1 / 31

วิกฤติราคาน้ำมัน ทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน

วิกฤติราคาน้ำมัน ทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน. โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP. 35-2008 -3. Economic Crisis. สภาวะที่ไม่ปกติอันเกิดจากปัจจัยภายในและหรือปัจจัยภายนอก

mili
Download Presentation

วิกฤติราคาน้ำมัน ทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิกฤติราคาน้ำมันทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหนวิกฤติราคาน้ำมันทางออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP 35-2008-3

  2. Economic Crisis • สภาวะที่ไม่ปกติอันเกิดจากปัจจัยภายในและหรือปัจจัยภายนอก • ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในระดับประเทศและหรือระหว่างประเทศ • เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปกติวิสัย • การแก้ปัญหามีความซับซ้อน และใช้ระยะเวลา

  3. ราคาน้ำมันกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยราคาน้ำมันกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างก้าวกระโดด โดยราคาน้ำมันได้มีการปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2550 เฉพาะครึ่งปีแรกของปี 2551 ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นไปถึงร้อยละ 52 ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงสุด

  4. World Oil Crisis AUG 5, 2008 4

  5. Oil Cost Push ผลกระทบที่ตามมาจากวิกฤติเงินเฟ้อ • การปรับขึ้นของค่าแรง (Wage Price Spiral) และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยเงินกู้ก็ไปอยู่ที่ร้อยละ 8-9 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 6-7 • แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยคงจะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงไปกว่านี้ สังเกตุได้จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้เร่งระดมหาเงินฝาก ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม • เงินเฟ้อรอบสองที่เรียกว่า Second Round Inflation • ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อันเกิดจากปัญหาซัพไพร์มรอบสองที่ได้ลุกลามไปยังตลาดยุโรปโซน • คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.5 และดัชนีผู้บริโภคของประชาชนสหรัฐฯลดจากอัตราร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 0.4

  6. Inflation Factorอัตราเงินเฟ้อมีการผันแปรไปตามราคาน้ำมัน ที่มา : ธนิต โสรัตน์ 5 ส.ค. 2551

  7. สภาวะความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจไทย Economic Risk • ต้นทุนวัตถุดิบในภาคการผลิตมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบนอกเหนือจากที่มีต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ก็ยังได้รับผลจากต้นทุนโลจิสติกส์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากค่า Freight และค่ากระจายสินค้า • ต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น ร้อยละ 1.33 ของ GDP • เงินตึงและการขาดสภาพคล่อง กำลังเกิดกับ SMEs ผู้ผลิตส่วนใหญ่โดยเฉพาะ SMEs ก็ยังต้องซัฟเฟอร์รับส่วนต่างของต้นทุน • ปัญหาราคาน้ำมันทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สูง กดดันต่อต้นทุนแรงงาน • ความวิตกเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินบาทและการขาดดุลการค้า ซึ่งในช่วงแค่เพียง 4 เดือนแรกของปีนี้ก็ขาดดุลไปถึง 2,989.9 ล้านดอลล่าร์ และมีแนวโน้มว่าเงินดุลเดินสะพัดอาจติดลบจะเกิดปัญหาขาดดุลแฝดหรือ Twin Deposit ก็จะไปกดดันการอ่อนค่าของเงินบาท • ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและทางการเมืองจะรุนแรงขึ้น ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและทางการเมืองจะรุนแรงขึ้นส่งผลต่อความเชื่อมั่น , การบริโภคและการลงทุน

  8. Oil Price Slumทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกขาลงจะทำให้วิกฤติราคาน้ำมันยุติแล้วหรือ?? ที่มา : ธนิต โสรัตน์ 5 ส.ค. 2551

  9. World Oil Price Slum 117 USD 08/4/2008 AUG 5, 2008 9

  10. ปัจจัยที่ทำให้น้ำมันราคาลดลงปัจจัยที่ทำให้น้ำมันราคาลดลง • ความต้องการน้ำมันของโลกมีการชะลอตัวอันเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาลงและประเทศผู้ใช้น้ำมันมีมาตรการประหยัดพลังงานและหันไปใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น • กองทุน Hedge Fund อยู่ระหว่างการไถ่ถอนเงินและการปรับฐานการลงทุน • ปริมาณการใช้ลดจากปัญหาซัพไพร์มในสหรัฐฯ (รอบ 2) ทำให้มีความต้องการน้ำมันลดลงทั้งในสหรัฐฯและยุโรป • ความต้องการใช้ดีเซลในตลาดจีน , อินเดีย และเวียดนามลดลง โดยเฉพาะประเทศจีนหันไปถ่านหินมากขึ้น

  11. ปัจจัยที่ทำให้น้ำมันราคาลดลงปัจจัยที่ทำให้น้ำมันราคาลดลง • นักเก็งกำไรวิตกกังวล มาตรการ Paper Trade ของพรรคเดโมแครต ที่จะออกมา (หากชนะเลือกตั้ง) เพื่อสกัดการเก็งกำไรของตราสารน้ำมัน • ราคาน้ำมัน (ดีเซล) ขายปลีกของไทยที่ลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิต ลิตรละ 2.30 และเงินสมทบกองทุนน้ำมัน • กลุ่มโอเปคยังคงไม่มีการลดกำลังการผลิตจนกว่าราคาน้ำมันดิบ จนกว่าราคาไปอยู่ที่ระดับราคา 80 USD/บาเรล • ภายใต้การคงอัตราดอกเบี้ย FED ไว้ที่ระดับ 2% ทำให้ทิศทางเงินดอลล่าร์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

  12. ราคาน้ำมันที่ลดลงมีผลกระทบอย่างไรต่อภาคเศรษฐกิจ???ราคาน้ำมันที่ลดลงมีผลกระทบอย่างไรต่อภาคเศรษฐกิจ??? • ต้นทุนโลจิสติกส์จะมีการชะลอตัวในอัตราคงที่ • ต้นทุนการผลิตจะไม่ปรับลดลง เพราะต้นทุนของวัตถุดิบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จะไม่ปรับราคาลงตามราคาน้ำมันที่ลงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทวัตถุดิบต้นน้ำที่จำเป็น • อุตสาหกรรมผลิตอาหารยังได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบในภาคเกษตรซึ่งก็ได้มีการปรับตัวสูงขึ้น ประมาณร้อยละ 80.5% • สภาวะเงินเฟ้อจะชะลอตัวในอัตราสูง คาดว่าผลของการที่ราคาน้ำมันลดลงจะทำให้เงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 8.9 (เพราะราคาสินค้าได้ปรับขึ้นไปแล้วก็ยากที่จะลงราคา)

  13. ราคาน้ำมันที่ลดลงมีผลกระทบอย่างไรต่อภาคเศรษฐกิจ???ราคาน้ำมันที่ลดลงมีผลกระทบอย่างไรต่อภาคเศรษฐกิจ??? • สภาพคล่องของประชาชนและภาคการผลิตจะลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมและ SMEs ซึ่งไม่ได้อยู่ในภาคการส่งออก • การลงทุนและความชื่อมั่นการบริโภค ยังคงชะลอตัว ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยหนุน ลดความเชื่อมั่น • ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคเงินบาทที่อ่อนค่า ในช่วง 3 เดือน เงินบาทไทยอ่อนค่าไปถึงร้อยละ 7.69 ปัจจุบันสัดส่วนการนำเข้าของไทยสูงกว่าการส่งออก กว่าร้อยละ 20

  14. ENERGY POWERCHOICEพลังงานทางเลือกด้านขนส่ง

  15. พลังงานทางเลือกด้านการขนส่งพลังงานทางเลือกด้านการขนส่ง • Fuel Oil : แพง / สะดวก / ราคามีความไม่แน่นอน / ปริมาณ 90% ต้องนำเข้า • LPG (รถขนาดเล็ก) : ถูก / สะดวก / รัฐไม่สนับสนุนให้ใช้ในภาคขนส่งราคาขาย 18.13 + 5.0 บาท/กก. หรือลิตรละ 10.50 บาท ราคานำเข้า 950 USD/T แต่ราคาขาย 330 USD/T รัฐต้องชดเชย 7,000 ล้านบาท/ปี (3-4 แสนตันต่อปี) • E-85 (รถยนต์ขนาดเล็ก) : เป็นแก๊สโซฮอล์ที่ยังมีปัญหาด้านการซัพพลายและสถานี และเกี่ยวข้องกับตัวยานพาหนะที่มีปัญหาด้านตลาด และโครงสร้างภาษี แต่เป็นทิศทางในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ปัจจุบันซัพพลายได้ระดับ E10 • Bio-Diesel : มีปัญหาด้านวัตถุดิบไม่เพียงพอ และมีต้นทุนสูงปัจจุบันซัพพลายได้ในระดับ B2 • LNG : Liquefied Natural Gas :เป็น Gas ในรูปของเหลวที่ผ่านการอัดลดอุณหภูมิ -140๐C เป็นขั้นตอนในระดับที่เป็น Model การศึกษา (หนองตูม) ทดลองใช้กับเรือยังไม่ใช้กับภาคขนส่ง

  16. NGV พลังงานทางออกของไทย Natural Gasfor Vehicle : NGV ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะของรถเล็กและรถบรรทุก มีการใช้งาน 2 รูปแบบ - CNG : Compressed Natural Gas - LNG : Liquefied Natural Gas

  17. รูปแบบของการใช้ NGV กับรถยนต์ ทดแทนน้ำมันดีเซล • Dedicated NGVใช้ก๊าซฯ อย่างเดียว ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงาน (OEM) หรือปรับเปลี่ยนจากเครื่องยนต์ดีเซลเดิม • Diesel Dual Fuel (DDF) ใช้ก๊าซฯ ร่วมกับน้ำมันดีเซล หรือ ใช้น้ำมันดีเซลอย่างเดียว มีทั้ง ผลิตจากโรงงาน หรือทำการ ติดตั้ง อุปกรณ์ก๊าซฯ/ถัง เพิ่มเติม

  18. เปรียบเทียบการใช้พลังงานทางเลือกเปรียบเทียบการใช้พลังงานทางเลือก

  19. ระยะเวลาคืนทุน ดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลมาใช้ NGV อย่างเดียว หมายเหตุ ราคา NGV 8.5 บาท/กก., ดีเซล 38.74 บาท/ลิตร

  20. NGV พลังงานทางเลือกของอนาคต • เป็นแก๊สที่มีแหล่งกำเนิดจากอ่าวไทย 90% ที่เหลือจากลานกระบือ , น้ำพอง , ภูร้อม (กำลังการผลิตรวม 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน) • มีปริมาณเพียงพอ ปัจจุบันใช้ในภาคขนส่ง 5% ต้องการให้ปี 2555 เป็นสัดส่วน 20% (เป็นปริมาณผลิต 500,000 ตัน) ใช้ NGV 490 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน) • ราคา NGV การปรับราคา ปี 51 = 8.50 , ปี 52 = 12.00 , ปี 53 = 13.00 และปี 54 = 14.00 บาท (ต้นทุนจริง) • ไบโอดีเซลยังต้องใช้เวลา ปัจจุบันมีปริมาณวัตถุดิบรองรับเพียง B2 • แก๊ส LPG ภาครัฐไม่ส่งเสริมให้ใช้ในภาคขนส่ง (ปตท.ต้องชดเชยลิตรละ 20 บาท) • น้ำมัน E85 ยังต้องใช้เวลาในการผลิตและโครงสร้างภาษี ปัจจุบันรองรับได้ระดับ E10 • ด้านเทคนิค มีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนเครื่องทั้งระบบ Dedicated NGV และระบบ Dual Fuel (DDF)

  21. 21

  22. ปัญหาอุปสรรค • การติดตั้ง อุปกรณ์ เทคนิค บุคคลากร • สถานีเติม GAS น้อย / คิวยาว / แก๊สไม่พอจ่าย • เงินทุนในการปรับ/เปลี่ยนเครื่องยนต์สูง • ผลข้างเคียงและความสึกหรอยังไม่มีการศึกษาชัดเจน • นโยบายของรัฐระยะยาวระหว่าง NGV / LPG / BIO-DIESEL / E-85 / Hydro Energy

  23. แผนการขยายโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซฯ บนบก ภาคเหนือ (ท่อสายเอเซีย) นครสวรรค์ ท่อ 24” / 250 กม. เงินลงทุน 19,120 ล้านบาท นครราชสีมา

  24. แผนขยายสถานีบริการ NGV ปี 2551-2555 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 25

  25. Action Plan หาก NGV เป็นทางเลือก มาตรการส่งเสริม NGV ในภาคการขนส่ง • ขอให้ภาครัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุน NGV Transport Fund สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการขนส่ง จำนวน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ดอกเบี้ย -2 MLR เพื่อจะเป็นการนำร่องในการติดตั้ง NGV สำหรับรถบรรทุกจำนวน 35,000 คัน สามารถประหยัดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ 22,400 ล้านบาทต่อปี (NGV ประหยัดกว่าดีเซล 70%) • ขอให้ภาครัฐสนับสนุนให้มีการผลิตรถบรรทุกที่มีเครื่อง NGV ในประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมให้มีการผลิตแทงค์ NGV ซึ่งปัจจุบันถัง NGV และอุปกรณ์มีการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น • ขอให้ภาครัฐส่งเสริมเอกชนให้มีการจัดตั้งสถานีจ่ายน้ำมันให้พอเพียง โดยเฉพาะ NGV ปริมาณของปั้มไม่พอเพียง โดยเฉพาะปั้มที่อยู่นอกแนวท่อ • สนับสนุนเร่งรัดระยะเวลาการตั้งสถานี NGV ให้ครอบคลุมทั้งในเขตปริมณฑลและในจังหวัด โดยแบ่งเป็น • ภาคเหนือ ให้เร่งรัดขยายจากบางปะอินไปนครสวรรค์จนถึงจังหวัดเชียงใหม่ • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีการขยายจากสระบุรีไปนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี • ภาคใต้ ให้มีการขยายจากราชบุรีไปจนถึงประจวบคีรีขันธ์

  26. Action Plan หาก NGV เป็นทางเลือก มาตรการส่งเสริม NGV ในภาคการขนส่ง • กำหนดนโยบายด้านราคา NGV โดยในปี 2551 ราคา 8.5 บาทต่อกิโลแก๊ส และปี 2552 ราคา12.00 บาท ปี 2553 ราคา 13.00 บาท และปี 2554 ราคา14.00 บาท ต่อกิโลแก๊ส • ยกเว้นอัตราอากรถังแก๊ส อุปกรณ์ในการติดตั้งแก๊สให้เป็นอัตราศูนย์ • ให้มีการขยายการยกเว้นอัตราอากรเครื่องยนต์ใหม่ NGV ซึ่งจะหมดเวลาในปี 2551 ให้ขยายไปจนถึงปี 2552 ซึ่งรวมถึงเครื่อง NGV ใช้แล้วด้วย • กองทุน NGV สำหรับการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ของรถยนต์สาธารณะและรถขนส่ง • ในภาคเหนือ โดยให้แหล่งแก๊สธรรมชาติลานกระบือ นอกเหนือจากการใช้ในโรงงานไฟฟ้า ขอให้นำมาใช้ในภาคการขนส่งของภาคเหนือ • ให้รัฐบาลยังคงสนับสนุนเรื่องของไปโอดีเซล เนื่องจาก NGV จะเป็นทางออกในระยะเฉพาะหน้า ในระยะยาวภาครัฐยังต้องการสนับสนุนระบบ NGV และเอทานอล E85

  27. ทางออกประเทศไทยไม่ใช่มีแค่วิกฤติราคาน้ำมันทางออกประเทศไทยไม่ใช่มีแค่วิกฤติราคาน้ำมัน • สถานะความแตกแยกทางการเมือง รัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าภาพ สร้างภาพลักษณ์ความสามัคคีของประชาชนให้กลับคืนมา • ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ ควรจะมีการหารือในแต่ละกลุ่มซึ่งมีความขัดแย้ง โดยให้แก้เฉพาะในประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการบ้านเมือง • การมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้มีเม็ดเงินลงไปในระดับรากหญ้า โดยเร่งอนุมัติโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดสภาวะค่าใช้จ่ายของประชาชน • มาตรการด้านการลดเงินเฟ้อ รัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่ยืดหยุ่น และระมัดระวังการใช้มาตรการการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดเงินเฟ้อ • รัฐบาลจะต้องเร่งรัดให้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบและมีความบูรณาการในระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจ • มาตรการสร้างความเชื่อมั่น การบริโภคและการลงทุน

  28. มาตรการช่วยเหลือ SMEs • ธุรกิจประเภท SMEs มีความเปราะบางจาก Cost Push และจากสภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์ • ประเด็นสภาพคล่องซึ่งเกิดจากเงินตึง หากไม่ได้รับการเยียวยา นัยต่อไปอาจนำไปสู่การลดคุณภาพของลูกหนี้ในสถาบันการเงิน • ต้องเร่งมาตรการช่วยเหลือ SMEs ให้มีโครงการอัดฉีดเงินและมาตรการทางการคลัง ในการลดอัตราภาษีรายได้ของ SMEs ให้มีแต้มต่ออย่างน้อยร้อยละ 5 • มาตรการในด้านการส่งเสริมการตลาด จะต้องทำการอย่างจริงจัง โดยการส่งเสริม SMEs ให้มีการส่งออกเนื่องจากการส่งออกของประเทศไทยยังมีการเติบโตถึงร้อยละ 23 ซึ่ง SMEs ควรจะมีส่วนแบ่งมากกว่าสัดส่วนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

  29. นโยบายพลังงานแห่งชาตินโยบายพลังงานแห่งชาติ • ขอให้มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนพืชพลังงาน ทั้งที่นำไปผลิตเอทานอลและไบโอดีเซล ควรจะกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศในการโซนนิ่งพื้นที่ มีระบบการประกันราคา • การใช้ถ่านหินซัลเฟอร์ต่ำและถ่านหินในรูปของเหลว (CTL) เป็นพลังงานในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตกระแสไฟฟ้า • ให้มีการสนับสนุนโครงการในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอุตสาหกรรม รวมทั้ง เงินช่วยเหลือการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและหรือเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้มีการประหยัดพลังงาน • การส่งเสริมโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าประหยัดพลังงานของภาคเอกชน โดยให้มีการจูงใจทั้งในแง่ภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ • การให้มีแผนระยะยาวด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ หากไม่ดำเนินการวันนี้ประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีขีดความสามารถด้านพลังงานที่ไม่สามารถแข่งขันได้

  30. ต้องมีการจัดทำ...แผนแม่บทการลดการใช้พลังงานในภาคขนส่งและพลังงานทางเลือกต้องมีการจัดทำ...แผนแม่บทการลดการใช้พลังงานในภาคขนส่งและพลังงานทางเลือก

  31. END

More Related