1 / 22

สาระสำคัญจากบทความและการสัมมนาของกลุ่มที่ 4

สาระสำคัญจากบทความและการสัมมนาของกลุ่มที่ 4 “ การบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงจากแรงกดดันของกระแสโลกาภิวัตน์ ”. 1. กิจกรรมก่อนการสัมมนาประจำปี. ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจัด “สัมมนา เชิงปฏิบัติการ” 2 ครั้ง พร้อมบทสรุป 1 ชุด แยกผลกระทบของโลกาภิวัตน์ ออกเป็น 4 หัวข้อ 7 บทความ

megan-downs
Download Presentation

สาระสำคัญจากบทความและการสัมมนาของกลุ่มที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สาระสำคัญจากบทความและการสัมมนาของกลุ่มที่ 4 “การบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงจากแรงกดดันของกระแสโลกาภิวัตน์”

  2. 1. กิจกรรมก่อนการสัมมนาประจำปี • ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนจัด “สัมมนา เชิงปฏิบัติการ” 2 ครั้ง พร้อมบทสรุป 1 ชุด • แยกผลกระทบของโลกาภิวัตน์ ออกเป็น 4 หัวข้อ 7 บทความ • เกษตรกรรมทางเลือก/กองทุนออมทรัพย์….พอช. 2 เรื่อง • วิสาหกิจชุมชน และ SMEs….เสรี พงศ์พิศ 1 TDRI 1 เรื่อง • การค้าปลีก……TDRI 2 เรื่อง • การต่อสู้ของเกษตรกร-ภาคประชาชนกรณีคุ้มครอง พันธุ์พืช……วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ 1 เรื่อง

  3. 2. ประเด็นสรุป • โลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างไร • ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมต่อกลุ่มเสี่ยงมีอะไรบ้าง • การปรับตัวของกลุ่มคนที่ถูกผลกระทบ • บทเรียน และคำถาม

  4. 3. แม้การเปิดประตูการค้า-การลงทุนจะเกิดประโยชน์มากมาย แต่ก็นำมาซึ่งความขัดแย้งทางสังคมทั่วโลก 4 ด้าน • ภายในประเทศเกิดความขัดแย้งระหว่างคนได้ประโยชน์กับผู้เสียประโยชน์ • รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาถูกกดดันจากมหาอำนาจ/องค์กรโลกบาลในการปรับนโยบายและกฎหมายภายในประเทศ • รัฐต้องลดรายจ่ายด้านสวัสดิการ/ประกันสังคมซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในการเสถียรภาพทางสังคม

  5. ความขัดแย้งระหว่างประเทศจากการแข่งขันในตลาดโลกและการเจรจาการค้าความขัดแย้งระหว่างประเทศจากการแข่งขันในตลาดโลกและการเจรจาการค้า • ทุกประเทศต้องขายสินค้าแข่งกัน ขณะที่ระบบ จ้างงาน กฎหมาย และสถาบันทางสังคมต่างกัน… เกิด new issues • ข้อตกลงบางด้านของ WTO สร้างอำนาจผูกขาดให้บริษัทข้ามชาติ • ผลที่ตามมา : ความไม่เท่าเทียมกันทวีความรุนแรงขึ้น ขณะที่สังคมปัจจุบันยังมีจุดอ่อนในการจัดการกับแรงกระแทกจากกระแสโลกาภิวัตน์

  6. 4. ผลกระทบด้านลบต่อสังคมไทย : ยังมีการศึกษาไม่มาก • แรงงาน : การวิจัยผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ (ช่วง 2539-2542) • แรงงานที่เรียนน้อย/วัยรุ่นถูกผลกระทบหนักที่สุด • วิกฤตเศรษฐกิจทำลายทุนมนุษย์ที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานของผู้อพยพมาทำงานในกรุงเทพฯ แต่วิกฤตไม่ทำลายทุนมนุษย์จากการศึกษาในโรงเรียน….

