480 likes | 1.48k Views
การปฐมพยาบาล คนถูกไฟไหม้ . โดย 1.นางสาว วาสนา สาภู 2.นางสาว วราภรณ์ พลเดชา 3.นางสาว ประภาพร ภูครองนา. วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก.
E N D
การปฐมพยาบาล คนถูกไฟไหม้ โดย 1.นางสาว วาสนา สาภู 2.นางสาว วราภรณ์ พลเดชา 3.นางสาว ประภาพร ภูครองนา
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกวิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก • ..... แผลถูกไฟไหม้ หมายถึงแผลที่ผิวหนังหรือเนื้อถูกทำลายเนื่องจากถูกความร้อน ซึ่งอาจเกิดจากไฟหรือกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ รวมถึงการถูกสารเคมีวัตถุจำพวกกรดและด่างด้วยแผลถูกน้ำร้อนลวก หมายถึง แผลที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อต่างๆ ถูกทำลายเนื่องจากถูกความร้อนจากสิ่งต่างๆ เช่น น้ำเดือด ไอน้ำ หรือน้ำมันร้อนๆ เป็นต้นอาการของผู้ที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกผู้ที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก จะมีอาการและอันตรายมากหรือน้อยก็แล้วแต่ผิวหนังที่ถูกไหม้หรือลวก หากมีบาดแผลกว้างจะทำให้ติดเชื้อและมีโรคแทรกซ้อนได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ระยะของอาการและอันตรายก่อนที่จะปฐมพยาบาล ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกวิธีปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก • ระยะช็อคขั้นต้นระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการช็อคทันที เมื่อถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติ ชีพจรเต้นเบาแต่เร็วมาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก และอาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีและรวดเร็ว • ระยะช็อคขั้นที่สองจะเกิดขึ้นภายหลังจากถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกแล้วประมาณ 2 -24 ชั่วโมงอาการคล้ายอาการช็อคขั้นต้น แต่รุนแรงกว่า การช็อคขั้นนี้มีสาเหตุมาจากการเสียน้ำในร่างกายมาก เพราะถูกไฟเผาและเหงื่อออก • ระยะเกิดพิษระยะเกิดพิษจะเป็นระยะที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดหนองที่บาดแผล อาการขั้นนี้จะเกิดขึ้นภายหลังจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกมาแล้วประมาณ 48 - 72 ชั่วโมง อาการระยะนี้จะมีอาการอักเสบ มีหนอง มีไข้สูง ชีพจรเต้นเร็ว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และอาจถึงแก่ความตายได้ • ระยะเกิดแผลเป็นเมื่อบาดแผลหายมักจะเกิดแผลเป็นขึ้นจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่บาดแผล ที่ถูกไหม้หรือลวก หรือการรักษาถูกต้องเพียงใด
การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ปฏิบัติได้ดังนี้ • ถ้ามีอาการช็อค ควรรักษาอาการช็อคเสียก่อน โดยปฏิบัติดังนี้ • ยกปลายเท้าให้สูงกว่าระดับศีรษะ • ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณบาดแผล • ถ้ามีอาการปวดมากควรใช้ยาระงับปวด • ถ้าหากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการผายปอด • แต่งบาดแผล โดยปฏิบัติดังนี้ • ตัดเสื้อที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกออ • ตัดผิวหนังส่วนที่พองออก เพราะอาจลุกลามให้เกิดหนองได้ และอาจทำให้ทายาได้ไม่ถึงบาดแผล • ล้างบาดแผลด้วยน้ำอุ่น น้ำด่างทับทิม หรือน้ำเกลือ • ใช้ยาทาบาดแผล เช่น น้ำมันพืช ขี้ผึ้งซัลฟา หรือขี้ผึ้งยูคาลิปตัส เป็นต้น • ถ้ามีอาการมากต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
บาดแผลที่เกิดจาก ไฟไหม้น้ำร้อนลวก และการปฐมพยาบาล • บาดแผลที่เกิดจาก ไฟไหม้น้ำร้อนลวกบาดแผลลวกคือ แผลที่เกิดจากความร้อนเช่น - ความร้อนจากเปลวไฟหรือไฟไหม้ - ความร้อนจากไอน้ำเดือดหรือของเหลวร้อน - ความร้อนจากสารเคมี - ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าดูด หรือฟ้าผ่า - ความร้อนจากรังสี ต่าง ๆ อาการที่ได้รับคือ ปวดแสบปวดร้อนผิวหนังแดงพอง หรืออาจเป็นรอยไหม้เกรียมในกรณีที่ถูกรังสีมาก ๆและควรระวังผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดซึ่งอาจเกิดสภาวะหยุดหายใจได้ ต้องรีบผายปอดทันทีจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจเองได้ • การปฐมพยาบาล ผู้ป่วยแผลลวก ควรปฏิบัติดังนี้ - ถอดหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก - แต่ถ้าบางส่วนติดแน่นกับผิวหนังไม่ควรดึงออก - ควรใช้น้ำเย็นราดบริเวณผิวหนังที่ถูกความร้อน เพื่อลดความร้อนที่จะไปทำลายผิวหนัง - ถ้าปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งวางประคบตรงบริเวณแผลหรือ - ปิดด้วยผ้าก๊อสเพื่อป้องกันมิให้ถูกอากาศภายนอก - ใช้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือ ขี้ผึ้ง วาสลิน ทาบนผ้าก๊อสปิดบริเวณแผล - ถ้าถูกสารเคมีต้องรีบล้างสารเคมีนั้นออกจากผิวหนังด้วยน้ำสะอาดโดยเร็วที่สุด - ถ้ากระหายน้ำให้ดื่มน้ำเล็กน้อย และไม่ควรให้น้ำเย็นจัด - ถ้ามีอาการมากต้องรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว
อุปกรณ์ปฐมพยาบาล • สำลี • ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์) • คีมสำหรับบ่งเสี้ยน • ผ้าสามเหลี่ยม • ผ้ากอซพันแผลขนาดต่างๆ • กรรไกรขนาดกลาง • เข็มกลัดซ่อนปลาย • แก้วล้างตา • พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น • ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก ( Elsatic bandage) • ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้
ไฟไหม้/น้ำร้อนลวก Burns • ลักษณะทั่วไปบาดแผลไฟไม้น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนพอทนได้ และค่อย ๆ หายไปได้เอง แต่ถ้าเป็นมาก (กินบริเวณกว้าง และแผลลึก) มักมีจะภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทุพพลภาพหรือตายได้สาเหตุมักเกิดจากความประมาทเลินเล่อ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ สิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ที่พบได้แก่1. ความร้อน เช่น น้ำร้อน (หม้อน้ำ กระติกน้ำ กาน้ำ ไอน้ำ) น้ำมันร้อน ๆ (ในกะทะ) ไฟ (เตาไฟตะเกียง บุหรี่ ประทัด พลุ) วัตถุที่ร้อน (เช่น เตารีด จานชามที่ใส่ของร้อน)2. ไฟฟ้าช็อต ดูรายละเอียดเพิ่มเติม3. สารเคมี เช่น กรด ด่าง4. รังสี เช่น แสงอัลตราไวโอแลต (แสงแดด) รังสีเรเดียม รังสีโคบอลต์ ระเบิดปรมาณู เป็นต้น
อาการอาการขึ้นกับ ขนาด ความลึก และตำแหน่งของบาดแผล • 1. ขนาด หมายถึงบริเวณพื้นที่ของบาดแผล แผลขนาดใหญ่ (กินบริเวณกว้าง) จะมีอันตรายกว่าแผลขนาดเล็ก อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีน และเกลือแร่ ถึงกับเกิดภาวะช็อกได้ และอาจมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นเป็นโลหิตเป็นพิษ ถึงตายได้การประเมินขนาดกว้างของบาดแผล นิยมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย ถ้าคิดหยาบๆให้เทียบเอาว่า แผลขนาดหนึ่งฝ่ามือ (ของผู้ป่วย) เท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่วร่างกาย เช่นถ้าแผลมีขนาดเท่ากับ 10 ฝ่ามือ ก็คิดเป็นประมาณ 10% เป็นต้นทางการแพทย์ได้แบ่งเปอร์เซ็นต์ของผิวหนัง ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นมาตรฐานทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งสะดวกในการคิดคำนวณ2. ความลึก ผิวหนังมีความลึก 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) และชั้นหนังแท้ (dermis)เราแบ่งบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ออกเป็น 3 ขนาด ด้วยกัน ดังนี้
ก. บาดแผลดีกรีที่ 1 ข. บาดแผลดีกรีที่ 2 ค. บาดแผลดีกรีที่ 3 • ก. บาดแผลดีกรีที่ 1 หมายถึง บาดแผลที่มีการทำลายของเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้นหนังกำพร้าชั้นในยังไม่ถูกทำลาย สามารถเจริญขึ้นมาแทนที่ส่วนผิวนอกได้ จึงมีโอกาสหายได้สนิทและไม่มีแผลเป็น (ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้ออักเสบ)มักเกิดจากการถูกแดดเผา (อาบแดด) การถูกน้ำร้อนไอน้ำเดือด หรือวัตถุที่ร้อนเพียงเฉียด ๆ และไม่นาน ผิวหนังส่วนที่เป็นบาดแผลจะมีลักษณะแดงบวมเล็กน้อย และปวดแสบปวดร้อน ไม่มีตุ่มพอง หรือหนังหลุดลอกมีลักษณะแบบเดียวกับรอยแดดเผาซึ่งถือเป็นบาดแผลไหม้ดีกรีที่ 1แบบหนึ่งบาดแผลดีกรีที่ 1 ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ และโปรตีนจึงไม่ต้องคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผิวหนังที่เกิดบาดแผล มักจะหายได้เองและไม่มีอันตรายร้ายแรง
ข. บาดแผลดีกรีที่ 2 หมายถึงบาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น (ทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุด) และหนังแท้ ส่วนที่อยู่ตื้น ๆ (ใต้หนังกำพร้า)แต่ยังมีเซลล์ที่สามารถเจริญทดแทนส่วนที่ตายได้ จึงหายได้เร็วและ ไม่เกิดเป็นแผลเป็นเช่นกัน (ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้อ)มักเกิดจากถูกของเหลวลวก หรือถูกเปลวไฟบาดแผลจะมีลักษณะแดงและพุเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็ก และใหญ่ ผิวหนังอาจหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อแดง ๆ มีน้ำเหลืองซึม มีอาการเจ็บปวด อาจทำให้สูญเสียน้ำ โปรตีนและเกลือแร่และติดเชื้อได้ง่าย
ค. บาดแผลดีกรีที่ 3 หมายถึง บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมดรวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขนและเซลล์ประสาท ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลผิวหนังทั้งชั้นจะหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อแดง ๆ หรือแดงสลับขาว หรือเป็นเนื้อที่ไหม้เกรียมมักเกิดจากไฟไหม้หรือถูกของร้อนนาน ๆ หรือไฟฟ้าช็อต ถือเป็นบาดแผลที่ร้ายแรง อาจเกิดภาวะขาดน้ำหรือติดเชื้อรุนแรงได้แผลมักจะหายยาก และเป็นแผลเป็นในการเกิดบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกแต่ละครั้ง อาจมีบาดแผลที่มีความลึกขนาดต่าง ๆ กัน ในคนเดียวกันได้ และบางครั้งในระยะแรก อาจแยกบาดแผลดีกรีที่ 2และ 3 ออกจากกันไม่ชัดก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองชนิดนี้ ล้วนถือเป็นบาดแผลที่มีอันตรายรุนแรงและควรคิดเปอร์เซ็นต์ของผิวหนังที่เกิดบาดแผล
การรักษา • การปฐมพยาบาลเมื่อพบคนที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรรีบให้การช่วยเหลือ ก่อนส่งโรงพยาบาลดังนี้1. รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณที่มีบาดแผล เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน และป้องกันมิให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น อาจใช้น้ำเย็นราด หรือแช่ในน้ำใส่น้ำแข็ง หรือ ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นประคบ หรือใช้ถุงพลาสติก ใส่น้ำแข็งผสมน้ำเล็กน้อยวางตรงบริเวณที่มีบาดแผล อย่างน้อย 20 นาทีหรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนลดลง • 2. ปิดแผลด้วยผ้ากอซ หรือผ้าสะอาด3. ถ้ายังมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีตุ่มใส ควรไปหาหมอ
ข้อแนะนำ • 1. การปฐมพยาบาลบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ที่แนะนำในปัจจุบันคือ รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบทันทีหลังเกิดเหตุ อย่าใช้ยาสีฟัน น้ำปลา หรือยาหม่องทา2. บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่เกิดในเด็กเล็ก และ ผู้สูงอายุ ถึงแม้จะมีขนาดไม่กว้างมาก แต่ก็อาจมีอันตรายมากกว่าที่พบในคนหนุ่มสาว ดังนั้นจึงควรแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลทุกราย3. บาดแผลที่ข้อพับ อาจทำให้เกิดแผลเป็น ดึงรั้งข้อต่อให้คดงอ (เหยียดไม่ได้) สามารถป้องกันได้โดยใช้เฝือกดามข้อในบริเวณนั้นตั้งแต่แรก4. ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ ในระยะ 2-3 วันแรก คือ ภาวะขาดน้ำและช็อกถ้ามีบาดแผลกว้างแพทย์จะให้น้ำเกลือชนิดริงเกอร์แล็กเทต (Ringer's lactate) ในวันแรกอาจให้ขนาด 4 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่บาดแผล 1 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ครึ่งหนึ่งใน 8 ชั่วโมงแรก อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือให้หมดใน 16 ชัวโมงต่อมา วันต่อมาอาจต้องให้น้ำเกลือ และพลาสมาส่วนการติดเชื้ออาจเกิดขึ้นหลังจากมีบาดแผล 2-3 วันไปแล้ว (หรือหลัง 1 สัปดาห์) ถ้าบาดแผลมีขนาดกว้างก็มีโอกาสติดเชื้อรุนแรง โดยทั่วไป ถือว่าบาดแผลดีกรีที่ 2 ที่มีขนาดมากกว่า 30% และบาดแผลดีกรีที่ 3 ที่มีขนาดมากกว่า 10% ถือเป็นบาดแผลรุนแรง รักษายากและมักจะมีอัตราตายสูง5. ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรกินอาหารโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่) ให้มาก ๆ เพราะร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกไปทางบาดแผล6. ถ้ามีบาดแผลถูกกรดหรือด่าง ควรให้การปฐมพยาบาล โดยรีบชะล้างแผลด้วยน้ำก๊อก นานอย่างน้อย 5 นาที แล้วส่งโรงพยาบาล แพทย์อาจให้การรักษาแบบเดียวกับบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
การป้องกัน • ควรหาทางป้องกันบาดแผลไฟไหม้น้ำรอนลวก โดย- อย่าให้เด็กเล็กเล่นในห้องครัว- อย่าวางกาน้ำร้อน หม้อน้ำแกง กระติกน้ำร้อน ตะเกียง ไม้ขีดหรือวัตถุอื่น ๆ ที่มีความร้อนไว้ใกล้มือเด็ก- อย่าวางบุหรี่ ตะเกียง ใกล้ผ้าห่ม มุ้ง หรือสิ่งที่อาจติดไฟได้ง่าย
ไฟฟ้าช็อต Electric Shock • ไฟฟ้าช็อต เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยทั้งในบ้าน โรงเรียน โรงงาน และสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้าอาจเกิดจากความประมาทเลินเล่อ การใช้เครื่องไฟฟ้าผิดวิธี หรือจากการรู้เท่าไม่ถึงารณ์ เป็นต้น คนที่ถูกไฟฟ้าช็อตอาจมีอาการรุนแรงแตกต่างกันไป (ตั้งแต่บาดแผลไหม้เพียงเล็กน้อยจนกระทั่งตาย)ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง
อาการ • อาการขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวบางคนเมื่อถูกไฟฟ้าช็อต อาจเพียงแต่ทำให้ล้มลงกับพื้น (ถ้าตกจากที่สูงก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้) หรือ ของหล่นจากมือถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการชักเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย แล้วตามด้วยอาการตื่นเต้น หายใจเร็ว และหมดสติอาจหยุดหายใจหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอันตรายถึงตายได้ทันทีบางคนอาจหมดสติชั่วครู่เมื่อฟื้นขึ้นมาอาจรู้สึกปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และ มีความรู้สึกหวาดผวาได้
การรักษา • การปฐมพยาบาลเมื่อพบคนที่ถูกไฟฟ้าช็อต ควรรีบให้ความช่วยเหลือดังนี้1. รีบปิดสวิตช์ไฟ หรือถอดปลั๊กไฟทันที2. ถ้าทำไม่ได้ จำเป็นต้องช่วยให้คนที่ถูกไฟฟ้าช็อตหลุดออกจากสายไฟที่มีกระแสไฟวิ่งอยู่ โดยผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างสูง ต้องยืนอยู่บนฉนวนแห้ง ๆ เช่น ไม้กระดานกระดาษหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม เสื่อ ผ้ายาง หรือผ้า แล้วใช้ด้ามไม้กวาด ไม้กระดานขาเก้าอี้ไม้หรือ ไม้เท้าไม้ที่แห้งเขี่ยสายไฟให้พ้นจากผู้ป่วยหรือดันร่างกายส่วนที่สัมผัสไฟให้หลุดออกจากสายไฟห้ามใช้โลหะหรือวัตถุที่เปียกน้ำเป็นอันขาด ค วรใช้ไม้หรือฉนวนไฟฟ้าที่แห้ง และห้ามมิให้แตะต้องถูกตัวผู้ป่วยโดยตรง จนกว่าจะหลุดพ้นออกจากสายไฟเสียก่อน3. ตรวจดูการหายใจ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจทันที ถ้าหัวใจหยุดเต้น(คลำชีพจรไม่ได้) ให้ทำการนวดหัวใจพร้อมกันไป จนกว่าจะหายใจได้เอง ถ้าผู้ป่วยหายใจได้เองแต่ยังหมดสติควรจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าพักฟื้น และให้ทำการปฐมพยาบาล เช่นเดียวกับผู้ป่วยหมดสติจากสาเหตุอื่น ๆ4. รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลด่วน และควรตรวจดูการหายใจอย่างใกล้ชิด ถ้าหยุดหายใจ ควร เป่าปากช่วยมาตลอดทาง จนกว่าจะถึงโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด
การรักษา • ถ้าผู้ป่วยมีชีวิตรอดจนถึงโรงพยาบาล ควรตรวจดูอาการต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะช็อกภาวะขาดน้ำ บาดแผลไหม้ กระดูกหัก เป็นต้น และให้การรักษาตามอาการที่พบสำหรับบาดแผลไหม้ (ถ้ามี) ควรให้การดูแลรักษาแบบบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แต่ควรระวังบาดแผลที่เห็นจากภายนอก แม้จะดูเล็กน้อย แต่เนื้อเยื่อส่วนลึกอาจถูกทำลายรุนแรงทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ หรือมีเลือดออก หรือมีการติดเชื้อในเวลาต่อมาได้
การป้องกัน • ควรหาทางป้องกัน ด้วยการติดตั้งและซ่อมแซมสายไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยสูง(เช่น ปลั๊กไฟ ควรติดตั้งให้พ้นมือเด็กเล็ก อย่าให้เอาอะไรไปแหย่เล่นได้) และรู้จักใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยความระมัดระวังควรหาทางป้องกัน ด้วยการติดตั้งและซ่อมแซมสายไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยสูง(เช่น ปลั๊กไฟ ควรติดตั้งให้พ้นมือเด็กเล็ก อย่าให้เอาอะไรไปแหย่เล่นได้) และรู้จักใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยความระมัดระวัง
สิ่งผิดๆที่พบบ่อยๆในการดูแลแผลไฟไหม้สิ่งผิดๆที่พบบ่อยๆในการดูแลแผลไฟไหม้ • ทาแผลด้วยยาสีฟัน อันนี้เจอบ่อยมากๆ ในหนังก็มีให้ดูด้วย เป็นความเชื่อที่ผิดๆนอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังสกปรกมากๆอีกด้วย เวลาล้างแผลให้คนไข้แต่ละทีฟองตรึม ทำให้ประเมินแผลลำบาก คนไข้ก็เจ็บมากเพราะ พยาบาลต้องฟอกแผลนานกว่ายาสีฟันจะหมด นึกภาพออกไหม้คะ แผลที่ไหม้จนถึงเนื้อข้างใน เนื้ออ่อนๆแดงๆ ต้องมาโดนล้างนานๆมันปวดแสบปวดร้อนมากนะคะ สงสารคนเจ็บเถอะ อย่าเอายาสีฟันมาทาเลยนะคะ • ครีม เนย น้ำมันล้านสรรพคุณทั้งหลายนอกจากไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังทำให้แผลระบายความร้อนไม่ได้ด้วยนะคะ ยิ่งร้อนไปกันใหญ่ • เจาะถุงน้ำ นึกออกไหมคะแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกบางทีจะมีถุงพองน้ำใสๆใหญ่บ้างเล็กบ้างถ้ามีบ่อยมันไว้อย่างนั้นแหละคะ ไม่ต้องไปเจาะไปลอกไปดึงทึ้งมันออก เพราะคนไข้จะปวดแสบปวดร้อนบริเวณนั้นไปนานมากๆ นั้นเป็นเพราะบริเวณชั้นผิวหนังของเราจะมีปลายประสาทขนาดเล็กๆหลายๆอันอยู่บริเวณนั้น ถ้าเราไปเอาหนังที่ปิดบริเวณนั้นออกก็จะทำให้เราปวดแสบปวดร้อนทรมาณมากมายแม้เพียงลมพัดผ่านจำไว้นะคะเอาน้ำเย็นราดๆล้างๆเอาสิ่งสกปรกรอบๆถุงออกก็พอแล้ว
อุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูดอุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูด • กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปในร่างกาย จะทำให้ ศูนย์กลางการหายใจในสมองกลายเป็นอัมพาการสูบฉีดโลหิตเป็นไปอย่างไร้ผล รวมไปถึงอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้วิธีการช่วยเหลือ 1.รีบตัดกระแสไฟฟ้า โดยการปิดสวิตช์ หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า เช่น ถุงมือยาง กระดาษแห้งรองมือ ดึงให้คนเจ็บหลุดจากกระแสไฟ ระหว่างนั้นให้คนรีบตามแพทย์ในทันที2. ระหว่างรอแพทย์ รีบผายปอดคนเจ็บที่มีอาการช๊อคทันที และทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหายใจ หรือจนกว่าจะถึงมือแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง3. ในทันทีที่คนช็อคหายใจได้ต้องให้คนไข้ได้รับเป็นความอบอุ่นเป็นอย่างดี4. ให้คนไข้นั่งอยู่ในท่าเอนกาย และอยู่ในที่สงบเงียบ เพราะคนไข้อาจช๊อคขึ้นมาอีกได้จึงต้องคอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะถึงมือแพทย์
อันตรายของแผลไหม้ • ความรุนแรงของแผลไหม้และโอกาสที่จะหายขึ้นอยู่กับความกว้างของแผล ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยกำหนดพื้นที่ผิวทั่วร่างกายเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช้ระดับเป็นเกณฑ์ตัดสินดังนี้ • ระดับที่ ๑ ความกว้างของแผลจะครอบคลุมพื้นที่ผิวหนังของร่างกายเพียงร้อยละ ๑๐ - ๒๐ เป็นแผลไหม้ขนาดเล็กและโดยปกติแผลขนาดนี้จะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ควรส่งผู้บาดเจ็บไปสถานพยาบาลเพื่อรับการรักษาต่อ • ระดับที่ ๒ ความกว้างของแผลจะครอบคลุมพื้นที่ผิวหนังของร่างกายร้อยละ ๒๐ - ๗๐ แผลจะมีความรุนแรงน้อยลง และสามารถช่วยชีวิตไว้ได้ หากได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลทันที • ระดับที่ ๓ แผลจะมีความกว้างร้อยละ ๕๐ - ๘๐ ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอันตรายถึงชีวิต นอกจากผู้บาดเจ็บเป็นคนแข็งแรงมากอาจมีโอกาสรอดชีวิตได้บ้าง
การพิจารณาความกว้างของแผลไหม้การพิจารณาความกว้างของแผลไหม้ • เป็นการคาดคะเนตาม กฎเลขเก้า (Rule of nine) โดยคิดผิวหนังที่ถูกเผาไหม้เป็นร้อยละของพื้นที่ผิวร่างกายทั้งหมด วิธีนี้ใช้เฉพาะในรายผู้ใหญ่เท่านั้น • แผลไหม้เล็ก ๆ น้อย ๆ แม้เพียงร้อยละ ๙ - ๑๐ ของพื้นผิวร่างกาย ก็จำเป็นต้องส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาพยาบาล อันตรายของแผลไหม้ที่พบเสมอ ๆ คือ การติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การคาดคะเนความกว้างของแผลไหม้ ในเด็กมีความแตกต่างกับผู้ใหญ่มากคือ ในเด็กให้เปอร์เซ็นต์ของศีรษะสูง เด็กยิ่งเล็กเปอร์เซ็นต์ของศีรษะยิ่งสูง ปัจจัยสุดท้ายความรุนแรงของแผลไหม้จะขึ้นอยู่กับความลึกของแผลด้วยโดยแยกตามชั้นของผิวหนังที่ถูกทำลาย
๒. ความรุนแรงของแผลไหม้ตามความลึก ของผิวหนังของร่างกาย ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ • ระดับที่ ๑ ความร้อนทำลายเฉพาะหนังกำพร้า ผิวหนังจะแดง และปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผล เพราะปลายประสาทถูกทำลาย เช่น ถูกแดดเผา น้ำร้อนลวก ถูกเตารีด หรือถูกไฟจากเตา • ระดับที่ ๒ ความร้อนทำลายผิวหนังชั้นหนังแท้ ผิวหนังจะพองเพราะมีน้ำเหลืองไหลออกมาจากหลอดเลือดฝอยที่ถูกความร้อนทำลาย มารวมตัวกันใต้หนังกำพร้า ภาวะแทรกซ้อนที่พบเสมอในแผลไหม้ระยะที่ ๒ คือ ช็อค และปวดแสบปวดร้อนมาก เนื่องจากปลายประสาทถูกทำลายจากความร้อน • ระดับที่ ๓ ความร้อนทำลายลึกลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ กระดูก บริเวณแผลอาจถูกเผาไหม้จนกระทั่งเป็นสีถ่าน บางส่วนของชิ้นเนื้อจะหายไป อาจเห็นกระดูกโผล่ออกมาหรือกระดูกถูกทำลาย อาการปวดมีไม่มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตด้วยการช็อคและการติดเชื้อ โดยทั่ว ๆ ไปผู้บาดเจ็บที่มีอาการหนักจะมีแผลไหม้ทั้ง ๓ ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ ๑ ถึง ๓ ในระยะแรกยังไม่ทราบความลึกของแผลจนกระทั่งผิวหนังหลุด จึงทราบว่าแผลลึกระดับไหนและเจ็บปวดมากตรงบริเวณที่ลึกที่สุด แผลไหม้ระดับที่ ๑ และ ๒ สามารถรักษาให้หายได้ โดยไม่ต้องใช้ศัลยกรรมตกแต่งเหมือนแผลไหม้ระดับที่ ๓
วิธีปฐมพยาบาล ผู้ถูกฟ้าผ่า • - ก่อนอื่นให้สังเกตว่า ในบริเวณที่เกิดเหตุยังมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหรือไม่ถ้ามีก็ต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ถูกฟ้าผ่าไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเราเองจากการถูฟ้าผ่า- เราสามารถแตะต้องตัวผู้ถูกฟ้าผ่าได้ทันทีเนื่องจากคนที่ถูกฟ้าผ่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัว ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกไฟฟ้าดูด (ต่างจากกรณีคนที่ถูกไฟฟ้าดูด)
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่าการปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่า • การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่าจะใช้วิธีเดียวกับผู้ที่ถูกไฟฟ้าช๊อตซึ่งฝ่ายป้องกันอุบัติภัย การไฟฟ้านครหลวง ได้แนะนำวิธีปฐมพยาบาลในเอกสาร “ขั้นตอนผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า โดยการทำ CPR” ว่าหากผลได้รับบาดเจ็บหมดสติไม่รู้ตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้น คือ ริมผีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหวชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามากถ้าหัวใจหยุดเต้นจะคล้ำชีพจรไม่พบม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลงหมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก หรือที่เรียกว่า “เป่าปาก” ร่วมกับนวดหัวใจ โดยวางมือตรงกึ่งกลางลิ้นปี่เล็กน้อยถ้าทำการปฐมพยาบาลคนเดียวให้นวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ถ้าทำการปฐมพยาบาลสองคน ให้นวดหัวใจ 5 ครั้งสลับกับการเป่าปาก 1 ครั้ง ก่อนนำ
