1 / 76

คดีปกครองเกี่ยวกับวินัย

คดีปกครองเกี่ยวกับวินัย. ความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ และการบริหารงานบุคคล. ศาลปกครอง. เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ

Download Presentation

คดีปกครองเกี่ยวกับวินัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คดีปกครองเกี่ยวกับวินัยคดีปกครองเกี่ยวกับวินัย ความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ และการบริหารงานบุคคล

  2. ศาลปกครอง เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 (ศาลปกครอง เปิดทำการ วันที่ 9 มีนาคม 2544) (WWW.admincourt.go.th)

  3. ศาลปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น 1. ศาลปกครองสูงสุด 2. ศาลปกครองชั้นต้น 2.1 ศาลปกครองกลาง 2.2 ศาลปกครองภูมิภาค

  4. เขตอำนาจศาลปกครองชั้นต้นเขตอำนาจศาลปกครองชั้นต้น 1. ให้ฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนา/ศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้น ถ้าฟ้องผิดศาล ศาลที่รับจะส่งไปให้ศาลที่มีเขตอำนาจ 2. ศาลปกครองกลาง รับผิดชอบ - กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ราชบุรี - สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ 3. ศาลปกครองภูมิภาค 16 แห่ง ขณะนี้เปิดแล้ว 9 แห่ง คือ ศาลปกครอง เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และระยอง

  5. ลักษณะของคดีปกครอง หน่วยงานฯ หน่วยงานฯ คดีข้อพิพาท เอกชน จนท. จนท.

  6. คดีพิพาทในเรื่องเกี่ยวกับคดีพิพาทในเรื่องเกี่ยวกับ 1. หน่วยงานทางปกครอง/จนท.ของรัฐ กระทำโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย คือ การออกกฎ/คำสั่ง หรือทำการอื่นใด โดย... (1) ไม่มีอำนาจ/นอกเหนืออำนาจหน้าที่/ไม่ถูกต้องตาม กม. (2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน/ไม่ถูกต้องตามวิธีการ อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น (3) ไม่สุจริต (4) มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม (5) มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น/เป็นการ สร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร (6) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

  7. 2. หน่วยงานทางปกครอง/จนท.ของรัฐ - ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ - ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร 3. การกระทำละเมิด/ความรับผิดอย่างอื่น อันเกิดจาก - การใช้อำนาจตาม กม. หรือจากกฎ/คำสั่งทางปกครอง/ คำสั่งอื่น - การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้อง ปฏิบัติ/ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร 4. เป็นคดีพิพาท เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

  8. สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่ (1) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง/ ผู้กระทำการแทนรัฐ และ (2) เป็นสัญญาสัมปทาน/สัญญาที่ให้จัดทำบริการ สาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือ แสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ 5. มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง/ จนท.ของรัฐของรัฐ ฟ้องต่อศาลปกครอง 6. กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

  9. ระยะเวลาฟ้องคดีปกครองระยะเวลาฟ้องคดีปกครอง 1. ต้องฟ้องภายใน 90 วัน (ม.49) 2. ต้องฟ้องภายใน 1 ปี (ม.50) - กรณีฟ้องคำสั่งทางปกครอง และ - คำสั่งนั้นไม่ได้แจ้งสิทธิการฟ้องคดี 3. ต้องฟ้องภายใน 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี (ม.51) - คดีละเมิด - คดีความรับผิดอย่างอื่น 4. ต้องฟ้องภายใน 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี (ม.51) - คดีพิพาทตามสัญญาทางปกครอง 5. ฟ้องเมื่อไรก็ได้ ไม่มีระยะเวลา (ม.52)กรณีฟ้องคดีเกี่ยวกับ - การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ - การคุ้มครองสถานะของบุคคล

