1 / 28

คเณศ สัมพุทธานนท์ บุญชัย กิจสนาโยธิน เพียงหทัย อินกัน

คเณศ สัมพุทธานนท์ บุญชัย กิจสนาโยธิน เพียงหทัย อินกัน. ระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ คืออะไร ???. ทะเบียนราษฎร ( civil registration). สถิติชีพ (Vital Statistics). ระบบทะเบียน ที่บันทึกข้อมูลเหตุการณ์สำคัญระดับบุคคลของประชากร (vital event) - การเกิด (Live birth)

merv
Download Presentation

คเณศ สัมพุทธานนท์ บุญชัย กิจสนาโยธิน เพียงหทัย อินกัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คเณศ สัมพุทธานนท์ บุญชัย กิจสนาโยธิน เพียงหทัย อินกัน

  2. ระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ คืออะไร ??? ทะเบียนราษฎร (civil registration) สถิติชีพ (Vital Statistics) ระบบทะเบียนที่บันทึกข้อมูลเหตุการณ์สำคัญระดับบุคคลของประชากร (vital event) - การเกิด (Live birth) - การตาย (Death), ทารกตาย (Fetal death) - การแต่งงาน - การหย่าร้าง - ทะเบียนอื่นๆที่กฎหมายกำหนด สถิติที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อชีวิตของบุคคล - การเกิด - การเจ็บป่วย - การตาย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

  3. ความสำคัญของระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพความสำคัญของระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ • ระบบทะเบียนราษฎร เป็นระบบทะเบียนที่บันทึกข้อมูลเหตุการณ์สำคัญระดับบุคคลของประชากร (vital event) การเกิด (Live birth) การตาย (Death) สถานภาพการสมรส(Marriage status) การหย่าร้าง (Divorce) และทะเบียนอื่นๆที่กฎหมายกำหนด • แหล่งข้อมูลระดับประชากร (Population-base) 1)การสำมโนประชากรและครัวเรือนเรือน (Population and housing census) 2) ระบบข้อมูลทะเบียนราษฎร (civil registration) 3) การสำรวจระดับประชากร (population survey) • ระบบสาธารณสุขมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับทะเบียนราษฎร โดยการนำข้อมูลจากทะเบียนมาวิเคราะห์และกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้รหัสสาเหตุการตาย เพื่อประมวลผลเหตุการณ์และจัดทำรายงานสถิติชีพ

  4. วิวัฒนาการของประเทศไทย ของระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ หลังปี 2539 ระบบการวิเคราะห์ และ ออกรายงานสถิติชีพ

  5. สถานระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพของประเทศไทย ??? • ปัจจุบันพบว่าระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพของประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ ประเทศ มักจะยังไม่มีระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ หรือถ้ามีก็มักจะยังไม่ดีพอ ส่งผลให้มีข้อมูลสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับประชากร ภาวะเจริญพันธุ์ และ การตาย ที่ไม่สมบูรณ์ • ประเทศไทยมีสถานการณ์ระบบทะเบียนราษฎรและสถิติ เป็นอย่างไรหรือมีส่วนที่ต้องปรับปรุงอะไรคือจุดแข็ง จุดอ่อนของระบบของประเทศไทย ????

  6. วัตถุประสงค์การประเมินวัตถุประสงค์การประเมิน • เพื่อประเมินสถานการณ์ระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพของประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือการประเมินเบื้องต้น (Rapid assessment CRVS tool) และ Comprehensive assessment • ค้นหาปัญหาและโอกาสของการพัฒนาระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ ของประเทศไทย และจัดทำข้อเสนอการพัฒนาระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพของประเทศ • เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพของประเทศ เพื่อบูรณาการระบบการทำงานร่วมกัน

  7. เครื่องมือสำหรับการประเมินเครื่องมือสำหรับการประเมิน • Phase 1 – Leadership coordination and review • Phase 2 – Priority setting and planning • Phase 3 – Implementation

  8. กระบวนการลงทะเบียน/ความครอบคลุมกระบวนการลงทะเบียน/ความครอบคลุม การออกใบรับรอง/การให้สาเหตุการตาย การให้รหัสการตาย/บุคคลให้รหัส กรอบการประเมินระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ กฎหมาย/ข้อบังคับ ทรัพยากร/โครงสร้าง/หน้าที่ การตรวจสอบข้อมูล การเผยแพร่และใช้ประโยชน์ • Rapid assessment มีจำนวน 25 ข้อ หมวดที่ 1กฎหมายและระเบียบสำหรับระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ (3 ข้อ) หมวดที่ 2 ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบการลงทะเบียน (3 ข้อ) หมวดที่ 3 องค์กร หน้าที่และการทำงานของระบบสถิติชีพ (2 ข้อ) หมวดที่ 4 ความครอบคลุมของการลงทะเบียนการเกิดและการตาย (2 ข้อ) หมวดที่ 5 การเก็บรวบรวมข้อมูลและกระบวนการส่งต่อข้อมูล (2 ข้อ) หมวดที่ 6 การให้รหัสโรคที่สอดคล้องกับมาตรฐานของรหัส ICD และการออกใบรับรองการตายทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล(2 ข้อ) หมวดที่ 7 กระบวนการทำงานที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย(2 ข้อ) หมวดที่ 8 การปฏิบัติในการให้รหัส ICD (1 ข้อ) หมวดที่ 9 การจัดอบรมและคุณสมบัติของผู้ให้รหัสโรครวมทั้งคุณภาพของการให้รหัส (2 ข้อ) หมวดที่ 10 การตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล (2 ข้อ) หมวดที่ 11 การเข้าถึงข้อมูล การใช้ และการเผยแพร่ข้อมูล (3 ข้อ) INPUT OUTPUT PROCESS

  9. การวัดและประเมินผล ข้อคำถาม (25 ข้อ)................................................................ ตัวเลือกA……. B............ C…… D……

  10. ประชุม core stakeholders ร่วมทำ Rapid Assessment และ Comprehensive Assessment • Core stakeholders สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  11. ผลการประเมิน

  12. หมวดที่ 1 กรอบที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและระเบียบสำหรับงานระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ • 1) การบังคับใช้กฎหมาย (3) • 2) ข้อกำหนดสำหรับสถานพยาบาล (3) • 3) กฎหมายระบุสาเหตุการตาย และบุคคลที่ให้สาเหตุการตาย (2) • พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่ม2551 โดยมีการออกเลข 13 หลักให้ทุกคนที่เกิดบนแผ่นดินไทย ซึ่งเลขรหัสตัวแรกจะแบ่งประเภทของบุคคล • ระบบการรายงานของสถานพยาบาลจะออกใบรับรองและผู้ใช้บริการนำใบรับรองไปแจ้งการลงทะเบียนต่อสำนักทะเบียนราษฎร์ • ข้อกำหนดการตายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ • ตายในโรงพยาบาล --->> แพทย์เป็นผู้ให้สาเหตุการตาย • ตายนอกโรงพยาบาล --->> กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ให้สาเหตุการตาย

  13. หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรสำหรับการลงทะเบียน • 4) สำนักงาน/หน่วยบริการหรือจุดให้บริการทะเบียนราษฎร (3) • 5) อุปกรณ์และทรัพยากร (3) • 6) การฝึกอบรมของนายทะเบียน (3) • จำนวนหน่วยให้บริการมีความครอบคลุมทุกจังหวัดตามการแบ่งระดับการปกครอง • จังหวัด  อำเภอ  เทศบาล • อุปกรณ์มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ • ทรัพยากรบุคคล • มีการจัดอบรมทุกปีโดยแบ่งจัดประชุมตามภาคต่าง ๆ

  14. หมวดที่ 3 องค์กร หน้าที่และความรับผิดชอบของระบบสถิติชีพ • 7) การประสานงานหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ (2) • 8) การรายงานสถิติชีพทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น (3) • มีการประชุมระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน • - มีหน่วยงานที่รายงานสถิติชีพ • สำนักบริหารการทะเบียน มีการรายงานจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในราชกิจจานุเบกษา • สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีการรายงานโดยใช้การสำรวจ • กระทรวงสาธารณสุข มีการรายงานสถิติการเกิดการตาย และสาเหตุการตาย

  15. หมวดที่ 4ความครบถ้วนสมบูรณ์ของการลงทะเบียนเกิดหรือตาย • 9) การประเมินการลงทะเบียนการเกิด (3) • 10) การประเมินการลงทะเบียนการตาย (3) • มีการประเมินการลงทะเบียนการเกิดและตาย • โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ • ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีการประเมิน และผลการประเมินความสมบูรณ์ในการลงทะเบียนการเกิดและตายสูงกว่า 90% • ช่วงเวลาของการประเมินกึ่งกลางของปีที่อยู่ระหว่างสำมะโนประชากร • วิธีการประเมินโดยใช้การสำรวจเทียบกับข้อมูลการลงทะเบียน ความสมบูรณ์ในการลงทะเบียน การเกิดคิดเป็น 96.7 %และการตายคิดเป็น 95.2 % จากการข้อมูลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากร (Survey of Population Change: SPC) ปี 2548

  16. หมวดที่ 5 การเก็บรักษาและการส่งต่อข้อมูล • 11) มีการส่งข้อมูลการเกิดและการตายจากสำนักงานส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคไปยังสำนักงานส่วนกลาง (3) • 12) กระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าสำนักงานส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคมีการรายงานข้อมูลไปยังสำนักงานส่วนกลางภายในเวลาที่กำหนด (3) • ประเทศไทยใช้ระบบออนไลน์ทำให้การส่งข้อมูลตรงเวลา

  17. หมวดที่ 6 การให้รหัส/ปัญหา ICD และการออกใบรับรองการตายนอกโรงพยาบาล • 13) แบบฟอร์มการระบุสาเหตุการตายทางการแพทย์ที่เป็นสากลสำหรับการรายงานและมีแพทย์ใช้ฟอร์มนี้ทุกรายการ (2) • 14) การใช้เครื่องมือในการสอบสวนสาเหตุการตายด้วยการสัมภาษณ์ (Verbal autopsy) เพื่อบอกสาเหตุการตายเป็นประจำและครอบคลุม (2) • แบบฟอร์มสำหรับการตาย • ในโรงพยาบาล  มีแบบฟอร์ม (ท.ร4 /1) สำหรับใบรับรองสาเหตุการตายที่อ้างอิงจาก WHO • นอกโรงพยาบาล  มีแบบฟอร์ม (ทร.4 ตอนหน้า) เป็นใบรับแจ้งการตาย • มีการใช้ Verbal Autopsy (VA) tool ที่ได้มาตรฐานตามแบบของ WHO แต่มีการปรับเป็น Modify VA เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและโรคของประเทศไทย • 2554 เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 15 จังหวัด • 2555 เจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย5 จังหวัด

  18. การให้รหัส/ปัญหา ICD และการออกใบรับรองการตายโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขให้รหัส แพทย์ออกหนังสือ รับรองการตาย ในโรงพยาบาล แจ้งต่อสำนักทะเบียน จำหน่ายรายการในทะเบียนบ้าน ออกใบมรณบัตร แจ้งต่อกำนัน,ผู้ใหญ่ เพื่อให้ออกใบรับแจ้งการตาย นอกโรงพยาบาล

  19. หมวดที่ 7 กระบวนการทำงานที่ผลต่อคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย • 15) มีการฝึกอบรมการระบุ (2) • 16) สาเหตุของการตายที่ระบุว่า “ไม่ทราบสาเหตุของการตาย”(Ill-defined and unknown causes of mortality) น้อยกว่า 10% (1) • มีรายวิชาที่บรรจุในหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์และมีการจัดคอร์สอบรมระยะสั้น • การระบุสาเหตุการตายด้วยไม่ทราบสาเหตุการตาย คิดเป็นร้อยละ 34%

  20. หมวดที่ 8 การให้รหัส ICD • 17) คู่มือการให้รหัส ICD ตามมาตรฐานสากล(3) • หนังสือคู่มือ ICD มีฉบับภาษไทยที่แปลจากฉบับสากลขององค์การอนามัยโลก และปรับเพิ่มเป็น ICD 10 TM • โดยปัจจุบันประเทศไทยใช้รหัส ICD10 ในการให้รหัสการวินิจฉัย

