1 / 66

Overview of MSS(Management Support Systems)

Overview of MSS(Management Support Systems). ระบบสนับสนุนการบริหาร. วัตถุประสงค์. - สามารถอธิบายลักษณะทั่วไปขององค์กรที่จะเข้าไปจัดการได้ - สามารถระบุทรัพยากรหลักขององค์กร และอธิบายได้ว่าต้องจัดการอย่างไรกับทรัพยากรเหล่านั้น - สามารถอธิบายหน้าที่และบทบาทของผู้บริหารได้

metta
Download Presentation

Overview of MSS(Management Support Systems)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Overview of MSS(Management Support Systems) ระบบสนับสนุนการบริหาร

  2. วัตถุประสงค์ • - สามารถอธิบายลักษณะทั่วไปขององค์กรที่จะเข้าไปจัดการได้ • - สามารถระบุทรัพยากรหลักขององค์กร และอธิบายได้ว่าต้องจัดการอย่างไรกับทรัพยากรเหล่านั้น • - สามารถอธิบายหน้าที่และบทบาทของผู้บริหารได้ • - สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การตัดสินใจ และเทคโนโลยีต่างๆได้

  3. องค์กร(Organization)คืออะไร A system (1) ofresources (2) structuredby (3) powercentersto (4) achievesomepurpose (5) withinsomeenvironment (6)

  4. องค์กร(Organization)คืออะไร System • ระบบเปิด (J. Miller 1972) • มีผลกระทบ และถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อม • รับข้อมูลเข้า และผลิตข้อมูลออก Resources • เงิน, วัสดุ, บุคลากร, ความรู้ • ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วในองค์การ • ข้อมูลเข้าจัดเป็นทรัพยากร • ข้อมูลออกจัดเป็นทรัพยากรด้วยเช่นกัน

  5. องค์กร(Organization)คืออะไร Structure • ทรัพยากรถูกกำหนดคุณลักษณะ โดยการจัดการที่แน่นอน • โดยคุณลักษณะทางโครงสร้างบางอย่างจะเป็นแบบ static ในขณะที่โครงสร้างอื่นๆเป็นแบบ dynamic • บทบาทที่เป็นกลไกด้านโครงสร้างที่สำคัญ (BiddleandThomas 1966) • การแบ่งแผนกของการใช้แรงงาน • มีตัวแทนด้านต้นทุนแรงงาน

  6. องค์กร(Organization)คืออะไร PowerCenters • ผู้มีอำนาจในการจัดการ (คือ ผู้จัดการนั่นเอง) • งานหลักในการจัดการ(Miner 1978) • “เลือกและจัดสรรทรัพยากร” (คือ การจัดการทรัพยากร) • แตกต่างกันตามขอบเขตของอำนาจหน้าที่ • การออกแบบองค์การที่แตกต่าง เป็นผลมาจากการกระจายอำนาจจากที่ต่างๆ

  7. องค์กร(Organization)คืออะไร Purpose • ผู้จัดการทำงานกับระบบเพื่อนำระบบไปสู้จุดมุ่งหมายที่วางไว้ Environment • การเปลี่ยนสถานะของสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนสถานะในองค์การ เพื่อที่จะรักษาความคงสภาพต่อจุดมุ่งหมายขององค์การไว้ได้ • องค์การเองก็มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

  8. Managerialfunctions Planning: ทำนาย; กำหนดโครงสร้างของสิ่งที่จะทำ และวิธีการในการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Organizing: กำหนดคุณลักษณะของทรัพยากรขององค์การ (โดยเฉพาะ การกำหนดคุณลักษณะของคนที่ทำงาน เช่น การเลือก การกำหนดบทบาทการทำงาน การศึกษาของบุคคลนั้นๆ) Command: สั่งงานเฉพาะอย่าง หรืองานทั่วๆไปเพื่อให้เกิดกิจกรรมในการทำงานต่างๆขึ้น Coordination: กำหนดกิจกรรมที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ หรือความสามัคคีในองค์การ Control: ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

  9. หน้าที่อื่นๆ (Urwick 1943) • ทำการทำนาย(Forecasting): แยกมาจากการวางแผน • การสืบสวน(Investigation): คล้ายการทำวิจัย (เป็นผลจากการหาความรู้เพิ่มเติม) • การติดต่อสื่อสาร(Communicating) (เช่น การทำรายงาน) แนวคิดอื่นๆ (Barnard 1968) • จัดการระบบของการสื่อสารโดยการใช้บทบาทด้านการจัดการ • รักษาความปลอดภัย โดยการใช้ดึงเอาบทบาทที่น่าสนใจมาใช้ • กำหนดจุดประสงค์ โดยระบุว่าต้องทำงานอะไรบ้าง

  10. Managerial roles (Mintzberg 1980) Interpersonalrolesderivefromauthority, status 1. หัวหน้า(Figurehead) - บังคับเพื่อให้ทำหน้าที่ ทั้งงานประจำ งานเพื่อสังคม งานเพื่อความสามัคคี หรืองานที่ถูกกฎหมาย 2. ผู้นำ(Leader) - กระตุ้น/เร้าลูกน้องทั้งในด้านการทำงาน การฝึกอบรม การสนับสนุน 3. ผู้ติดต่อ(Liaison) - ทำการติดต่อกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการด้านการค้า

  11. Managerial roles Informationalroles 4. ผู้ตรวจสอบ(Monitor) - ค้นหาและจัดหาข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจองค์การ และสิ่งที่อยู่รอบนอก 5. ผู้เผยแพร่(Disseminator) - ส่งข้อมูล (จากลูกน้อง, ภายนอก, และภายใน) ไปยังองค์การอื่นๆ 6. โฆษก(Spokesman) - ส่งข้อมูลไปยังภายนอก (ประชาสัมพันธ์) Decisionalrolesderivefromauthorityandinformation 7. ผู้จัดการ(Entrepreneur) - searchesorganizationandenvironmentforopportunitiesandinitiates/devisescontrolledchangeinorganization

  12. Managerial roles 8. ผู้จัดการสิ่งรบกวน(Disturbance Handler) - ทำการปรับการทำงานให้ไปในทางที่ถูก เมื่อองค์การเผชิญกับสิ่งรบกวนที่ไม่คาดคิดมาก่อน 9. ผู้จัดสรรทรัพยากร(Resource Allocator) - จัดสรรทรัพยากร ตามกลยุทธ์ที่วางไว้ ให้แก่องค์การที่ต้องใช้ทรัพยากรรนั้นๆ ในการทำงาน 10. ผู้เจรจา(Negotiator) - เป็นตัวแทนองค์การในการติดต่อกับองค์การอื่นๆ

  13. A working perspective ผู้จัดการเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการโครงสร้างของ เงิน วัสดุ คน และความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ ด้วยการดำเนินตามจุดมุ่งหมายขององค์การ ได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมขององค์การ ผู้จัดการจะทำการแปลงทรัพยากรจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่ง เพื่อดำเนินตามวัตถุประสงค์ขององค์การ เมื่อสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง

  14. A workingperspective ผู้จัดการสามารถจัดหาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อม และทำการผลิตทรัพยากร ไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ด้วย กิจกรรมต่างๆของผู้จัดการจะเกี่ยวข้องกับ • การตัดสินใจ • การติดต่อสื่อสาร • โดยผู้จัดการสามารถทำการตัดสินใจ ในการวางแผน, การจัดการ, การสั่งงาน, การร่วมมือในการทำงาน และการควบคุมได้ และสามารถติดต่อสื่อสารกับแต่ละส่วนเหล่านี้ได้เช่นกัน ทั้งการตัดสินใจ และการติดต่อสื่อสาร เกิดขึ้นได้บนพื้นฐานของความรู้ (acquiring, storing, recalling, using, deriving, distributing)