  10. ข้อควรระวังในการฟ้องและแก้คำฟ้องคดีปกครองข้อควรระวังในการฟ้องและแก้คำฟ้องคดีปกครอง 1. ผู้ฟ้องไม่มีสิทธิฟ้องคดี 2. คดีอยู่ในอำนาจของศาลอื่น 3. คดีขาดอายุความ 4. ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขเยียวยาเบื้องต้น ตาม กม. ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล 5. เหตุที่นำเรื่องมาฟ้องได้รับการแก้ไขเยียวยาแล้ว 6. คำขอท้ายฟ้องไม่มี/คำขอไม่อยู่ในอำนาจของศาล

  11. ตัวอย่างคดีปกครองเกี่ยวกับวินัยตัวอย่างคดีปกครองเกี่ยวกับวินัย

  12. คำสั่งแต่งตั้ง คคก.สืบสวน/สอบสวนวินัย และการดำเนินการสอบสวน

  13. คำสั่งที่ 273/2546 การฟ้องโต้แย้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง เป็นเพียงการแสวงหาข้อเท็จจริงซึ่งเป็นการเตรียมการเพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

  14. คำสั่งที่ 177/2546 การฟ้องโต้แย้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยไม่ร้ายแรง เป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในการที่ ผู้มีอำนาจจะวินิจฉัย จึงยังไม่เป็น “คำสั่งทางปกครอง”

  15. คำสั่งที่ 440/2546,540/2546การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเป็นกระบวนการภายในของฝ่ายปกครอง ยังไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีโดยตรง จึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง

  16. คำสั่งที่ 733/2548 คำส่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสาวนวินัยอย่างร้ายแรงเป็นกระบวนการเสนอเพื่อออกคำสั่ง ไม่เข้าลักษณะเป็นคดีปกครอง ศาลปกครองไม่รับคดีไว้พิจารณา

  17. คำสั่งที่ 221/2546 การฟ้องโต้แย้งการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวน ทางวินัยอย่างร้ายแรง เป็นเพียงกระบวนการภายในที่ยังไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี

  18. คำสั่งลงโทษทางวินัย และการว่ากล่าวตักเตือน

  19. คำสั่งที่ ๘๑๑/๒๕๔๙ คำสั่งที่ ๑๒๙/๒๕๔๕ คำสั่งที่ ๑๘๓/๒๕๔๕ คำสั่งที่ ๕๖๓/๒๕๔๖ คำสั่งลงโทษทางวินัย ไม่ว่าจะเป็นวินัยร้ายแรงหรือวินัยไม่ร้ายแรงก็เป็นคำสั่งทางปกครอง การฟ้องว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)

  20. คำสั่งที่ ๓๘๐/๒๕๔๙ ฟ้องว่า การว่ากล่าวตักเตือนซึ่งมิใช่กรณีอันเนื่องมาจากการดำเนินการทางวินัย เป็นเพียงลักษณะของการแนะนำของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่เป็นการงดโทษทางวินัยโดยให้ว่ากล่าวตักเตือนไว้ก่อน จึงไม่มีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดี อีกทั้งการตักเตือนดังกล่าวมิได้ออกเป็นคำสั่งหรือมีการบันทึกการตักเตือนไว้ และมิได้มีการประกาศต่อหน้าสาธารณชน ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง

  21. คำสั่งที่ ๗๕๐/๒๕๔๗ คำสั่งว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา (จากการดำเนินการทางวินัย) มิใช่โทษทางวินัยตามที่กฎหมายกำหนด แต่เป็นมาตรการทางบริหารที่ผู้บังคับบัญชาใช้สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งถือเป็นการดำเนินการภายในของฝ่ายปกครอง จึงมิได้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง

  22. คำสั่งที่ ๘๑๑/๒๕๔๙ ฟ้องว่าคำสั่งว่ากล่าวตักเตือนอันเนื่องมาจากการดำเนินการทางวินัย ผู้ฟ้องคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ขอให้คืนสิทธิที่ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา และให้ชดใช้ค่าเสียหาย เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) ๓)

  23. เกี่ยวกับขั้นตอนการสอบสวนที่กฎหมายกำหนดไว้เกี่ยวกับขั้นตอนการสอบสวนที่กฎหมายกำหนดไว้

  24. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๑๔/๒๕๔๘ การดำเนินการทางวินัยไม่ว่าจะเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรืออย่างไม่ร้ายแรงต้องมีการสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรม โดยมีขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ คือ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบ แก้ข้อกล่าวหา ......

  25. ไม่ปรากฏว่าได้มีการสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ฟ้องคดีทราบและเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหา สำหรับกรณีที่นำข้อความบางตอนในหนังสือร้องเรียนของผู้ฟ้องคดีมาเป็นมูลกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดวินัยอีกกรณีหนึ่งต่างหากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ฟ้องคดีทราบเพื่อจะได้นำพยานหลักฐานมานำสืบแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว

  26. การสั่งลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีทั้งสองกรณีจึงเป็นการสั่งลงโทษโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการออกคำสั่ง ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองคำสั่ง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๑๘/๒๕๔๘ ได้วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน

  27. พิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๕๗/๒๕๕๐ ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งลงโทษทางวินัยต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง

  28. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีเคยให้ถ้อยคำในฐานะพยานบุคคลต่อเจ้าหน้าที่ของ สตง. และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง โดยยอมรับว่าผู้ฟ้องคดีได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค แต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออกตรงกันทั้งสองครั้งจริง จึงเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๓) แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ

  29. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ สามารถอาศัยข้อเท็จจริงจากการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง มาประกอบการพิจารณาสั่งลงโทษผู้ฟ้องคดีได้โดยไม่จำเป็นต้อง ให้ผู้ฟ้องคดีชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาอีก

  30. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๕๒/๒๕๕๐ คณะกรรมการสอบสวนแจ้งแบบ สว.๓ ให้ผู้ฟ้องคดีทราบโดยระบุข้อกล่าวหาแต่เพียงว่า กรณีต้องหาคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกฉ้อโกงประชาชนและจัดหางานให้คนงานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

  31. การแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดวินัยตามมาตรา ๙๘ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อีกทั้งในส่วนของสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาก็ไม่มีรายละเอียดหรือมีการสรุปพยานหลักฐานที่จะสนับสนุนข้อกล่าวหา

  32. ดังนั้น จึงถือว่าการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวไม่ได้เปิดโอกาส ให้ผู้ฟ้องคดีได้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาและสิทธิในการให้ถ้อยคำ หรือนำสืบหักล้างพยานหลักฐานหรือยื่นคำชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาอย่างเพียงพอ ถือได้ว่าคณะกรรมการสอบสวนมิได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามแบบ สว.๓ ให้ผู้ฟ้องคดีทราบโดยมีสาระสำคัญครบถ้วนถูกต้อง

  33. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐๒ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวประกอบกับข้อ ๑๕ ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐)ฯ ซึ่งเป็นขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในการสอบสวนทางวินัย คำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออก จากราชการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  34. เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีเกี่ยวกับเนื้อหาของคดี

  35. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.599/2555 นพ.สสจ.อนุมัติซื้อวัสดุการแพทย์ 91 รายการ ในราคาแพง โดยได้มีการปรับลดราคาลงอีกร้อยละ 20 แล้ว เป็นเงินเกือบ 800,000 บาท ลงโทษปลดออก ฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายต่อทางราชการอย่างร้ายแรง ชอบแล้ว

  36. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๖๗/๒๕๔๘ การที่ข้าราชการมิได้มาปฏิบัติราชการเนื่องจากมีภารกิจส่วนตัว แต่ได้ยื่นใบลาป่วยโดยมิได้ยื่นใบลากิจให้ถูกต้อง เมื่อผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาตการลาป่วยดังกล่าวและถือว่าข้าราชการผู้นั้นขาดราชการ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว

  37. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๕๗/๒๕๔๙ผู้ฟ้องคดีมาลงชื่อปฏิบัติราชการเป็นช่วงๆ เพียง ๑๔ วัน เพื่อมิให้ปรากฏว่ามีการขาดราชการเกินกว่า ๑๕ วัน และในวันที่ลงชื่อปฏิบัติงาน ผู้ฟ้องคดีมิได้อยู่ที่สถาบันเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถือได้ว่าวันที่มาลงชื่อปฏิบัติราชการแต่ไม่อยู่ปฏิบัติราชการเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการด้วย เท่ากับว่าผู้ฟ้องคดีละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกันเกินกว่า ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การลงโทษไล่อกจากราชการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

  38. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๕๐/๒๕๕๐ การที่ข้าราชการจะไปปฏิบัติงานช่วยราชการนอกสังกัดได้นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน หากข้าราชการผู้ใดไปปฏิบัติงานช่วยราชการในหน่วยงานอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา ย่อมถือว่าเป็นการขาดราชการที่หน่วยงานเดิมคำ

  39. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๔๐๒/๒๕๕๐ การไม่ลงชื่อในบัญชีลงเวลาปฏิบัติราชการทุกวันที่มาปฏิบัติราชการตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด ถือเป็นพยานหลักฐานรับฟังประกอบการพิจารณาการขาดราชการได้

  40. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๔๐/๒๕๔๙ การกระทำอื่นใดที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จะต้องพิจารณาถึงเกียรติของข้าราชการผู้นั้นและความรู้สึกของสังคมที่มีต่อการกระทำของผู้นั้น ประกอบกับเจตนา ในการกระทำโดยคำนึงถึงพฤติการณ์ของผู้นั้น ว่าได้กระทำการอันทำให้ราชการได้รับความเสียหายต่อภาพพจน์ชื่อเสียงหรือไม่

  41. การที่ข้าราชการมีพฤติการณ์และการกระทำอันเชื่อได้ว่าเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น ถือว่ากระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง การสั่งลงโทษไล่ข้าราชการดังกล่าว ออกจากราชการ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

  42. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๙๓/๒๕๕๐ การเบิกจ่ายเงินของทางราชการโดยไม่มีหลักฐานการก่อหนี้ผูกพัน ไม่ขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน ปลอมลายมือชื่อกรรมการรักษาเงิน และไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือ ผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ

  43. คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 264/2550 การที่ผู้ฟ้องคดีนำเงินที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้นำไปชำระค่าโทรศัพท์ไปใช้ส่วนตัว เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ แม้การชำระค่าโทรศัพท์จะไม่ใช่หน้าที่ราชการตามกฎหมาย หรือระเบียบที่ผู้ฟ้องคดีจะต้องปฏิบัติตามตำแหน่งงานที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก็ตาม แต่ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเพราะเป็นการ สั่งการในเรื่องของทางราชการที่ชอบด้วย

  44. พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองและผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดแนวทางการลงโทษให้ไล่ออกจากราชการ

  45. แนวคำพิพากษา/คำสั่ง ของศาลปกครองสูงสุด เกี่ยวกับละเมิด จนท.

  46. เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีเกี่ยวกับเนื้อหาของคดี

  47. 8คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.90/2547 - นพ.สสจ. จ่ายเงินขวัญถุง 97,755 บาท ให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้ของผู้มีสิทธิ (ผู้มีสิทธิตายเมื่อวันที่ 2 ต.ค.2542) เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2542 • สัญญาตั้งตัวแทน ป.พ.พ.มาตรา 797 -สัญญาตั้งตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 826 วรรคสอง

  48. พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒แก้ไขฉบับที่ ๘-๒๕๕๑ มาตรา ๗๕ ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติ หน้าที่ ผู้ขับขี่ มีสิทธิ ดังนี้ (๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ (๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด (๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้

  49. (๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย จราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็ว ของรถให้ช้าลงตามสมควร • ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้ ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

  50. 8คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.152/2554 • รถพยาบาล รพช. ส่งผู้ป่วยไป รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี เกิดเหตุเวลา 20.00 น. • เปิดไซเรนและไฟวับวาบ แล้วแซงด้านขวาของ รถยนต์รับจ้างที่ขับอยู่ข้างหน้า • รถยนต์สามล้อรับจ้างเลี้ยวขวากะทันหันโดย เปิดไฟเลี้ยวด้านขวา (บริเวณ 3 แยก)

More Related