1 / 35

การใช้ยาและสารเคมีในการควบคุมโรคสัตว์น้ำ

การใช้ยาและสารเคมีในการควบคุมโรคสัตว์น้ำ. อาจารย์ชนกันต์ จิตมนัส วท.บ. (วาริชศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ M.S. (Fisheries) Auburn University, AL, USA M.S. (Medical Microbiology) University of Georgia, GA, USA. การรักษาโรคสัตว์น้ำ.

mills
Download Presentation

การใช้ยาและสารเคมีในการควบคุมโรคสัตว์น้ำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้ยาและสารเคมีในการควบคุมโรคสัตว์น้ำการใช้ยาและสารเคมีในการควบคุมโรคสัตว์น้ำ อาจารย์ชนกันต์ จิตมนัส วท.บ. (วาริชศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ M.S. (Fisheries) Auburn University, AL, USA M.S. (Medical Microbiology) University of Georgia, GA, USA

  2. การรักษาโรคสัตว์น้ำ • เน้นการทำการแบบกลุ่ม (population basis) ไม่เหมือนในมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยง ที่เน้น individual basis ยกเว้นในปลาพ่อแม่พันธุ์หรือปลาที่มีราคาแพงอาจทำได้ • เน้นการรักษาปลาที่เลี้ยง เพราะปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่คุ้มทั้งในแง่การปฏิบัติและทางเศรษฐกิจ • ยากที่จะกำจัดเชื้อโรคให้หมดไปจากปลาและแหล่งน้ำ • เป็นการลดระดับการติดเชื้อ หยุดหรือระงับการเพิ่มจำนวน เพื่อรอเวลาให้สัตว์น้ำมีการพัฒนาภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อนั้น ๆ

  3. คำถามหลักที่จะต้องถามและตอบก่อนตัดสินใช้ยา (Wellborn 1985) • ทำนายอาการของโรค (prognosis) หากมีการใช้หรือไม่ใช้ยา • ประสิทธิภาพของยาเป็นอย่างไร • คุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ พิจารณาราคายาหรือสารเคมี แรงงานและราคาสัตว์น้ำ มีความเป็นพิษต่อผู้ใช้หรือผู้บริโภคหรือไม่ • ศึกษาความเป็นพิษต่อปลา ดูว่าปลาจะทนต่อการรักษาหรือไม่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • อัตราการสูญเสียหลังจากการให้ยา จะต้องทราบว่า สภาพการเลี้ยง คุณภาพน้ำเป็นอย่างไร สภาพปลา ขนาดปลา คุณสมบัติของยาหรือสารเคมี ลักษณะของโรค

  4. ข้อมูลที่ต้องรู้ก่อนซื้อยาข้อมูลที่ต้องรู้ก่อนซื้อยา • ชื่อของยา ชื่อทางการค้า ต้องมีชื่อทางเคมีและองค์ประกอบยาอย่างครบถ้วน • ปริมาณของตัวยาหรือเปอร์เซ็นต์ของตัวยาในสินค้า • องค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งในแง่ชนิดและปริมาณที่เป็นส่วนผสม • วันผลิตและหมดอายุ • คุณสมบัติของยาในแง่การรักษาและวิธีการใช้อย่างชัดเจน • ชื่อและที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิต

  5. ในการป้องกันการเกิดโรคจะเน้นการใช้สารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อหรือปรับสภาพน้ำ ไม่นิยมใช้ยาปฏิชีวนะเนื่องจากอาจเป็นสาเหตุทำให้เชื้อแบคทีเรียพัฒนาสายพันธุ์ที่ดื้อยาได้ง่าย • การปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะลงสู่แหล่งน้ำจากระบบระบายน้ำทิ้ง • มีการคำนวณการใช้ยาอย่างถูกต้อง • จดบันทึกการใช้ยาและสารเคมีอย่างละเอียด • ปัญหายาตกค้างในเนื้อกุ้ง ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกกุ้งในต้นปี 2545 จาก 98,000 ล้านบาท ลดฮวบลงไปเหลือเพียง 15,000 ล้านบาท (ไทยรัฐ 23/9/45)

  6. ถ้าผู้เลี้ยงไม่ใช้ยาต้องห้าม • ก็ไม่ต้องเสียค่าตรวจ ประหยัดเงินได้ 2,000 ล้านบาท/ปี • ลดการสูญเสียเงินตราให้กับต่างประเทศ

  7. อัตราส่วนของฟาร์มกุ้งทะเลที่ใช้สารเหล่านี้ (Graaslund et al. 2003)

