3.03k likes | 6.64k Views
บทที่ 8. การบำรุงรักษา. การบำรุงรักษา โดยสรุปหมายถึง กิจกรรมหรืองานทั้งหมดที่กระทำต่อเครื่องจักรและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อรักษาสภาพหรือป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย โดยให้อยู่ใน สภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
E N D
บทที่ 8 การบำรุงรักษา
การบำรุงรักษา โดยสรุปหมายถึง กิจกรรมหรืองานทั้งหมดที่กระทำต่อเครื่องจักรและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อรักษาสภาพหรือป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย โดยให้อยู่ใน สภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ความสำคัญของการบำรุงรักษา • การบำรุงรักษาช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของอาคาร เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ • การบำรุงรักษาทำให้การรักษาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้คงอยู่ตลอดไป • การบำรุงรักษาช่วยลดค่าใช้จ่ายในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ 3.1 ค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ (material cost) 3.2 ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องจักร (machine cost) 3.3 ค่าใช้จ่ายด้านกำลังคน (man power cost) 4. การบำรุงรักษาจะช่วยก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่คนงาน
ประเภทของการบำรุงรักษา สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (preventive maintenance) มี 2 ลักษณะ คือ 1.1 การบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา (time – base maintenance) 1.2 การบำรุงรักษาตามสภาพ(condition – base maintenance) - การทำความสะอาด - การหล่อลื่น - การตรวจสอบสภาพ - การทดสอบความถูกต้องในการทำงานและงานการบันทึกเก็บประวัติ รวมทั้งการติดตามแนวโน้มการเสื่อมสภาพ 2. การบำรุงรักษาเมื่อเกิดการชำรุดหรือเสีย (breakdown maintenance) 3. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (corrective maintenance) 4. การป้องกันและการบำรุงรักษา (maintenance prevention)
แนวทางการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรแนวทางการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร การบำรุงรักษาที่ทุกคน มีส่วนร่วม (total productive Maintenance: TPM) สร้างระบบเครื่องจักร ที่น่าเชื่อถือได้ (reliability) การซ่อมบำรุงรักษา เครื่องจักรการผลิต ในโรงงาน (maintenance) การซ่อมบำรุง เชิงแก้ไขปรับปรุง (corrective Maintenance : CM) การป้องกันงาน บำรุงรักษา เครื่องจักร (maintenance Prevention : MP) การบำรุง เชิงป้องกัน (preventive Maintenance: PM) การซ่อมบำรุง รักษาเมื่อเกิด การชำรุด (breakdown Maintenance : BM) ภาพที่ 8.1 แสดงแนวทางการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม www.themegallery.com
เครื่องจักรเสียปกติ เครื่องจักร เครื่องจักรเสีย ในช่วงเริ่มต้น เสื่อมสภาพ ตามการใช้งาน อัตราการเสียของเครื่องจักร อัตราการใช้งานของเครื่องจักร ภาพที่ 8.2 แสดงอัตราการเสียของเครื่องจักรในช่วงเวลาต่าง ๆ
การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (total productive maintenance หรือ TPM) หมายถึง กิจกรรมที่ทำเป็นระบบในกระบวนการป้องกันไม่ให้เกิดการเสียของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ต่าง ๆ ภายในโรงงาน ตั้งแต่กระบวนการออกแบบให้สามารถซ่อมและบำรุงรักษาได้ง่าย เครื่องจักร ขัดข้องหรือเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุด กิจกรรมของการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม มีทั้งหมด 8 กิจกรรม • กิจกรรมที่ 1 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง • กิจกรรมที่ 2 การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ • กิจกรรมที่ 3 การบำรุงรักษาอย่างมีคุณภาพ • กิจกรรมที่ 4 การปรับปรุงเฉพาะด้าน • กิจกรรมที่ 5 ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน • กิจกรรมที่ 6 การปรับปรุงกระบวนการผลิต • กิจกรรมที่ 7 การศึกษาอบรม • กิจกรรมที่ 8 การป้องกันการบำรุงรักษา
TPM ผู้บริหารระดับสูง กำหนดนโยบาย Output P,Q,C,D,S,M Input เครื่องจักรและอุปกรณ์ 20% 5% 75% • ฝ่ายผลิต • Operators • ฝ่ายบำรุงรักษา • ไฟฟ้า • เครื่องกล • Electronics • Instruments • อุตสาหการ • ฝ่ายอื่นๆ • จัดซื้อ • บัญชี • การเงิน • การตลาด • บุคคล
