html5-img
1 / 17

หลักธรรมและการปฏิบัติตน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

หลักธรรมและการปฏิบัติตน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข. ทิศ 6. หลักธรรมที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดความกตัญญูกตเวทีเพราะเป็นหลักธรรมที่บุคคลจะได้แสดงออก เพื่อตอบแทนซึ่งกันและกัน เปรียบเหมือนทิศทั้ง 6 ( พระธรรมปิฎก 2544 : 4-7) ดังนี้

marina
Download Presentation

หลักธรรมและการปฏิบัติตน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักธรรมและการปฏิบัติตนหลักธรรมและการปฏิบัติตน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

  2. ทิศ 6 หลักธรรมที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดความกตัญญูกตเวทีเพราะเป็นหลักธรรมที่บุคคลจะได้แสดงออก เพื่อตอบแทนซึ่งกันและกัน เปรียบเหมือนทิศทั้ง 6 ( พระธรรมปิฎก 2544 : 4-7) ดังนี้ 1) ทิศเบื้องหน้า บิดา-มารดา เป็นผู้เลี้ยงดูและเมตตากรุณาต่อบุตรมาก่อน บุตรจึงต้องแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา โดยบิดา-มารดาและบุตรพึงสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ดังนี้

  3. 2) ทิศเบื้องขวา ครู-อาจารย์ ครู-อาจารย์มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อศิษย์ และศิษย์ก็ต้องแสดงความกตัญญูต่อครูอาจารย์ ดังนี้

  4. 3 ) ทิศเบื้องหลัง สามี-ภรรยา สามี-ภรรยา ต่างมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและแสดงความเกื้อกูลสงเคราะห์แสดงความกตัญญูต่อกันตามสมควร สามีพึงให้เกียรติภรรยา และภรรยาพึงให้เกียรติสามี ผู้เปรียบเสมือนทิศเบื้องหลังของกันและกัน ดังนี้

  5. 4)ทิศเบื้องซ้าย มิตรสหาย มิตรสหายที่ต้องพบปะพึ่งพาอาศัยแสดงน้ำใจเกื้อกูลกันอยู่เสมอ พึงสงเคราะห์แสดงความกตัญญูต่อกัน ดังนี้

  6. 5) ทิศเบื้องล่าง ลูกจ้าง บุคคลที่ต่ำกว่า ลูกจ้างเปรียบเสมือนทิศเบื้องล่าง ที่นายจ้างต้องแสดงความกตัญญูต่อลูกจ้างเพราะลูกจ้างทำกิจการงานต่างๆให้สำเร็จประโยชน์ ในขณะเดียวกันลูกจ้างก็ต้องแสดงความกตัญญูต่อนายจ้างในฐานะของผู้อุปการะคุณ ดังนี้

  7. 6) ทิศเบื้องบน พระสงฆ์ ในฐานะของพุทธศาสนิกชน พึงแสดงความกตัญญูต่อพระสงฆ์สาวก เพราะพระสงฆ์เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย เป็นผู้สืบพระศาสนา ทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอน โดยนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าว สอนชาวพุทธ ให้รู้หลักคำสอนที่ถูกต้อง พระสงฆ์จึงเปรียบเสมือนทิศเบื้องบน

  8. ธรรมคุณ 6 1. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ) 2. สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้ ) 3. อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล )

  9. 4. เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง ) 5. โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา คือ ควรเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน ) 6. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง )

  10. สัปปุริสธรรม 7 1 ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ คือรู้หลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลาย ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติกิจหน้าที่และดำเนินกิจการต่างๆ รู้เข้าใจสิ่งที่ตนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเหตุผล2 อัตถัญญุตารู้จักผล หรือ ความมุ่งหมายที่จะเกิดขึ้นจากเหตุนั้น คือรู้ความหมาย และความมุ่งหมายของหลักการที่ตนปฏิบัติเข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจการที่ตนกระทำ รู้ว่าที่ตนทำอยู่อย่างนั้นๆ 3 อัตตัญญุตา คือรู้ตามเป็นจริงว่า ตัวเรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้มีเท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม และทำการต่างๆให้สอดคล้องถูกจุด

  11. 4 มัตตัญญุตา คือการรู้จักประมาณ รู้จักพอดี ทั้งในการบริโภคและใช้จ่ายทรัพย์ การพูด การปฏิบัติกิจและทำการต่างๆ ตลอดจนการพักผ่อนนอนหลับ การสนุกสนานบันเทิง ทั้งหลาย 5 กาลัญญุตา คือ การรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่พึงใช้ประกอบกิจการงานต่างๆ รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร อย่างไร และทำให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา ให้ถูกเวลา 6 ปริสัญญุตาคือการรู้ชุมชน รู้จักถิ่นที่อยู่ รู้จักที่ชุมชน รู้การอันควรประพฤติปฏิบัติในถิ่นที่ชุมนุม และต่อชุมชนนั้นว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหาควรต้องทำกิริยาอย่างนี้ ควรต้องพูดอย่างนี้ 7 ปุคคลัญญุตาคือการรู้จักและเข้าใจความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และ คุณธรรม เป็นต้น ใครยิ่งหรือหย่อน อย่างไร

