1 / 60

การจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย นายวีระชาติ ทศรัตน์

การจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย นายวีระชาติ ทศรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษานอกระบบและพัฒนากิจกรรมเยาวชน สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. บรรยาย 7 จว.ภาคใต้ (7/4/53).

marnin
Download Presentation

การจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย นายวีระชาติ ทศรัตน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย นายวีระชาติ ทศรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษานอกระบบและพัฒนากิจกรรมเยาวชน สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย บรรยาย 7 จว.ภาคใต้ (7/4/53)

  2. การจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 4กำหนดให้ “สถานพัฒนาเด็กเล็ก”เป็น“สถานศึกษา” เช่นเดียวกับโรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย ฯลฯ และมาตรา 18 กำหนดว่า การจัดการศึกษาปฐมวัย..ให้จัดในสถานศึกษา คือ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัยตามกฎหมาย เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมและเต็มศักยภาพของเด็กแต่ละวัย”

  3. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก • เพื่อให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย 2-5 ขวบ (ก่อนประถมศึกษา) • เพื่อขยายบริการแก่ชุมชนส่งบุตรหลานเข้ารับการพัฒนาความพร้อมทุกด้านๆ เพื่อเตรียมไปสู่การเรียนในระดับประถมศึกษาตามวัย

  4. ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในฐานะที่เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัย ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกฎหมายและแนวทาง - มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - มาตรฐานการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  5. มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การมีส่วนร่วม และสนับสนุนจากชุมชน บุคลากร / การบริหารจัดการ อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย วิชาการและกิจกรรม หลักสูตร ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ มาตรฐานการศึกษา 12 มาตรฐาน • การประชุมชี้แจง • จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ • ประสานงาน • จัดตั้งกองทุน • จัดอบรมให้ความรู้ • ติดตามประเมินผล ♕คุณสมบัติ ♕ บทบาทหน้าที่ ♕วุฒิการศึกษา ♕ประสบการณ์ แบบแปลนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บุคลากร • ขนาดเล็ก ๕๐ คน • ขนาดกลาง ๕๑ – ๘๐ คน • ขนาดใหญ่ ๘๑ – ๑๐๐ คน • ขนาดใหญ่ ๑๐๑ – ๑๖๐ คน ผู้เรียน • ด้านบริหารจัดการ • การจัดตั้ง ยุบ เลิก รวมศูนย์ • โครงสร้างคณะกรรมการ บริหารศูนย์ • อำนาจหน้าที่ • ระเบียบการดำเนินงาน ของศูนย์ • แนวทางการบริหารศูนย์ • การสรรหาบุคลากรในศูนย์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การส่งเสริมสนับสนุนจาก สถ.

  6. การส่งเสริมสนับสนุนจาก สถ. วิชาการและกิจกรรม หลักสูตร บุคลากร / การบริหารจัดการ อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย การมีส่วนร่วม และสนับสนุนจากชุมชน • คณะกรรมการบริหาร ศพด. • กิจกรรมกับชุมชน • จัดทำแบบมาตรฐานการ • การก่อสร้าง ศพด. ขนาด • 50 – 160 คน • จัดสรรงบประมาณ • ก่อสร้างอาคาร ศพด. • ปรับสถานภาพ • ยกระดับคุณวุฒิ (ทุนการศึกษา) • จัดสรรอัตราครู 1 : 20 • การแต่งตั้งหัวหน้าศูนย์ฯ • ใบประกอบวิชาชีพ • การบริหาร ศดว./ศดม. • มาตรฐานตำแหน่ง/โครงสร้าง • การสรรหา/คัดเลือก • จัดทำมาตรฐาน • การศึกษาขั้นพื้นฐาน • จัดทำมาตรฐานสื่อ • วัสดุ เครื่องเล่น ศพด. • หลักการจัดประสบการณ์ • แนวทางการจัดประสบการณ์ • การโภชนาการ • นำไปสู่ • คุณลักษณะที่พึงประสงค์ • คุณลักษณะตามวัย 4 ด้าน

  7. การปรับสถานภาพ การต่อสัญญาจ้าง สถ.มีหนังสือ ที่ มท.0893.4/ว 1469 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ซักซ้อมการดำเนินการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้ 1. ให้จังหวัดมอบหมายท้องถิ่นจังหวัดและท้องถิ่นอำเภอกำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และให้คำแนะนำแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานการเรื่องดังต่อไปนี้ (1) กรณีสรรหาและเลือกสรรพนักงานจ้างปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก และการต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้างปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก ให้พิจารณาจากพนักงานจ้างปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็กคนเดิมเป็นอันดับแรก กล่าวคือ เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ให้คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ประชุมพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน

  8. พนักงานจ้างผู้นั้นในเบื้องต้น หากคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มีมติประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานจ้างผู้นั้นไม่ต่ำกว่าระดับดี ก็ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้างผู้นั้นต่อไป เพื่อให้การบริหารงานภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดผลดีต่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยถือปฏิบัติตามหนังสือ สถ. ที่ มท.0893.4/ว 85 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2550 (2) กรณีการแต่งตั้งผู้ดูแลเด็กจากพนักงานจ้างทั่วไปเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบรายชื่อผู้ดูแลเด็ก ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจ

  9. เสนอให้ ก.จังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ดูแลเด็กผู้นั้นเป็นพนักงานจ้างตามภารกิจ โดยได้รับค่าตอบแทนและค่าครองชีพชั่วคราวในอัตราพนักงานจ้างตามภารกิจ จากงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจัดสรรให้ หรืองบประมาณเงินรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เป็นไปตามนัย หนังสือ สถ. ที่ มท 0893.4/ว 846 ลงวันที่ 22 เมษายน 2551 หนังสือ สถ. ด่วนที่สุด ที่ มท 0893.4/ว 80 ลงวันที่ 10 มกราคม 2550

  10. (3) กรณีการแต่งตั้งบุคลากรในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งรัดการคัดเลือกและแต่งตั้งหัวหน้าศูนย์ฯให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส โดยถือปฏิบัติตามนัยหนังสือ สถ. ที่ มท 0893.4/ว 61 ลงวันที่ 10 มกราคม 2551 และหนังสือ สถ. ด่วนมาก ที่ มท 0893.4/ว 476 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2551 หนังสือ สถ. ที่ มท 0893.4/ว 1612 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2552 (4) กรณีการรับสมัครบุคลากรผู้ดูแลเด็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย

  11. ตามโครงการความร่วมมือระหว่าง สถ. กับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ให้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาคัดเลือกผู้ดูแลเด็กที่มีคุณสมบัติเข้าศึกษาตามโครงการด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และโปร่งใส 2. กรณีมีปัญหาร้องเรียนหรือทุจริต ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

  12. การแต่งตั้งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กการแต่งตั้งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1. สถ.กำหนดให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเด็กเข้ารับบริการไม่น้อยกว่า 20 คน มีหัวหน้าศูนย์ฯ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคัดเลือกและแต่งตั้งจากผู้ดูแลเด็กที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 มีประสบการณ์ในการทำงานดูแลพัฒนาเด็กปฐมวัยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีหนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากนายจ้างหรือหน่วยงาน ซึ่งระบุถึงลักษณะงานและระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงาน 1.2 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปทางการศึกษาทุกสาขาวิชา และมีใบประกอบวิชาชีพครู 1.3 ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด

  13. 2. ขั้นตอนการคัดเลือก 2.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาหรือมีประสบการณ์ในการศึกษาปฐมวัย เป็นประธาน ปลัดเทศบาลหรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ท้องถิ่นอำเภอ ผู้แทนชุมชน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนัก/กองหรือนักวิชาการศึกษาหรือผู้รับผิดชอบด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการและเลขานุการ สำหรับศูนย์ฯ ที่ถ่ายโอนจากกรมการศาสนา เป็นการถ่ายโอนเฉพาะงบประมาณ ส่วนอำนาจบริหารจัดการเป็นของผู้บริหารศูนย์ ได้แก่ เจ้าอาวาส/อิหม่าม หากได้รับการยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าอาวาส/อิหม่ามแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงสามารถดำเนินการคัดเลือกได้ ทั้งนี้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้ง เจ้าอาวาส/อิหม่าม หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมเป็นกรรมการคัดเลือกด้วย

  14. 2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้หลักเกณฑ์การประเมิน คัดเลือกโดยวิธีการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ ทั้ง 2 วิธี 2.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานขอความเห็นชอบจาก ก.จังหวัด เพื่อดำเนินการออกคำสั่งแต่งตั้งและทำสัญญาจ้างผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยได้รับค่าตอบแทนวุฒิปริญญาตรี รวมค่าครองชีพเดือนละ 9,440 บาท

  15. 3. กรณีศูนย์ใดมีเด็กเข้ารับบริการน้อยกว่า 20 คน หรือไม่มีผู้ดูแลเด็กที่มี คุณสมบัติครบถ้วน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาแต่งตั้งผู้ดูแลเด็กใน ศูนย์ฯ นั้นให้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ฯ โดยได้รับค่าตอบแทนในอัตรา เดิม

  16. การยกระดับคุณวุฒิ - การให้ทุนการศึกษา

  17. จัดสรรอัตราครู 1 ต่อเด็กไม่เกิน 20 คน

  18. ใบประกอบวิชาชีพ - การให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในความดูแลของสถานศึกษา

  19. มาตรฐานตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก

  20. ชื่อตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน้าที่ความรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รับผิดชอบดูแลบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมถึงการดำเนินงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ได้แก่ งานบุคลากรและการบริหารจัดการ งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม งานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร งานการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน งานธุรการ การเงินและพัสดุ และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายโดยจะต้องผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งครูเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย

  21. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 1. รับผิดชอบดูแลบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมถึงการดำเนินงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย แผนงาน และวัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น จัดทำแผนงานโครงการ และงบประมาณในการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เด็กเล็กทุกด้านอย่างต่อเนื่อง 3. จัดทำและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และการวัดผลประเมินผล

  22. 4. จัดทำภาระงานของบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมถึงประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5. ประสานความร่วมมือกับชุมชน ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6. เป็นผู้แทนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในกิจการทั่วไป และประสานเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 7. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  23. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา สาขาวิชาเอกอนุบาลศึกษาหรือปฐมวัย หรือทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ และ 2. ได้ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำงานดูแลพัฒนาเด็กปฐมวัยของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีหนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากนายจ้างหรือหน่วยงานซึ่งระบุถึงลักษณะงานและระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงาน และ 3. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

  24. ชื่อตำแหน่ง ครูผู้ดูแลเด็ก หน้าที่ความรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยจะต้องผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  25. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 1. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. จัดอบรมสั่งสอนและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และคุณลักษณะตามวัย 3. ปฏิบัติงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 5. ปฏิบัติงานความร่วมมือกับเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 6. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  26. คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา ทุกสาขาวิชาเอก หรือทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ และ 2. ได้ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำงานดูแลพัฒนาเด็กปฐมวัยของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีหนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากนายจ้างหรือหน่วยงาน ซึ่งระบุถึงลักษณะงานและระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงาน และ 3. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

  27. ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง ตำแหน่งและวิทยฐานะพนักงานครูและบุคลากร ทางการศึกษาเทศบาล (เพิ่มเติม) ***************** ฯลฯ 1. สายงานการสอน ประกอบด้วย - ครูผู้ช่วย - ครู - หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ครูผู้ดูแลเด็ก สำหรับมาตรฐานตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

  28. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็ก มีความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพ และได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทพนักงานครูเทศบาล

  29. ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขัน สำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล ***************** กรณีเทศบาลมีอัตราพนักงานครูเทศบาลตำแหน่งครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กว่างนอกจากการบรรจุแต่งตั้งด้วยวิธีการอื่นๆ แล้ว เทศบาลอาจบรรจุแต่งตั้งโดยการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน ดังนี้

  30. 1) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง 1.1 ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี 1.2 เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับพนักงานเทศบาล ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และ 1.3 เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้ง และ 1.4 มีใบประกอบวิชาชีพครู และ

  31. 1.5 ต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์และแบบประเมินที่ ก.ท. กำหนด จากคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่นายกเทศมนตรีแต่งตั้ง ดังนี้ (1) ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประกอบด้วย - ผู้บริหารสถานศึกษาที่นายกเทศมนตรีเห็นว่าเหมาะสม จำนวนนึ่งคนเป็นประธานกรรมการ - ผู้แทนคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ - ผู้ดำรงตำแหน่งครู ที่นายกเทศมนตรีเห็นว่าเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ครูพี่เลี้ยงดูแลระหว่างการเตรียมความพร้อมฯ จำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ - เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาของนัก/กองการศึกษาจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ

  32. (2) ตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็ก ประกอบด้วย - ปลัดเทศบาล เป็นประธานกรรมการ - ผอ.สำนัก/กองการศึกษา เป็นกรรมการ - ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาซึ่งมีประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือการสอนในสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ - เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาของสำนัก/กองการศึกษาจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ

  33. 2) การดำเนินการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขัน 2.1 การสมัคร ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนสังกัดเทศบาลแห่งใด ต้องสมัครเข้ารับการคัดเลือกในเทศบาลแห่งนั้น 2.2 การประกาศรับสมัคร เทศบาลประกาศรับสมัครคัดเลือกฯ ก่อนวันรับสมัครไม่น้อยกว่า 15 วันทำการ โดยระบุ - ตำแหน่งและอัตราที่เปิดรับสมัครคัดเลือก - คุณสมบัติผู้สิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันฯ

  34. - วัน เวลา และสถานที่รับสมัคร(ระยะเวลาการรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ) - วัน เวลา และสถานที่ประกาศรายชื่อผู้สิทธิเข้ารับการคัดเลือก - หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในวันรับสมัคร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรองประวัติการปฏิบัติงาน ปริญญาบัตรหรือรายงานผลการศึกษา (Transcript) หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (กรณีมีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือหนังสือรับรองสิทธิซึ่งคุรุสภาออกให้ใช้แทนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และอื่น ๆ ที่จำเป็น - วัน เวลา และสถานที่ประกาศผลการคัดเลือก

  35. 2.3) คะแนนการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องสอบแข่งขัน ประกอบด้วย 1) คะแนนประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ตามแบบที่ ก.ท. กำหนด 2) คะแนนทดสอบความรู้ ความสามารถในตำแหน่ง โดยอาจใช้วิธีสอบสัมภาษณ์ หรือวิธีอื่นใดที่เหมาะสม (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) 2.4) เกณฑ์การตัดสิน ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จะต้องมีผลคะแนนดังต่อไปนี้ - คะแนนการประเมินความสมกับตำแหน่ง ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 - คะแนนการทดสอบความรู้ ความสามารถในตำแหน่ง ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

  36. 2.5) คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขัน เทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกกรณีที่มีเหตุพิเศษฯ ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ท.จ. คัดเลือก จำนวนหนึ่งคน เป็นประธานฯ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือการสอนในสถานศึกษา หรือสถาบันการศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวนสองคน เป็นกรรมการ 3) ผู้อำนวยการสำนัก/กองการศึกษา จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ 4) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน สองคน เป็นกรรมการ 5) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคลากรทางศึกษาของสำนัก/กองศึกษาจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ

  37. ให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งทำหน้าที่ประเมินผลความเหมาะสมกับตำแหน่งและสอบสัมภาษณ์ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ท.จ.พิจารณาได้ตามความเหมาะสม เมื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกฯ แล้ว ให้ส่งสำเนาการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก 1 ชุด และสำเนาประกาศรับสมัครคัดเลือก 2 ชุด ไปยัง ก.ท.จ. ก่อนเริ่มรับสมัครคัดเลือกไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ

  38. 3) การประกาศผลการคัดเลือก เทศบาลประกาศการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องสอบแข่งขัน และอาจขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี พร้อมรายงานผลการคัดเลือกและบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ ก.ท.จ. ภายใน 5 วันทำการ ในกรณีที่มีผู้ผ่านการคัดเลือกมากกว่าจำนวนตำแหน่งว่าง และภายหลังมีตำแหน่งว่างเพิ่มอีกก็อาจบรรจุและแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกที่เหลืออยู่ในลำดับที่ถัดไปตามประกาศผลการคัดเลือกนั้น หรืออาจดำเนินการคัดเลือกใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของเทศบาล

  39. 4) การบรรจุแต่งตั้ง เทศบาลดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ท.จ. ก่อน ซึ่งผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจะต้องผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ ก.ท.ว่าด้วยการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในตำแหน่งครูผู้ช่วย ณ เทศบาลที่บรรจุและแต่งตั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี จึงสามารถบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.1 สามารถโอน (ย้าย) ไปดำรงตำแหน่งอื่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นได้ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงในการประกาศรับสมัคร ประกาศผลการคัดเลือก และอื่นๆ นอกจากที่กำหนดไว้เติมให้รายงานสำนักงาน ก.ท.จ. โดยด่วนที่สุด

  40. การเตรียมความพร้อมรับการประเมินจาก สมศ.

  41. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก • มาตรฐาน • 43 ตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน การศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  42. มาตรฐานที่ 1 ผู้ดูแลเด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี

  43. มาตรฐานที่ 2 ผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการจัดการ ประสบการณ์เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  44. มาตรฐานที่ 3 หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีคุณธรรม จริยธรรมมีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ

More Related