  15. A working perspective ในการติดต่อสื่อสาร ผู้จัดการทำการส่ง/รับความรู้ ขบวนการติดต่อสื่อสารเกี่ยวข้องกับการส่งข้อความและนำไปใช้กับภาษาที่มีอยู่เดิม ในการตัดสินใจ ผู้จัดการเป็นผู้ผลิตความรู้ ได้แก่การอธิบายว่าต้องทำอะไรกับทรัพยากร การอธิบายถึงสถานะในอนาคต เป็นต้น ขบวนการผลิตความรู้ได้แก่ การอธิบาย “มันคืออะไร” “ต้องการอะไร” และ “คาดว่าจะเกิดอะไรขึ้น”

  16. เทคโนโลยีที่เป็น MSS • Decision Support System(DSS) • Group Decision Support System(GDSS) • Executive information System(EIS) • Expert Systems (ES) • Artificial Neural Network(ANN)

  17. Managers and Computerized Support(1) • ในอดีตผู้บริหารเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการตัดสินใจที่สำคัญ • อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อองค์กรและสังคมเพิ่มมากขึ้น • มนุษย์และเครื่องจักรมีการทำงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมากขึ้น เช่น การทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเงินเดือน(payroll), การทำบัญชี • มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในส่วนของการออกแบบและการบริหารงานแบบอัตโนมัติ ได้แก่การประเมินผลในการวางแผนการรวมองค์กรเข้ากับหน่วยงานอื่น และแผนในการจัดหาทรัพยากรเพิ่มเติม

  18. Managers and Computerized Support(2) • เริ่มมีวิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์ เกิดแนวคิดของระบบการทำงานแบบกระจาย และการทำงานในรูปแบบ Client/Server และมีพัฒนาการของซอฟต์แวร์ที่สะดวกในการใช้งานเกิดขึ้น • ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถใช้งานเพื่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และผู้บริหารยังสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ด้วย

  19. Managers and Computerized Support(3) เครื่องมือ(Tools)ที่ใช้สร้างระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่ • เครื่องมือที่สนับสนุนการสร้าง SpreadSheet • โปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยในการสร้าง, วิเคราะห์ และทำแบบจำลอง(Models), กราฟ และตารางข้อมูล • โปรแกรมที่ช่วยในการจัดทำตารางเวลาการบริหารและโครงงานในการบริหาร • โปรแกรมที่ช่วยในการเขียนบันทึกความจำแบบอิเล็กทรอนิกส์ • โปรแกรมที่ใช้สร้างรายงานได้

  20. Managers and Computerized Support(4) • ผู้บริหารนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้งานของตนมีความน่าเชื่อถือ, พร้อมทำงานได้ตลอดเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม, ไม่มีบ่น ไม่มีการผิดพลาด และไม่มีการนินทา • ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณ • มีพัฒนาการทางด้าน Hardware, Software และการสื่อสารข้อมูล • เปลี่ยนการทำงานแบบ Transaction processing และการตรวจสอบต่างๆไปเป็นโปรแกรมในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา • เกิดเป็นชุดโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจสำคัญๆสำหรับผู้บริหาร

  21. Managerial Decision Making • Management เป็นขบวนการการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยการใช้ทรัพยากร(คน, เงิน, พลังงาน, วัตถุดิบ, พื้นที่, เวลา) ทรัพยากรเหล่านี้ถือเป็น input ส่วนการที่บรรลุวัตถุประสงค์ถือเป็น output ของขบวนการ • ระดับความสำเร็จวัดได้โดยดูจากสัดส่วนที่แสดงให้เห็นความสามารถในการผลิตขององค์กร(Productivity) productivity=output(product,services) input(resources)

  22. Managerial Decision Making ระดับของ productivity หรือความสำเร็จของการบริหาร ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในการบริหาร ได้แก่ • การวางแผน(Planning) • การจัดการ(Organizing) • การกำหนดแนวทาง(Directing) • การควบคุม(Controlling)

  23. Managerial Decision Making • ในอดีตผู้บริหารที่ทำการตัดสินใจใช้ศิลปะส่วนตัวได้แก่ ไหวพริบและประสบการณ์การทำงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา(เรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก) • ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจซับซ้อนมากขึ้น