  12. อิทธิบาท 4 คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ 1. ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ 2. วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง 3. จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่ 4. วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

  13. สมบัติ 4 1. คติสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งคติ,ถึงพร้อมด้วยคติ, คติให้ ในช่วงยาวหมายถึงเกิดในกำเนิดอันอำนวย หรือเกิดในที่เจริญ ในช่วงสั้นหมายถึง ที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินดี 2. อุปธิสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งร่างกาย, ถึงพร้อมด้วยรูปกาย,รูปกายให้ ในช่วงยาวหมายถึงมีกายสง่า สวยงาม บุคลิกภาพดี 3. กาลสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งกาล , ถึงพร้อมด้วยกาล กาลให้ ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีความสงบสุข 4. ปโยคสมบัติ หมายถึง สมบัติแห่งการประกอบ, ถึงพร้อมด้วยการประกอบความเพียร กิจการให้, ในช่วงยาวหมายถึงฝักใฝ่ในทางที่ถูก

  14. วิบัติ 4 1. คติวิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งคติ คติเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนิดต่ำทราม หรือที่เกิดอันไร้ความเจริญ ในช่วงสั้นหมายถึงที่อยู่ 2. อุปธิวิบัติ วิบัติแห่งกาล, กาลเสีย ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยโลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมื่อมีแต่ความวิบัติ 3. กาลวิบัติ หมายถึง ความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้กรรมชั่วและผลร้าย 4. ปโยควิบัติ หมายถึง วิบัติแห่งการประกอบ, กิจเสีย ในช่วงยาวหมายถึงฝักใฝ่ใน ทางผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติประกอบแต่กรรมชั่ว

  15. อกุศลกรรมบถ 10 ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำชั่ว, กรรมชั่ว อันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือความทุคติ ได้แก่ ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย) -ปาณาติบาต คือ การทำให้ชีวิตตกล่วง,ปลงชีวิต -อทินนาทาน คือ การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ โดยอาการขโมย , ลักทรัพย์ -กาเมสุมิจฉาจาร คือ ความประพฤติผิดในกาม ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา) -มุสาวาท คือ การพูดเท็จ -ปิสุณาวาจา คือ วาจาส่อเสียด -ผรุสวาจา คือ วาจาหยาบ -สัมผัปปลาปะ คือ คำพูดเพ้อเจ้อ ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ) -อภิชฌา คือ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา -พยาบาท คือ คิดร้ายผู้อื่น -มิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นผิดจากธรรมนองคลองธรรม

  16. กุศลกรรมบถ 10 หมายถึง ทางไปสู่การทำบุญ แบ่งออก 3 ด้านดังนี้ 1. ด้านกายกรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่แสดงออกมาทางกาย โดยยึดแนวปฏิบัติที่ถูกต้องไม่ผิดศีลธรรม มี 3 อย่างคือ 1) เว้นจากการเบียดเบียนหรือทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย 2.)เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ โดยลักษณะลักขโมย 3)เว้นจากการประพฤติผิดในกามหรือล่วงละเมิดคู่ครองของผู้อื่นในทางเพศ 2. ด้านวจีกรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่แสดงออกทางวาจา มี 4 อย่างคือ 1) เว้นจากการพูดเท็จหรือเรื่องไม่จริง 2) เว้นจากการพูดส่อเสียด 3) เว้นจากการพูดคำหยาบ 4) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ 3. ด้านมโนกรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่เกิดขึ้นในใจ คิดในทางที่สร้างสรรค์ ไม่คิดในทางที่ไม่ดี มี 3 อย่างคือ 1) ไม่คิดโลภอยากได้สิ่งของของผู้อื่น 2) ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น 3) มีความคิดความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม จากข้อควรปฏิบัติ 10 อย่างที่กล่าวมานี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ ถือว่าเป็นผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ เป็นผู้ดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ชีวิตจะมีแต่ความราบรื่น มีความสุข และได้รับการยกย่องจากคนทั่วไป

  17. อบายมุข 6 ช่องทางของความเสื่อม, ทางแห่งความพินาศ, เหตุย่อยยับ แห่งโภคทรัพย์ - ติดสุราและของมึนเมา - ชอบเที่ยวกลางคืน - ชอบเที่ยวดูการละเล่น - ติดการพนัน มีโทษ 6 คือ - คบคนชั่วเป็นมิตร - เกียจคร้านการงาน *อบายมุขหมวดนี้ ตรัสแก่สิงคาลกมานพ ก่อนตรัสเรื่องทิศ 6

More Related