1 / 9

milla
Download Presentation

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างของ DNA ปี พ.ศ. 2493-2494 มัวริสเอชเอฟวิลคินส์ (Maurice H.F. Wilkins) และโรซาลินด์แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักฟิสิส์ชาวอังกฤษ ศึกษาโครงสร้างของ DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิค เอกซ์เรย์ดิฟแรฟกชัน (X-ray diffraction) ด้วยการฉายรังสีเอกซ์ ผ่านผลึก DNA การหักเหของรังสีเอกซ์ ทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม ได้ภาพถ่ายที่ชัดเจนมาก ซึ่งแปลผลได้ว่า โครงสร้างของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีลักษณะที่คล้ายกันมากคือ ประกอบด้วยสายพอลีนิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย มีลักษณะเป็นเกลียว โยเกลียวแต่ละรอบมีระยะห่างเท่าๆ กัน ผลจากการศึกษานี้ ทำให้เข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของ DNA มากขึ้น

  2. ปี พ.ศ. 2496เจมส์ ดี วอตสัน (James D. Watson) นักชีวเคมีชาวอเมริกัน และฟรานซีสคริก (Francis Crick) นักฟิสิส์ชาวอังกฤษ ได้เสนอแบบจำลองโครงสร้างโมเลกุล DNA ที่สมบูรณ์ที่สุด โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากโครงสร้างทางเคมีของส่วนประกอบของโมเลกุล DNA จากผลการทดลองของ ชาร์กาฟฟ์ที่แสดงให้เห็นว่า DNA มี A = T และ C = G และภาพจากเทคนิค เอกซ์เรย์ดิฟแรฟกชันของผลึก DNA

  3. จากข้อมูลของชาร์กาฟฟ์ ทำให้วอตสันและคริก พยายามหาพันธะเคมีที่จะเชื่อมพอลีนิวคลีโอไทด์2 สายให้ติดกัน และพบว่า เป็นพันธะไฮโดรเจน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคู่เบส แม้จะไม่แข็งแรงแต่เมื่อมีจำนวนมากก็จะแข็งแรงพอที่จะยึดสายพอลีนิวคลีโอไทด์2 สายให้เข้าคู่กันได้ และจากการศึกษาโครงสร้างของเบส ทั้ง 4 ชนิด พบว่า ระหว่าง A กับ T สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ 2 พันธะ และระหว่าง C กับ G เกิดได้ 3 พันธะ

  4. หลังจากนั้นวิตสันและคริก จึงเสนอโครงสร้างโมเลกุลของ DNA โยให้พอลีนิวคลีโอไทด์2 สายเรียงสลับทิศกันและบิดพันกันเป็นเกลียวคู่ (Duoble helix) เวียนขวาตามเข็มนาฬิกา เบส a ของอีกสายหนึ่งตรงกับเบส T ของอีกสายหนึ่ง และเบส C ของอีกสายหนึ่งตรงกับเบส G ของอีกสายหนึ่งเสมอ เบสในแต่ละสายของ DNA ที่เป็นเบสคู่ผสม (complementary base pair) ยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน โยเกลี่ยวแต่ละรอบห่างเท่าๆ กันและมีคู่เบสจำนวนเท่ากัน โครงสร้างเกลี่ยวคู่ทำให้โครงสร้างของ DNA มีลักษณะคล้ายบันไดเวียนโยมีน้ำตาลดีออกซีไรโบสจับกับหมู่ฟอสเฟต เป็นราวบันไดและบันไดแต่ละขั้นคือ คู่เบส 1 คู่

  5. โครงสร้าง DNA ที่เป็นพอลีนิวคลีโอไทด์2 สาย โดยโครงสร้างเกลี่ยวคู่มีระยะห่าง 20 อังสตรอม (AO) เกลียวแต่ละรอบห่างกัน 34 อังสตรอม แต่ละคู่เบสมีระยะห่างกัน 3.4 อังสตรอม โครงสร้าง DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์จำนวนมาก แม้ว่า DNA จะมีนิวคลีโอไทด์เพียง 4 ชนิด แต่โมเลกุล DNA มีความแตกต่างกันได้ เช่น ถ้า DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2 โมเลกุลเรียงกัน จะสามารถเรียงให้แตกต่างกันได้ 16 แบบ ( 42) ดังนั้นถ้าโมเลกุล DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์จำนวนมาก การเรียงของเบสก็จะแตกต่างกันมากด้วย ใน DNA ของสิ่งมีชิวตแต่ละชนิดอาจมีนิวคลีโอไทด์หลายพันคู่จนถึงนับล้านคู่ ทำให้มีรูปแบบของ DNA ได้อย่างหลากหลาย ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ มีหลายลักษณะและลำดับเบสของ DNA ซึ่งเกิดจากเบสชนิดต่างๆ กันก็มีหลายรูปแบบ จึงน่าจะมากพอที่จะทำหน้าที่ควบคุมหรือกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมได้

  6. โครงสร้างของ DNA ปี พ.ศ. 2493-2494 มัวริสเอชเอฟวิลคินส์ (Maurice H.F. Wilkins) และโรซาลินด์แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักฟิสิส์ชาวอังกฤษ ศึกษาโครงสร้างของ DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิค เอกซ์เรย์ดิฟแรฟกชัน (X-ray diffraction) ด้วยการฉายรังสีเอกซ์ ผ่านผลึก DNA การหักเหของรังสีเอกซ์ ทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม ได้ภาพถ่ายที่ชัดเจนมาก ซึ่งแปลผลได้ว่า โครงสร้างของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีลักษณะที่คล้ายกันมากคือ ประกอบด้วยสายพอลีนิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย มีลักษณะเป็นเกลียว โยเกลียวแต่ละรอบมีระยะห่างเท่าๆ กัน ผลจากการศึกษานี้ ทำให้เข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของ DNA มากขึ้น

  7. โครงสร้างของ DNA ปี พ.ศ. 2493-2494 มัวริสเอชเอฟวิลคินส์ (Maurice H.F. Wilkins) และโรซาลินด์แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักฟิสิส์ชาวอังกฤษ ศึกษาโครงสร้างของ DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิค เอกซ์เรย์ดิฟแรฟกชัน (X-ray diffraction) ด้วยการฉายรังสีเอกซ์ ผ่านผลึก DNA การหักเหของรังสีเอกซ์ ทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม ได้ภาพถ่ายที่ชัดเจนมาก ซึ่งแปลผลได้ว่า โครงสร้างของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีลักษณะที่คล้ายกันมากคือ ประกอบด้วยสายพอลีนิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย มีลักษณะเป็นเกลียว โยเกลียวแต่ละรอบมีระยะห่างเท่าๆ กัน ผลจากการศึกษานี้ ทำให้เข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของ DNA มากขึ้น

More Related