  24. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ Factor Trend Results Technology Information/Computer More alternatives to choose from Increasing Increasing Structure complexity Competition Larger cost of making errors Increasing Increasing International markets Political stability Consumerism Government intervention Increasing More uncertainty regarding the future Decreasing Increasing Increasing

  25. Managerial Decision Making การตัดสินใจในปัจจุบันมีความยุ่งยากกว่าในอดีต เนื่องจาก • จำนวนของทางเลือกมีมากขึ้น เพราะมีการปรับปรุงเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารมากขึ้น • อาจเสียค่าใช้จ่ายในกรณีที่ตัดสินใจผิดค่อนข้างมาก เพราะความซับซ้อนและขั้นตอนการดำเนินงานที่มีค่อนข้างมาก, การนำเครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนคน และผลกระทบต่อเนื่องต่อหลายส่วนขององค์กร อาจเกิดขึ้นได้จากการตัดสินใจผิดพลาดครั้งนั้นๆ • ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจยากในการเข้าถึง • การตัดสินใจต้องอย่างอย่างรวดเร็ว

  26. Managerial Decision Making • จากแนวโน้มที่กล่าวมา จึงไม่อาจเชื่อใจในวิธีการลองผิดลองถูกได้อีกต่อไป ผู้บริหารจึงต้องพยายามหาประสบการณ์ให้มากๆ ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ tools และเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับสาขางานที่รับผิดชอบ • วิธีการต่างๆจะใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของสาขาวิชาที่เรียกว่า Management Science(หรือ Operations Research)

  27. สาเหตุในการนำ DSS ที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ • Speedy Computation • Overcoming cognitive limits in processing and storage • Cost Reduction • Technical Support • Quality Support • Competitive edge: business process reengineering and empowerment

  28. A Framework for Decision Support • การตัดสินใจแบบ Structure(บางครั้งเรียกว่า programmed) เป็นการประมวลผลปัญหาที่เป็น routine และเกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งจะมีมาตรฐานในการตัดสินใจ แก้ปัญหาอยู่แล้ว • การตัดสินใจแบบ Unstructure (บางครั้งเรียกว่า Nonprogrammed) เป็นปัญหาแบบ “fuzzy” คือไม่ชัดเจน เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ซึ่งไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน • การตัดสินใจแบบ Semistructureเป็นการตัดสินใจระหว่างแบบ structure และแบบ unstructure คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบ structure ได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้

  29. A Framework for Decision Support ตามแนวคิดของ Simon ได้อธิบายขบวนการในการตัดสินใจว่ามี 3 ระยะ คือ • Intelligenceการหาเงื่อนไขซึ่งจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจ • Designสร้าง, พัฒนาและวิเคราะห์การดำเนินงานที่เป็นไปได้ • Choiceเลือกแนวทางหนึ่งแนวทางจากที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

  30. Type of Control Framework ตามแนวคิดของ Anthony จำกัดความหมายตามประเภทของกิจกรรมในการบริหาร แบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ • Strategic Planning • Management Control • Operational Control

  31. Strategic Planning • เป็นงานของผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ • การวางจุดมุ่งหมายระยะยาว • กำหนดทิศทางขององค์การ • กำหนดนโยบายในการจัดสรรทรัพยากร • ทำแผนกลยุทธ์ระยะยาว

  32. Management Control • เป็นงานของผู้ดำเนินการระดับกลาง ได้แก่ • การทำแผนปฏิบัติการ • การติดตามการทำงานตามแผน/ตรวจสอบว่าได้ดำเนินงานไปตามแผนหรือไม่ • การจัดหาทรัพยากร • การประเมินผลการทำงาน • ตรวจสอบว่ามีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การหรือไม่

  33. Operational Control • เป็นงานของผู้ดำเนินการระดับล่าง ได้แก่การดำเนินงานที่ผู้บริหารระบุไว้ ให้ได้ผล และมีประสิทธิภาพ

  34. ในปัญหาแบบ Structure • วิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือ การเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด โดยจุดประสงค์ทั่วไปก็เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด หรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดนั่นเอง • มักใช้แบบจำลองการทำงาน(Mathematical Model)เข้ามาช่วย, หรือใช้ data processing หรือ แบบจำลองในเชิง management science หรือ Operation Research เข้ามาใช้ และอาจใช้ DSS และ ES บ้างในบางกรณี

  35. ระดับ Operational Control ระดับ Management Control ระดับ Strategic Planning บัญชีลูกหนี้(Account Receivable) การสั่งของเข้า(Order Entry) ต้องทำอะไรบ้าง ให้เครดิตอย่างไร วิเคราะห์งบประมาณ(Budget Analysis) พยากรณ์(Forecasting) โดยใช้เครื่องมือช่วย Personal Report, Make or Buy การลงทุน จะลงทุนอะไรบ้าง, ที่ตั้งโกดังเก็บสินค้า(Warehouse Location)ควรตั้งที่ไหน, ระบบการจัดส่ง/การจำหน่าย(Distribution System) ควรเป็นอย่างไร ตัวอย่างปัญหาแบบ Structure

  36. ในปัญหาแบบ Semistructure • ใช้การรวมวิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐาน และการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบโดยมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน • คือมีลักษณะกึ่งโครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่าจะมีขั้นตอนอย่างไร ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ปัญหาบางส่วนไม่สามารถเขียนออกมาในรูปของแบบจำลองได้ • ตัวอย่างเช่น การทำสัญญาทางการค้า, การกำหนดงบประมาณทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ และการแสดงการวิเคราะห์ต้นทุนที่ได้รับมา

  37. ตัวอย่างปัญหาแบบ Semistructure • ตารางการผลิต(Production Scheduling) • การควบคุมสินค้าคงคลัง(Inventory Control) อาจต้องใช้วิจารณญาณของผู้บริหารร่วมกับการใช้ตัวแบบ • การประเมินค่าเครดิต(Credit Evaluation)) • การเตรียมงบประมาณ(Budget Preparation) • การจัดวางในโรงงาน(Plant Layout) • การจัดตารางการทำโครงงาน(Project Scheduling) อะไรทำเมื่อไร และอย่างไร • การออกแบบระบบการให้รางวัล(Reward System Design) • ระดับ Operational Control • ระดับ Management Control

  38. ตัวอย่างปัญหาแบบ Semistructure • การสร้างโรงงานใหม่(Building New Plant) • การรวมกิจการ หรือซื้อกิจการอื่น(Merging) • การวางแผนการออกสินค้าตัวใหม่(New Porduction Planning) • การวางแผนจ่ายค่าตอบแทนชดเชย(Compensation Planning) • การวางแผนการประกันคุณภาพ(Quality Assurance Planning) • ระดับ Strategic Planning

  39. ในปัญหาแบบ Unstructure • เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของผู้บริหารในการตัดสินใจ • ตัวอย่าง เช่น การวางแผนการบริการใหม่, การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาขึ้นมาหนึ่งกลุ่ม เพื่อนำไปใช้ในปีหน้า

  40. ระดับ Operational Control ระดับ Management Control ระดับ Strategic Planning ตัวอย่างปัญหาแบบ Unstructure • การเลือกรูปปกของนิตยสาร • การซื้อซอฟต์แวร์(Buying Software) • การอนุมัติเงินกู้(Approving Loan) • การต่อรองต่างๆ(Negotiating) • การคัดเลือกผู้บริหาร(Recruiting an Executive) • การซื้อฮาร์ดแวร์(Hardware Buying) • การพัฒนาและวิจัย(Research and Development) • การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่(New Technology Development) • การวางแผนการรับผิดชอบต่อสังคม(Social Responsibility Planning)

  41. การนำ DSS เข้ามาใช้ • จะเห็นว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถปรับปรุงคุณภาพของ information ได้(ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการตัดสินใจด้วย) • การแก้ปัญหาไม่ได้มีเพียงทางเดียวเท่านั้น แต่เป็นช่วงของทางเลือกต่างๆในการแก้ปัญหา ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจปัญหาและตัดสินใจได้ดีขึ้น

  42. การตัดสินใจแบบ semistructure และ unstructure การใช้เพียงวิธีการทาง MIS และ Management science นั้นไม่เพียงพอ จึงได้มีการเสนอให้ใช้ ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ เรียกว่า DSS ส่วน ES เกิดขึ้นในปีถัดมา เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุด สำหรับงานที่ต้องการความรู้ ความชำนาญมากๆ

  43. งานที่มีลักษณะเป็น structure และเป็นงานที่ทำในระดับ operational control ตัดสินใจโดยผู้บริหารระดับล่าง เป็นงานที่รับผิดชอบโดยผู้บริหารระดับสูง • สรุปได้ว่า DSS, EIS, ANN และ ES มักจะถูกนำไปใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง และผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนกลยุทธ์ และใช้กับปัญหาที่มีความซับซ้อนมาก

  44. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการตัดสินใจแบบ structure • การตัดสินใจแบบ structure และแบบ semistructure บางตัว โดยเฉพาะชนิด operational control และ management control สามารถนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตัดสินใจได้ • เช่น การตัดสินใจทางด้านการเงินและการผลิต • ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆและมีลักษณะแบบ structure มาก สามารถหาแนวทางแก้ไข และแยกแยะวิธีการแก้ปัญหาออกมาให้อยู่ในรูปของ prototype ได้

  45. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการตัดสินใจแบบ structure • ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจว่าจะ “ทำเองหรือซื้อ”, การทำงบประมาณต้นทุน(เช่น การหาอุปกรณ์ทดแทน), การจัดสรรทรัพยากร, การกระจายสินค้า, ขบวนการการทำงาน, การวางแผนงานและการควบคุมสินค้าคงคลัง • ปัญหาแต่ละปัญหาสามารถหาคำตอบได้ โดยการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย วิธีนี้เรียกว่า Management Science หรือ Operations research(OR)

  46. Management Science สำหรับวิธีการนี้ เป็นมุมมองซึ่งผู้บริหารสามารถดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ มีขั้นตอนดังนี้ • กำหนดปัญหา • แยกแยะปัญหาให้เข้ากับรูปแบบปัญหามาตรฐาน • สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ • หาคำตอบที่เหมาะสม และคำนวณค่าคำตอบออกมา • เลือกหนึ่งทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา ขบวนการนี้ใช้แนวคิดของ แบบจำลอง(Models) เป็นหลัก

  47. Decision Support Systems(1) • แนวคิดของ DSS เริ่มเกิดขึ้นก่อนปี 1970 โดย Scott-Morton ภายใต้ ระบบ Management Science โดย Scott ให้คำจำกัดความของ DSS ดังนี้ • “interactive computer-base systems, which help decision maker utilize data and models to solve unstructure problems” • interactive-ความสามารถติดต่อกับเครื่องได้โดยตรง ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าตัวแปร(ตัวเลขที่ได้จากระบบ MIS) เพื่อสั่งให้เครื่องคำนวณหาผลลัพธ์(ตามสมการจำลองที่อยู่ในชุดคำสั่ง) ในสถานการณ์ต่างๆได้

  48. Decision Support Systems(2) • Help-แม้คอมพิวเตอร์จะสามารถเสนอผลลัพธ์ของทางเลือกต่างๆกันได้ แต่การตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งยังคงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง ที่จะต้องใช้ประสบการณ์ และสัญชาติญาณ ประกอบการตัดสินใจด้วย DSS เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจ • data-หมายถึงค่าข้อมูลตัวเลขที่ใส่เข้าไปในสมการจำลอง • models-หมายถึงสมการจำลอง หรือ ตัวแบบ Data และ Models เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ DSS

  49. Decision Support Systems(3) • คำจำกัดความอีกอันหนึ่งถูกนิยามโดย Keen และ Scott-Morton กล่าวไว้ดังนี้ • “Decision support systems couple the intellectual resources of individauls with the capabilities of the computer to improve the quality of decisions. It is a computer-based support system for management decision makers who deal with semi-structured problems”

  50. Decision Support Systems Interactive Decision Support Other Systems Decision Support System Manager or Staff Specialist Management Workstation Databases

More Related