1 / 7

จะ เห็นว่าปลายด้านหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตเชื่อมอยู่กับ น้ำตาล

Download Presentation

จะ เห็นว่าปลายด้านหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตเชื่อมอยู่กับ น้ำตาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. องค์ประกอบทางเคมีของ DNADNA เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและบางส่วนของ DNAทำหน้าที่เป็นจีน คือสามารถควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ DNA เป็นกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็น พอลิเมอร์ (polymer) สายยาวประกอบด้วย นิวคลีโอไทด์ซึ่งแต่ละนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส ไนโตรจีนัสเบส และหมู่ฟอสเฟต การประกอบขึ้นเป็นนิวคลีโอไทป์นั้น มีน้ำตาลเป็นแกนหลัก มีไนโตรจีนัสเบสอยู่ที่ตำแหน่งคาร์บอนที่ 1 และหมู่ฟอสเฟตอยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5 ดังนั้น นิวคลีโอไทด์ใน DNA จึงมี 4 ชนิด ซึ่งแตกต่างกันตามองค์ประกอบที่เป็นเบส ได้แก่ อะดีนีน ( A=adenine)กวานีน (G=guanine) ไซโทซีน (C=cytosine) และไทมีน (T=tymine)

  2. นิวคลีโอไทด์มีการเชื่อมกันเป็นโมเลกุลของ DNA การเชื่อมกันของนิวคลีโอไทด์ เกิดจากการสร้าง พันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond) ระหว่างหมู่ฟอสเฟตที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5ของน้ำตาลในนิวคลีโอไทด์หนึ่ง กับ หมู่ไฮดรอกซิลที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3 ของน้ำตาลในอีกนิวคลีโอไทด์หนึ่ง เมื่อหลายๆนิวคลีโอไทด์มาเชื่อมกัน จะเกิดเป็นสายพอลีนิวคลีโอไทด์

  3. จะเห็นว่าปลายด้านหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตเชื่อมอยู่กับน้ำตาล จะเห็นว่าปลายด้านหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตเชื่อมอยู่กับน้ำตาล ดีออกซีไรโบสที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5 เรียกปลายด้านนี้ว่า 5l และปลายอีกด้านหนึ่งจะมีหมู่ไฮดรอกซิลที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3 ที่เป็นอิสระ เรียกปลายด้านนี้ของสาย DNA ว่า 3lและพบว่า พอลีนิวคลีโอไทด์แต่ละสายจะแตกต่างกันที่ จำนวนของนิวคลีโอไทด์และลำดับของนิวคลีไทด์ ในปี พ.ศ.2492 เออร์วินชาร์กาฟฟ์ (Erwin Chargaff) นักชีวเคมีชาวอเมริกันได้วิเคราะห์ปริมาณเบสที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของโมเลกุล DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ พบว่า อัตราส่วนของเบส 4 ชนิดใน DNA ที่สกัดจากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ แตกต่างกัน ดังแสดงในตาราง ดังนี้

  4. จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ปริมาณของเบส 4 ชนิดจะแตกต่างกัน แต่จะมีปริมาณของ A ใกล้เคียงกับ Tและ C ใกล้เคียงกับ G เสมอ เรียกว่า กฎของชาร์กาฟฟ์(Chaergaff’s rule) โดยสิ่งมีชีวิตจะมีอัตราส่วนระหว่าง A:T ละอัตราส่วนระหว่าง G:C ใกล้เคียงกับ 1 อาจเป็นไปได้ว่า A จับคู่กับ T และ G จับคู่กับ C จากอัตราส่วนนี้ชี้ให้เห็นว่า DNA จะต้องมีการจัดเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์4 ชนิด ที่ทำให้จำนวนของชนิด A เท่ากับ T และ G เท่ากับ C เสมอไป

More Related