160 likes | 306 Views
สื่อประกอบการเรียนรู้. ครูไพวัลย์ คนเพียร โรงเรียนฐานปัญญา กรุงเทพมหานคร. ระบบประสาทกับการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของวัยรุ่น. สาระการเรียน. 1. ระบบประสาทกับการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของวัยรุ่น. 1.1 ความหมายและองค์ประกอบของระบบประสาท. จุดประสงค์การเรียนรู้.
E N D
สื่อประกอบการเรียนรู้สื่อประกอบการเรียนรู้ ครูไพวัลย์ คนเพียร โรงเรียนฐานปัญญา กรุงเทพมหานคร
ระบบประสาทกับการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของวัยรุ่นระบบประสาทกับการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของวัยรุ่น
สาระการเรียน 1. ระบบประสาทกับการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของวัยรุ่น 1.1 ความหมายและองค์ประกอบของระบบประสาท
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายเกี่ยวกับข้อตกลงและแนวทางในการศึกษาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาได้ (K) 2. อธิบายความหมายและองค์ประกอบของระบบประสาทอย่างถูกต้องได้ (K) 3. อธิบายความสัมพันธ์ของระบบประสาทกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นอย่างถูกต้องได้ (K) 4. เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องความหมาย องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของระบบ ประสาทกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นด้วยความสนใจใฝ่รู้ (A) 5. ระบุแหล่งความรู้ที่สนับสนุนการศึกษาในวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาทั้งในท้องถิ่นและชุมชนได้ (P) 6. สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียนรู้ได้ (P)
ระบบประสาทกับการเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพของวัยรุ่น ระบบประสาท เป็นระบบหนึ่งในหลายระบบของร่างกาย โดยเป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานระหว่างระบบต่อระบบ ดังนั้นหากระบบประสาทเกิดความผิดปกติจนไม่สามารถทำหน้าที่พื้นฐานดังกล่าวได้ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการตลอดจนภาวะสุขภาพของคนเราด้วย
สมอง เส้นประสาท ไขสันหลัง 1.1 ความหมายและองค์ประกอบของระบบประสาท ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ซึ่งอวัยวะดังกล่าวจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมและประสานการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมทั้งรับความรู้สึกจากอวัยวะทุกส่วน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ ภาพแสดงโครงสร้างองค์ประกอบของระบบประสาท
ระบบประสาท แบ่งตามลักษณะการทำงานออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) และระบบประสาทส่วนปลาย(peripheral nervous system)
1.1.1 ระบบประสาทส่วนกลาง ซีรีบรัม ทาลามัส ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal cord) เป็นอวัยวะที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด 1. สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าอวัยวะส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทบรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ เมื่อสมองของคนเราพัฒนาเต็มที่จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม หรือ 3 ปอนด์ เนื้อสมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น พื้นผิวชั้นนอกซึ่งมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ (grey matter) ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาทและแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนพื้นผิวชั้นในจะมีสีขาว เรียกว่า ไวท์แมตเตอร์ (white matter) เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท ไฮโพทาลามัส พอนส์ เมดัลลา ออบลองกาตา ซีรีเบลลัม
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า (forebrain) สมองส่วนกลาง (midbrain) และสมองส่วนท้าย (hindbrain) โดยแต่ละส่วนมีโครงสร้างที่ทำหน้าที่เฉพาะดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากกระดูกสันหลังข้อแรกไปจนถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ซึ่งมีความยาวประมาณ2 ใน 3 ของความยาวของกระดูกสันหลัง และมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากไขสันหลังมากมาย • ไขสันหลัง ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflex action ) หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง เช่น เมื่อมือของเราบังเอิญถูกไฟหรือของร้อนจะเกิดปฏิกิริยารีเฟลกซ์ เกิดการกระตุกมือออกจากไฟหรือของร้อนทันที
1.1.2 ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาทส่วนปลายจะทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะส่วนที่ปฏิบัติงาน
1. ระบบประสาทสมอง มีอยู่ 12 คู่ ทอดมาจากสมองผ่านรูต่างๆ ของกะโหลกศีรษะไปเลี้ยงบริเวณศีรษะและลำคอเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นคู่ที่ 10 ไปเลี้ยงอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้อง
2. เส้นประสาทไขสันหลัง มีอยู่ 31 คู่ ออกจากไขสันหลังเป็นช่วงๆ ผ่านรูระหว่างกระดูกสันหลังไปสู่ร่างกาย แขน และขา โดยปกติแล้วเส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลังจะประกอบด้วยใยประสาท 2 จำพวก คือ ใยประสาทรับ ซึ่งจะนำสัญญาณจากหน่วยรับความรู้สึกไปยังสมองหรือไขสันหลังอีกพวกหนึ่งจะนำคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลายต่างๆ ที่ยึดติดกับกระดูกให้ทำงาน ซึ่งทำให้เราเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่างๆ ได้
3. เส้นประสาทอัตโนมัติ (autonomicnervous system) เป็นระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจโดยไม่รู้สึกตัว เช่น การเต้นของหวัใจ การเคลื่อนไหวของอวัยวะภายใน ผนังของหลอดเลือด และต่อมต่างๆ ศูนย์กลางการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติจะอยู่ในก้านสมอง และส่วนที่อยู่ลึกลงไปในสมองที่เรียกว่า ไฮโพทาลามัส
คำถามท้ายหน่วย 1. ระบบประสาททำหน้าที่อะไร และประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญอะไรบ้าง 2. เหตุใดจึงถือว่าสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของระบบประสาทส่วนกลาง 3. ปฏิกิริยารีเฟลกซ์เกิดขึ้นได้อย่างไร 4. การพักผ่อนมีประโยชน์ต่อระบบประสาทอย่างไร 5. ถ้าระบบหนึ่งระบบใดในร่างกายทำงานผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อระบบ อื่นๆ ด้วย เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น