430 likes | 543 Views
การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. PUBLIC PARTICIPATION IN IN ENVIRONMENTAL I MPACT ASSESSMENT. ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม ภาควิชาอนุรักษวิทยาคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ขอขอบพระคุณ : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แหล่งข้อมูล :-.
E N D
การมีส่วนร่วมของประชาชนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม PUBLIC PARTICIPATION IN INENVIRONMENTAL IMPACT ASSESSMENT ผศ.ดร. สมนิมิตร พุกงาม ภาควิชาอนุรักษวิทยาคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบพระคุณ : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งข้อมูล :- http://www.onep.go.th/eia/page2/Index_EIA.html http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/index.html http://san.anamai.moph.go.th/nwha/html/thai34t/ch5.htm
หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กล่าวถึงสิทธิของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 46 รับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอัน ดีของท้องถิ่นและของชาติ และการมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาตรา 56 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้กำหนดว่าการ ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการ ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 58 ซึ่งระบุให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้ เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 59 ซึ่งให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะรับรู้ข้อมูลและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการที่อาจมี ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต มาตรา 290 ซึ่งกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และนอกเขตพื้นที่ในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการมี ส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือ กิจกรรมนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือ สุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่
มาตรา 46 รับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟู จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอัน ดีของ ท้องถิ่นและของชาติ และการมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุง รักษาและ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาตรา 56 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการ บำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้กำหนดว่าการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผล กระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่ จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการ ดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 58 ซึ่งระบุให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสาร สาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความ คุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 59 ซึ่งให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะรับรู้ข้อมูลและมีสิทธิแสดงความ คิดเห็นก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต มาตรา 290 ซึ่งกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน พื้นที่และนอกเขตพื้นที่ในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของ ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่ม โครงการหรือกิจกรรมนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่
การมีส่วนร่วมของประชาชนใน EIA (Public Participation in EIA) • ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน • การมีส่วนร่วมคือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือก และการตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเข้าร่วมในกระบวนการนี้ตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการรับรู้-เรียนรู้ การปรับเปลี่ยนโครงการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย • ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปะเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public Participation in EIA: PP) เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นนำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชนประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • 1. การมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่โครงการ/ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการว่าโครงการมีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร ที่ตั้งโครงการอยู่ที่ไหน เป็นต้น • 2. การมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่โครงการ/ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับทราบว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง ใครที่ได้รับผลกระทบ ได้รับผลกระทบในลักษณะใด และมีมาตรการในการแก้ไขหรือลดผลกระทบอย่างไร • 3. การมีส่วนร่วมจะทำให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่โครงการ/ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถที่จะแสดงข้อมูล ข้อโต้แย้งต่อแนวทางขอบเขตการศึกษาผลกระทบและรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • 4. การมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างความเข้าใจ ลดหรือขจัดข้อขัดแย้งอันเนื่องมาจากโครงการ เพราะประชาชนสามารถรับทราบข้อมูล แสดงความคิดเห็น ทัศนคติข้อโต้แย้งต่อโครงการได้ในทุกขึ้นตอนของการจัดทำรายงาน EIA โดยสามารถกระทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเขียนจดหมาย การเข้าร่วมประชุม การให้ข้อคิดเห็นผ่านตัวแทน • 5. การมีส่วนร่วมทำให้ได้ทราบข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของประชาชน ทำให้ได้รับข้อมูลรอบด้าน ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการต้องกระทำอย่างรอบคอบยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชนประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1) เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ ช่วยให้เกิดการพิจารณาทางเลือกใหม่ในการตัดสินใจให้รอบคอบขึ้น 2) การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เมื่อการตัดสินใจนั้นได้รับการยอมรับ จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่าง การนำไปปฏิบัติ 3) การสร้างฉันทามติ ลดความขัดแย้งทางการเมืองและเกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจของรัฐ 4) การเพิ่มความง่ายในการนำไปปฏิบัติ สร้างให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีความกระตือรือร้นใน การช่วยให้เกิดผลในทางปฏิบัติ 5) การมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นสามารถลดการเผชิญหน้าและความขัดแย้งที่รุนแรงได้ 6) ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชนและไวต่อความรู้สึกห่วงกังวลของประชาชน และเกิดความตระหนักในการตอบสนองต่อความห่วงกังวลของประชาชน เป็นต้น
ขั้นตอนการดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมขั้นตอนการดำเนินการด้านการมีส่วนร่วม - จำแนกหัวข้อด้านสังคมและการมีส่วนร่วม - จำแนกผู้มีส่วนได้เสีย - จัดทำแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน กรอบการมีส่วนร่วม และกิจกรรมที่จะดำเนินงาน ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย - ให้ข้อมูลกับสาธารณะ - ดำเนินการปรึกษาหารือ โดยดำเนินการร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตลอดกระบวนการ - จัดทำแผนการติดตามผลอย่างมีส่วนร่วม
การจำแนกผู้มีส่วนร่วมการจำแนกผู้มีส่วนร่วม • ผู้มีส่วนร่วมแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ • 1. ผู้รับผลกระทบ • กลุ่มผู้เสียประโยชน์ (Victims)เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโครงการในด้านลบ เช่น เป็นผู้สูญเสียที่ทำกิน กลุ่มนี้จะต้องเป็นกลุ่มที่ได้รับน้ำหนักมากที่สุดในการศึกษาผลกระทบและการจัดการการมีส่วนร่วม • กลุ่มผู้ได้ประโยชน์ (Beneficiaries)เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโครงการในด้านบวก เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์กระแสไฟฟ้าจากการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า หรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมายของเขื่อนเพื่อการชลประทาน • เนื่องจากกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์ จึงอาจถือได้ว่าประโยชน์ของกลุ่มนี้ได้รับการพิทักษ์และนำเสนอโดยเจ้าของโครงการแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดช่องทางการมีส่วนร่วมให้เป็นพิเศษกว่ากลุ่มอื่น ๆ
การจำแนกผู้มีส่วนร่วม (ต่อ) • 2. หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม • หมายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงาน EIA ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 ได้แก่ • เจ้าของโครงการ ในที่นี้อาจหมายถึงหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยเอกชน • บริษัทที่ปรึกษา ในที่นี้หมายรวมถึงมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่จดทะเบียนไว้กับทาง ส.ผ. • 3. หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติรายงาน EIA • กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส.ผ. • ผู้ชำนาญการ หรือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ • หน่วยงานที่มีหน้าที่ตัดสินใจอนุมัติโครงการ เช่น คณะรัฐมนตรี/รัฐมนตรี และหน่วยงานที่มีอำนาจออกใบอนุญาตต่าง ๆ • 4. หน่วยงานราชการในระดับต่าง ๆ • หมายถึงหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน กรมป่าไม้ หน่วยงานบริหารและพัฒนาในพื้นที่
การจำแนกผู้มีส่วนร่วม (ต่อ) • 5. องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิชาการอิสระ • กลุ่มองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม (ENGO) เป็นองค์กรที่ได้จดทะเบียนกับทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรมแห่งประเทศไทย • องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) : กลุ่มหรือองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ • สถาบันการศึกษา :สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น หรือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา • นักวิชาการอิสระ หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และนักวิชาการจากภายนอก • 6. สื่อมวลชน • หมายถึง สื่อในแขนงต่าง ๆ ทั้งระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง ซึ่งมีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ ผลกระทบของโครงการและความก้าวหน้าในการจัดทำรายงาน EIA • 7. ประชาชนทั่วไป • หมายถึง “สาธารณชน” ที่มีความต้องการและสนใจในโครงการ จะมีบทบาทในฐานะผู้สังเกตการณ์ พยานร่วมรับฟังข้อมูล
แนวทางการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมให้ประสบผลสำเร็จแนวทางการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมให้ประสบผลสำเร็จ 1. หลักการพื้นฐานของการจัดการมีส่วนร่วมของประชาชน (หลัก 4S) คือ 1.1Starting Early (การเริ่มต้นเร็ว) ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรก มีการให้ข้อมูล กระตุ้นให้เกิดความคิดเห็น และให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการตัดสินใจ นอกจากนี้ การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตั้งแต่ต้น มีประโยชน์ช่วยให้ประชาชนมีเวลาคิดถึงทางเลือกหรือแนวทางแก้ปัญหาของชุมชนที่เหมาะสมมากขึ้น และเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการ1.2Stakeholders (ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง) ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียควรมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม แต่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอาจถือว่าต้องรับฟังข้อมูลหรือปรึกษาหารือเป็นอันดับแรกๆ1.3Sincerity (ความจริงใจ) หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือผู้มีอำนาจอนุมัติต้องจัดกระบวนการอย่างจริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ และมีการสื่อสารสองทางอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ ตอบสนองต่อความสงสัยของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งแจ้งความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงของโครงการอย่างต่อเนื่อง 1.4Suitability (วิธีการที่เหมาะสม) โดยพิจารณาจากประเภทและขนาดของโครงการ ความหลากหลายและลักษณะที่แตกต่างกันของพื้นที่และของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนความแตกต่างด้านวัฒนธรรม สังคม และค่านิยม ระดับความสนใจของชุมชนในประเด็นหรือโครงการ ความสามารถและความพร้อม รวมทั้งข้อจำกัดของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน, 2546
แนวทางการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมให้ประสบผลสำเร็จแนวทางการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมให้ประสบผลสำเร็จ 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีประสิทธิภาพควรมีการวางแผน ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 2.1 ขั้นเตรียมการ ต้องกำหนดทีมงานหรือผู้รับผิดชอบ ตรวจสอบสถานการณ์ภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตัดสินใจ เช่น ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาการจัดกิจกรรม งบประมาณ เป็นต้น และประเมินสถานการณ์สาธารณะ เช่น กำหนดระดับความสนใจของสาธารณะหรือชุมชนในประเด็นที่ต้องตัดสินใจ2.2 ขั้นการวางแผน จากข้อมูลต่างๆ ในขั้นการเตรียมการ ทีมงานต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดผู้มีส่วนได้เสีย และวิเคราะห์ความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ตลอดจนนำมาเขียนแผนการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความชัดเจนและก่อให้เกิดความร่วมมือในการประสานงาน2.3 ขั้นนำไปสู่การปฏิบัติ หลังจากมีแผนการมีส่วนร่วม ต่อไปคือการดำเนินการตามแผน ซึ่งต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละกิจกรรมการมีส่วนร่วม เช่น การจัดเวทีสาธารณะต้องตัดสินใจว่าจะจัดที่ใด ใครเป็นวิทยากร เป็นต้น คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน, 2546
ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รับทราบและแสดงความคิดเห็นด้วยลายลักษณ์อักษร IEE* รับทราบและแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ร่าง TOR รับทราบและแสดงความคิดเห็นด้วยลายลักษณ์อักษร TOR ได้รับการปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร การจัดทำ EIA รับทราบ/ร่วมประชุมฟังการชี้แจง แสดงความคิดเป็นด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ร่างรายงาน EIA • รับทราบ/แสดงความคิดเห็นด้วยลายลักษณ์อักษร ประชาพิจารณ์ EIA
ใครเป็นผู้รับผิดชอบจัดการ/ประสานงานการมีส่วนร่วมใครเป็นผู้รับผิดชอบจัดการ/ประสานงานการมีส่วนร่วม ขั้น IEE : เจ้าของโครงการจะเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล IEE ขั้นร่าง TOR: สผ. (โดยผู้จัดการการมีส่วนร่วม) ขั้น TOR-ขั้น EIA: สผ. (โดยผู้จัดการการมีส่วนร่วม : บริษัทที่ปรึกษา/ผู้ประสานงานการมีส่วนร่วม/คณะทำงานการมีส่วนร่วม) รอยแผ่นดินถล่มต้นน้ำคลองผวน ตำบลกะทูน (พ.ย.๒๕๓๘)
ใครคือผู้จัดการการมีส่วนร่วมใครคือผู้จัดการการมีส่วนร่วม • 1. บริษัทที่ปรึกษา ผู้จัดทำรายงาน EIA • 2. ผู้ประสานงานการมีส่วนร่วมซึ่ง สผ. แต่งตั้ง (อาจเป็น ENGO หรือ • สถาบันการศึกษา) • 3. คณะทำงานการมีส่วนร่วม ซึ่ง สผ. แต่งตั้งประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ คือ ผู้ได้รับผลกระทบ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เจ้าของโครงการ และ/หรือ บริษัทที่ปรึกษา องค์การพัฒนาเอกชนจำนวน 10-15 คน อำนาจหน้าที่และบทบาทของผู้ประสานงานการมีส่วนร่วม/คณะทำงานการมีส่วนร่วม 1. เป็นศูนย์กลางรับรู้ติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ประชาชน บริษัทที่ ปรึกษาที่จัดทำ EIAหน่วยงานเจ้าของโครงการ และหน่วยงานต่าง ๆ ใน ระหว่างที่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2. ประสานงานกับบริษัทที่ปรึกษาในการจัดประชุมระหว่างฝ่ายต่าง ๆ 3. ติดตามตรวจสอบว่าบริษัทที่ปรึกษาได้ผนวกความคิดเห็นของประชาชนเข้า ไว้ในรายงาน EIA อย่างครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ 4. ติดตามความคืบหน้าการจัดทำและการพิจารณารายงาน EIA และ ประสานงานกับประชาชนในพื้นที่ให้ทราบผลการพิจารณาดังกล่าว
การแต่งตั้งผู้ประสานงานการมีส่วนร่วมการแต่งตั้งผู้ประสานงานการมีส่วนร่วม • สผ.จะแต่งตั้ง ENGO หรือสถาบันการศึกษาให้เป็นผู้ประสานงานการมี ส่วนร่วมเป็นรายโครงการ การแต่งตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วม • สผ.จะเแต่งตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วมเป็นรายกรณีไป ในกรณีที่ สผ. เห็นควรแต่งตั้งคณะทำงานการมีส่วนร่วม สผ.จะพิจารณาแต่งตั้ง ENGO/สถาบันการศึกษาให้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะทำงาน และ ให้ ENGO/สถาบันการศึกษา นำเสนอรายชื่อคณะทำงาน เพื่อให้ สผ. พิจารณาแต่งตั้งภายใน 15 วัน องค์ประกอบคณะทำงานการมีส่วนร่วม • ควรมีจำนวน 10-15 คน ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป ควรประกอบด้วย1. ผู้รับผลกระทบ (40%) • 2. หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง (30%) • 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำรายงาน EIA ซึ่งได้แก่บริษัท ที่ปรึกษาและหน่วยงานเจ้าของโครงการ (15%) • 4. องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน ตัวแทน จากสถาบันการศึกษาและนักวิชาการอิสระ (15%)
การคัดเลือกตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องการคัดเลือกตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในระดับ “จังหวัด” ควรจากคณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด ในระดับ “อำเภอ” ควรจากคณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ ในระดับ “ตำบล” ควรมาจาก อบต. ซึ่งรับผิดขอบการวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในระดับตำบล และถ้าพื้นที่ที่รับผลกระทบจากโครงการประกอบด้วยหลายตำบล ก็ให้มีตัวแทนของ อบต. จากหลากหลายตำบล และใน กรณีที่เป็นเขตเทศบาล ก็ต้องปรับตัวแทนให้เหมาะสมกับกรณี ในกรณีกรุงเทพมหานคร ก็ควรให้มีตัวแทนจาก กทม. และเขตตามความเหมาะสม
แนวทางในการดำเนินงานของคณะทำงานการมีส่วนร่วมแนวทางในการดำเนินงานของคณะทำงานการมีส่วนร่วม • .ตัวแทนจากคณะทำงานระดับจังหวัด เป็นประธานฯ โดยตำแหน่ง รอง ประธานฯ ให้มาจากการเลือกตั้งของคณะทำงานฯ ส่วนเลขานุการของ คณะทำงานฯได้แก่ผู้ประสานงานฯ ซึ่ง สผ.แต่งตั้ง • .เลขาฯ เป็นผู้เรียกประชุม ทำรายงานการประชุม บริหารงานและประสานงาน ทั่วไปในการจัดการการมีส่วนร่วม • .คณะทำงานฯ สามารถให้ศาลากลางจังหวัดหรือที่ทำการอำเภอเป็นศูนย์ ประสานงานการมีส่วนร่วมและเป็นที่จัดการประชุมตามความเหมาะสม • .คณะทำงานฯ ต้องดูแลรับผิดชอบ • -การจัดการมีส่วนร่วม • -การจัดระบบข้อมูลการมีส่วนร่วม • -การประสานงานให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างฝ่ายต่าง ๆ • -การจัดทำและจัดส่งรายงานการมีส่วนร่วม • -การจัดทำและจัดส่งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการต่อ สผ. • -การจัดการค่าใช้จ่ายการมีส่วนร่วม
ขั้นตอนการมีส่วนร่วม • ขั้นตอนที่ 1 การรับทราบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) • เจ้าของโครงการจัดทำรายงาน IEE ส่งให้ สผ. และ • -คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด (เพื่อทราบ) • -คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ (เพื่อทราบ) • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. สภาตำบล เทศบาล กรุงเทพมหานคร เขต ตามแต่กรณี (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) • ขั้นตอนนี้ เป็นการให้ข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบว่าจะมีการดำเนินการโครงการในพื้นที่ และทราบความคิดเห็นเบื้องต้นของเจ้าของโครงการ ขั้นตอนนี้ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ประชาชนในพื้นที่ควรได้รับทราบข้อมูลภายใน 15 วัน หลังจาก สผ.ได้รับข้อมูลดังกล่าว • ขั้นตอนนี้ เจ้าของโครงการยังไม่มีความรับผิดชอบที่จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น แต่อาจพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ถ้าเริ่มให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนนี้ก็อาจเปิดช่องทางดังกล่าวไว้ หรือประชาชนอาจเลือกที่จะส่งความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ สผ.หรือหน่วยงานเจ้าของโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 สผ.พิจารณาเลือกรูปแบบการจัดการการมีส่วนร่วม สผ.พิจารณาเลือกรูปแบบการจัดการการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษารับผิดชอบ ให้ผู้ประสานงานฯ รับผิดชอบหรือให้คณะทำงานฯ รับผิดชอบ ทั้งนี้ให้ผู้ประสานงานฯ เสนอรายชื่อคณะทำงานฯ ภายใน 15 วัน ในกรณีที่ให้ผู้ประสานงานฯ รับผิดชอบ สผ.อาจให้ผู้ประสานงานฯ เสนอแนวทางการจัดการมีส่วนร่วม แผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายให้ สผ.และเจ้าของโครงการพิจารณา ในกรณีที่ให้คณะทำงานฯ รับผิดชอบ สผ.ดำเนินการ แต่ภายหลังจากที่มีการแต่ตั้งคณะทำงานฯ แล้วให้คณะทำงานฯ พิจารณารับรองหรือปรับปรุงแนวทางการจัดการการมี่ส่วนร่วมและแผนงานตามที่ผู้ประสานงานฯ ได้เสนอไว้ ภายในกรอบค่าใช้จ่ายเดิม
ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณาร่างขอบเขตการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ร่าง TOR) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกที่ประชาชนผู้รับผลกระทบจะได้แสงดความคิดเห็นต่อโครงการขั้นตอนนี้ ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ ต้องชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนการทำงานและแผนงานการจัดการการมีส่วนร่วม ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการมีส่วนร่วมที่จะเป็นสื่อกลางรับฟังและบันทึกความคิดเห็นของประชาชนเพื่อรายงานต่อ สผ.และบริษัทที่ปรึกษา และทำหน้าที่ประสานงาน ตรวจสอบให้ประชาชนได้รับเอกสารข้อมูล และให้เกิดการมีส่วนร่วม ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงบทบาทและข้อจำกัดของผู้จัดการการมีส่วนร่วมเพื่อที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้เกิดความเชื่อใจในกันและกันระหว่างผู้จัดการการมีส่วนร่วมและฝ่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 15 วันนับแต่วันที่ผู้ประสานงานฯ ได้รับการแต่งตั้งจาก สผ.ในกรณีที่ไม่มีคณะทำงานฯ สผ.อาจแนะนำให้เจ้าของโครงการนำร่าง TOR ไปปรึกษาหารือ ชุมชนในพื้นที่เอง
ขั้นตอนที่ 4 การรับทราบ TOR • เมื่อ สผ. ได้รับ TOR ฉบับสมบูรณ์จากเจ้าของโครงการแล้ว สผ. ต้องส่ง TOR ให้ผู้จัดการการมีส่วนร่วม (บริษัทที่ปรึกษา/ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ) ซึ่งมีหน้าที่ส่ง TOR ให้ • -คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับ จังหวัด (เพื่อทราบ) • คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับ อำเภอ (เพื่อทราบ) • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) • ขั้นตอนนี้ประชาชนจะได้ทราบว่าความคิดเห็นที่ได้แสดงไว้ต่อร่าง TOR และทราบขอบเขตและแนวทางการศึกษาผลกระทบที่จะใช้ในการทำการศึกษาผลกระทบเพื่อจะได้ติดตามและตรวจสอบดูว่าได้มีการศึกษาในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร และได้เตรียมพร้อมที่จะให้ข้อมูลความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว • หากยังมีข้อข้องใจเกี่ยวกับขอบเขตการศึกษาก็สามารถบันทึกความคิดเห็นดังกล่าวไว้กับผู้จัดการการมีส่วนร่วม เพื่อเสนอต่อบริษัทที่ปรึกษาพิจารณา
ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำร่างรายงาน EIA • ระหว่างที่บริษัทที่ปรึกษาจัดทำร่างรายงาน EIA ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะทำหน้าที่ดังนี้ • เป็นสื่อกลางแจ้งความก้าวหน้าของการจัดทำรายงานให้ชุมชนทราบ • รายงานความคิดเห็นของประชาชน การจัดการการมีส่วนร่วม และปัญหาอุปสรรคแก่ สผ.ตามความเหมาะสม • ประสานงานให้มีการปรึกษาหารือระหว่างชุมชนกับบริษัทที่ปรึกษาในช่วงเวลาที่บริษัทฯจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ • ขั้นตอนนี้ ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาในพื้นที่และเป็นโอกาสที่ผู้จัดการการมีส่วนร่วมและบริษัทที่ปรึกษาจะได้จัดการมีส่วนร่วมแบบ Consultation ในพื้นที่
ขั้นตอนที่ 6 การพิจารณาร่างรายงาน EIA พร้อมรายงานสรุป • บริษัทที่ปรึกษาส่งร่างรายงาน EIA +รายงานสรุปให้ สผ. และ • -ผู้จัดการการมีส่วนร่วม • คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด (เพื่อทราบ) • คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ (เพื่อทราบ) • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) • ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงาน EIA ในพื้นที่ และทำรายงานการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งให้ สผ. • ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นเพราะมีร่างรายงาน EIA ให้วิพากษ์วิจารณ์ และรูปแบบการจัดการมีส่วนร่วมแบบการประชุมในพื้นที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นได้มากที่สุด
ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องเชิญเจ้าของโครงการและบริษัทฯมาร่วมประชุมให้เกิดการแลกเปลี่ยนสองทางกับประชาชนในพื้นที่ด้วยผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องเชิญเจ้าของโครงการและบริษัทฯมาร่วมประชุมให้เกิดการแลกเปลี่ยนสองทางกับประชาชนในพื้นที่ด้วย ผู้จัดการการมีส่วนร่วมอาจจัดการประชุมในรูปแบบผสมผสานโดย การประชุมช่วงเช้าเป็น technical hearing โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญไปยังพื้นที่ให้ประชาชนเป็นผู้สังเกตการณ์ ซึ่งจะไม่ได้อภิปรายแต่จะได้ประโยชน์จากการฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ในช่วงบ่าย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะกลายเป็นผู้สังเกตการณ์และทั้งสองฝ่ายจะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วย ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะต้องจัดการประชุมดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่ที่ได้รับร่างรายงาน EIA พร้อมรายงานสรุป และต้องประชาสัมพันธ์วัน-เวลาที่จะจัดประชุมก่อนหน้าวันประชุมอย่างน้อยที่สุด 7 วัน
ขั้นตอนที่ 7 การพิจารณารายงาน EIA • เมื่อบริษัทฯ ได้ปรับปรุงร่างรายงาน EIA ภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนแล้ว ก็จะนำเสนอรายงาน EIA +รายงานสรุปต่อ สผ.และ • ผู้จัดการการมีส่วนร่วม • คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับจังหวัด (เพื่อทราบ) • คณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับอำเภอ (เพื่อทราบ) • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่) • ขั้นตอนนี้ ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องตรวจสอบว่าฝ่ายต่าง ๆ ได้รับเอกสารครบถ้วนแล้วหรือไม่ และประสานงานให้ประชาชนส่งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน EIA เป็นลายลักษณ์อักษรไปยัง สผ. (ถ้ามี) ผู้จัดการการมีส่วนร่วมเองก็มีหน้าที่ตรวจสอบว่ารายงาน EIA ได้ปรับปรุงตามข้อร้องขอและความคิดเห็นของประชาชนที่ได้แสดงไว้ในขั้นตอนต่าง ๆ ที่ผ่านมาหรือไม่ อย่างไร และส่งรายงานการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ สผ. ภายใน 30 วันนับแต่ที่ได้รับรายงาน EIA
สผ.จะพิจารณารายงาน EIA ที่บริษัทที่ปรึกษาได้ปรับปรุงแล้ว ประกอบรายงานการมีส่วนร่วมของประชาชนของผู้จัดการการมีส่วนร่วมและความคิดเห็นจากประชาชนที่ส่งมาให้ สผ. เป็นลายลักษณ์อักษร และนำเสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ จะสิ้นสุดสภาพเมื่อถึงขั้นตอนนี้คณะกรรมการผู้ชำนาญการจะพิจารณารายงาน EIA และเอกสารประกอบและอาจวินิจฉัยดังนี้ • .เห็นชอบรายงาน EIA หรือส่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ • .ให้บริษัทที่ปรึกษาแก้ไขเพิ่มเติมตามแนวทางที่ชี้แนะ • .ให้จัดประชาพิจารณ์เพื่อนำผลมาประกอบการพิจารณา • การจัดประชาพิจารณ์ให้ใช้แนวทาง “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙“
ระบบข้อมูลในการจัดการการมีส่วนร่วมระบบข้อมูลในการจัดการการมีส่วนร่วม • ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะต้องรับผิดชอบจัดระบบข้อมูลในการมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วยภารกิจ ดังนี้ • .จัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบที่ศูนย์ประสานงานการมีส่วนร่วม ทั้งนี้โดยขอความร่วมมือให้คณะทำงานการบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด หรือคณะทำงานบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอจัดที่ทำการให้เอกสารเหล่านี้สำหรับผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ และประชาชนที่สนใจมาขอดู และจะต้องจัดไว้ให้สะดวกแก่ประชาชนที่มาขอดู โดยอาจให้ห้องปฏิบัติงานของฝ่ายแผนฯ • .จัดแสดงแผนงานการมีส่วนร่วมไว้ให้ประชาชนทราบ • .จัดเก็บรายชื่อผู้ร่วมประชุมแต่ละครั้งและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ • .จัดเก็บความคิดเห็นที่มีผู้ส่งมาเป็นลายลักษณ์อักษร • .เมื่อส่งเอกสารให้ฝ่ายต่าง ๆ ให้บันทึกไว้ด้วยว่าส่งให้ใคร เมื่อไร • .ควรกระตุ้นให้ฝ่ายต่าง ๆ ส่งความคิดเห็นโดยทำแบบฟอร์มแบบสอบถามสั้น ๆ ประกอบการส่งเอกสารข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่มีความขัดแย้งด้านข้อมูลความคิดเห็นมาก • .ทำสมุดบันทึกการทำงานของผู้ประสานงานฯ/คณะทำงานฯ
ผู้จัดการการมีส่วนร่วมจะต้องเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ นี้ไว้ที่ศูนย์ประสานงานการมีส่วนร่วมที่ศาลากลางจังหวัดหรือที่ว่าการอำเภอ และต้องแสดงหรือส่งมอบให้ สผ. หรือคณะกรรมการผู้ชำนาญการเมื่อได้รับการร้องขอ และต้องเก็บรักษาเอกสารนี้ไว้จนกว่ารายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ หรือคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ • อนึ่ง ระบบข้อมูลการมีส่วนร่วมและข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดส่งเอกสารให้แก่ฝ่ายต่าง ๆ ข้างต้นมีรากฐานมาจากแนวคิด ดังนี้ • .ให้ฝ่ายต่าง ๆ ทราบข้อมูลความก้าวหน้าของการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรก • .ให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้รับทราบข้อมูลความคิดเห็นจาก 2 ทาง คือ รายงานจากบริษัทที่ปรึกษาและความคิดเห็นของประชาชน • .ให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการพิจารณารายงาน EIA ได้ทราบความคิดเห็นของประชาชนโดยตรง และให้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทที่ปรึกษาได้นำความคิดเห็นของประชาชนมาผนวกและพิจารณาประกอบการจัดทำและแก้ไขรายงานด้วยหรือไม่
.ให้จังหวัด/อำเภอ เป็นศูนย์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ โครงการและ อบต. ทำหน้าที่เป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูลแก่ ประชาชน • .ให้กรรมการของคณะทำงานฯ เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ สำคัญ • .ในการติดต่อสื่อสารกับประชาชนผู้รับผลกระทบและหน่วยงาน ต่าง ๆ ควรใช้วิธีต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่น • การประกาศและตีพิมพ์ ปิดประกาศในสถานที่ทำการของทาง ราชการในท้องถิ่น คือ ศาลากลางจังหวัด ที่ทำการอำเภอ ที่ ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบลและหมู่บ้าน • การลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น • การแจ้งข่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ • การใช้สื่อของรัฐประชาสัมพันธ์และในการเสนอสรุปผลการมี ส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสื่อ ทีวี วิทยุ และสิ่งพิมพ์
แนวทางการประชุมสาธารณะแนวทางการประชุมสาธารณะ • มีหลักเกณฑ์/แนวทางในการดำเนินการ ดังนี้ • สถานที่จัดการประชุม ควรอยู่ในพื้นที่โครงการหรือใกล้พื้นที่โครงการมาก ที่สุด เพื่อลดภาระการมีส่วนร่วมของผู้รับผลกระทบซึ่งเป็นกลุ่มที่ สำคัญที่สุดในการประชุม • วันเวลาจัดการประชุม ผู้จัดการการมีส่วนร่วมต้องประสานงาน การ กำหนดการประชุมในวันเวลาที่ผู้รับผลกระทบสามารถเข้าร่วมได้มาก ที่สุด และต้องประกาศและทำการประชาสัมพันธ์วัน-เวลา ล่วงหน้า อย่างน้อยที่สุด 7 วัน • ผู้จัดการการมีส่วนร่วมควรพิจารณาผู้เข้าร่วมประชุมให้ครอบคลุม คนทั้ง 7 กลุ่มตามที่เสนอไว้ และให้ความสนใจกับผู้รับผลกระทบให้ มากที่สุด ผู้รับผลกระทบควรเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในการประชุมและ ควรได้รับโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด
หัวข้อการประชุม และกำหนดการประชุมต้องมีความชัดเจน และประกาศให้ทุกฝ่ายทราบล่วงหน้า และในการ ประกาศ ประชาสัมพันธ์ ควรอธิบายด้วยว่าเป็นการประชุมเพื่ออะไร อยู่ในขั้นตอนใดของการจัดทำรายงานและจะมีฝ่ายใดมา เข้าร่วมบ้าง • เอกสารประกอบการประชุมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอกสารที่ได้รับจากบริษัทที่ปรึกษาจะเป็นสาระที่สำคัญ ใน การประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมต้องได้รับเอกสารโดยเร็ว ที่สุดและมีโอกาสทำความเข้าใจกับเอกสารดังกล่าว • ผู้ดำเนินการประชุมควรมีความเข้าใจในโครงการและขั้นตอนการจัดทำรายงานอย่างแจ่มแจ้ง ผู้จัดการการมีส่วนร่วมควรรับหน้าที่นี้และควรเชิญผู้ที่มีความเป็นกลางและได้รับการยอมรับจากชุมชนมาทำหน้าที่ช่วยดำเนินการประชุมด้วย
ค่าใช้จ่ายในการจัดการการมีส่วนร่วมค่าใช้จ่ายในการจัดการการมีส่วนร่วม • การจัดการการมีส่วนร่วมอาจนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการทำ EIA ค่าใช้จ่ายในการจัดการการมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ • 1. ขั้นตอนการจัดส่ง IEE และเอกสารประกอบให้ประชาชนซึ่งต้องเป็น ความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการ • 2. ขั้นตอนการพิจารณาร่าง TOR ซึ่งมีการแต่งตั้งผู้ประสานงานฯ และ คณะทำงานฯ และมีการนำร่าง TOR ไปปรึกษาหารือชุมชน อาจใช้ เงินจากกองทุนที่จัดตั้งขึ้นพิเศษ หรือ สผ.ดำเนินการให้เจ้าของ โครงการรับผิดชอบ • 3. ขั้นตอนการจัดส่ง TOR การจัดทำร่างรายงาน EIA การพิจารณาร่าง รายงาน EIA และการพิจารณารายงาน EIA ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้บริษัท ที่ปรึกษาที่จัดทำรายงาน EIA ควรเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากการมี ส่วนร่วมของประชาชนถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งในการแสวงหา ความคิดเห็นและข้อมูลในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ในทางปฏิบัติบริษัทที่ปรึกษาต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยเวลาทำข้อตกลงกับเจ้าของโครงการโดยอาจทำเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของโครงการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ในทางปฏิบัติบริษัทที่ปรึกษาต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยเวลาทำข้อตกลงกับเจ้าของโครงการโดยอาจทำเป็นเงื่อนไขให้เจ้าของโครงการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ในกรณีที่มีการแต่ตั้งผู้ประสานงานฯ และคณะทำงานฯ บริษัทที่ปรึกษาและผู้ประสานงานฯ ที่ สผ.กำหนดต้องทำสัญญาการจัดการการมีส่วนร่วมโดยผู้ประสานงานฯ นำเสนอแนวทาง แผนงาน และงบประมาณค่าใช้จ่ายแก่ สผ.และบริษัทที่ปรึกษา ประกอบสัญญา สัญญานี้จะทำให้ ENGO/สถาบันการศึกษาที่มีฐานะเป็นผู้ประสานงานฯ มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อ สผ.แต่จะได้รับค่าใช้จ่ายจากบริษัทที่ปรึกษา โดยมี สผ.รับทราบเป็นพยาน ในกรณีที่ใช้รูปแบบคณะทำงานฯ ENGO/สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผู้ประสานงานฯ และเลขานุการของคณะทำงานฯ ก็ยังต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบเรื่องการเงิน เพราะผู้ประสานงานฯ ยังคงเป็นองค์กรที่รับผิดขอบการจัดการการมีส่วนร่วมต่อ สผ.
4. ค่าใช้จ่ายในการจัด Technical Hearing และประชา พิจารณ์ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเจ้าของ โครงการ • ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ จะประกอบด้วย • ค่าตอบแทนผู้ประสานงานฯ • ค่าเบี้ยเลี้ยง – เดินทางผู้ประสานงานฯ • ค่าเบี้ยเลี้ยง – เดินทางคณะทำงานฯ • ค่าจัดทำและจัดส่งเอกสาร • ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม • ค่าเดินทางผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ที่ควรมาร่วมการประชุมหรือให้จ้อมูล • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการมีส่วนร่วมและค่าใช้จ่าย ในการจัดระบบข้อมูลการมีส่วนร่วม • ค่าไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร โทรเลข • ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์
ความคิดเห็นของประชาชนจะมีผลอย่างไรต่อรายงาน EIA และการดำเนินงานโครงการ? • 1. บริษัทฯ ผู้จัดทำรายงาน EIA จะปรับปรุงรายงาน EIA ให้ ครอบคลุมข้อมูล ข้อคิดและคำถามของประชาชน • 2. เจ้าของโครงการจะปรับเปลี่ยนหรือออกแบบโครงการให้มี ความเหมาะสมขึ้น • 3. สผ. ได้รับทราบความคิดเห็นของประชาชนในขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ สามารถใช้ข้อมูลนี้ประกอบการพิจารณา รายงาน EIA ได้ • 4. คณะกรรมการผู้ชำนาญการและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ มีรายงาน EIA และข้อมูลการมีส่วนร่วม ประกอบการพิจารณารายงาน • 5. ผู้มีอำนาจตัดสินใจโครงการ (รมต./ครม./หน่วยงานซึ่ง ออกใบอนุญาต) จะมีรายงานและข้อมูลการมีส่วนร่วม ประกอบการพิจารณา
ประชาพิจารณ์จะอยู่ในขั้นตอนใดของการมีส่วนร่วม?ประชาพิจารณ์จะอยู่ในขั้นตอนใดของการมีส่วนร่วม? • สำหรับโครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับภาคเอกชนที่ต้องขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ประชาพิจารณ์ สามารถจัดได้ ใน 2 ขั้นตอน คือ • -ขั้นตอนการพิจารณารายงาน โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการ หรือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาเห็นสมควรให้เจ้าของโครงการจัดประชาพิจารณ์ (โดยอาศัยอำนาจรัฐมนตรีเจ้าสังกัด) เพื่อประกอบการพิจารณารายงาน EIA • -ขั้นตอนการตัดสินใจโครงการ โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดประชาพิจารณ์ • สำหรับโครงการเอกชนที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจาก ครม. จะจัดประชาพิจารณ์ได้เฉพาะในขั้นตอนการพิจารณารายงาน EIA โดยความคิดเห็นของคณะกรรมผู้ชำนาญการ โดย สผ. จะเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์จำนวน 3 คน (เป็นการอิงรูปแบบประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙)
ประชาพิจารณ์มีขั้นตอน/กระบวนการจัดทำอย่างไรประชาพิจารณ์มีขั้นตอน/กระบวนการจัดทำอย่างไร • ประชาพิจารณ์ ณ ที่นี้จะใช้รูปแบบและกระบวนการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนี้ • 1. สำหรับโครงการที่ต้องได้รับการอนุมัติจาก ครม. • 1.1 รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ประกอบด้วย • -ประธานกรรมการ (ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ) • -กรรมการอื่น ๆ อีกไม่น้อยกว่า 3 คน • 1.2 คณะกรรมการประชาพิจารณ์กำหนดวันเวลาและสถานที่ในการจัด ประชาพิจารณ์ • 1.3 ประชาสัมพันธ์/ประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอความคิดเห็นก่อน การนัดประชุมครั้งแรก ไม่น้อยกว่า 15 วัน
- นัดประชุมครั้งแรก และกำหนดประเด็นประชาพิจารณ์ • - ประกาศประเด็นที่จะประชาพิจารณ์ และนัดวันประชุมครั้งต่อ ๆ ให้ ประชาชนทราบ • -ในการประชุมจะให้เจ้าของโครงการแถลงข้อเท็จจริง และให้ ผู้ชำนาญการหรือที่ปรึกษาแถลงต่อจากนั้นให้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แถลง • -คณะกรรมการประชาพิจารณ์ จัดทำรายงานประชาพิจารณ์ • -เสนอรายงานต่อรัฐมนตรี/ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร • -การเปิดเผยรายงานจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐมนตรี/ผู้ว่าราชการ จังหวัด/ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (ในกรณีนี้จะต้องเปิดเผยรายงาน ประชาพิจารณ์ต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการหรือคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อใช้ประกอบการพิจารณารายงาน EIA)
2. สำหรับโครงการของเอกชน2. สำหรับโครงการของเอกชน • 2.1 คณะกรรมการผู้ชำนาญการมีคำวินิจฉัยให้เจ้าของ โครงการจัดทำประชาพิจารณ์ • 2.2 สผ. แต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ 3 คน • 2.3 ประชาสัมพันธ์/ประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอ ความคิดเห็นก่อนการนัดประชุมครั้งแรก ไม่น้อย กว่า 15 วัน