  21. หมวดที่ 9 คุณสมบัติผู้ให้รหัส การฝึกอบรม และคุณภาพการให้รหัส • 18) คุณสมบัติผู้ให้รหัส ICD ที่สอดคล้องกับหลักการและกฎการให้สาเหตุการตายของ ICD (3) • มีกระบวนการในการประกันคุณภาพให้รหัส (3) • ผู้ให้รหัสจะได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรรหัส ICD ระยะสั้น และผ่านการทดสอบขั้นพื้นฐาน การให้รหัสในกรณีที่ซับซ้อนได้จากการเรียนรู้ระหว่างการทำงานจากผู้ให้รหัสที่เชี่ยวชาญ • มีกระบวนการการตรวจสอบคุณภาพการให้รหัสในระดับประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างการรับรองการตายมาตรวจสอบ

  22. หมวดที่ 10 ตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล • การตรวจสอบความสอดคล้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลภาวะเจริญพันธุ์และข้อมูลการตายก่อนการเผยแพร่อย่างเป็นประจำ นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ (2) • การตรวจสอบความสอดคล้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลการตายและสาเหตุการตาย (2) • มีการตรวจสอบความสอดคล้องภาวะเจริญพันธุ์และการตายในสถิติชีพเป็นประจำ โดยการเปรียบเทียบอัตราภาวะเจริญพันธุ์และการตายในช่วงเวลาต่างๆ • มีการตรวจสอบแนวโน้มสาเหตุการตายเป็นประจำต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่า กลุ่มโรค และ รูปแบบแนวโน้มการตายของแต่ละปีที่ผ่านมา และถ้าข้อมูลแสดงถึงความเบี่ยงเบนก็สามารถอธิบายความผันแปรนั้นได้

  23. หมวดที่ 11 การเข้าถึง การเผยแพร่และการใช้ข้อมูล • การเผยแพร่ข้อมูลเกิดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (3) • การเผยแพร่ข้อมูลการตายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (3) • ความล่าช้าในการรายงานข้อมูลรายงานสถิติชีพ (3) • ข้อมูลสถิติถูกนำไปใช้ในประกอบการกำหนดนโยบายและการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงานต่างๆ (3) • มีการเผยแพร่ข้อมูลรายงานประจำปีการเกิดและตายเป็นประจำ • ความล่าช้าในการายงานน้อยกว่า 2 ปี • ข้อมูล การเกิด การตาย และสาเหตุการตาย ได้ถูกนำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและติดตามสภาวะสุขภาพของประชากร อย่างกว้างขวาง รวมถึงมีการใช้ข้อมูลสาเหตุการตายสำหรับการวางแผนงานด้านสาธารณสุข

  24. สรุปผลการประเมินรายข้อสรุปผลการประเมินรายข้อ

  25. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย • ตั้งคณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานด้านทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ ส่งเสริมการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ดำเนินการด้านระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพเพื่อให้เกิดเครือข่ายที่บูรณการในการทำงานร่วมกัน • ส่งเสริมให้มีหลักสูตรการให้ความรู้การให้สาเหตุการตายและรหัสโรคอย่างแพร่หลาย • เพิ่มบุคคลากรที่สามารถให้สาเหตุการตายในกลุ่มที่เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล • ส่งเสริมการกระบวนตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล • กำหนดให้มีการคุณภาพการให้รหัสและมีกระบวนการส่งข้อเสนอแนะให้กับผู้ให้รหัสทราบ เพื่อการปรับปรุงการให้รหัสมีคุณภาพ เพื่อการลดการระบุการให้สาเหตุด้วย “ไม่ทราบสาเหตุของการตาย”(Ill-defined and unknown causes of mortality) • ให้มีการบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง มีแผนป้องกันปัญหาระบบเกิดความขัดข้อง • นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยเพิ่มคุณภาพสาเหตุการตาย ได้แก่การใช้ Verbal Autopsy • เพิ่มช่องทางการให้ข้อมูลสำหรับการให้สาเหตุการตายในหลายรูปแบบ เช่น Tele-medicine

  26. Thank you Q & A

More Related