1 / 7

สถิติ

สถิติ. สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่นำมากระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์มาสรุป

Download Presentation

สถิติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถิติ สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่นำมากระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์มาสรุป ประเภทของสถิติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่               1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่บรรยายถึงคุณลักษณะของสิ่งที่กำลังต้องการศึกษา ;ว่าด้วยการสรุปข้อมูลแต่ละชุดที่เราสนใจ  ค่าวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ,  มัธยฐาน ,  ฐานนิยม)   ค่าวัดการกระจายข้อมูล ( ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,  พิสัย)               2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ศึกษาข้อมูลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว จากข้อมูลของประชากรทั้งหมด

  2. ค่ากลางของข้อมูลและการนำไปใช้ ค่ากลางของข้อมูล คือ ค่าสถิติหรือตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลชุดหนึ่ง ค่าที่ได้นั้นเราถือว่าเป็นค่าที่ใช้แทนขนาดและลักษณะของข้อมูลแต่ละชุด ประโยชน์ของการหาค่ากลางของข้อมูล ก็คือจะทำให้ได้ตัวเลขจำนวนเดียวที่เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมดในแต่ละชุดมาเสนอรายงาน การหาค่ากลางของข้อมูลมีวิธีหาได้หลายวิธี แต่ละวิธีต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลชนิดนั้นๆ ในระดับชั้นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับค่ากลางของข้อมูล 3 ชนิด คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล อาจเรียกสั้นๆว่า ค่าเฉลี่ยตัวอย่าง คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 10 คน เป็นดังนี้ 5 , 7 , 10 , 6 , 5 , 4 , 4 , 8 , 5 และ 6 จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบของนักเรียน 10 คนนี้วิธีทำ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้คือ = 6 คะแนนหรืออาจกล่าวได้ว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มนี้เป็น 6 คะแนนตอบ คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มนี้เท่ากับ 6 คะแนน

  3. มัธยฐาน คือ ค่ากลางของข้อมูลที่อยู่ในตำแหน่งตรงกลาง (ถ้ามีข้อมูลเป็นจำนวนคี่) หรือ ค่าเฉลี่ยของข้อมูลสองค่าที่อยู่ตรงกลาง (ถ้ามีข้อมูลเป็นจำนวนคู่) เมื่อข้อมูลชุดนั้นถูกจัดเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยตัวอย่าง จงหามัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้ 18 , 15 , 17 , 29 , 17 , 25 , 37 , 60 , 40วิธีทำ ข้อมูลนี้มี 9 จำนวน เมื่อเรียงลำดับจากน้อยไปมากแล้ว จะได้ข้อมูล ดังนี้ 15 , 17 , 17 , 18 , 25 , 29 , 37 , 40 , 604 จำนวน 4 จำนวน ตรงกลางตอบมัธยฐานของข้อมูลชุดนี้ เท่ากับ 25

  4. ตัวอย่าง มะม่วงพวงหนึ่งมี 6 ผล ชั่งน้ำหนักของแต่ละผลได้ 380 , 420 , 395 , 432 , 390 และ 408 กรัม ตามลำดับ จงหามัธยฐานของน้ำหนักของมะม่วงพวงนี้วิธีทำ จัดเรียงน้ำหนักของมะม่วงจากน้อยไปหามากได้ดังนี้ 380 390 395 408 420 432เนื่องจากมะม่วงมีทั้งหมด 6 ผล ซึ่งเป็นจำนวนคู่ดังนั้น มัธยฐานจึงเท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของน้ำหนัก 2 ค่าที่อยู่ตรงกลาง คือ น้ำหนักของมะม่วงลำดับที่ 3 และ 4 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 395 และ 408 กรัมมัธยฐาน = = = 401.5ตอบมัธยฐานของน้ำหนักของมะม่วงพวงนี้ เท่ากับ 401.5 กรัม

  5. ฐานนิยม ของข้อมูลชุดหนึ่ง หมายถึง ข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลชุดนั้นตัวอย่าง จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้ 2 , 5 , 4 , 6 , 3 , 2 , 4 , 4วิธีทำ จากข้อมูลที่กำหนดให้มีข้อมูลที่ซ้ำกัน คือ 2 ซ้ำกัน 2 ค่า4 ซ้ำกัน 3 ค่า ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุด คือ 4 ตอบ ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้ คือ 4ตัวอย่าง จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้ 116 , 109 , 101 , 105 , 109 , 115 , 111 , 115 , 110 , 99 , 115 , 120 , 110 , 125 , 100 , 110วิธีทำ จากข้อมูลที่กำหนดให้มีข้อมูลที่ซ้ำกัน คือ 110 ซ้ำกัน 3 ค่า และ 115 ซ้ำกัน 3 ค่าเท่ากันตอบ ฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้ คือ 110 และ 115หากข้อมูลชุดหนึ่ง มีข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดเท่ากันมากกว่า 2 ค่า ในที่นี้จะไม่พิจารณาหาฐานนิยมของข้อมูลชุดนั้น และถ้าข้อมูลชุดใดประกอบด้วยข้อมูลที่มีความถี่เท่ากันทั้งหมดหรือข้อมูลชุดใดไม่มีข้อมูลซ้ำกัน จะถือว่าข้อมูลชุดนั้นไม่มีฐานนิยม

  6. การเลือกและการใช้ค่ากลางของข้อมูล การพิจารณาความเหมาะสมของค่ากลางทั้ง 3 ค่า โดยมีแนวทางดังนี้1.1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มีความเหมาะสมเนื่องจาก-ใช้ค่าทุกค่าของข้อมูลมาคำนวณ-ข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเพียงค่าเดียวจึงถือได้ว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเป็นตัวแทนที่ดีของข้อมูลทั้งหมด-นำไปใช้ในการคำนวณสถิติขั้นสูงต่อไปและมีความไม่เหมาะสมเนื่องจาก-ใช้ได้เฉพาะข้อมูลเชิงปริมาณ-ค่าที่คำนวณได้ไม่ค่อยตรงกับค่าข้อมูลที่กำหนด-ถ้าค่าของข้อมูลบางค่ามีค่าสูงหรือต่ำเกินไป จากข้อมูลที่ส่วนใหญ่มีค่า ใกล้เคียงกัน จะทำให้ได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่สูงหรือต่ำเกินไป มีผลต่อการสรุปและการตีความข้อมูล ผิดพลาดไป

  7. 1.2 ค่ามัธยฐาน มีความเหมาะสมเนื่องจาก-ข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะมีค่ามัธยฐานเพียงค่าเดียว-ไม่มีผลกระทบต่อค่าของข้อมูลที่สูงหรือต่ำเกินไปจากข้อมูลอื่นๆ เพราะใช้ค่า ที่อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมดโดยเรียงค่าข้อมูลแล้ว และมีความไม่เหมาะสมเนื่องจาก-ใช้ได้เฉพาะข้อมูลเชิงประมาณ-ไม่สามารถนำไปใช้ในการคำนวณสถิติชั้นสูงได้1.3 ค่าฐานนิยม มีความเหมาะสมเนื่องจาก-คำนวณได้ง่ายเมื่อจำนวนข้อมูลมีไม่มาก-ใช้ได้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ-นิยมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและมีความไม่เหมาะสมเนื่องจาก-ไม่สามารถนำไปใช้ในการคำนวณสถิติชั้นสูงได้-ไม่เหมาะกับข้อมูลที่มีค่าของข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดเท่ากัน 2 ค่า และไม่มีค่าข้อมูลที่ซ้ำกันเลย

More Related