190 likes | 448 Views
การยืมเงินของส่วนราชการ. 1.ประเภทเงินยืม การยืมเงินของส่วนราชการ จะยืมได้จากเงิน 3 ประเภท คือ 1. เงินงบประมาณรายจ่าย การให้ยืมเงินงบประมาณรายจ่ายจะทำได้เท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในราชการโดยใช้งบประมาณของปีปัจจุบัน
E N D
การยืมเงินของส่วนราชการการยืมเงินของส่วนราชการ 1.ประเภทเงินยืม การยืมเงินของส่วนราชการ จะยืมได้จากเงิน 3 ประเภท คือ 1. เงินงบประมาณรายจ่าย การให้ยืมเงินงบประมาณรายจ่ายจะทำได้เท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในราชการโดยใช้งบประมาณของปีปัจจุบัน 2. เงินทดรองราชการ เป็นเงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองจ่ายตามระเบียบหรือข้อบังคับของกระทรวงการคลัง 3. เงินนอกงบประมาณ การให้ยืมเงินนอกงบประมาณจะทำได้เฉพาะเมื่อนำไปจ่ายดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของเงินนอกงบประมาณประเภทนั้น เท่านั้น
2. ประเภทรายจ่ายที่สามารถยืมเงินได้ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเพื่อจ่ายให้บุคคลใดยืมเพื่อปฏิบัติราชการ กระทำได้เฉพาะงบรายจ่าย รายการดังต่อไปนี้ • รายการค่าจ้างชั่วคราว สำหรับค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ • รายการค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ • รายการค่าสาธารณูปโภค เฉพาะค่าไปรษณีย์โทรเลข • งบกลาง เฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร หรือเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครอบชีพชั่วคราวสำหรับลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ • เงินงบอื่น ๆ ที่จ่ายในลักษณะเดียวกันกับ 1.1 1.2 หรือ 1.3
เงินทดรองราชการเพื่อจ่ายให้บุคคลใดยืมเพื่อปฏิบัติราชการ ให้ยืมทดรองใช้จ่ายเฉพาะตามงบประมาณรายจ่าย ดังต่อไปนี้ 2.1 งบบุคลากรเฉพาะค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ แต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวัน หรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง 2.2 งบดำเนินงาน ยกเว้นค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา 2.3 งบกลางเฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร และเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 2.4 งบอื่นที่จ่ายในลักษณะเช่นเดียวกับ 2.1 หรือ 2.2
3. ประเภทสัญญาการยืมเงิน การยืมเงินของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ หรือที่ปรึกษาของกรมฯ เพื่อปฏิบัติราชการ หรือทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่าย ผู้ยืมจะต้องทำสัญญาการยืมเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. สัญญาการยืมเงินตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดและที่กรมชลประทานได้ ขออนุมัติกระทรวงการคลังเพิ่มเติมข้อความด้านหลังของสัญญาตามหนังสือที3836/2506 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2506 (ดูตัวอย่างตามคำสั่งกรมที่ 189/2550 ที่แนบ) แบบของสัญญาการยืมเงินนี้ ใช้สำหรับการยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน การเดินทางไปราชการหรือเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ รวมทั้งการยืมเงินราชการเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างชั่วคราว
2. สัญญาการยืมเงินและการใช้บัตรเครดิตราชการ(ดูตัวอย่างตามคำสั่งกรมที่ 189/2550) แบบของสัญญานี้ใช้สำหรับการปฏิบัติราชการและมีรายการค่าใช้จ่าย ดังนี้ • ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ประชุม จัดงานนิทรรศการ • ค่ารับรองชาวต่างประเทศ
4. ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำสัญญาการยืมเงิน ขั้นที่ 1 ให้ผู้ยืมจัดทำสัญญาการยืมเงินตามแบบที่กำหนดจำนวน 2 ฉบับ มีข้อความตรงกัน ยื่นต่อผู้อำนวยการกองการเงินและบัญชี ขั้นที่ 2 ให้ผู้ยืมแนบเอกสารประกอบสัญญาการยืมเงิน เพื่อแสดงว่าเป็นการยืมเงินไปเพื่อปฏิบัติราชการจริง ซึ่งเอกสารประกอบสัญญาการยืมเงินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการยืมเงินสำหรับปฏิบัติราชการหรือทดรองใช้จ่าย ขั้นที่ 3 ให้เจ้าหน้าที่การเงินเป็นผู้กำหนดระยะเวลาที่จะส่งใช้ในสัญญาการยืมเงิน ดังนี้ - กรณีเดินทางไปประจำต่างสำนักงาน หรือการเดินทางไปรับราชการประจำในต่างประเทศ หรือกรณีเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมให้ส่งต่อส่วนราชการที่จ่ายเงินให้ยืมโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือธนาณัติแล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน
- กรณีเดินทางไปราชการอื่น รวมทั้งการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ให้ส่งต่อส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสิบวันนับจากวันกลับมาถึง - การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการนอกจากตาม (1) หรือ (2) ให้ส่งต่อส่วนราชการผู้ให้ยืมภายในสิบวันนับจากวันได้รับเงิน การกำหนดระยะเวลาที่จะส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเงินยืมแต่ละประเภทเป็นผู้กำหนดระยะเวลา ขั้นที่ 4 ให้เสนอผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หรือผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาและรับรองจำนวนเงินที่ขอยืม และแต่งตั้งกรรมการรับเงินยืม (ถ้าต้องมี)
5. หลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งกรรมการรับเงินยืม 1. การเดินไปราชการเป็นหมู่คณะที่มีจำนวนเงินยืมเกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่เกิน 2 คน 2. การจัดฝึกอบรมสำหรับโครงการที่มีเงินยืมแต่ละครั้งเกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่เกิน 2 คน 3. การปฏิบัติราชการอื่น ที่มีวงเงินยืมเกิน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ให้แต่งตั้งกรรมการรับเงินยืมไม่น้อยกว่า 2 คน 6. ให้ผู้ยืมเงินส่งสัญญาการยืมเงินต่อกองการเงินและบัญชีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงเลขที่ใบยืมและตรวจสอบเพื่อป้องกันการยืมเงินซ้ำ
7. การจ่ายเงินและการลงนามรับเงินในสัญญาการยืมเงิน 1. ผู้ยืมที่ประสงค์รับเงินยืมเป็นเงินสด ให้ผู้ยืมและกรรมการรับเงินยืม(ถ้ามี) ลงจำนวนเงินที่จะขอรับในสัญญาการยืมเงิน ลงลายมือชื่อ สำหรับผู้ยืมให้ลงเลขที่บัตรประจำตัว วันเดือนปีที่รับเงิน เจ้าหน้าที่การเงินจะจ่ายเงินให้พร้อมทั้งคืนคู่ฉบับสัญญาการยืมเงินให้ผู้ยืม 1 ฉบับ 2. ผู้ยืมที่ประสงค์จะรับเงินผ่านธนาคาร ให้ผู้ยืมและกรรมการรับเงินยืม(ถ้ามี) ลงลายมือชื่อในดวงตรา “โปรดจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้า” พร้อมกรอกรายละเอียดการนำเงินเข้าธนาคาร พร้อมลงวันที่นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารและให้ผู้ยืมรับคู่ฉบับสัญญาการยืมเงินได้ที่เจ้าหน้าที่การเงินในภายหลัง
8. การส่งใช้เงินยืม ส่งใช้เงินยืมตามกำหนดเวลา - การนำใบสำคัญคู่จ่ายส่งใช้ ผู้ยืมได้ใช้จ่ายเงินไปเท่าใดก็ให้ทำใบสำคัญคู่จ่ายเท่านั้น มีการให้รหัส GFMIS ของงานที่ทำ และจัดทำใบนำส่งใบสำคัญ พร้อมคู่ฉบับสัญญาการยืมเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินบันทึกหมายเหตุการส่งใช้เงินยืม - การนำเงินสดเหลือจ่ายส่งใช้ ถ้าจ่ายเงินไม่หมด ผู้ยืมต้องนำเงินสดมาส่งคืน โดยให้จัดทำใบนำส่ง และนำเงินสดส่งเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ยืมเก็บไว้เป็นหลักฐาน 9. การส่งใช้เงินยืมเกินกำหนดเวลา สัญญาการยืมเงินที่ครบกำหนดแล้วแต่ผู้ยืมยังมิได้ดำเนินการส่งใช้ เจ้าหน้าที่การเงินต้องมีการติดตามทวงถาม โดยทำเป็นหนังสือเสนอผ่านสำนัก/กองเจ้าสังกัดโดยตรง