140 likes | 296 Views
วิทยาการระบาดเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย. รายวิชา NUR-301 วิทยาการระบาดและสมดุลสุขภาพชุมชน กลุ่มที่ 2. ความเป็นมาและความสำคัญ. สถานการณ์
E N D
วิทยาการระบาดเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยวิทยาการระบาดเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย รายวิชา NUR-301วิทยาการระบาดและสมดุลสุขภาพชุมชน กลุ่มที่ 2
ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ • สถานการณ์ โรคความดัน โลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจกล่าวได้ว่าโรคความดันหิตสูงเป็น “ฆาตกรเงียบ” ที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้โดยไม่มีอาการใดๆมาก่อนและเมื่อมีความดันสูงมากๆก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะสำคัญต่างๆเช่น หัวใจ สมอง หลอดเลือด หรือไต เป็นต้น ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อยในประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาจากการเป็นประเทศเกษตรกรรม มาสู่อุตสาหกรรมรวมทั้งประชากรไทยเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามประเทศทางตะวันตกทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ
ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ • อุบัติการณ์และความชุก สถานการณ์ดังกล่าว ประเทศไทย โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนอนรักษาตัวที่สถานบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้น 3.8 เท่า ในรอบ 10 ปี (พ.ศ.2543-2552 ) ซึ่งข้อมูลจากปี 2552 พบว่า ประชากร 1 แสนคน จะมีผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงและนอนรักษาตัวที่สถานบริการสาธารณสุขถึง 981 คน
ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ • อุบัติการณ์และความชุก พบผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรสูงเรียงตามลำดับดังนี้ ภาคเหนือ ภาคกลาง(ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) พบสูงใกล้เคียงกัน ตามด้วยภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือน้อยสุด (1,225 , 1,211 , 1,019 , และ 664 ตามลำดับ ) และข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชาการไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี 2551-2552 ในประชาการไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไปพบดังนี้
ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ • อุบัติการณ์และความชุก ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ ร้อยละ 21.4 หรือ กล่าวได้ว่ามีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคนแล้ว ซึ่ง • ชายร้อยละ 21.5 และหญิงร้อยละ 21.3 • ในกลุ่มอายุ 15 – 29 ปี ร้อยละ 2.9 และกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 55.9 • เขตเทศบาล ร้อยละ 26.8 และนอกเขตเทศบาล ร้อยละ 19
ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ • ความสำคัญ จากสถานการณ์ดังกล่าวโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการดูแล บางกลุ่มไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคทำให้ไม่ได้รับการรักษา ไม่ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย ดังนั้นทางกลุ่มจึงให้ความสำคัญในการป้องกันโรคในระดับต่างๆและการคัดกรองโรคเบื้องต้น เพื่อที่จะได้ส่งต่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ • วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ของปัญหา สถิติเกี่ยวกับอุบัติการณ์และความชุกของการเกิดโรค และธรรมชาติของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย 2.เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เของการเกิดโรคเกิดโรคตามแนวคิดธรรมชาติของโรคและปัจจัยการเกิดความดันโลหิตสูง 3. วิเคราะห์แนวทางการแกปัญหาและการจัดการปัญหาสุขภาพ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค A H E จากภาพดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า Host มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้นได้แก่ประชาชนที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคต่างๆมากขึ้น
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค • ปัจจัยก่อโรค(Agent) ได้แก่สิ่งที่ทำให้เกิดโรค • ปัจจัยด้านอาหาร ได้แก่ อาหารไขมันสูง อาหารที่มีรสเค็ม การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ • ปัจจัยด้าน Host หมายถึง คน องค์ประกอบของโฮสท์ที่มีผลต่อการเกิดโรค • ปัจจัยทางชีววิทยา ได้แก่ โครงสร้างทางด้านร่างกาย อายุ เพศ พันธุกรรม สภาวะโภชนาการ ความเครียด องค์ประกอบทางด้านจิตใจ • ปัจจัยทางพฤติกรรม ได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรค • สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ชุมชนแออัด รายได้ อาชีพ การศึกษา การคมนาคมขนส่ง สถานบริการทางการแพทย์
วิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหา หากพิจารณาตามปัจจัยที่เกิด สามารถแก้ปัญหาได้โดย • ปัจจัยก่อโรค(Agent) • ปัจจัยด้านอาหาร ได้แก่ การลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสเค็ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น • ปัจจัยด้าน Host • ปัจจัยทางชีววิทยาได้แก่ ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด โดยใช้เทคนิคการผ่อยคลาย เช่น การนั่งสมาธิ การฟังเพลง เป็นต้น • ปัจจัยทางพฤติกรรม ได้แก่ 1.การออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที เช่น การเดิน การวิ่ง ปั่นจักรยาน เป็นต้น 2.ลดหรือเลิกการสูบบุหรี่อาจลดลงวันละ 1 มวนหรือ 2 มวนลงเรื่อย ๆ จนเลิกได้ 3.ควบคุมน้ำหนักไม่ไห้มีน้ำหนักเกิน • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยการเข้าถึงแหล่งบริการและร่วมคัดกรองโรคเบื้องต้น
การจัดการปัญหาสุขภาพ • การตรวจคัดกรองเบื้องต้น แยกผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นโรคและกลุ่มที่ไม่เป็นโรค • ติดตาม ประเมิน และให้คำแนะนำในกลุ่มผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ดังนี้ -กลุ่มปกติ ให้คำแนะนำในการสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจสุขภาพ 1 ครั้ง/ปี -กลุ่มเสี่ยง ให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน -กลุ่มผู้ป่วย ให้คำแนะนำด้านพฤติกรรมสุขภาพ การกิน การออกกำลังกาย ความเครียด เป็นต้น ตรวจวัดความดันโลหิตและประเมินอาการแทรกซ้อน • วินิจฉัยและให้การรักษาตามระดับความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน
สรุปผล ข้อจำกัด ข้อเสนอแนะ • สรุปผล โรคความดันโลหิตเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากและเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศโรคหนึ่งไม่แพ้โรคเรื้อรังอื่น ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงมีความชุกของการเกิดโรคในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คนสูงอายุมากว่าวัยหนุ่ม ในเขตเทศบาลมากกว่าเขตชนบท ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคคือ ด้าน Agent ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานอาหารทีมีรสเค็ม การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ด้านHost ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน ความเครียด เป็นต้น ด้านEnvironment ได้แก่ชุมชนแออัด รายได้ อาชีพ การศึกษา การคมนาคมขนส่ง สถานบริการทางการแพทย์ เป็นต้น แนวทางการแก้ไขปัญหาก็ขึ้นกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคและระดับของความรุนแรงของการเกิดโรคตามธรรมชาติการเกิดโรค การจัดการปัญหาสุขภาพโดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ติดตาม ประเมิน และให้คำแนะนำในกลุ่มผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม วินิจฉัยและให้การรักษาตามระดับความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น
สรุปผล ข้อจำกัด ข้อเสนอแนะ • ข้อจำกัด เนื้อหาหรือข้อมูลของโรคที่ได้รับนั้นมีมาก ถ้าดึงเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญหรือเนื้อหาบางส่วน ทำให้ได้เนื้อหาหรือดึงเนื้อหามาได้ไม่ครบถ้วน • ข้อเสนอแนะ • อยากให้ทางกลุ่มได้ศึกษารายละเอียดของโรคแต่ละหัวข้อให้มากกว่านี้ เมื่อแบ่งงานให้แต่ละคนรับผิดชอบ แต่ละคนก็จะรู้แค่เฉพาะหัวข้อที่ตนเองรับผิดชอบ • การอ่านงานวิจัย ยังมีความบกพร่องทำให้การแปลชื่อเรื่องก็ผิดไปด้วยแต่การอ่านวิจัยทำให้ถ้าจับประเด็นได้ ก็ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในทางพยาบาล