1 / 17

การจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุง

การจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุง. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนความสำเร็จขององค์กรต้นแบบตามระยะเวลาที่กำหนดในโครงการของจังหวัด คัดเลือกองค์กรต้นแบบมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( พ.ย ) จัดตลาดนัดความรู้รวมพลคนลดพุง ( ก.พ ). เป้าหมายของการจัดการความรู้.

merrill
Download Presentation

การจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุงการจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุง • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนความสำเร็จขององค์กรต้นแบบตามระยะเวลาที่กำหนดในโครงการของจังหวัด • คัดเลือกองค์กรต้นแบบมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( พ.ย ) • จัดตลาดนัดความรู้รวมพลคนลดพุง ( ก.พ )

  2. เป้าหมายของการจัดการความรู้เป้าหมายของการจัดการความรู้ • เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น • เพื่อพัฒนาคนหรือผู้ปฏิบัติงาน • เพื่อพัฒนาฐานความรู้ขององค์การ

  3. แนวคิดเรื่องKM create/leverage access/validate สร้าง/ยกระดับ เข้าถึง/ตีความ ความรู้เด่นชัด Explicit Knowledge ความรู้ซ่อนเร้น Tacit Knowledge นำไปปรับใช้ รวบรวม/จัดเก็บ เรียนรู้ร่วมกัน store capture & learn apply/utilize care & share เรียนรู้/ยกระดับ มีใจ/แบ่งปัน เน้น “2T” Tool & Technology เน้น “2P” Process & People

  4. Explicit Knowledge อธิบายได้ แต่ยังไม่ถูกนำไปบันทึก อธิบายได้ แต่ไม่อยากอธิบาย ( 1 ) อธิบายไม่ได้ ( 2 ) ( 3 ) Tacit Knowledge

  5. การเตรียมกระบวนการ (BAR;Before Action Review ) • ทบทวนเป้าหมาย วัตถุประสงค์ • เตรียม คน ( คนเล่า ผู้ดำเนินการ คนจดบันทึก ) • สถานที่ • วัสดุ อุปกรณ์

  6. การเตรียมคนเล่า • เป็นผู้มีประสบการณ์ในเรื่องที่เล่าด้วยตนเอง ภูมิใจในความสำเร็จที่ตนเองกำลังเล่าและมีจิตใจพร้อมที่จะถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังในฐานะกัลยาณมิตร • ในการเล่าเรื่อง ผู้เล่าควรเตรียมการทบทวนเรื่องราวที่จะเล่ามาเป็นอย่างดี เพื่อถ่ายทอดให้ผู้ฟังได้รับทราบ ได้อย่างที่ตนเองต้องการ ภายในเวลา 3-5 นาที • เรื่องที่จะเล่าให้เลือกเพียงประเด็นเดียวและเล่าสั้นๆ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้อง เล่าตามความเป็นจริง ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องตีความหรือสรุปความ • ในเรื่องเล่า ท่านทำอย่างไรในเรื่องนั้นๆ อะไรคือจุดสำคัญที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ ท่านมีบทบาทในเรื่องนั้นอย่างไร • เรื่องเล่าถือเป็นข้อมูลดิบ สำหรับให้สมาชิกกลุ่มผลัดกันตีความ และสรุป เพื่อดึงความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่านั้น

  7. การทบทวนระหว่างปฎิบัติการ ( DAR; During Action Review) สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เสริมพลังผู้เล่า ช่วยกันสกัดหรือถอดความรู้อย่างชื่นชมและสร้างสรรค์

  8. ทบทวนหลังปฎิบัติการ (AAR;After Action Review) • AAR เป็นการเรียนรู้สรุปบทเรียนจากประสบการณ์หลังเสร็จงาน • AAR อาจใช้ในการทำงานเป็นชิ้นๆ สั้นๆ หรือ ใช้ในการตรวจสอบการเรียนรู้และนำไปใช้ปรับปรุงงานเป็นระยะๆ ก็ได้ และใช้สรุปบทเรียนเมื่องานชิ้นนั้นเสร็จสิ้นได้ด้วย • คำถามหลักในการทำ AAR ได้แก่ • ท่านคาดหวังอย่างไรก่อนมาประชุมครั้งนี้ • เป็นไปตามความคาดหวังหรือไม่ อะไรที่ได้มากกว่า และอะไรที่ได้น้อยกว่า • จะนำสิ่งที่ได้ไปทำอะไรต่อ

  9. การถอดบทเรียน การถอดบทเรียน หมายถึง วิธีการจัดการความรู้รูปแบบหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นความรู้จากการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการสกัดความรู้และประสบการณ์ที่ฝังลึกจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ร่วมปฏิบัติงานและบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน และความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน ทั้งที่สำเร็จหรือล้มเหลวจากการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถเผยแพร่ ศึกษาเรียนรู้ได้ เน้นการพูดคุย สัมภาษณ์ เล่าเรื่อง สังเคราะห์ จับประเด็น ให้ได้ กระบวนการวิธีดำเนินงาน ในเชิงบทเรียนหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่เน้นรูปแบบวิธีการวิจัย

  10. ถอดบทเรียนด้วยเทคนิค “เล่าเรื่อง” (Story Technique) คนเล่าเรื่องที่ดี • ค้นพบประเด็นหลัก • จัดระบบความคิด • นำเสนอหลักฐานเพื่อยืนยันความคิด • ฟังสถานการณ์รอบด้าน • ลำดับข้อมูลก่อนการถ่ายทอด • เลือกใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจน

  11. ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นเตรียมการก่อนปฏิบัติการ • เตรียมทีมงาน 2-3 คน หาคนที่มีทักษะสนใจ อยากรู้ อยากทำ แบ่งหน้าที่ คุณอำนวยในทีม เดินเรื่อง พูดคุย จดบันทึก จับประเด็น ซึ่งต้องเข้าใจงานซึ่งกันและกัน • เตรียมอุปกรณ์ สื่อ เทคนิค กล้องถ่ายรูป อื่น ๆ ตามประเด็นที่ต้องการศึกษา • เตรียมกรอบเนื้อหา ประเด็น ศึกษาเนื้อหา พื้นที่ โครงการที่เกี่ยวข้อง • เตรียมกรอบ แนวทางขั้นตอนการศึกษาและกรอบคำถาม เตรียมประเด็นพูดคุย • เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่จะพูดคุย ใครมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือใครคือภาคีพัฒนา • นัดหมายวัน เวลา สถานที่

  12. ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นปฏิบัติการถอดบทเรียน 1. การเริ่มต้น : แนะนำตัว แนะนำวัตถุประสงค์ ความเป็นมา -สร้างบรรยากาศ (เกม หรือ เพลง ละลายพฤติกรรม) -กำหนดกติกา (เป้าหมาย วิธีการถอดบทเรียน หน้าที่ของผู้ร่วมถอดบทเรียน ข้อพึงระวัง) -จัดกิจกรรมอุ่นเครื่อง 2. เปิดประเด็นคำถาม “ผู้รู้เล่า ผู้ศึกษาฟัง/ถาม ผู้รู้เล่า” ผู้จดบันทึกตามรูปแบบ เทคนิค ที่จะใช้สังเกตบรรยากาศ เนื้อหา สาระ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ - เล่าประสบการณ์จากวิธีการปฏิบัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรียน - เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดกับวิธีปฏิบัติจริง

  13. ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นประมวลสรุปข้อมูล ทีมงานต้องนำข้อมูลที่ได้จากชุมชนมารวบรวม ทบทวนความถูกต้อง สมบูรณ์ ตรวจสอบ ปรับปรุง เทียบเคียงข้อมูลที่ได้ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน การทำอยู่คนเดียวจะเป็นจุดอ่อนของทีม ทุกคนต้องช่วยเติมเต็มร่วมกัน ขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความ การอธิบายตีความ อะไรที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เบื้องหลังความเป็นมา การแก้ไขปัญหา อุปสรรค วิธีคิดและรูปแบบความเคลื่อนไหวสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ต้องอธิบาย เชื่อมโยง เพื่อสร้างความสมบูรณ์และสร้างคุณค่าให้กับบทเรียน

  14. ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นเขียนรายงานการถอดบทเรียน แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ คือ • ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์การถอดบทเรียน • การเตรียมการถอดบทเรียน (เล่าขั้นตอน รายละเอียด วิธีการ ทีมงาน บทบาทหน้าที่ กรอบแนวคิด เทคนิค ปฏิทิน กลุ่มเป้าหมาย) • เนื้อเรื่องการดำเนินการถอดบทเรียน - วิธีการปฏิบัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรียน - วิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดในแผนปฏิบัติงาน - เปรียบเทียบความแตกต่าง - สิ่งที่ทำได้ดีจากการปฏิบัติงาน สาเหตุที่ทำได้ดี -ข้อเสนอแนะวิธีปฏิบัติงานต่อไปให้ดีขึ้น -ปัญหาอุปสรรค -วิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอุปสรรค -ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  15. ตัวอย่างโครงสร้างการเขียนตัวอย่างโครงสร้างการเขียน • บริบทพื้นที่ • การดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน - เบื้องหลังความคิด - แรงบันดาลใจที่ทำ • เทคนิค วิธีการ ลูกเล่น กลเม็ด ในการดำเนินงาน • ผลที่เกิดขึ้นในเชิงความสำเร็จและปัญหาอุปสรรครวมทั้งการแก้ไข • วิเคราะห์เงื่อนไข ปัจจัยสู่ความสำเร็จทั้งภายในและภายนอก • สังเคราะห์ สรุป - ความสำคัญขององค์ความรู้ที่ถอดบทเรียนรู้ที่ได้ - สิ่งที่มีคุณค่า สำหรับตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมโดยรวม - ทางเลือก ทางออกในการแก้ปัญหาชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างไร • คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ

  16. ภาษิต คำคม KM • Knowledge resides in the users and not in the collection.ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้(Y. Maholtra) • KM is a Journey, not a destination.  การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai) • A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle. ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ(Kahlil Gibran)

  17. ภาษิต คำคม KM • Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private. ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล • Knowledge is not what you know, but is what you do. ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ • Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents but rather interactions between people. การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน

More Related