1 / 35

การสืบสวนและการสอบสวน

การสืบสวนและการสอบสวน. การสืบสวน. หมายความถึง “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงาน ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบ รายละเอียดแห่งความผิด”. การสอบสวน. หมายถึง “ การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลาย

marlis
Download Presentation

การสืบสวนและการสอบสวน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสืบสวนและการสอบสวนการสืบสวนและการสอบสวน การสืบสวน หมายความถึง “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงาน ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบ รายละเอียดแห่งความผิด” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  2. การสอบสวน หมายถึง “การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลาย อื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวน ได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือ พิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  3. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  4. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา รับคำร้องทุกข์ จับ ควบคุมตัวผู้ถูกจับ ค้น • รับคำร้องทุกข์ จัดให้มีการร้องทุกข์ • ออกหมายเรียก • ขอให้ศาลออกหมายอาญา • จับ • ควบคุมผู้ถูกจับ • ค้น • ปล่อยชั่วคราว • สอบสวนคดีอาญา(ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  5. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวน คดีอาญาได้” มาตรา 2(16) “เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความ สงบเรียบร้อยของประชาชนให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพ สามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและ เจ้าพนักงานอื่นๆในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปราม ผู้กระทำความผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  6. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ พัศดี เจ้าพนักงานสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง ป่าไม้ ฯลฯ จับผู้กระทำผิด ได้ทุกเรื่อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  7. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร อำนาจติดอยู่กับพื้นที่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  8. คำพิพากษาที่ 500/2537จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นตำรวจโดย ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึง เป็นเจ้าพนักงาน แม้จะรับราชการประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ทำหน้าที่ ช่างเครื่องซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเรือที่ใช้ในราชการตำรวจน้ำ เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะคำสั่งแต่งตั้งทางราชการ แต่โดยทั่วไปจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 17 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  9. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวน ป.วิ.อ.มาตรา 2(6) พนักงานสอบสวน หมายความถึง“เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  10. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนคดีอาญาเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนคดีอาญา แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ ก. ความผิดเกิดในราชอาณาจักร 1. กรณีทั่วไป ม.18 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 ข. ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ม.20 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  11. ม.18 ยศ ตำแหน่ง สถานที่ ความผิดเกิดในราชอาณาจักร 1. กรณีทั่วไป ม.18 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  12. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  13. -ท้องที่ที่ ความผิดเกิด ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง มีความแน่นอนว่าความผิดได้เกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดอ้างว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ยังไม่มีความแน่นอนว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ นั้นจริงหรือไม่ หากแต่มีผู้กล่าวอ้างว่าเกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดเชื่อว่าเกิดภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ในความคิดเห็นของเจ้าพนักงาน มีพฤติการณ์ น่าเชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้นในท้องที่นั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  14. -ท้องที่ที่ ผู้ต้องหามีที่อยู่ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. คำว่า“มีที่อยู่” หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงขณะที่ตกเป็นผู้ต้องหา -ท้องที่ที่ ผู้ต้องหาถูกจับ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับภายในเขตอำนาจของเจ้าพนักงาน โดยไม่พิจารณาว่าเจ้าพนักงานผู้จับจะเป็นเจ้าพนักงานใน ท้องที่นั้นหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  15. คำพิพากษาฎีกาที่ 4479/2532 ตาม ป.วิ.อ.ม. 22 (1) และม. 18 คำว่าจำเลยมีที่อยู่ หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยขณะที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหา ตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนไว้ ซึ่งอาจเป็นภูมิลำเนาหรือมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยก็ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  16. เช่น -นาย ก. เข้าไปลักทองรูปพรรณในบ้านของนาย ข. ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านอิงดอย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูพิงค์ฯ -จากการสอบสวน นาย ก. มีบ้านอยู่อำเภอเมือง จ.ลำพูน -ต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกหมายจับนาย ก. -ส.ต.ท.แดง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ ส.ภ.อ.แม่สาย พบนาย ก. เห็นว่าเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ จึงจับกุมนาย ก. ส่งพนักงานสอบสวน ของ ส.ภ.อ.แม่สาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  17. 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 • 1. เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน • ระหว่างหลายท้องที่ ได้แก่ กรณีที่ไม่ทราบแน่ชัดว่า การกระทำความผิดเกิดขึ้น ในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  18. คำพิพากษาฎีกาที่ 23/2513 ใช้ปืนยาวยิงไปที่เรือโดยทราบดีว่ามีคนอยู่ในเรือนั้น กระสุนปืนถูกแขนคนในเรือได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า เหตุเกิดในทะเล ไม่ทราบชัดว่าอยู่ในเขตจังหวัดใด ป. หรือ ซ. หรือ ส. ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเมืองสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนอำเภอนั้นมีอำนาจสอบสวนได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  19. คำพิพากษาฎีกาที่ 2494/2526 ขณะพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์เริ่มทำการสอบสวนยังไม่ทราบแน่ว่าจำเลยร่วมกับ พ. ลักทรัพย์ หรือจำเลยเพียงกระทำผิดฐานรับของโจร หากเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ย่อมไม่แน่ว่าได้กระทำผิดในท้องที่ใดตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดสิงห์บุรี แม้ต่อมาได้ความตามทางสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี และได้มีการฟ้อร้องจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว เพราะเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใด ในระหว่างหลายท้องที่ตาม ป.วิ.อ.ม.19(1) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  20. 2. เมื่อความผิดส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง เช่น นาย ก. ลักทรัพย์ของ นาย ข. ในท้องที่ของ สภ.ต.ภูพิงค์ นาย ข. ติดตามนาย ก. ไปทันในท้องที่ของ สภ.ต.ช้างเผือก นาย ข. เข้าแย่งทรัพย์คืนจากนาย ก. นาย ก. จึงทำร้ายนาย ข. เพื่อความสะดวกเอาทรัพย์นั้นไป และเพื่อจะหลบหนี เช่นนี้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งได้กระทำในอีกท้องที่หนึ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  21. 3. เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2537 เมื่อการกระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐาน รับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็น ความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอไทรโยค จึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 ที่ 3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  22. คำพิพากษาฎีกาที่ 2070/2543 การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  23. คำพิพากษาฎีกาที่ 3903/2531 แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์ กับความผิดฐานรับของโจร เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็น ความผิดต่อเนื่องกัน โดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่ง นำไปจำหน่าย แก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่ หนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. ม. 19 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  24. 4. เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่างๆกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 3430/2537 ผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี แก่จำเลยในข้อหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.นราธิวาสซึ่งเป็นท้องที่ที่ความ ผิดเกิด แต่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเภอสุไหงโกลก ว่า เช็คดังกล่าวหาย เช่นนี้เป็นความผิดที่มีหลายกรรม กระทำลง ในท้องที่ต่างๆกัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  25. จำเลย ซื้อสินค้า แล้วออกเช็คชำระหนี้ จำเลย แจ้งความเท็จว่าเช็คหาย อ.เมือง จ.นราธิวาส อ.สุไหงโกลก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  26. 5. เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง 6. เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  27. กรณีความผิดคาบเกี่ยวข้างต้น พนักงานสอบสวนในท้องที่ คาบเกี่ยวมีอำนาจสอบสวนความผิดที่เกิดขึ้น(ทุกๆข้อหา) หมายเหตุ การกระทำความผิดหนึ่ง อาจจะเป็นกรณี ความผิดคาบเกี่ยวได้หลายอนุ พร้อมๆกันได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  28. คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2537 เมื่อการกระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐาน รับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็น ความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอไทรโยค จึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 ที่ 3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  29. ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  30. ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  31. ข้อสังเกต : ในความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ และถูกจับไม่มีอำนาจเป็นพนักงานสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  32. ผู้ลักฯ ถูกเจ้าพนักงานจับที่ อ.อู่ทอง ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  33. กรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักรกรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ตาม ม. 20 หมายถึง ความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรโดยแท้ตาม ป.อ ม. 7 , 8 และ 9 และความผิดที่ ป.อ. ให้ถือว่าได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรตาม ป.อ.ม. 4 ว. 2, ม. 5 และ ม.6 ด้วย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  34. ในกรณีที่ความผิดได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 20 กฎหมายให้เจ้าพนักงานซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ ดังต่อไปนี้มีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวน • 1. อัยการสูงสุด • ผู้รักษาการอัยการสูงสุด • พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้ได้รับมอบหมาย • พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ • พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่น หรือบุคคลที่ • ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  35. เช่น นาย ก. คนไทยได้ข้ามไปเที่ยวหลวงพระบาง แล้วทำร้าย นาย ข. คนลาว แล้วหนีกลับมายังประเทศไทย นาย ข. ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.อ.เมือง จ.หนองคาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

More Related