230 likes | 581 Views
เอกสารประกอบการสัมมนาเพื่อกรอกปริมาณงาน และ การให้ข้อมูลเพื่อ นำไปพัฒนาระบบทรัพยากรบุคคลของกรมประมง โครงการวิเคราะห์โครงสร้างองค์กร ( Organization Structure) และกำหนดแผนอัตรากำลังคน ( Manpower Planning ) ของกรมประมง โดยสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ ( สปร . ).
E N D
เอกสารประกอบการสัมมนาเพื่อกรอกปริมาณงาน และการให้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาระบบทรัพยากรบุคคลของกรมประมง โครงการวิเคราะห์โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) และกำหนดแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) ของกรมประมง โดยสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.)
เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนบทบาทภารกิจจากอดีต ปัจจุบัน รวมทั้ง ปัญหา อุปสรรค อันเกิดจากโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลังของ กรมประมง เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างองค์กรเพื่อตอบภารกิจและวิสัยทัศน์ของกรมประมงในอนาคต เพื่อศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแผนกำลังคนที่เหมาะสมเพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจหลักและภารกิจอื่นๆ ทั้งปัจจุบันและแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อวิเคราะห์ และกำหนดแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโครงสร้างอัตรากำลัง รวมทั้งการกำหนดกรอบอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ สามารถรองรับแผนยุทธศาสตร์ของ กรมประมง พ.ศ. 2557– 2559 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนาระบบงานบุคคลอื่น ๆ ของกรมประมงต่อไป วัตถุประสงค์ของโครงการ
แผนการดำเนินการโดยสรุปใน 9 เดือน 1 2 3 4 วิเคราะห์และกำหนดโครงสร้างองค์กร กำหนดแผนกำลังคน จัดการประชุมและประชาสัมพันธ์เพื่อสรุปผลโครงการ การเก็บข้อมูลและจัดทำแผนโครงการ
องค์กรที่สามารถสร้างฝันให้เป็นจริงองค์กรที่สามารถสร้างฝันให้เป็นจริง Leadership HR System Vision Strategy บุคลากรทุกคนมุ่งสู่ฝันและทิศทางเดียวกัน บุคลากรทุกคนมีกระบวนการ พฤติกรรมและช่วยกันผลักดันให้เกิดฝันที่เป็นจริง
กรอบแนวคิดการกำหนดกรอบอัตรากำลังกรอบแนวคิดการกำหนดกรอบอัตรากำลัง มาตรา 47 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 48 หมายเหตุมาตราที่อ้างถึง: มาตรา 48 ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์อุปสงค์กำลังคน (Demand Analysis) ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์อุปทานกำลังคน (Supply Analysis) ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ส่วนต่างของกำลังคน (Gap Analysis) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนากลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านกำลังคน (Development Strategy) ขั้นตอนการวิเคราะห์กำลังคนและการพัฒนากลยุทธ์
แนวทางวิเคราะห์กำลังคนและการพัฒนากลยุทธ์อัตรากำลังที่เหมาะสมแนวทางวิเคราะห์กำลังคนและการพัฒนากลยุทธ์อัตรากำลังที่เหมาะสม การกำหนดทิศทางจากผู้บริหารระดับสูง ยึดบนข้อมูลจริง ปรับปรุงกระบวนการให้สอดคล้องกับองค์กร ประเมิน รอบด้าน เสนอผลการศึกษาสอดคล้องกับหลักการเชิงวิชาการ เสนอแนวทางปรับปรุงให้สามารถนำไปใช้ได้จริง การสนับสนุนจากบุคลากรในองค์กร
กรอบแนวความคิดการวิเคราะห์อัตรากำลังกรอบแนวความคิดการวิเคราะห์อัตรากำลัง FTE DRIVER B E N C H M A R K I N G ISSUE 360 DEGREE องค์ประกอบที่นำมาใช้ Strategic objective Supply Pressure มุมมองไปสู่อนาคต มุมมองอดีต มุมมองปัจจุบัน Backward-looking Spot-looking Forward-looking “Any study of manpower allocation must take many factors into consideration” Effective Manpower Planning Framework American Academy of Political and Social Science การพิจารณาอัตรากำลังด้วยการใช้เพียงวิธีการเดียว อาจเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นได้ จึงควรพิจารณาผ่านวิธีการที่หลากหลายและยึดโยงกันเพื่อให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการสรุปผลการวิเคราะห์อัตรากำลังตัวอย่างการสรุปผลการวิเคราะห์อัตรากำลัง แยกเป็นบัญชีรายชื่อตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน บัญชีรายชื่อตำแหน่งของพนักงานราชการ สำหรับข้าราชการ สำหรับพนักงานราชการ
กำลังคนส่วนขาดที่ต้องสรรหาเพิ่มกำลังคนส่วนขาดที่ต้องสรรหาเพิ่ม กำลังคนส่วนเกินที่ต้องวางแผน พัฒนาและบริหารจัดการเพิ่มเติม แผนภาพการวิเคราะห์ส่วนต่างกำลังคนของหน่วยงานใน 3 ปีข้างหน้า สภาพกำลังคนของหน่วยงานปัจจุบัน สภาพกำลังคน ของหน่วยงาน ที่คาดว่าจะมีในอนาคต ผลการพยากรณ์ กำลังคนที่ต้องการในอนาคต ๏ จำนวน ๏ ระดับ ๏ ประเภท ๏ สมรรถนะ ๏ จำนวน ๏ ระดับ ๏ ประเภท ๏ สมรรถนะ ๏ จำนวน ๏ ระดับ ๏ ประเภท ๏ สมรรถนะ
การใช้การคำนวณเชิงคณิตศาสตร์: การคำนวณแบบวิทยาศาสตร์ แนวคิดในการวิเคราะห์อัตรากำลังโดยคำนวณหา Work Load หรือ FTE อัตรากำลังที่ต้องการ = เวลาที่ต้องใช้ในการทำงานใน 1 ปี (WL) เวลาที่พนักงาน 1 คนมาทำงานใน 1 ปี * WL = Work Load ตัวอย่าง งานลงทะเบียนรับเอกสาร ชิ้นละ 2 นาที เฉลี่ยวันละ 6,000 ชิ้น ปีละ 240 วัน ปริมาณงาน ( แปลงเป็นนาที ) = 2 x 240 x 6,000 = 2,880,000 นาที เวลาที่พนักงาน 1 คน ทำได้ใน 1 ปี คือ 115,200 นาที คำนวณอัตรากำลัง =2,880,000/115,200 = 25 คน
ตัวอย่าง การคำนวณอัตรากำลังของหน่วยงาน
มาตรการดำเนินการหลังการวิเคราะห์อัตรากำลังมาตรการดำเนินการหลังการวิเคราะห์อัตรากำลัง อัตรากำลังขาด • ทำ OT/ out sourcing / sub contract • สรรหาภายใน : โอนย้าย, พัฒนา • ทบทวน / ปรับวิธีการทำงาน ( REPROCESS ) • Office automation • สรรหาจากภายนอก อัตรากำลังเกิน • เพิ่มงาน ( ENLARGE & ENRICH JOB ) • โอนย้ายไปหน่วยอื่น , พัฒนา • ลดพนักงาน
แบบฟอร์มที่ 1 งานในปัจจุบัน • กรอกกิจกรรมตามงานทั้งหมดของท่านตามกระบวนงาน/งานทั้งหมดในความรับผิดชอบของท่าน • กรอกเวลาที่ใช้ต่อปริมาณงาน (เฉลี่ยต่อชิ้น) • กรอกปริมาณงานของตำแหน่ง ที่ท่านรับผิดชอบ (ทั้งหมดใน 1 ปี โดยหากไม่มีปริมาณที่ชัดเจนให้ประมาณการ)
คำอธิบายเพิ่มเติม: การจัดทำแผนวิเคราะห์ปริมาณงาน • โปรดกรอกแบบฟอร์มปริมาณงาน เพื่อจัดทำกรอบอัตรากำลังที่ต้องการภายใน 2 อาทิตย์หลังจากนี้ มิเช่นนั้นจะถือว่าการกำหนดอัตรากำลังจะเป็นไปตามปริมาณเดิม • ให้ใส่สายงาน ปริมาณงาน และเวลาที่ใช้ ทั้งหมด 3 ปีแยกตามรายศูนย์/กลุ่มงาน/ฝ่ายงาน • โปรดกรอกเวลาดังนี้ วิธีการกรอกข้อมูลเวลาในรายละเอียด • ระบุเวลาเป็นชั่วโมงรวมที่ใช้ในแต่ละกระบวนงาน (ต่อหนึ่งหน่วยผลลัพท์) • ควรนับเวลาทำงานจริงที่เกิดขึ้น (ไม่ควรรวมเวลารอ) • การเดินทางมีผลต่อระยะเวลาทำงาน • หากลักษณงานเหมือนกันแต่ความยาก-ง่ายไม่เท่ากัน อาจแบ่งเป็นงานยากใช้เวลากี่ ช.ม. ต่อชิ้นงาน งานง่ายใช้เวลา กี่ ชม. ต่อชิ้นงาน เป็นต้น • หากมีเวลามาตรฐานการปฏิบัติงาน / คู่มือการทำงานที่ระบุเวลาไว้ชัดเจนให้แนบมาด้วย (ยกเว้นในกรณีที่ไม่อาจทำตามเวลามาตรฐานที่กำหนดได้ • หากไม่มีเวลาที่แน่ชัดให้ประมาณการ (แต่ระบุว่าเป็นค่าเฉลี่ยหรือค่าประมาณการมาด้วย) * เนื่องจากมีวันหยุดราชการ วันหยุดสุดสัปดาห์ และพักเที่ยงจึงให้เทียบวันตามนี้
แบบฟอร์มที่ 2 งานในอนาคต • กรอกกิจกรรมที่ท่านคิดว่าจะทำใน 3-5 ปีข้างหน้า พร้อมกรอกปริมาณงาน (หากกิจกรรมจะเหมือนเดิมให้เขียนระบุว่างานเหมือนในปัจจุบัน) • กรอกเหตุผลว่าจะเกิดประโยชน์ต่อกรมประมง/เกษตรกร/ผู้ประกอบการอาหารสัตว์น้ำอย่างไร หรือก่อประโยชน์ต่อหน่วยงาน/ฝ่ายอย่างไร
แบบฟอร์มที่ 3 ข้อคิดเห็นอื่นๆ ต่ออัตรากำลัง ตอบคำถามดังต่อไปนี้ • ท่านเห็นว่ามีงาน/หน้าที่รับผิดชอบใดในหน่วยงานของท่านหรือหน่วยงานอื่นในกรมประมง ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นโดยการปรับปรุงกระบวนงานหรือวิธีการ ทำงานได้ กรุณาระบุ • ท่านเห็นว่ามีงาน/หน้าที่รับผิดชอบใดในหน่วยงานอื่นๆ ที่ซ้ำซ้อนกัน ควรรวม/บูรณาการกันได้ • ท่านเห็นว่ามีงาน/หน้าที่รับผิดชอบใดในองค์กรนี้ที่สมควรจัดจ้างหน่วยงาน/จ้างเหมาบุคคลภายนอกดำเนินการแทน (Outsourcing)/หรือจ้างเป็นลูกจ้างแทนที่จะกำหนดเป็นพนักงาน (หรืองานที่เคย Outsource ไปแล้ว และเห็นควรให้คืนกลับเป็นหน้าที่ขององค์กร) • ท่านเห็นว่าหน่วยงานใด (ยกเว้นหน่วยงานของท่าน) ที่มีภาระงานสูงกว่ากำลังคนปัจจุบันจะรองรับได้ และสมควรปรับเพิ่มกำลังคนโดยให้ใส่ได้เพียง 3 หน่วยงานเท่านั้นที่ท่านคิดว่าสำคัญอย่างเร่งด่วน พร้อมเหตุผลประกอบ • ท่านเห็นว่าหน่วยงานใด (ยกเว้นหน่วยงานของท่าน) ที่มีภาระงานน้อยกว่ากำลังคนในปัจจุบัน และสมควรปรับลดกำลังคนโดยให้ใส่ได้เพียง 3 หน่วยงานเท่านั้นที่ท่านคิดว่าควรลดอย่างยิ่ง พร้อมเหตุผลประกอบ • อะไรเป็นปัจจัย (Drivers) ที่ส่งผลต่อกำลังคนในหน่วยงานของท่าน
สิ่งที่ต้องการความอนุเคราะห์สิ่งที่ต้องการความอนุเคราะห์ • กรอกแบบฟอร์มทั้งหมดให้ครบถ้วน • ส่งให้ผู้อำนวยการสำนัก/กองของท่าน (กรุณาส่งให้ครบทุกงานในฝ่าย มิเช่นงานของท่านอาจจะหายไป) • โปรดส่งภายใน 2 สัปดาห์หลังจากวันนี้ มิเช่นนั้นจะถือว่าท่านยอมรับในข้อเสนอของคณะที่ปรึกษาทั้งหมด