การปฏิบัติการบำรุงรักษาด้วยตนเองการปฏิบัติการบำรุงรักษาด้วยตนเอง 7 ขั้นตอน การทำความสะอาดเบื้องต้น หาสาเหตุและจุดที่ก่อให้เกิดปัญหา กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การตรวจสอบทั่ว ๆ ไป การตรวจสอบด้วยตนเอง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดำเนินงานอย่างจริงจังหรือการจัดการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเอง ประโยชน์ของการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาที่ ทุกคนมีส่วนร่วม ขจัดข้อขัดข้องของระบบการผลิต ลดเวลาในการตั้งเครื่องจักรให้เหลือน้อยลง ป้องกันการหยุดชะงักของระบบการผลิตโดยไม่จำเป็น อัตราความเร็วของการผลิตเพิ่มขึ้น ลดหรือขจัดจำนวนสินค้ามีตำหนิ ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต อายุการใช้งานของเครื่องจักรอุปกรณ์มีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงานทุกคนดีขึ้น การตอบสนองของลูกค้ามีแนวโน้มดีขึ้น
นโยบายการบำรุงรักษา 4 แนวทาง • การซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย • การบำรุงรักษาแบบป้องกัน เหมาะสำหรับระบบการผลิตที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง • การบำรุงรักษาโดยเปลี่ยนทดแทนเครื่องจักร • การใช้งานโดยไม่บำรุงรักษา การบริหารงานบำรุงรักษา แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ • วัฏจักรของการบำรุงรักษา • ระบบการบริหารงานบำรุงรักษา • ระบบงานเอกสารและการกระจายบันทึก
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 1.1 ค่าใช้จ่ายในการดูแล 1.2 ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 1.3 ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนและซ่อมแซมชิ้นส่วนตามกำหนด 2. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรอุปกรณ์ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม คำนวณได้จากค่าแรง ค่าอะไหล่ และวัสดุ ตลอดจนค่าโสหุ้ยในการซ่อมแซม 2.2 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความสูญเสียเนื่องจากเครื่องจักรชำรุดเสียหาย ได้แก่ 2.2.1 ค่าใช้จ่ายในการหยุดเครื่อง (closing – down cost) 2.2.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับเวลาที่สูญเสีย (down – time cost) 2.2.3 ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องใหม่ (start – up cost)
ค่าใช้จ่าย • การบำรุงรักษาทางตรง • ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาทางอ้อม • การสูญเสียคุณภาพ • การสูญเสียด้านพลังงาน • ค่าใช้จ่ายการลงทุน • การสูญเสียจากการผลิต • สภาพแวดล้อมในการทำงาน • การสูญเสียทางการตลาด • การลงทุนเพิ่มขึ้น ส่วนเหนือผิวน้ำ ส่วนใต้ผิวน้ำ ภาพแสดงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเปรียบได้กับภูเขาน้ำแข็ง
โครงสร้างการบริหารงานบำรุงรักษา มักมีการจัดเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้คือ • จัดตามลักษณะงาน • จัดตามสถานที่ • จัดรูปแบบผสม ลักษณะของโครงสร้างการบริหารงานบำรุงรักษาที่ดี • พื้นฐานของการปฏิบัติและระยะเวลาการทำงาน จะต้องบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจของกิจกรรมการบำรุงรักษาที่ตั้งเป้าหมายไว้ • ลักษณะของการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ความยืดหยุ่น และผลของการปฏิบัติงานแสดงออกได้อย่างชัดเจน • การประสานงานเป็นทีมในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าภายในหน่วยเดียวกันหรือระหว่างหน่วยงาน
การวัดประสิทธิภาพการบำรุงรักษา มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการ คือ • เพื่อกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานของฝ่ายซ่อมบำรุง • เพื่อเรียงลำดับความสำคัญในการปรับปรุงเทคนิคการบำรุงรักษาโดยใช้ค่าตัวเลขต่าง ๆ ที่เก็บได้ • เพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจของฝ่ายซ่อมบำรุง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบำรุงรักษา • สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีสิ่งกีดขวาง มีประกายไฟหรือความร้อนสูง มีการถอดฝาครอบเครื่องจักรกล เป็นต้น • สาเหตุที่มักมีสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยในขณะซ่อมบำรุง เช่น ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายซ่อมบำรุง ไม่มีแผนงานด้านความปลอดภัย เป็นต้น • การป้องกันอุบัติเหตุในงานซ่อมบำรุง เช่น ออกนโยบาย คำสั่ง หรือประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานการซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธีและปลอดภัย