1 / 17

พระเจ้าอู่ทองมาจากไหน?

พระเจ้าอู่ทองมาจากไหน?. ง . พระเจ้าอู่ทองมาจากไหน. จากการศึกษาที่ผ่านมา ปัญหาความเป็นมาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1( พระเจ้าอู่ทอง ) สรุปได้ 3 แนวทาง คือ. ทฤษฎีที่ 1 นักประวัติศาสตร์ไทยกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้ปกครองไทยภาคเหนือ และได้อพยพลงมาทางใต้.

maya-lamb
Download Presentation

พระเจ้าอู่ทองมาจากไหน?

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระเจ้าอู่ทองมาจากไหน?พระเจ้าอู่ทองมาจากไหน?

  2. ง. พระเจ้าอู่ทองมาจากไหน • จากการศึกษาที่ผ่านมาปัญหาความเป็นมาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) สรุปได้ 3 แนวทางคือ ทฤษฎีที่ 1นักประวัติศาสตร์ไทยกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มผู้ปกครองไทยภาคเหนือและได้อพยพลงมาทางใต้

  3. ตำนานสิงหนวัติกุมารกล่าวว่าต้นวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองเดิมอยู่ที่เวียงโยนกเชียงแสนต่อมาพระเจ้าพรหมผู้สืบราชวงศ์จากสิงหนวัติกุมารได้แยกมาสร้างเมืองใหม่แถบเมืองเชียงรายคือเวียงไชยปราการกษัตริย์เวียงไชยปราการองค์สืบมาถูกมหาราชเมืองสุธรรมวดีเมงรุกรานจึงถอยร่นลงมาอยู่แถบบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงสืบต่อมาอีกหลายชั่วอายุคนถึงสมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงมาสร้างกรุงศรีอยุธยาตำนานสิงหนวัติกุมารกล่าวว่าต้นวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองเดิมอยู่ที่เวียงโยนกเชียงแสนต่อมาพระเจ้าพรหมผู้สืบราชวงศ์จากสิงหนวัติกุมารได้แยกมาสร้างเมืองใหม่แถบเมืองเชียงรายคือเวียงไชยปราการกษัตริย์เวียงไชยปราการองค์สืบมาถูกมหาราชเมืองสุธรรมวดีเมงรุกรานจึงถอยร่นลงมาอยู่แถบบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงสืบต่อมาอีกหลายชั่วอายุคนถึงสมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงมาสร้างกรุงศรีอยุธยา

  4. ตำนานเชียงแสนของล้านนา (พงศาวดารโยนกและพงศาวดารเหนือ) กล่าวถึงกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาว่าสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าพรหม (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 หน้า 178) • เชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นชามาดา(ลูกเขย) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีเป็นเชื้อสายของเจ้าชายไชยศิริแห่งเมืองเชียงรายซึ่งอพยพถอยร่นมาจากเมืองเหนือจนมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองอู่ทองจ.สุพรรณบุรีหรือเมืองนครไชยศรีจ.นครปฐมต่อมาได้อพยพหนีโรคห่ามาตั้งนครหลวงใหม่ที่เมืองอโยธยาในปีพ.ศ.1890

  5. ทฤษฎีที่ 2เชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองเดิมเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรีสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนโพ้นทะเล พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตพ.ศ. 2182 และคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวถึงการอพยพของบรรพบุรุษของพระเจ้าอู่ทองจากที่อื่นแล้วมาตั้งเมืองอยู่ที่เพชรบุรีและในที่สุดก็ย้ายมาที่หนองโสน

  6. ทฤษฎีที่ 3เชื่อว่าเป็นเจ้าเมืองลพบุรี (เจ้าของทฤษฎีคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) หลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องนี้คือชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา George Coedes และ O.W. Wolters เห็นว่าพระเจ้าอู่ทองอาจมีเชื้อสายมาจากเมืองลพบุรีซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของเขมร

  7. เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีทรงโปรดฯให้พระราเมศวรราชโอรสไปครองเมืองลพบุรีในฐานะเมืองลูกหลวงนอกจากนี้ในจดหมายเหตุจีนยังเรียกกรุงศรีอยุธยาเมื่อแรกสถาปนาว่า“หลอหู”อันเป็นชื่อเดียวกับที่จีนเคยใช้เรียกเมืองลพบุรีมาก่อน

  8. ส่วนทฤษฎีที่กล่าวว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองอู่ทองนั้นปัจจุบันความคิดดังกล่าวได้ถูกล้มเลิกไปแล้วเนื่องจากผลการขุดค้นและขุดแต่งเมืองเก่าอู่ทองปรากฏว่าเมืองนี้ได้ถูกทิ้งร้างไปก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะมาสร้างกรุงศรีอยุธยาร่วมสองร้อยปีโดยไม่มีร่องรอยการอยู่อาศัยหลังสมัยทวารวดีหรือตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีผู้เสนอข้อคิดอื่นๆอีกเช่นดร. ชาญวิทย์เกษตรศิริเสนอว่าพระเจ้าอู่ทองน่าจะมีเชื้อสายจีน ข้อเสนอทั้งหมดเป็นเพียงการสันนิษฐานเรายังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากไหน

  9. จ. อาณาจักรอยุธยา

  10. ภาพรวมและเหตุการณ์สำคัญๆภาพรวมและเหตุการณ์สำคัญๆ - สถาปนาขึ้นโดยพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคมพ.ศ.1893 -มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองค์จาก 5 ราชวงศ์คือราชวงศ์อู่ทองสุพรรณบุรีปราสาททองสุโขทัยและบ้านพลูหลวง

  11. - การปกครองใช้ระบบศักดินาซึ่งมีการแบ่งชั้นของเจ้าขุนนางพระสงฆ์และราษฎรออกเป็นหมวดหมู่และชั้นอย่างชัดเจนมีการเกณฑ์แรงงานไพร่และการเก็บอากรส่วยเป็นผลิตผลและตัวเงิน -ศาสนานับถือพุทธหินยานแต่ก็มีความเชื่อด้านวิญญาณและพุทธมหายานเข้ามาเจือปนในสถาบันพระมหากษัตริย์ใช้พิธีกรรมฮินดูและพราหมณ์เพื่อสร้างอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์เป็นการผสมระหว่างธรรมราชาและเทวราชา

  12. - อยุธยาถือกำเนิดมาจากการรวมตัวของแว่นแคว้นสุพรรณบุรี (มีอำนาจทางซีกตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา) และลพบุรี (ทางซีกตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา) ทั้งสุพรรณบุรีและลพบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาจากสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-17) และอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมจากเมืองพระนครหลวงหรือกรุงยโสธรปุระ (พุทธศตวรรษที่ 16-19) นับตั้งแต่สมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (1545-93) จนเมื่ออำนาจขอมอ่อนลงตั้งแต่หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (1724-1762)

  13. -ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยานอกจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเอื้ออำนวยทางการค้าแล้วบริเวณนี้ยังเป็นศูนย์รวมกลุ่มชนจากที่ต่างๆกลายเป็นชุมชนที่หนาแน่นและแม้จะมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและความเชื่อทั้งศาสนาฮินดูพุทธและความเชื่อพื้นเมืองแต่เนื่องจากมีผู้นำที่มีความสามารถจึงรวมความแตกต่างเหล่านี้ให้มีความเป็นเอกภาพได้-ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยานอกจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเอื้ออำนวยทางการค้าแล้วบริเวณนี้ยังเป็นศูนย์รวมกลุ่มชนจากที่ต่างๆกลายเป็นชุมชนที่หนาแน่นและแม้จะมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและความเชื่อทั้งศาสนาฮินดูพุทธและความเชื่อพื้นเมืองแต่เนื่องจากมีผู้นำที่มีความสามารถจึงรวมความแตกต่างเหล่านี้ให้มีความเป็นเอกภาพได้

  14. การเมือง-การปกครอง สังคมไทยสมัยอยุธยาเป็นสังคมที่มีระบบไพร่ซึ่งหมายถึงราษฎรหรือสามัญชนเนื่องจากสังคมในสมัยนั้นกำลังพลเป็นสิ่งสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการสงครามป้องกันประเทศจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมกำลังพลหรือที่เรียกว่าระบบไพร่เพื่อควบคุมและจัดสรรประโยชน์จากกำลังคนให้ได้ประโยชน์สูงสุด

  15. ระบบไพร่แบ่งคนเป็น 3 กลุ่มคือ - มูลนาย - ไพร่ - ทาสหรือข้า การปกครองและบริหารราชการแผ่นดินใช้ระบบไพร่เป็นหลักไพร่พลจะขึ้นสังกัดกับมูลนายซึ่งควบคุมโดยผ่านระบบกรมกอง

  16. ภาษี- ไพร่นอกจากมีหน้าที่รับใช้มูลนายแล้วยังต้องรับผิดชอบในการเสียภาษีภายในซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ จังกอบ–ได้แก่จังกอบเรือและจังกอบสินค้า, ส่วย–เป็นสิ่งของหรือเงินตราที่ไพร่ส่วยต้องส่งให้รัฐเป็นประจำทุกปีตามอัตราที่รัฐกำหนด, อากร–คือภาษีที่ชักจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้เช่นอากรค่านาหรืออากรสวน, ฤชา–เป็นค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากการทำประโยชน์ให้แก่ราษฎรเป็นการส่วนตัวเช่นค่าธรรมเนียมในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นต้น

  17. ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีการปฏิรูปการปกครองทำให้เป็นระบบราชการมากขึ้นมีการแบ่งฝ่ายการปกครองเป็นทหารกับพลเรือนมีตำแหน่งกลาโหมปกครองฝ่ายทหารและตำแหน่งมหาดไทยปกครองฝ่ายพลเรือนเพิ่มขึ้นมาจากเดิมที่มีเพียง 4 ตำแหน่งคือเวียงวังคลังนานอกจากนี้พระองค์ยังได้ออกกฎหมายซึ่งเป็นรากฐานของระบบศักดินาของอยุธยาซึ่งได้ใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

More Related