30 likes | 199 Views
บทคัดย่อ. ผู้จัดทำ 1. ด.ช. ดนุสรณ์ สุภาจารุวงศ์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 5 2. ด.ช. พงษ์ญพัช จงสุขพิพัฒน์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 8 3. ด.ช. ณภัทร จันทราพันธกุล ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 18 ที่ปรึกษา คุณครู สุกัญญา พิทักษ์.
E N D
บทคัดย่อ ผู้จัดทำ 1. ด.ช. ดนุสรณ์ สุภาจารุวงศ์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 52. ด.ช. พงษ์ญพัช จงสุขพิพัฒน์ ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 83. ด.ช. ณภัทร จันทราพันธกุล ชั้น ม. 1/3 เลขที่ 18ที่ปรึกษาคุณครู สุกัญญา พิทักษ์ โครงงานนี้เป็นโครงงานประเภททดลอง จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการผลิตบีดคาร์บอนจากโซเดียมอัลจิเนต โดยใช้เทคนิคการตรึงสารที่เรียกว่าเอนแคปซูเลชัน และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของบีดคาร์บอนที่ผลิตได้ โดยทดสอบการดูดซับสีและยาฆ่าแมลง ผลการทดลองพบว่าบีดคาร์บอนสามารถดูดซับสีผสมอาหารสีเขียว และยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Organophosphophateได้ โดยบีดคาร์บอน 1.5 % สามารถดูดซับได้ดีกว่าบีดคาร์บอน 2% เล็กน้อย และบีดคาร์บอนยังสามารถนำมาดูดซับซ้ำได้ และยังคงประสิทธิภาพเมื่อเก็บในตู้เย็นเป็นเวลา 15 วัน ที่มาของโครงงาน • ถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสี กลิ่น สารพิษและโลหะหนักได้ดี การใช้งานมีทั้งประเภทผง เกล็ด ก้อนและแท่ง แต่ก็มีข้อเสียคือรูปผงกระจายและเลอะเทอะ รูปเกล็ดและแท่งสามารถแตกได้ การตรึงด้วยเทคนิคเอนแคปซูเลชันเป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน และหากตรึงถ่านกัมมันต์ให้อยู่ในรูปเม็ดบีดก็จะสะดวกในการใช้งานขึ้น โดยอาจนำมาใช้ในการดูดสารพิษยาฆ่าแมลงในการล้างผักและใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบีดคาร์บอนจากโซเดียมอัลจิเนต ด้วยการตรึงโดยเทคนิคเอนแคปซูเลชัน โดยใช้ถ่านกัมมันต์เข้มข้น 1.5 และ 2% จากนั้นนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับของบีดคาร์บอนที่ผลิตได้ โดยทดสอบการดูดซับสีและยาฆ่าแมลง
สรุปผล 1. บีดคาร์บอน 1.5 % มีขนาด 3-5 มิลลิเมตร เล็กกว่าบีดคาร์บอน 2 % ซึ่งมีขนาด 5-6 มิลลิเมตร2. บีดคาร์บอนไม่สามารถดูดซับสีจากขมิ้นชันได้แต่เมื่อทดสอบดูดซับสีผสมอาหารที่เป็นสีเขียว พบว่าบีดคาร์บอน 1.5 และ 2 % สามารถดูดซับสีเขียวได้ โดยบีดคาร์บอน 1.5 % สามารถดูดซับสีได้ดีกว่าเล็กน้อยเมื่อนำบีดที่ดูดซับสีผสมอาหารแล้วมาดูดซับซ้ำพบว่าบีดคาร์บอนยังมีความสามารถในการดูดซับสีเขียวได้ดีเช่นเดิม 3. ในการทดสอบการดูดซับยาฆ่าแมลงด้วยชุดทดสอบ MJPK พบว่าบีดคาร์บอนสามารถดูดซับยาฆ่าแมลงจากระดับที่ไม่ปลอดภัยจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ภายในเวลา 80 นาที โดยบีดคาร์บอน 1.5 % สามารถดูดซับได้ดีกว่าเล็กน้อย 4. ในการทดสอบดูประสิทธิภาพหลังการเก็บรักษาในน้ำสะอาดและเก็บในตู้เย็นเป็นเวลา 15 วัน พบว่าบีดคาร์บอนยังคงความสามารถในการดูดซับได้ดีเช่นเดิม วิเคราะห์ผล บีดคาร์บอนที่ใช้เทคนิคการตรึงด้วยโซเดียมอัลจิเนตมีประสิทธิภาพในการดูดซับสีบางประเภทและยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Organophosphophateได้ เนื่องจากทั้ง อัลจิเนตและคาร์บอนมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสาร อนินทรีย์ บีดคาร์บอนที่ผลิตได้จึงมีความสามารถในการดูดซับสีและยาฆ่าแมลงได้ โดยบีดคาร์บอน 1.5 % มีความสามารถในการดูดซับได้ดีกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีขนาดเล็กกว่า ทำให้พื้นที่ผิวในการดูดซับมากกว่าบีดคาร์บอน2 % ข้อเสนอแนะ 1. การทดลองนี้เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้น หากต้องการศึกษาต่อไปควรใช้เครื่องมือวัดที่วัดค่าสารได้แน่นอน และควรทำการทดสอบกับสารประเภทอื่นเพิ่มเติม 2. ในการผลิตบีดคาร์บอนนี้ เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการนำเสนอรูปแบบใหม่ของคาร์บอนเพื่อเป็นแนวทางในการไปใช้งานบางอย่างที่ต้องการแยกคาร์บอนออกได้ง่ายยิ่งขึ้นและอาจนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง แต่บีดคาร์บอนอาจไม่สามารถนำไปใช้กับการดูดซับสารได้ทุกประเภท