  7. ภาคการเกษตร • เกษตรกรไทยประสบปัญหาความเสี่ยงจากราคาสินค้าเกษตร ในตลาดโลกและราคามีแนวโน้มลดลง ทำให้จำนวนคนจนเพิ่มขึ้น ในปีที่ราคาตกต่ำ ยาง เซน/ก.ก. ร้อยละของคนจน ข้าว ดอลลาร์/ตัน ข้าว ยาง หมายเหตุ * 2518/9-37คำนวณจากปีฐาน 2518/9

  8. รอบอุรุกวัยไม่ได้ช่วยให้สินค้าส่งออกเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างที่หวังรอบอุรุกวัยไม่ได้ช่วยให้สินค้าส่งออกเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างที่หวัง • การเกษตรเชิงพาณิชย์ทำให้ความหลากหลายของพันธุ์พืชลดลง • ปัจจัยการผลิตสำคัญ และตลาดสินค้าเกษตร บางประเภทถูกครอบงำโดยบริษัทใหญ่

  9. การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชตาม ข้อตกลง WTO ถูกอิทธิพลของอเมริกา และ ขัดแย้งกับความเห็นของเกษตรกร • ข้อตกลง TRIPS ทำให้บริษัทยาข้ามชาติมีอำนาจ ผูกขาด และราคายาแพงขึ้นมาก

  10. การค้าปลีกและ SMEs • การขยายตัวของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในช่วงหลัง 2540 ทำให้โชห่วยตายปีละ 6 % ยอดขายลด 7 % • SMEs จำนวนมาก (ที่พึ่งตลาดภายใน) เสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก

  11. 5. แต่โลกาภิวัตน์ก็มีผลดีทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม • การกระจายข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ภาคประชาชน • เกิดการตื่นตัวในการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชน • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศเกิดผลดีต่อธุรกิจขนาดกลางเล็ก • เกิดช่องทางการพัฒนาธุรกิจการค้าใหม่ๆ/การค้าเพิ่มขึ้น/ปรับปรุงบริการ การบริหารจัดการ และเทคโนโลยี • การแข่งขันทำให้ราคาสินค้าถูกลง บริการหลากหลายขึ้น

  12. 6. การปรับตัวของกลุ่มบุคคลที่ถูกผลกระทบของโลกาภิวัตน์และข้อจำกัด • ธุรกิจเอกชน : โชห่วยและ SMEs • ปรับปรุงบริการ และเน้นความเป็นกันเองกับลูกค้า • พัฒนาระบบการผลิต การบริหารและการตลาด • แต่ยังมีข้อจำกัดหลายประการ : ขาดซอฟแวร์เพื่อการบริหาร จัดการและจัดซื้อสินค้า การเข้าถึงสินเชื่อ และ NPL ความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีการบริหารแบบ ครอบครัวทักษะและความรู้ของลูกจ้าง ช่องทางการตลาด ความไม่แน่นอนของปริมาณและคุณภาพของสินค้า

  13. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนา SMEs อย่างจริงจังและครอบคลุมเกือบทุกด้าน • มีทั้งกฎหมายและหน่วยงานกลางรับผิดชอบ • ด้านการเงินมีเม็ดเงินกู้ / เงินค้ำประกันการกู้ถึง 166,900 ล้านบาท ในปี 2544 (แต่ปล่อยต่ำกว่าเป้า) • มีหน่วยงานและมาตรการสนับสนุนทั้งด้านข้อมูล การตลาด การฝึกอบรม เทคโนโลยี ด้านภาษี ฯลฯ • ยังเร็วเกินกว่าที่จะประเมินผลนโยบาย SMEs

  14. 7. การปรับตัวของชุมชนและองค์กรประชาชน รูปแบบการปรับตัว : หลากหลาย เกษตรทางเลือก : เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ เกษตรชีวพลวัตร เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรชีวภาพ ฯลฯ วิสาหกิจชุมชน 2 ประเภท (พื้นฐานและก้าวหน้า) และขายใน 3 ตลาด (ตลาดท้องถิ่น ทั่วไป และตลาด ผูกพัน) เครื่องมือในการพึ่งตนเอง : องค์กรการเงินและทุนของชุมชน

  15. กระแสการพึ่งตนเองของชุมชนเริ่มขยายตัวรวดเร็วกระแสการพึ่งตนเองของชุมชนเริ่มขยายตัวรวดเร็ว เริ่มต้นจากโดยเกษตรกรหรือกลุ่มชาวบ้านก่อน ต่อมาองค์กรพัฒนาเอกชน และรัฐเข้ามาสนับสนุน เติบโตช้าในช่วงแรก เพราะต้องพัฒนากระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้จากระดับต่ำ แต่ใน 5 ปีหลังเริ่ม ก้าวกระโดดและมีเครือข่ายจำนวนมากทั้งประเทศ สาเหตุ : เกษตรกรและชุมชนต้องการลดหนี้สิน ความตื่นตัวเรื่องอันตรายจากเกษตรเคมี และสิ่งแวดล้อม

  16. ขนาดการผลิต : ขาดสถิติแน่นอน แต่คาดว่าเกษตรอินทรีย์มีผลผลิต 6,500 ตันปี (ประมาณ 16,760 ไร่) ปี 2545 มีองค์กรการเงินชุมชน 38,744 กลุ่ม สมาชิก 4.4 ล้านคน เงินออม 9,820 ล้านบาท มีการขยายฐานจากเครือข่ายระดับย่อยเป็นเครือข่ายระดับจังหวัดและชาติ

  17. วัตถุประสงค์ของเกษตรทางเลือก และวิสาหกิจ ชุมชน : การพึ่งตนเอง เน้นเป้าหมายการอยู่รอด โดย (ก) ลดความเสี่ยง (ข) เน้นวิธีคิดและกระบวนการเรียนรู้ (ค) ลดรายจ่าย อาศัยทุนของตนเอง ตลอดจนทรัพยากรและ ภูมิปัญญาของท้องถิ่น

  18. หลักดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนหลักดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชน จัดสวัสดิการที่หลากหลายให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของชุมชน ใช้สวัสดิการเป็นแรงงานจูงใจให้สมาชิกออม ใช้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในการพัฒนาคุณธรรม บางองค์กรได้พัฒนาเป็นชุมชนพึ่งตนเองครบวงจร เช่น ชุมชนศรีษะอโศก

  19. การเชื่อมโยงกลุ่มออมทรัพย์กับสวัสดิการชุมชนการเชื่อมโยงกลุ่มออมทรัพย์กับสวัสดิการชุมชน มีการเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกลุ่มออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินระดับจังหวัด ต่อมาจึงขยายตัวเป็น “สถาบันพัฒนาองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน” เพื่อช่วยกู้ชาติ ภายในชุมชนมีการเชื่อมโยงกองทุนต่างๆเพื่อให้การใช้ทุนเกิดประโยชน์สูงสุด

  20. ผล เกิดการถ่ายทอดความรู้จากชุมชนที่ประสบความสำเร็จไปยังชุมชนอื่นๆ โดยมีการดัดแปลงและเลือกดำเนินกิจกรรมที่เหมาะกับชุมชนของตน สมาชิกสามารถพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

  21. การต่อสู้ของเกษตรกรและภาคประชาชนการต่อสู้ของเกษตรกรและภาคประชาชน กรณีการคุ้มครองพันธุ์พืช : สิทธิบัตร UPOV หรือการคุ้มครองด้านกฎหมายเฉพาะ กรณี “จัสมาติ” และข้าวหอมมะลิ : ขยายการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

  22. งานวิจัยเรื่องผลกระทบของโลกาภิวัตน์ มีความสำคัญต่อการแสวงหาแนวทางในการลดแรงกระแทก และแสวงหาประโยชน์จากโลกาภิวัตน์...แต่งานวิจัยยังมีน้อยมาก ศักยภาพในการปรับตัวของ SMEs วิสาหกิจชุมชนและองค์กรชุมชนยังมีข้อจำกัด อะไรควรเป็นบทบาทที่เหมาะสมของรัฐและองค์กรทางสังคมในการสร้างเสริมศักยภาพในการพึ่งตนเอง 8. บทเรียนและคำถาม

More Related