ภาพแสดง การลดความร้อนออกจากบริเวณแผลไหม้
การปฐมพยาบาลแผลไหม้ • ผู้ป่วยแผลไหม้แม้จะมีอาการรุนแรงแต่จะไม่ทำให้ถึงแก่กรรมทันที เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีอาการตกเลือดอย่างรุนแรงหรือผู้ป่วยที่หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น อย่างไรก็ตามผู้ปฐมพยาบาลต้องรีบแก้อาการช็อคและลดอันตรายจากความร้อนให้ก่อนที่จะส่งสถานพยาบาลให้การรักษาต่อ • หลักการปฐมพยาบาลแผลไหม้ • ๑. บรรเทาความเจ็บปวด • ๒. ป้องกันการช็อค • ๓. ป้องกันการติดเชื้อ • การบรรเทาความเจ็บปวดผู้ปฐมพยาบาลใช้วิธีง่าย ๆ คือให้ลดความร้อนออกจากบริเวณบาดแผลทันที แม้ว่าแผลไหม้จะมีความเจ็บปวดมาก ด้วยการราดน้ำ แช่น้ำ หรือ ใช้ผ้าชุบน้ำวางบนบริเวณบาดแผล
วิธีการปฐมพยาบาลแผลไหม้ในระดับต่าง ๆ • แผลไหม้ระดับที่ ๑ ผู้ปฐมพยาบาลควรที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น ด้วยการใช้ความเย็น โดยจุ่มบริเวณที่เป็นแผลลงในน้ำที่เย็นจัด ๆ (น้ำที่มีน้ำแข็งลอย) • แผลไหม้ระดับที่ ๒ สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าให้ผิวหนังที่พองแตก แนวทางที่ผู้ปฐมพยาบาลควรปฏิบัติคือ ใช้ผ้าช้อนกันหลาย ๆ ชั้น ชุบน้ำเย็นจัด ๆ ปิดบริเวณแผล หรือใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่พ่นให้แล้วส่งสถานพยาบาลให้การรักษา • แผลไหม้ระดับที่ ๓ ผู้ปฐมพยาบาลช่วยเหลือได้บ้างเล็กน้อย ด้วยการคลุมบริเวณแผลให้ด้วยผ้าที่ปราศจากเชื้อโรค และต้องส่งต่อสถานพยาบาลให้การรักษาโดยเร็วที่สุด การช็อคและการติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งจะต้องระมัดระวังอย่างมาก
คำถาม 1.อาการบาดแผลที่ถูกไฟไหม้มีอาการเป็นอย่างไร ก.ปวดแสบปวดร้อน ข.แผลบวมพองขึ้น ค.ทุกข์ทรมาน ง.ผิวหนังถลอกออก 2.สิ่งที่ทำให้เกิดบาดแผลไฟไหม้คือข้อใด ก.น้ำร้อนลวก ข.ไฟฟ้าช๊อต ค.สารเคมี ง.แสงแดด
3. อาการขึ้นกับ..ขนาด..ความลึก และตำแหน่งของบาดแผล คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงข้อใด ก.ความกว้างของบาดแผล ข.พื้นที่ของบาดแผล ค.ความลึกของบาดแผล ง.ถูกทุกข้อ 4.ถ้าแผลมีขนาดเท่ากับฝ่ามือคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ก.5% ข.10% ค.15% ง.20%
5.เราแบ่งบาดแผลไฟไหม้ออกเป็นกี่ขนาด5.เราแบ่งบาดแผลไฟไหม้ออกเป็นกี่ขนาด ก.1 ขนาด ข.2 ขนาด ค.3 ขนาด ง.4 ขนาด 6.การลดความร้อนออกจากบริเวณบาดแผลทำด้วยวิธีง่ายๆคือวิธีใด ก.ใช้น้ำแข็งประคบ ข.ใช้ผ้าเย็นโปะเอาไว้ ค.ใช้น้ำเย็นราดที่แผล ง.ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นโปะไว้
7.ข้อใดคือการหลีกเลี่ยงจากการถูกไฟไหม้7.ข้อใดคือการหลีกเลี่ยงจากการถูกไฟไหม้ ก.ไม่ประมาท ข.อยู่ห่างจากกองไฟ 5-6 เมตร ค.ใช้น้ำมันก๊าดดับไฟ ง.ข้อ ก. และข้อ ข. ถูก 8.เมื่อเราถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกควรใช้อะไรทาเพื่อลดความเจ็บปวด ก.ว่านหางจระเข้ ข.ครีมทาผิว ค.ยาสีฟัน ง.คารามาย
9.ข้อใดคืออุปกรณ์การปฐมพยาบาล9.ข้อใดคืออุปกรณ์การปฐมพยาบาล • สำลี • แปรง • น้ำเปล่า • ผ้าเช็ดหน้า 10.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์การปฐมพยาบาล • กรรไกร • น้ำยาล้างแผล • ผ้าก๊อสปิดแผล • ถ้วย จาน ช้อน
เฉลย 1. ก 2. ข 3. ข 4. ข 5. ค 6. ก 7. ง 8. ค 9. ก 10. ง