350 likes | 555 Views
การเขียนคู่มือ ปฏิบัติงาน. ผศ.เรือโท ดร.ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ ดร.วันชัย ปานจันทร์. คู่มือปฏิบัติงาน. เป็นเอกสารที่ประกอบด้วยหลักปฏิบัติและวิธีปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ โดยระบุลักษณะของงาน วิธีทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ เขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ดูง่าย
E N D
การเขียนคู่มือปฏิบัติงานการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน ผศ.เรือโท ดร.ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ ดร.วันชัย ปานจันทร์
คู่มือปฏิบัติงาน เป็นเอกสารที่ประกอบด้วยหลักปฏิบัติและวิธีปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ โดยระบุลักษณะของงาน วิธีทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ เขียนเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ดูง่าย เอกสารในเชิงคุณภาพซึ่งรวบรวมกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบ พร้อมทั้งแนวทางในการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะ หรือคู่มือปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
รูปแบบคู่มือปฏิบัติงานรูปแบบคู่มือปฏิบัติงาน 1.หัวเรื่อง 2.ประวัติความเป็นมา 3.วัตถุประสงค์ 4.ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ 5.พ.ร.บ. กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือเวียน มติต่าง ๆ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะการปฏิบัติงาน 6.เทคนิคหรือแนวทางการปฏิบัติงาน 7.ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข 8.ข้อเสนอแนะ
แนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงานแนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน ขั้นที่ 1 วิเคราะห์งานที่ปฏิบัติ ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ ขั้นที่ 3 วิเคราะห์แนวทางแก้ไข ขั้นที่ 4 ขั้นวางแผนกำหนดโครงร่าง(Outline)
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์งาน 1.1 งานอะไรบ้างที่ทำ 1.2 ขั้นตอน (Flow Chart) 1.3 ปัจจัยที่ใช้ (Input) 1.4 หลักเกณฑ์ 1.5 วิธีการ 1.6 เงื่อนไข
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุ 2.1 ปัญหาในการปฏิบัติ มีอะไรบ้าง 2.2 แยกปัญหา ข้อ 1.2,1.3,1.4,1.5,1.6 2.3 แยกปัญหา 2.2 คน/กฎระเบียบ คน –ผู้ปฏิบัติ /ผู้รับบริการ/ผู้บริหาร/องค์คณะ กฎ ระเบียบ หนังสือเวียน มติ (หน่วยงานภายใน -ภายนอกที่ควบคุมไม่ได้)
ขั้นที่ 3 วิเคราะห์แนวแก้ไข แนวทางแก้ไข ตาม 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 เสนอทางแก้ ตาม 2.3 คือ คน /กฎระเบียบ
ขั้นที่ 4 ขั้นวางแผนกำหนดโครงร่าง 4.1 จัดทำสารบัญ 4.2 สอดแทรกเนื้อหาตามเกณฑ์การประเมิน 7 ประการ
หลักแนวคิดในการเขียนคู่มือปฏิบัติงานหลักแนวคิดในการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน 1. เลือกเรื่องที่จะเขียน 7. สมดุลทางวิชาการ 2. การบริการเวลา 8. ภาษาเนื้อหาสาระ 3. เพิ่มประสบการณ์ 9. ความเชื่อมั่นในตนเอง 4. วางแผนในการเขียน 10. คุณธรรม จรรยาบรรณ 5. เอกสารอ้างอิงสนับสนุน 11. เรียบเรียงต้นฉบับ 6. เทคนิคการเขียน 12. พิมพ์ต้นฉบับ
การเลือกเรื่องที่จะเขียนการเลือกเรื่องที่จะเขียน • ความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจ • แนวลึก - การโอน/การเลื่อนระดับสูงขึ้นของสายสนับสนุนวิชาการ • แนวกว้าง- หลักการบริหารงานทั่วไป/ ความรู้เบื้องต้น • หลีกเลี่ยง ซ้ำกับผู้อื่น (มีคุณภาพ/ทันสมัย)
การบริหารเวลา • ใช้หมดหรือไม่ได้ใช้ หาทดแทนไม่ได้ • แบ่งเวลาในการเขียน • ตั้งมั่นต้องเขียนทุกวันอย่างน้อยที่สุด 1 หน้า
การเพิ่มประสบการณ์ • ศึกษาผลงานของคนอื่น • เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนา • พยายามอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนในการเขียน • ทำโครงร่าง (outline) สารบัญ • แบ่งเป็นบท/ตอน • หัวข้อหลัก/หัวข้อรอง
การหาเอกสารสนับสนุนและอ้างอิงการหาเอกสารสนับสนุนและอ้างอิง • อ่านจดบันทึก ถ่ายสำเนา • หนังสืออะไร ใครเขียน เมื่อไร ปีใด (บรรณนุกรม/เชิงอรรถ) • เกิดการเชื่อถือ
เทคนิคการเขียน • อย่างวิตกกังวลเรื่องภาษา ความสละสลวย ความเชื่อมโยง • เขียนไปก่อน ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับบทที่ 1 ให้แล้วเสร็จก่อน • มีกำลังใจในความก้าวหน้า
ความสมดุลทางวิชาการ • มีน้ำหนักพอ ๆ กันทุกบท ทุกตอน ทุกหัวข้อ • ผสมผสานสิ่งที่ค้นคว้ากับประสบการณ์ • หนึ่งย่อหน้าควรมีเรื่องเดียว ไม่เกิน 20 บรรทัด • ย่อหน้าใหม่ ประโยคแรกและประโยคสุดท้าย จะเป็นใจความหลัก
ภาษาและเนื้อหาสาระ • คำนึงถึงคนอ่าน • ใช้ภาษาง่าย • ไม่ใช้การเขียนภาษาไทยสำนวนฝรั่ง(แปล) • ศัพท์เฉพาะ ต้อคงเส้นคงวา • เนื้อหาสาระ ทันสมัย ถูกหลักวิชา ครอบคลุมทุกประเด็น
มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความเชื่อมั่นในตนเอง • ตั้งมั่นว่าเขียนได้ • ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ สงสัยถาม • ทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ มากน้อยไม่สำคัญ • หยุดเขียน ต้องจดแนวคิดที่จะนำเสนอย่อ ๆ ไว้
คุณธรรม/จรรยาบรรณ • อย่าลอกผลงานผู้อื่น โดยไม่อ้างอิง • อย่าอำพราง แบบอ้างว่าเป็นแหล่งข้อมูลแรก
เรียบเรียงต้นฉบับ • ได้ต้นฉบับ ต้องทดลองใช้ปฏิบัติ • เพิ่ม ลด แก้ไข ทดลองใช้ซ้ำ • ปรับแก้ อ่านทบทวน • ผสมผสานเชื่อมโยงให้เกิดความกลมกลืน • ปรับแก้ความซ้ำซ้อน • เพิ่มสิ่งที่ขาดให้สมบูรณ์
ข้อควรระวังในการเขียนงานทางวิชาการข้อควรระวังในการเขียนงานทางวิชาการ • อย่าเตรียมตัวหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่จะเขียนอย่างผิวเผิน • (ขาดความใหม่ ซ้ำซ้อนกับของผู้อื่น กว้างเกินไป) • อย่ารีบเขียนให้เสร็จภายในเวลาอันสั้นโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ • (ประโยชน์ไม่ชัดเจน มีน้อย ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่)
3. อย่า ลอกเลียนข้อความหรือแนวคิดผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง • อย่า เพียงแต่เอาข้อมูลของผู้อื่นมาต่อเติม ตัดแปะ เป็นของตนเอง จะต้องแสดงส่วนที่เป็นความคิดของตนเองด้วย • อย่า ข้ามส่วนที่ไม่รู้ ไม่มั่นใจ โดยไม่ศึกษาโดยละเอียด • อย่า ให้ข้อมูลพาไป รู้มากเขียนมาก ไม่รู้เขียนน้อย • อย่า เน้นปริมาณ มากกว่าคุณภาพ • อย่า ขาดจิตสำนึกและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
9. อย่า อ้างอิงที่ไม่ถูกต้องตามแบบมาตรฐานสากล เก่า ล้าสมัย เชิงออรถ • ภายในเนื้อหา ท้ายบท ท้ายเล่ม 10. อย่า ใช้ภาษาไม่คงเส้นคงวา ตลอดทั้งเล่ม 11. อย่า ให้ผิดพลาด ตกหล่น สลับหน้า กลับหัวหลับหาง 12 อย่า ให้ขาดส่วนประกอบการเขียน เลขประจำหนังสือสากล • คำนำ สารบัญ ภาพประกอบ บรรณนุกรม
การวางโครงเรื่องหรือแนวเรื่องการวางโครงเรื่องหรือแนวเรื่อง • แยกเนื้อเรื่องที่รวบรวมได้ให้เป็นหมวดหมู แยกเป็นจุดที่สำคัญ ๆ • สร้างคำที่เหมาะสมขึ้นใหม่ตามจุดที่สำคัญ ๆ • จัดลำดับขั้นตอนเรื่องให้ตามความคลี่คลายของเรื่อง • สร้างคำที่เหมาะสมสำหรับข้อย่อย • เรียงหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ให้เป็นระบบระเบียบ
โครงร่างคู่มือการปฏิบัติงานโครงร่างคู่มือการปฏิบัติงาน สารบัญ บทที่ 1 บทนำ - ความเป็นมา ความจำเป็น (ภูมิหลัง) - ความมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของคู่มือ - ความสำคัญ/ประโยชน์ของคู่มือ - ขอบเขตของคู่มือ
บทที่ 2 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ - ลักษณะงานที่ปฏิบัติ - หน้าที่ความรับผิดชอบ/บทบาทของตำแหน่ง - โครงสร้างการบริหารจัดการ
บทที่ 3 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคู่มือ - หลักเกณฑ์/วิธีการดำเนินงาน - สิ่งที่ควรคำนึงในการปฏิบัติงาน/ข้อควรระวัง/ข้อสังเกต - กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือเวียน มติ ที่เกี่ยวข้อง - งานวิจัยและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 4 เทคนิคในการปฏิบัติงาน - แผนกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน - ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Flow Chart) - วิธีการให้บริการกับผู้รับบริการมีความพึงพอใจ - การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน - จรรยาบรรณ/จิตสำนึกในการปฏิบัติงาน
บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข - ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน - แนวทางแก้ไขในการปฏิบัติงาน - ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก
ตัวอย่างการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานตัวอย่างการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างที่ 6 ตัวอย่างที่ 2 ตัวอย่างที่ 6 ตัวอย่างที่ 3 ตัวอย่างที่ 4 ตัวอย่างที่ 5
ฝึกปฏิบัติการเขียนคู่มือปฏิบัติงานฝึกปฏิบัติการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน
คู่มือปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลคู่มือปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล วันเผยแพร่ วันพุธ, 06 พฤศจิกายน 2556 07:51 | ฮิต: 1472 ดาวน์โหลดคู่มือการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล • คู่มือการเลื่อนขั้นเงินเดือน • คู่มือการขออนุมัติเดินทางไปราชการ ณ ต่างประเทศ • คู่มือทะเบียนหนังสือรับ - ส่ง • คู่มือการจัดทำและดำเนินการโครงการฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล