130 likes | 1.06k Views
วัสดุแผ่นดูดซับเสียง. Jagkhapong Indee 51711356. วัสดุแผ่นดูดซับเสียง.
E N D
วัสดุแผ่นดูดซับเสียง Jagkhapong Indee 51711356
วัสดุแผ่นดูดซับเสียง วัสดุแผ่นดูดซับเสียง ถึงแม้จะเป็นวัสดุที่ไม่ใช่โครงสร้างหลักของอาคาร แต่ปัจจุบัน นับได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะไม่เพียงแต่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงซึ่งจะทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยหมดปัญหาเรื่องของเสียงแล้ว วัสดุดูดซับเสียงบางรุ่นยังมีความสวยงามควบคู่กันด้วย
วัสดุดูดซับเสียง วัสดุซับเสียง คือ วัสดุดูดซับเสียงโดยการเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานจลน์โดยการหักเหหรือการกระจายภายใน โดยปกติแล้ว ในทุกๆวัสดุไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต ไม้ หรือเหล็ก มีคุณสมบัติในการซับเสียงในตัวเองอยู่แล้ว ขึ้นอยุ่กับว่า จะมากหรือน้อยเท่านั้น หรืออาจจะขึ้นอยุ่กับความถี่ของเสียงซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัสดุแต่ละประเภทอีกว่า จะสามารถดูดซับได้ดีในช่วงความถี่ไหน แต่ทั้งนี้ วัสดุพื้นฐานดังกล่าวอาจไม่เพียงพอสำหรับอาคาร หรือห้องบางประเภทที่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับเสียง ดังนั้นวัสดุดูดซับเสียงจึงเป็นอีกหนึ่งวัสดุสำคัญที่จะสามารถลดการเกิดปัญหาในเรื่องของเสียงได้
หน้าที่และการนำไปใช้ ลักษณะการใช้งานที่วัสดุแผ่นกันเสียงถูกนำไปใช้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. ใช้เพื่อลดเสียงสะท้อนภายในห้องที่เกิดจากผนังผิวเรียบ ซึ่งส่วนใหญ่ ลักษณะแบบนี้จะถูกใช้ในห้องดูหนัง / ฟังเพลง / ห้องประชุม ฯลฯ 2. ใช้เพื่อลดเสียงรบกวนทั้ง จากภายในสู่ภายนอก และจากภายนอกสู่ภายใน ของตัวอาคารห้องห้องต่างๆ
การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อนการใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน การใช้งานในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สำหรับห้องที่ต้องการควบคุมคุณภาพของเสียงเป็นพิเศษ หรือใช้สำหรับห้องที่ไม่ต้องการให้เกิดเสียงสะท้อน เช่น ห้องฟังเพลง / ดูหนัง / ห้องอัด รวมไปถึงห้องซ้อมดนตรี ซึ่งลักษณะการสะท้อนส่วนใหญ่จะเกิดกับช่วงเสียงที่มีความถี่ที่ต่ำ เช่น เสียงเบส เป็นต้น
การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน วัสดุที่สามารถใช้ในการควบคุมเสียงสะท้อนโดยวิธีการซับหรือดูดกลืนเสียงจะได้แก่วัสดุที่มีลักษณะมวลเนื้อที่อ่อนนิ่ม เช่นโฟม ฟองน้ำ ผ้า พรม ฯลฯ ส่วนวัสดุที่สามารถใช้ควบคุมเสียงสะท้อนโดยวิธีการเกลี่ยกระจายเสียงให้สะท้อนออกไปในมุมกว้างจะได้แก่วัสดุผิวเรียบแข็งแต่มีลักษณะเป็นร่องซี่เช่น ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางแผ่นเสียงหรือซีดี ฯลฯ
การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน การใช้งานฟองน้ำดูดซับเสียงในการลดเสียงสะท้อน การใช้งานฟองน้ำซับเสียงโดยทั่วๆ ไปนั้นจะนิยมติดเข้ากับผนังของห้องโดยตรง ซึ่งก็ให้ผลการใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง ตัวอย่างวัสดุแก้ไขปัญหาเสียงจากคลื่นความถี่ต่ำ
การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน การใช้งานฟองน้ำดูดซับเสียงในการลดเสียงสะท้อน ทั้งนี้ก็มีวิธีที่สามารถจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฟองน้ำซับเสียงได้ ทั้งสัดส่วนการดูดซับเสียงและย่านความถี่ซับเสียงที่กว้างขึ้นด้วยการจัดตัวแผ่นฟองน้ำให้อยู่ห่างจากผนังห้องออกมา ซึ่งวิธีการที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ ก็คือการทำกรอบโฟม (Foam Frame) ให้กับฟองน้ำแต่ละแผ่น โดยกรอบโฟมนี้เมื่อนำไปติดกับแผ่นฟองน้ำก็จะทำให้แผ่นฟองน้ำคงตัวไม่ยุบหรือแอ่นงอเมื่อนำไปติดกับผนังห้อง
การใช้เพื่อลดเสียงสะท้อน เทคนิคเพิ่มเติม ในสตูดิโอระดับมืออาชีพหลายๆ แห่งจะใช้วิธีลดปัญหาเสียงสะท้อนตั้งแต่การออกแบบแปลนและลักษณะของห้อง โดยนอกจากจะคำนวณสัดส่วนของห้องให้ได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว ก็มักจะจัดให้ผนังห้องมีลักษณะเหมือนกับปากแตรบานออกทางด้านจุดนั่งฟัง(Trapagon)ซึ่งเป็นการลดแนวคู่ขนานของผนังห้อง เพื่อช่วยเบี่ยงเบนหรือเปลี่ยนทิศทางไม่ให้เสียงสะท้อนแรกวิ่งมาที่จุดนั่งฟังโดยตรงทันที ซึ่งจะทำให้ได้ “พื้นที่ปลอดเสียงสะท้อนแรก” หรือ Reflection Free Zone (RFZ) และยังช่วยลดปัญหา Slap-Echo (Flutter-Echo) ซึ่งจะเกิดขึ้นเสมอกับผนังคู่ขนานในทุกๆ ห้อง
การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน ลักษณะของวัสดุแผ่นกันสำหรับที่จะนำมาใช้สำหรับ กันเสียงนั้นมีอยู่หลายลักษณะแตกต่างกัน เช่น วัสดุที่นำมาผลิต(พลาสติก,โฟม) / ลักษณะผิวหน้าของวัสดุ เป็นต้น ซึ่งก็ไม่สามารถจำแนกอย่างแน่นอนได้ ทั้งนี้ขึ้นกันการออกแบบของผู้ผลิตหลายๆราย แต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือ การกระจายคลื่นเสียงและลดกำลังของคลื่นเสียง ดังนั้น จะอธิบายโดยการยกตัวอย่างวัสดุสำหรับกันเสียง และวิธีการใช้ให้เหมาะสมกันงาน
การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน วัสดุที่มีผิวหน้าเป็นเส้นขัดกันนี้มีความหน้าประมาณ 2 นิ้ว ส่วนใหญ่มักพบเห็นได้ตาม ห้องงานระบบ / โรงงาน / โรงพิมพ์ / สนามยิงปืน ซึ่งสามารถกันเสียงจากเครื่องจักรได้ถึง 70-100%
การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน Acoustic Fabrics มีลักษณะเป็นแผ่นมีหลายสี ซึ่งนอกจากจะสามารถกันเสียง ยังสามารถใช้แทนวอลล์เปเปอร์ได้ สามารถกันเสียงในระดับเสียงพูดได้ดี นิยมใช้ในห้องประชุม / ออฟฟิศ / ห้องพิพากษาคดี
การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน การใช้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน Sound Curtains & Blanketsพื้นผิวลักษณะคล้ายผ้าใบ ทำจากไฟเบอร์กลาสและไวนิล มักจะใช้กันเสียงจากคอมเพลสเซอร์ / ปั้ม / ใช้เป็นแผงกันเสียงบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง