170 likes | 284 Views
แนวปฏิบัติที่ดี ( Good Practice ) การเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์. ความเป็นมาและความสำคัญ.
E N D
แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) การเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์
ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ • การตีพิมพ์และเผยแพร่งานวิจัย ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับกระบวนการวิจัย เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ค้นพบไปเผยแพร่สู่สังคม ในการที่จะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และเป็นแนวทางในการพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืนต่อไป ถึงอย่างไรก็ตามยังมีนักวิจัยบางส่วนที่ทำวิจัยแล้วแต่ยังขาดการนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่ ดังนั้นการส่งเสริมและกระตุ้นให้นักวิจัยได้มีการตีพิมพ์ผลงานจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ
Plan Do KM&BM แนวปฏิบัติที่ดี Stakeholder Check End& Trend Action Result
Plan • ศึกษามาตรฐาน องค์ประกอบ ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ • จัดทำแนวทางการดำเนินงาน (Flow) เผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ • มีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่มีโครงการหรือกิจกรรมที่ครอบคลุมกระบวนการและการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ • มีแผนงบประมาณที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
Do • มีการดำเนินการตามแผนมากกว่าร้อยละ 90 ของโครงการหรือกิจกรรมที่ครอบคลุมกระบวนการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์
Check • มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์เปรียบเทียบกับเป้าหมายรายตัวบ่งชี้อย่างสม่ำเสมอปีละ 4 ครั้ง ทุกสิ้นไตรมาส
Action • มีการนำผลการประเมินโครงการหรือกิจกรรมความร่วมมือในการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ และผลการวิเคราะห์การใช้แผนปฏิบัติการมาปรับปรุงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
Result • มีรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารที่พิจารณา/รับทราบแผนปฏิบัติการเผยแพร่งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ และเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ผลงานวิจัย • มีสรุปรายละเอียดที่ประกอบด้วยรายชื่อโครงการวิจัยและผลงานวิชาการที่ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ การเผยแพร่ในเวทีระดับชาติ/นานาชาติ หรือการนำไปใช้ประโยชน์ ในแต่ละปีปฏิทิน
End & Trend • มีแนวโน้มผลลัพธ์การดำเนินงานอย่างน้อยร้อยละ 60 ของตัวบ่งชี้เกิดประสิทธิผล แต่ไม่บรรลุเป้าหมายตามรายตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ในแผนของวิทยาลัยฯ
Stakeholder • ผลลัพธ์การดำเนินงานตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องภายในวิทยาลัย/สถาบัน - อาจารย์ ได้รับทุนสนับสนุน, ได้ภาระงาน/คะแนนประเมิน, ได้ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา - ผู้ที่นำผลการวิจัยไปใช้ นำผลวิจัยไปพัฒนางานที่รับผิดชอบ, เป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยของตนเอง
KM & BM • การจัดการความรู้ ถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบในเรื่องการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรภายในวิทยาลัย
ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ.2555 – มิถุนายน พ.ศ.2556 • ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพิ่มจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
ปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไข • อาจารย์มีภาระงานด้านการเรียนการสอนค่อนข้างมาก ผู้บริหารควรกำหนดภาระงานด้านการสอน และภาระงานด้านการวิจัยที่สามารถแยกส่วนการพิจารณาได้ เช่น ทำงานวิจัยมาก สามารถลดภาระงานด้านการสอน • การส่งงานวิจัยไปยังวารสารต่างๆ อาจถูกปฏิเสธการรับตีพิมพ์ และเนื่องจากปัจจุบันนี้มีการแข่งขันสูงมากในการเผยแพร่งานวิจัย จึงต้องเน้นที่คุณภาพและความทันสมัยของงานวิจัย ดังนั้นเมื่อผู้วิจัยทำงานวิจัยเสร็จแล้วจึงควรรีบตีพิมพ์ผลงานไม่อย่างนั้นงานวิจัยจะล้าสมัย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ • ปัจจัยด้านผู้บริหาร - ผู้บริหารของวิทยาลัย คอยกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องงานวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัย - คณะกรรมการดำเนินการวิจัยมีระบบและกลไกในการส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ชัดเจน - มีการจัดโครงการ/กิจกรรม ที่เพิ่มสมรรถนะการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ • ปัจจัยด้านเวลา - ผู้บริหารมีการกำหนดภาระงานด้านการสอน และภาระงานด้านการวิจัยที่ ชัดเจน เช่น ผู้ทำงานวิจัยมาก สามารถลดภาระงานด้านการสอน ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้สามารผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ได้มากขึ้น • ปัจจัยด้านทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย - มีการเพิ่มค่าตอบแทนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่จูงใจ จะทำให้อาจารย์มีแรงผลักดันในการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เพิ่มมากขึ้น
ผลสำเร็จของงานและตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานและตัวชี้วัด • ร้อยละ 80 ของอาจารย์มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