  8. วิธีการในการรักษาโรคปลาวิธีการในการรักษาโรคปลา • การจุ่ม (dip) ใช้สารเคมีความเข้มข้นสูงในเวลาอันสั้น 15-60 วินาที จะต้องมีการระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากอาจจะทำอันตรายปลาได้ ควรจะมีการทดลองใช้กับปลาปริมาณน้อย ๆ ก่อน • ใช้กับปลาจำนวนน้อย ๆ ที่มีการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือปรสิตภายนอก • การจัดการพ่อแม่พันธุ์ปลาและกุ้งทะเล • การฆ่าเชื้อที่ปนเปื้อนอาร์ทีเมีย • การฆ่าเชื้อเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ

  9. การให้น้ำผสมยาไหลผ่านตัวสัตว์น้ำ (Flush) โดยการใส่เคมีในปริมาณหนึ่งลงในแหล่งน้ำไหล โดยไม่มีการหยุดน้ำ อาจมีการให้ยานานถึง 1 ชั่วโมง ใช้กันเยอะในปลาแซลมอนและที่ฟักไข่ มักใช้กับการกำจัดเชื้อราที่จะเกาะไข่ ปรสิตภายนอกและการติดเชื้อแบคทีเรีย มักไม่ค่อยเจอในการเลี้ยง ปลาน้ำอุ่น • การแช่ระยะสั้น (Prolonged) การให้ยาและสารเคมีในเวลาอันสั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำจนกว่าสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด • ควรมีการสังเกตพฤติกรรมของปลาตลอดระยะเวลาให้ยา

  10. Indefinite การให้ยาหรือสารเคมีในปริมาณความเข้มข้นน้อย โดยไม่ต้องสนใจกับระยะเวลา วิธีนี้มักจะปลอดภัยต่อสัตว์น้ำ เนื่องจากใช้ความเข้มข้นต่ำ ส่วนใหญ่ใช้กับบ่อหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ต้องมีการผสมยาหรือสารเคมีให้เป็นเนื้อเดียวกัน • ให้กิน (Feeding หรือ Medicated feed)การรักษาปลาที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบหมุนเวียนโลหิตและปรสิตภายในจำเป็นต้องมีการผสมยาเข้าไปในอาหาร การให้ยาจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักปลาที่ป่วย อาจจะใช้ gelatin หรือ corn oil ช่วยให้ยาเกาะติดแน่น • การฉีด (Injection)มีการใช้ในพ่อแม่พันธุ์ อาจจะฉีดเข้าเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ ข้อเสียคือทำให้ปลาเครียดมากขึ้น มักใช้กับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

  11. สารเคมีและยาปฏิชีวนะ • Food and Drug Administration (FDA) • ควรจะใช้ตัวไหนในการรักษาเพื่อให้ได้ผลดี • ไม่ทำอันตรายต่อปลา • ไม่ตกค้างในเนื้อปลาและมีพิษต่อผู้บริโภคสัตว์น้ำนั้น ๆ • Herwig (1979) 275 ชนิดที่มีขายในท้องตลาด มากกว่า 600 ชื่อ และมีการตรวจสอบว่า หลายชนิดใช้ไม่ได้ผล ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และตกค้างในเนื้อปลาเป็นเวลานาน

  12. Acetic acid • ใช้สำหรับกำจัดปรสิตภายนอก • 500-1,000 ppm นาน 45-60 วินาที ไปจนถึง 30 นาที (dip, flush) • low toxicity to fish, FDA approved but efficacy is questionable • Acriflavin (ยาเหลือง) • ใช้สำหรับล้างไข่ ยับยั้งแบคทีเรียและฆ่าปรสิตภายนอก • 10 ppm สำหรับ 1 ชั่วโมง (prolong) หรือ 2 ppm (indefinite) • low toxicity to fish แต่ราคาค่อนข้างสูง จะใช้สำหรับการเพาะอนุบาลลูกปลา

  13. ปูนขาว ป้องกันเชื้อโรคก้นบ่อ 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นอยู่กับ pH ของดินและน้ำ ฆ่าเชื้อก่อนปล่อยปลา กำจัดหอย ลดความเป็นพิษของก๊าซ H2S • Benzalkonium chloride (BKC) • ใช้ควบคุมปรสิต ลดปริมาณแพลงค์ตอนในบ่อ 0.6 - 1.0 ppm • ทำความสะอาดบ่อเพาะลูกกุ้ง และเครื่องมืออุปกรณ์ • กำจัดโปรโตซัวในเหงือกกุ้ง • ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในบ่อกุ้ง • Betadine • 100 - 200 ppm 10 นาที • ฆ่าเชื้อสำหรับไข่ปลา การติดเชื้อภายนอกจากแบคทีเรีย

  14. สารประกอบคลอรีน • รูปที่เหมาะสมสำหรับบ่อกุ้ง คือ แคลเซียมไฮโปคลอไรด์ Ca(OCl2) และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ NaOCl เป็นผงสีขาวละเอียดละลายน้ำได้ • คลอรีนทำหน้าที่ออกซิไดซ์สารอินทรีย์ ทำลายสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่นไข่ปลา ไข่หอย โปรโตซัว เชื้อรา แบคทีเรีย • สำหรับการเตรียมน้ำในโรงเพาะฟักลูกกุ้ง จะใช้คลอรีนผง Ca(Ocl2) 60 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ตัน • สำหรับการเตรียมน้ำในบ่อเลี้ยงและกำจัดพาหะโรคดวงขาวและหัวเหลือง จะใช้คลอรีน 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นพักน้ำไว้ 7 วันก่อนปล่อยลูกกุ้ง • ทดสอบการตกค้างของคลอรีนในน้ำ • โปแตสเซียมไอโอไดด์ 2-3 เกล็ด ถ้ามีสีน้ำตาลหรือเหลืองอยู่ แสดงว่า ยังมีสารคลอรีนตกค้าง

  15. CuSO4 • ลดสาหร่ายในบ่อเลี้ยง • ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (questionable) และโปรโตซัว (ดี) • กระตุ้นการลอกคราบ • ถ้า total alkality 0-49 ppm จะต้องทำ bioassay ก่อนใช้ • total alkality 50-99 ppm ใช้ 0.5-0.75 ppm • total alkality 100-149 ppm ใช้ 1-2 ppm • total alkality 150-200 ppm ใช้ 2-3 ppm • ถ้า total alkality มากกว่า 200 ppm CuSO4 ตกตะกอนรวดเร็ว อาจจะใช้ไม่ได้ผล

  16. Dylox, Dipterex • สำหรับพยาธิภายนอก ปลิงใส เห็บปลาและหนอนสมอ • 0.5– 1.0 ppm แช่ตลอดไป • Enrofloxacin • ออกฤทธิ์กว้างทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ • สามารถละลายได้ดีในไขมัน ทำให้ยาซึมผ่านผนังเซลล์ได้ดี • ตัวยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ

  17. Erythromycin • ยาปฏิชีวนะที่ได้จากเชื้อรา Streptomyces erythreus • เข้าไปเกาะส่วนไรโบโซม 50 s แล้วป้องกันการสร้างโปรตีน • ใช้สำหรับผสมอาหารและล้างไข่เพื่อควบคุมโรค bacterial kidney disease ที่เกิดจาก Renibacterium salmonicida ในปลา Pacific salmon • ผสมอาหาร 100 mg/kg fish weight / day 21 วัน • ใส่น้ำอัตรา 2 ppm ในระยะที่ไข่ปฏิสนธิ

  18. Formalin ประกอบด้วย 37–40% formaldehyde • ใช้สำหรับปรสิตภายนอก ล้างไข่เพื่อควบคุมเชื้อรา • FDA approved • 25 ppm indefinite ในบ่อ ต้องให้อากาศขณะใช้ • 1000–2000ppm 15 นาที ควบคุมเชื้อราในไข่ • คัดลูกกุ้งอ่อนแอออกก่อนปล่อยกุ้ง ใช้ฟอร์มาลิน 200 ppm 30 นาที • ใช้ในการเตรียมน้ำเพื่อป้องกันโรคตัวแดงดวงขาว อัตรา 25-30 ppm • เก็บไว้ในที่มืดและอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส • Kanamycin • ห้ามใช้สำหรับสัตว์น้ำที่เป็นอาหาร เนื่องจากตกค้างในเนื้อปลาซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค • ละลายน้ำได้ดี ใช้ผสมอาหาร 50 มิลลิกรัมต่อปลาหนัก 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 1 สัปดาห์

  19. Malachite green • ใช้สำหรับกำจัดเชื้อราและปรสิต • ปรสิตภายนอก 0.15 ppm 1 ชั่วโมง หรือ 0.1 ppm indefinite • ไข่ 0.5 ppm 1 ชั่วโมง สำหรับควบคุมเชื้อรา • Ich : 0.1 ppm Malachite green + 25 ppm Formalin , indefinite • ระวังในการใช้ เป็นสารก่อเกิดมะเร็ง • คำนวณให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นพิษค่อนข้างสูง

  20. ด้วยกระทรวงพาณิชย์และการประมง (Ministry of Maritime Affairs & Fisheries : MOMAF) สาธารณรัฐเกาหลีตรวจพบการตกค้างของ Malachite green ในสินค้ากุ้งและปลาน้ำจืดจากการเพาะเลี้ยงส่งออกจากประเทศไทยMOMAFจึงได้กำหนดใช้มาตรการเข้มงวดในการควบคุมคุณภาพสินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง ของประเทศไทยโดยให้มีการจัดทำบัญชีรายชื่อโรงงานที่สามารถส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปยังสาธารณรัฐเกาหลีพร้อมทั้งกำหนดสินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงทุกรุ่น ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่แสดงการปลอดการตกค้างของ Malachite green ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549

  21. Norfloxacin • ทำลายเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ • ตัวยากระจายตัวในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ดี • นิยมใช้ในการป้องกันและรักษาโรคกุ้ง ปลาและตะพาบน้ำ

  22. Oxolinic acid ผสมในอาหาร 3 มิลลิกรัมต่อปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่อวัน ให้กินติดต่อกันนาน 5-15 วัน • สำหรับปลาติดเชื้อแบคทีเรีย • Oxytetracycline (terramycin) • ใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย • ออกฤทธิ์กว้างทั้งแกรมบวกและแกรมลบ • ยับยั้ง tRNA ของแบคทีเรีย ไม่ให้สร้างโปรตีนขึ้นมา • FDA approved โดยกำหนดให้หยุดใช้ 21 วันก่อนจับ (withdrawal period) • ผสมอาหาร 50 mg/kg ปลา เป็นเวลา 10 วัน แต่ส่วนใหญ่มีการใช้ในอัตราที่สูงขึ้น เนื่องจากแบคทีเรียมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดื้อยา • heat sensitive ทำให้ยากแก่การเตรียมยา สำหรับอาหารลอยน้ำจะใช้การฉีดเคลือบด้านนอก

  23. Potassium permanganate (KMnO4) ด่างทับทิม • ใช้สำหรับกำจัดโปรโตซัวภายนอก เชื้อรา แบคทีเรียภายนอก โดยเฉพาะ columnaris • 2–4ppm indefinite ขึ้นอยู่กับปริมาณ organic matter • โพวิโดนไอโอดีน ผลึกผงสีน้ำตาลแดงละลายน้ำได้ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในน้ำและอุปกรณ์เครื่องใช้ ในอัตราส่วน 1-2 ppm

  24. Romet-30 (sulphoamide; sulphadimethoxine + ormetoprim, 5:1) • FDA approved (salmonids with furunculosis and catfish with enteric septicemia) • ยับยั้งการสร้างสารที่จำเป็นต่อการสร้างดีเอ็นเอ • ผสมอาหาร 50 mg/kg feed per day for 5 days • withdrawal time สำหรับปลา trout คือ 6 อาทิตย์ สำหรับปลากดอเมริกัน คือ 3 วัน • heat stable ดังนั้นสามารถใส่ในอาหารลอยน้ำได้ • NaCl • FDA approved • ใช้กำจัดโปรโตซัวภายนอก ปลิงใส ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเมื่อมีการ handling ปลา ลดความเครียด • 0.5 - 1% indefinite หรือ 3% ไม่เกิน 30 นาที

  25. Treflan หรือ Trifluralin ป้องกันการติดเชื้อรา เป็นสารที่มีลักษณะเป็นเกล็ดสีเหลืองอมส้ม ละลายน้ำได้ดี ใช้กำจัดวัชพืชในพืชไร่พืชสวนทั่วไป สำหรับโรงเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ใช้ความเข้มข้น 0.06 – 0.1 ppm

  26. ยาสงวนไว้สำหรับมนุษย์ยาสงวนไว้สำหรับมนุษย์ • Chloramphenicol • แต่เดิมแยกมาจากเชื้อรา ปัจจุบันตัวยาได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมี • ตัวยามีความทนต่อความร้อนสูง ทนต่อกรดและด่าง ละลายน้ำดี • ออกฤทธิ์โดยการขัดขวางการสร้างโปรตีนของแบคทีเรีย โดยการรวมตัวกับส่วน 50S Subunit ของไรโบโซมแบคทีเรียและไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ เปปติทรานส์เฟอเรสทำให้การสร้างสายเปปไทด์ใหม่ในขบวนการสร้างโปรตีนถูกขัดขวาง • อาจมีผลทำให้ผู้บริโภคเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด ขาดภูมิคุ้มกันโรค อันตรายต่อทารก • จากการศึกษาวิจัย พบว่า แบคทีเรียสามารถถ่ายยีนดื้อยาคลอแรมฟินิคอลในระดับสูงขึ้นทุกปี • ใช้สงวนไว้ในการรักษาโรคในคน

  27. ยาต้องห้าม • ไนโตรฟูแรน Nitrofurans รวมไปถึงอนุพันธ์ ได้แก่ ฟูราโซลิโดน ไนโตรฟูราโซน ไนโตรฟูแรนโตอิน ไนเฟอร์ฟิรินอลและไนเฟอร์ไตริเนท • เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง • สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปห้ามใช้ Nitrofurazone และ Furazolidone ในการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารมนุษย์

  28. หลักการใช้ยาและสารเคมีในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (Bell 1992) • การใช้ยาและสารเคมีในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ยังมีน้อยกว่าตัวยาที่ใช้ในสัตว์บก • การพัฒนาของฟาร์มเพาะเลี้ยงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว • การใช้ยาและสารเคมีที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นมากมาย • Oxytetracycline (Terramycin) และ Sulfmerazine (Romet) เป็นยาปฏิชีวนะที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน FDA, USA • MS–222 อนุญาตให้ใช้เป็นยาสลบปลา • Formalin ให้ใช้สำหรับยาฆ่าปรสิตและเชื้อรา

  29. ไวรัสก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล แต่ยังไม่มีสารเคมีตัวใดที่จะช่วยในการแก้ปัญหาโรคกุ้งที่เกิดจากไวรัส • มีการใช้สารเคมีทำความสะอาดบ่อเพื่อลดการแพร่กระจายของไวรัส • อาจใช้คลอรีนทำลายเชื้อเพื่อตัดวงจร • ก่อนใช้ต้องรู้ว่า กุ้งเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ คุ้มค่ากับการใช้ยา • การตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคกุ้งทะเลยังเป็นเรื่องยาก

  30. ปัญหาสารปฏิชีวนะกับการเพาะเลี้ยงกุ้งปัญหาสารปฏิชีวนะกับการเพาะเลี้ยงกุ้ง • หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สามารถควบคุมดูแลอย่างทั่วถึง • โฆษณาสินค้าเกินความจริง • ฉลากระบุส่วนผสมและปริมาณสารออกฤทธิ์ • ระบุวันผลิตและวันหมดอายุสินค้า • ต้องมีการใช้ยาถูกวิธี • ไม่มีสารเหลือตกค้างในเนื้อสัตว์เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด

  31. ค่า MRL (Maximum Residue Limit) • Oxolinic acid • 0.05 ppm (ค่าของญี่ปุ่น) • 0.00 ppm หรือไม่ให้มีเลย(ค่าของสหภาพยุโรป) • Oxytetracycline • 0.05 ppm (ค่าของญี่ปุ่น) • 0.01 ppm (ค่าของสหภาพยุโรป)

  32. งานวิจัยที่จำเป็น • ศึกษาทางด้านการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคสัตว์น้ำ • ขบวนการเภสัชจลศาสตร์ของยาที่ใช้ในสัตว์น้ำ • การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งที่แข็งแรง โตเร็ว ต้านทานโรค • แนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค • วิจัยด้านโภชนศาสตร์ของกุ้งกุลาดำ

  33. การแก้ไขปัญหา • ไม่อนุญาตนำเข้าและใช้คลอแรมฟินิคอล • ตรวจสอบยาคลอแรมฟินิคอลในเนื้อกุ้ง • ประชาสัมพันธ์ข้อเท็จจริง • จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ตรวจสอบประจำศูนย์ประมง • การควบคุมคุณภาพพ่อแม่พันธุ์กุ้ง • ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งระบบชีวภาพตามแนวทาง code of conduct เพื่อให้ได้กุ้งคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  34. การแก้ไขปัญหา • พัฒนาเทคนิคการเลี้ยง • ลดการใช้ยาและสารเคมี

  35. สรุป • มีการใช้ยาและสารเคมีมากมายหลายชนิดในสัตว์น้ำ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับรองโดย FDA หรือ อย. • การควบคุมและป้องกันโรคเป็นศาสตร์ที่ซับซ้อน ต้องใช้ทั้งความรู้และประสบการณ์ ผู้ทำการเพาะเลี้ยงควรที่จะมีการจัดการที่ดีเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดโรค

More Related