440 likes | 579 Views
สถานการณ์การตลาดพืชหลักๆ ของโลก. โดย สาโรช อังสุมาลิน คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 15 กรกฎาคม 2553. การนำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การสัมมนาวิชาการ เรื่อง สถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตร ครึ่งแรกของปี 2553. ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
E N D
สถานการณ์การตลาดพืชหลักๆ ของโลก โดยสาโรช อังสุมาลิน คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์15 กรกฎาคม 2553
การนำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การสัมมนาวิชาการ เรื่อง สถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตร ครึ่งแรกของปี 2553 ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พืชหลักๆประกอบด้วย ข้าว น้ำตาล/ อ้อย ข้าวโพด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
หัวข้อหลักๆ ที่จะกล่าวถึงของพืชแต่ละชนิด การผลิต (อุปทาน) การใช้ประโยชน์ (อุปสงค์) ราคา เป็นการคาดการณ์ไปในอนาคต
แหล่งข้อมูล กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา สำนักงานอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ อื่นๆ
สถานการณ์การตลาดข้าวของโลกสถานการณ์การตลาดข้าวของโลก การผลิต - FAO: ผลผลิตข้าวของโลก คาดว่าจะได้ 682 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 456 ล้านตันข้าวสาร - สูงกว่าที่เคยคาดไว้ครั้งหลังสุด ที่คาดว่าจะได้ 675 ล้านตันข้าวเปลือก 451 ล้านตันข้าวสาร
การผลิตข้าว ประเทศที่ผลิตได้ผลดี คือ - อินเดีย อินโดนีเซีย และปากีสถาน ประเทศที่ผลิตได้ลดลง - อิหร่าน ญี่ปุ่น พม่า ฟิลิปปินส์ เซียราเลโอน เวเนซูเอลา และไทย
การค้าข้าว คาดว่าปริมาณการค้าข้าวของโลกจะสูงขึ้น - มีการแข่งขันกันสูงในระหว่างประเทศผู้ส่งออก - ระดับราคาข้าวอ่อนตัวลง - หลายประเทศมีมาตรการกระจายข้าว ให้กับ ประชาชนกลุ่มที่มีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
ปริมาณการค้าข้าว - ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จะเป็นการส่งออกจากจีน อียิปต์ พม่า อเมริกา และปากีสถาน - การส่งออกของไทย และเวียดนามจะลดลง - ไทย จะส่งออก 8.8 ล้านตัน เป้าหมาย 9 ล้านตัน - เวียดนาม จะส่งออก 5.8 ล้านตัน ปีที่แล้ว 6 ล้านตัน
ราคาข้าว - ลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2552 - ดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ฟิลิปปินส์ซื้อข้าว 2 ล้านตัน - ราคาเริ่มตกลงอีก หลังจากเดือนมกราคม 2553 - ไม่มีการสั่งซื้อจากประเทศผู้นำเข้าหลักๆ - อุปทานมีมาก
ราคาข้าวของประเทศไทย - ราคาซื้อขายกันเพียง 475 ดอลลาร์ต่อตัน พฤษภาคม 2553 - ต่ำกว่าในเดือนมกราคม ร้อยละ 21 - ต่ำที่สุด ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา
สถานการณ์การตลาดน้ำตาลของโลกสถานการณ์การตลาดน้ำตาลของโลก - คาดว่าจะมีผลการผลิต 152.3 ล้านตัน ในปี 2552/53 - เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 แต่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งหลังสุด - การผลิตของบราซิล เม็กซิโก และไทย จะลดลง -บราซิล : ฝนตกหนักในฤดูเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตต่อไปลดลง ต้องยืดระยะเวลาเก็บเกี่ยว ออกไป - ไทย : เกิดภาวะแห้งแล้ง
การผลิตน้ำตาล - ประเทศที่ผลิตได้มากขึ้น คือ ออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย แต่การเพิ่มขึ้น น้อยกว่า การลดลงที่กล่าวถึงข้างต้น - อินเดีย: วัฏจักร ผลผลิตสูง 3-4 ปี ตามด้วย ผลผลิตลดลง 2-3 ปี
การผลิตอ้อยของไทย - ปี 2552/53 ผลผลิตน้ำตาล ลดลงร้อยละ 3 เกิดภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ปลูกอ้อยหลักๆ ของประเทศ - ปี 2553/54 คาดว่า จะมีการขยายพื้นที่ปลูก - ราคาที่ฟาร์มสูงมาก ในฤดูที่ผ่านมา - สูงกว่าราคาประกัน ร้อยละ 26
การค้าน้ำตาลของโลก - คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 - อุปสงค์การนำเข้าของอินเดียสูงมาก - คาดว่าปริมาณการบริโภคจะมากกว่าปริมาณ การผลิต 7 ล้านตัน
ราคาน้ำตาลของโลก - การคาดประมาณเบื้องต้น ของปี 2553/54 - คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่เล็กน้อย - แรงกดดันให้ราคาอ่อนตัวลง
ราคาน้ำตาล - มกราคม 2553 เท่ากับ 26.46 ดอลลาร์/ปอนด์ - พฤษภาคม 2553 เท่ากับ 15.10 ดอลลาร์/ปอนด์ ลดลง ร้อยละ 43 - การเก็งกำไร ในการนำเข้าของอินเดีย - ราคาจะกลับมาสูงใหม่ได้ หากเกิดภาวะดินฟ้าอากาศ เปลี่ยนแปลงมากๆในประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่
สถานการณ์ตลาดข้าวโพดของโลกสถานการณ์ตลาดข้าวโพดของโลก - การผลิตน่าจะดี - อุปสงค์ยังไม่ดีนัก
อุปทานของข้าวโพด - ผลผลิตของโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 - คาดว่าการผลิตของอเมริกา ซึ่งผลิตและส่งออกมาก ที่สุดของโลก จะให้ผลดี
อุปสงค์ของข้าวโพด - การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เป็นไปอย่าง ช้าๆ อุปสงค์จึงยังไม่ดีมากนัก - การใช้เพื่อเป็นอาหารสัตว์ คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง - เศรษฐกิจถดถอย ทำให้อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์จาก สัตว์ลดลง อุปสงค์ของพืชอาหารสัตว์จึงลดลง - ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ทดแทนข้าวโพดในการเลี้ยงสัตว์ มีอุปทานเป็นจำนวนมาก
อุปสงค์ของข้าวโพด - การใช้เพื่อเป็นอาหารจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2 เอธิโอเปีย ไนจีเรีย อินเดีย - การใช้ในอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 นำไปทำ เอทานอล
ราคาของข้าวโพด - ราคาในตลาดโลกเริ่มอ่อนตัวลง ตั้งแต่ปี 2552 - การซื้อของจีน จะทำให้ราคาฟื้นตัวขึ้นบ้าง แต่แรงกดดันที่ ทำให้ราคาคงอ่อนตัวยังมีมาก - เงินดอลลาร์แข็งตัวขึ้น - มีการคาดการณ์ว่าการผลิตจะให้ผลดี - การขยายตัวของการผลิตเอทานอลลดลง - อุปทานของพืชอาหารสัตว์อื่นๆ ที่ใช้ทดแทนกันได้มีมาก
สถานการณ์การตลาดปาล์มน้ำมันสถานการณ์การตลาดปาล์มน้ำมัน การผลิต - การเติบโตของผลผลิต จะต่ำกว่าร้อยละ 3 ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยในอดีต - ผลผลิตต่อไร่ตกต่ำติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปีต่อเนื่อง - เป็นผลมาจากภาวการณ์ El Nino - มาเลเซีย อยู่ในช่วงที่ต้นปาล์มให้ผลผลิตลดลง และกำลังมีการปลูก ทดแทน พร้อมทั้งขาดแคลนแรงงาน - อินโดนีเซีย พื้นที่ปลูกที่เริ่มให้ผลผลิตมีมากขึ้น
อุปสงค์ของปาล์มน้ำมันอุปสงค์ของปาล์มน้ำมัน คาดว่าอุปสงค์ในช่วงปี 2552/53 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง - การนำไปทำอาหารเพิ่มขึ้น จีน อินเดีย - อุตสาหกรรมทำน้ำมันดีเซลชีวภาพ จะขยายตัวมากขึ้น ส่วนเหลื่อมกำไรเมื่อใช้น้ำมันพืชเป็นวัตถุดิบสูงกว่า แต่จะ เสียเปรียบ ถั่วเหลือง และ rapeseed เล็กน้อย - อุปสงค์จะกระจุกตัวใน จีน เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกา EU อาร์เจนตินา และบราซิล
ราคาปาล์มน้ำมัน - ราคายังจะคงอยู่ในระดับสูงต่อไป เมื่อเทียบกับอดีต - เกษตรกรจะยังปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น - การส่งออกของอินโดนีเซีย แซงมาเลเซียแล้ว
สรุปสถานการณ์การตลาดยางพาราของโลกสรุปสถานการณ์การตลาดยางพาราของโลก การผลิต - ปี 2552 ผลิตได้ 8.6 ล้านตัน น้อยกว่าปี 2551 ร้อยละ 5.1 - พื้นที่เก็บเกี่ยวยางที่ให้ผลผลิตแล้วสูงขึ้น - แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลง เพราะดิน ฟ้า อากาศ ไม่อำนวย - การผลิต ไทย ลดลงร้อยละ 6.1 อินโดนีเซียร้อยละ 5.7 มาเลเซียร้อยละ 22.4 และอินเดียร้อยละ 7.3 - ใน ไทย มาเลเซีย ศรีลังกา มีฝนตกมากเกินไป อินโดนีเซียเกิดภาวะฝน แล้ง
การผลิตยางพารา - ประเทศที่มีผลผลิตยางเพิ่มขึ้น คือ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เวียตนามร้อยละ 9.7 กัมพูชาร้อยละ 81.1 และศรีลังกา ร้อยละ 4.7 - มีการคาดการณ์ว่าในเดือนตุลาคม-ธันวาคมปี 2553จะมี ฝนตกมากทางภาคใต้ของไทย คาดว่าผลผลิตจะลดลงร้อยละ 10 โดยจะให้ผลผลิต 2.9 ล้านตัน ต่ำกว่าที่คาดไว้คือ 3 ล้านตัน
การผลิตในอนาคต - เวียตนามในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายพื้นที่ปลูกอีก 220,000 เฮคแตร์ (6.25 ไร่) และจะมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 800,000 เฮคแตร์ - มาเลเซีย จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จาก 1,400 กก. ต่อเฮคแตร์ เป็น 1,800 ในอีก 5 ปีข้างหน้า - ไทยในช่วงปี 2547-52 ขยายพื้นที่ปลูกมาแล้ว 1 ล้านไร่และ แผนจะขยายพื้นที่ปลูกอีก 1 ล้านไร่
ราคายางพารา - การสูงขึ้นของราคายางในเร็วๆ นี้เป็นผลมาจาก ปัจจัยด้าน อุปทาน - การเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ - ราคาน้ำมันดิบของโลกสูงขึ้น - คาดว่าราคาจะกลับมาบูมอีกครั้งในอนาคต - ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ - การบริโภคในอเมริกาเริ่มฟื้นตัว