระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอก่อนนำมาใช้จริง จึงมีการจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนหากนำมาใช้ในทางที่ถูกต้องและมีการควบคุมที่ดี เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ วันนี้ถ้าไม่มีจีเอ็มโอคนก็ไม่อดตาย แต่ในอนาคตอาจจะเกิดความอดอยาก ซึ่งเทคโนโลยีด้านนี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ถ้าสังคมมีความเข้าใจเทคโนโลยีด้านนี้ดีพอเรื่องจีโนมของมนุษย์ โดยการทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับโครงการจีโนมมนุษย์เพื่อหาลำดับของนิวคลีโอไทด์ของจีโนมทั้งหมดและทำแผนที่ยีนมนุษย์ ซึ่งประสบผลสำเร็จไปแล้วร้อยละ 99
ข้อมูลเกี่ยวกับจีโนมมนุษย์จะมีผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์อย่างไรข้อมูลทางพันธุกรรม ของมนุษย์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สังคมจะต้องตระหนักเนื่องจากมีผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆด้าน เช่น การตรวจยีนก่อนรับเข้าทำงาน ซึ่งถ้ายีนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต อาจจะไม่ถูกรับเข้าทำงานได้ ข้อดีก็คือการรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับสุขภาพก็อาจรักษาให้หายจากโรคได้ ขณะเดียวกันอาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคได้ อย่างไรก็ตามทุกคนมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจ
อ้างอิง http://www.nkpw.ac.th/pornsak/puntukum/page7.htm http://www.thaigoodview.com/node/33890?page=0%2C0