1 / 103

การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล

การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล. นายแพทย์ชนินันท์ สนธิไชย กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย. ทำไมจึงต้องมีระบบเฝ้าระวัง. หน่วยงานสาธารณสุขต้องการข้อมูล สำหรับการวางแผน/ตัดสินใจ/แก้ปัญหา พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคของประชากร ทราบเหตุการณ์การระบาดของโรคอย่างทันเวลา

marged
Download Presentation

การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูล นายแพทย์ชนินันท์ สนธิไชย กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย

  2. ทำไมจึงต้องมีระบบเฝ้าระวังทำไมจึงต้องมีระบบเฝ้าระวัง หน่วยงานสาธารณสุขต้องการข้อมูลสำหรับการวางแผน/ตัดสินใจ/แก้ปัญหา • พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคของประชากร • ทราบเหตุการณ์การระบาดของโรคอย่างทันเวลา • เมื่อมีโรคใหม่ๆ หรือโรคติดต่อร้ายแรงเกิดขึ้นในพื้นที่

  3. เฝ้าระวัง(Surveillance) Surveillance มาจากภาษาฝรั่งเศส sur (อยู่ข้างบน) + veiller (เฝ้าดู) การเฝ้าติดตามบุคคลหรือเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อกำกับหรือควบคุม

  4. ความเป็นมาของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาความเป็นมาของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการใช้คำว่า Surveillance ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้นกลุ่มประชากรหรือพื้นที่ที่ปลอดการระบาดของโรค • อหิวาห์ • กาฬโรค • ไข้เหลือง เพื่อดำเนินการกักกันผู้ป่วยและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในทันทีที่พบผู้ป่วย

  5. ความเป็นมาของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาความเป็นมาของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 1952 U.S. Communicable Disease Center ก่อตั้งระบบเฝ้าระวังโรคขึ้นทั่วประเทศ ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจจับการเกิดโรคติดต่อร้ายแรงในทุกพื้นที่ กระจายทรัพยากรทางสาธารณสุขอย่างเหมาะสม

  6. ความเป็นมาของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาความเป็นมาของระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 1968 ให้คำจำกัดความของ surveillance “การเก็บรวบรวมข้อมูลทางระบาดวิทยาอย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน ดำเนินการ และประเมินผลการควบคุมโรค” ปี 1980-1990 เพิ่มคำจำกัดความให้ครอบคลุมถึงผลกระทบต่อสุขภาพอื่นนอกเหนือจากโรคภัยไข้เจ็บ • อุบัติเหตุ • การได้รับปัจจัยเสี่ยง

  7. ความหมายของระบบเฝ้าระวังความหมายของระบบเฝ้าระวัง Surveillance is the ongoing systematic collection, collation, analysis and interpretation of data; and the dissemination of information to those who need to know in order that action may be taken

  8. ความหมายของระบบเฝ้าระวังความหมายของระบบเฝ้าระวัง Surveillance (ระบบเฝ้าระวัง) is the ongoingsystematiccollection, collation, ต่อเนื่องเป็นระบบเก็บรวบรวมเปรียบเทียบ analysis and interpretation of data; วิเคราะห์ แปลผล and the dissemination of information เผยแพร่ to those who need to know in order that action may be taken การกระทำ/กิจกรรม

  9. องค์ประกอบของระบบเฝ้าระวังองค์ประกอบของระบบเฝ้าระวัง InformationforAction • Public Health Action • - Priority setting • Planning • Implementation • Evaluating disease • Investigation • Control • Prevention Surveillance - Collection - Analysis - Interpretation - Dissemination

  10. การเฝ้าระวังการเจ็บป่วยการเฝ้าระวังการเจ็บป่วย การเฝ้าระวังการเสียชีวิต การเฝ้าระวังการระบาด การเฝ้าระวังการใช้วัคซีน เซรุ่ม หรือยา การเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง ขอบเขตของการเฝ้าระวัง

  11. การเฝ้าระวังการเจ็บป่วยการเฝ้าระวังการเจ็บป่วย • ได้จากรายงานการป่วยซึ่งเป็นรายงานจากสถานบริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาล • โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ให้การวินิจฉัยจากประวัติการตรวจร่างกายและผลการชันสูตรโรค • ทำให้เห็นภาพการกระจายของโรคและแนวโน้มของโรค ทั้งโรคไร้เชื้อและโรคติดเชื้อ

  12. การเฝ้าระวังการเสียชีวิตการเฝ้าระวังการเสียชีวิต • ได้จากใบมรณบัตรซึ่งตามกฎหมายบังคับให้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงต่อนายทะเบียนท้องถิ่น • สามารถมีการเปรียบเทียบการตายภายในประเทศและระหว่างประเทศได้ • ในโรคที่มีอัตราป่วยตายสูง ระยะเวลาเริ่มป่วยถึงตายสั้น เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคมะเร็งบางชนิด สถิติการตายจะใกล้เคี่ยงกับการป่วย

  13. การเฝ้าระวังการระบาด • มีโรคเกิดขึ้นจำนวนมากผิดปกติ แหล่งรายงานการระบาดอาจเป็นหน่วยงานทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • ระบบการเฝ้าระวังโรคที่ดีสามารถพยากรณ์การเกิดการระบาดของโรคได้ ทำให้สามารถสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างทันเวลา

  14. การเฝ้าระวังการใช้วัคซีน เซรุ่ม หรือยา • ควรมีมาตรการในการเฝ้าระวังการใช้วัคซีน เซรุ่ม หรือยา เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนงานอนามัย • การเฝ้าระวังการใช้วัคซีนโดยเฉพาะอัตราการครอบคลุม ประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของวัคซีน มีความจำเป็นในระยะเริ่มแรกของโครงการการรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรค หรือระยะที่มีการนำวัคซีนใหม่เข้ามาใช้ในชุมชน • ควรมีการบันทึกชนิดของวัคซีน แหล่งผลิตวัคซีน และวันที่ผลิต และสำรวจระดับภูมิคุ้มกันในชุมชนเป็นระยะๆ • ควรมีการบันทึกผลข้างเคียงของยา และความต้านทานยาปฏิชีวนะของเชื้อ

  15. การเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง • การเฝ้าระวังปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคในร่างกายมนุษย์ • สามารถหาประชากรที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การเฝ้าระวังการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก การเฝ้าระวังทางโภชนาการ การเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย ของประชากรโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การเสพยากระตุ้นประสาท การเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดใหญ่ การดื้อยาปฏิชีวนะ

  16. ตรวจจับการระบาดของโรคอย่างทันท่วงทีตรวจจับการระบาดของโรคอย่างทันท่วงที คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต คาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรค ประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรค วัตถุประสงค์

  17. คุณสมบัติของระบบเฝ้าระวังที่สำคัญคุณสมบัติของระบบเฝ้าระวังที่สำคัญ • ความทันเวลา (Timeliness) • ดำเนินการควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว • ความเป็นตัวแทน (Representativeness) • สะท้อนสถานการณ์สุขภาพ/แนวโน้มการระบาดในพื้นที่ได้ตรงกับความจริง • ความไว (Sensitivity) • คัดกรองผู้ป่วยเพื่อกักกันหรือรับการรักษา • ความจำเพาะ (Specificity) • แยกผู้ที่ยังไม่เป็นโรค • ค่าพยากรณ์บวก (Predictive Value Positive) • ค่าพยากรณ์ลบ (Predictive Value Negative)

  18. โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับรายงานผ่านทางระบบเฝ้าระวังโรคโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับรายงานผ่านทางระบบเฝ้าระวังโรค บอกถึงความสามารถในการตรวจจับการระบาด ความไว (Sensitivity)

  19. การคำนวณความไว โรค A ป่วย ไม่ป่วย 45 10 55 เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง 5 140 145 ไม่เป็นโรค 50 150 200 ความไว (sensitivity) ของนิยามโรค = 45/50 = 90%

  20. ความไวของระบบเฝ้าระวังความไวของระบบเฝ้าระวัง โรค A ป่วย ไม่ป่วย เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง ไม่เป็นโรค A ความไว (Sensitivity) = A+C

  21. ความสามารถของการคัดกรองที่จะแยกผู้ที่ไม่เป็นโรคได้ถูกต้องความสามารถของการคัดกรองที่จะแยกผู้ที่ไม่เป็นโรคได้ถูกต้อง ความจำเพาะ (Specificity)

  22. การคำนวณความจำเพาะ โรค A ป่วย ไม่ป่วย 45 10 55 เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง 5 140 145 ไม่เป็นโรค 50 150 200 ความจำเพาะ (specificity) ของนิยามโรค = 140/150 = 93%

  23. ความจำเพาะของระบบเฝ้าระวังความจำเพาะของระบบเฝ้าระวัง โรค A ป่วย ไม่ป่วย เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง ไม่เป็นโรค D ความจำเพาะ (Specificity) = B+D

  24. โอกาสที่จะเป็นโรคเมื่อผลการคัดกรองเป็นบวกโอกาสที่จะเป็นโรคเมื่อผลการคัดกรองเป็นบวก ค่าพยากรณ์บวก (Predictive Value Positive: PVP)

  25. การคำนวณค่าพยากรณ์บวกการคำนวณค่าพยากรณ์บวก โรค A ป่วย ไม่ป่วย 45 10 55 เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง 5 140 145 ไม่เป็นโรค 50 150 200 ค่าพยากรณ์บวก (PVP) = 45/55 = 82%

  26. ความพยากรณ์บวกของระบบเฝ้าระวังความพยากรณ์บวกของระบบเฝ้าระวัง โรค A ป่วย ไม่ป่วย เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง ไม่เป็นโรค A ค่าพยากรณ์บวก (PVP) = A+B

  27. โอกาสที่จะเป็นไม่เป็นโรคเมื่อผลการคัดกรองเป็นลบโอกาสที่จะเป็นไม่เป็นโรคเมื่อผลการคัดกรองเป็นลบ ค่าพยากรณ์ลบ (Predictive Value Negative: PVN)

  28. การคำนวณค่าพยากรณ์ลบ โรค A ป่วย ไม่ป่วย 45 10 55 เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง 5 140 145 ไม่เป็นโรค 50 150 200 ค่าพยากรณ์ลบ (PVN) = 140/145 = 97%

  29. ความพยากรณ์ลบของระบบเฝ้าระวังความพยากรณ์ลบของระบบเฝ้าระวัง โรค A ป่วย ไม่ป่วย เป็นโรค ระบบเฝ้าระวัง ไม่เป็นโรค D ค่าพยากรณ์ลบ (PVN) = C+D

  30. ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจนหน่วยงานด้านระบาดวิทยาได้รับรายงานระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจนหน่วยงานด้านระบาดวิทยาได้รับรายงาน การรายงานโรคอย่างรวดเร็วช่วยให้สามารถควบคุมโรคได้ทันท่วงที ความทันเวลา (Timeliness) เริ่มป่วย พบแพทย์ วินิจฉัยโรค เขียนรายงาน ส่งรายงาน รับรายงาน สอบสวนโรค ความทันเวลา ควบคุมโรค

  31. ความสามารถของระบบเฝ้าระวังในการสะท้อนภาพที่แท้จริงของสถานการณ์สาธารณสุขในพื้นที่ความสามารถของระบบเฝ้าระวังในการสะท้อนภาพที่แท้จริงของสถานการณ์สาธารณสุขในพื้นที่ อุบัติการณ์ ความชุก อัตราป่วย ความเป็นตัวแทน (Representativeness)

  32. โรคที่ต้องรายงาน (Notifiable Diseases) • อุบัติการณ์และความชุกของโรค • ความรุนแรงของโรค • อัตราป่วยตาย • ผลกระทบทางเศรษฐกิจ • การติดต่อ/แพร่ระบาดของโรค • ความตระหนักของประชาชน • ความร่วมมือ/ข้อตกลงระหว่างประเทศในด้านการควบคุมโรค • ประสิทธิภาพของการควบคุมโรค • ทรัพยากรที่ใช้ในระบบ

  33. โรคที่ต้องรายงานตามแบบรายงาน 506

  34. การกำหนดนิยามโรคสำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาการกำหนดนิยามโรคสำหรับการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) ผู้ป่วยที่ยืนยัน (Confirmed case) นิยามโรคทางระบาดวิทยามีความแตกต่างจากการเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษา นิยามโรค (Case definition)

  35. ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspect case) ประวัติและอาการ ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) ประวัติและอาการ ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานหรือมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ผู้ป่วยที่ยืนยัน (Confirmed case) ประวัติและอาการ ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจงกับโรคนั้น นิยามโรค (Case definition)

  36. ผู้ป่วยที่สงสัย ไข้ ร่วมกับ touniquet test positive ผู้ป่วยที่เข้าข่าย ผู้ป่วยที่สงสัย ร่วมกับ Hct เพิ่มขึ้น 10-20% และ Platelet <100,000 ผู้ป่วยที่ยืนยัน ผู้ป่วยที่สงสัย ร่วมกับ Serology test positive (PCR, IgM, IgG) ตัวอย่าง นิยามโรคไข้เลือดออก

  37. ผู้ป่วยที่สงสัย ถ่ายอุจจาระเหลวอย่างน้อย 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือ ถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่เข้าข่าย ไม่มี ผู้ป่วยที่ยืนยัน ผู้ป่วยที่สงสัย ร่วมกับ ผลการตรวจ Rectal swab พบเชื้อ Vibrio cholerae ตัวอย่าง นิยามโรคอหิวาห์

  38. www.bmadcd.go.th

  39. Syndromic Surveillance • เป็นการเฝ้าระวังโดยตามกลุ่มอาการ • สถานการณ์ที่ไม่ปกติ • ต้องการความรวดเร็วในการรายงาน • ตรวจจับการระบาด • ประเมินขอบเขตการแพร่กระจายโรค

  40. Field hospital at Rice mill 250 ton shelter

  41. Shelter in a high school

  42. Shelter in a remote area

  43. Temporary shelters at Labutta

  44. Name_____________________ Age___ Sex M/F Chief Complaint_____________ Diagnosis__________________ Treatment__________________ • Syndromic diagnosis • Bloody diarrhea • Acute diarrhea • Fever with rash/suspected measles • Suspected meningitis • Suspected dengue (DF/DHF/DSS) • Acute jaundice syndrome • Acute respiratory infection • Suspected malaria • Fever with unknown origin • Cluster of disease of unknown origin

More Related