1 / 55

ภาษีอากรกับงานวิจัย

ภาษีอากรกับงานวิจัย. สมพงษ์ ตัณฑพาทย์. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax). ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax). ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax). ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax). อากรแสตมป์ (Stamp Duty).

marcy
Download Presentation

ภาษีอากรกับงานวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีอากรกับงานวิจัย สมพงษ์ ตัณฑพาทย์

  2. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(Personal Income Tax) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax) อากรแสตมป์ (Stamp Duty)

  3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

  4. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) ฐานภาษี เงินได้สุทธิ เงินได้พึงประเมิน =เงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน ปีภาษี คือ ปีประดิทิน

  5. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) การคำนวณภาษี เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษี แบบก้าวหน้า (5-37%) เงินได้พึงประเมิน คูณ 0.5% (สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (2)-(8) ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป) จำนวนภาษีที่ต้องชำระ

  6. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) ภายในเดือนกันยายนของทุกปี (สำหรับเงินได้ที่ได้รับระหว่าง วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน ) การยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีเงินได้ ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป (สำหรับเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปีภาษี)

  7. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการ จ่ายเงินได้ประเภทที่กฎหมายกำหนด ต้องนำส่งภาษีที่หักไว้ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักภาษีไว้

  8. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินได้จากการจ้างแรงงาน ค่าลิขสิทธิ์ และสิทธิอย่างอื่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินได้ที่กฎหมาย กำหนดให้มีการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่าส่งเสริมการขาย ค่าขนส่ง ค่านายหน้า

  9. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กิจการที่ดำเนินการเป็นทางค้าหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ.. กิจการร่วมค้า ผู้มีหน้าที่เสียภาษี (มาตรา 39) มูลนิธิ หรือสมาคม นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกำหนด

  10. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ฐานภาษี (มาตรา 65) กำไรสุทธิที่ได้ ในรอบระยะเวลาบัญชี รอบระยะเวลาบัญชี กำหนดให้มี 12 เดือน = รายได้ – รายจ่าย (เป็นไปตามเงื่อนไข ที่กำหนดในมาตรา 64 ทวิ และ 65 ตรี) การคำนวณรายได้และ รายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์

  11. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) อัตราภาษี ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (บางกรณีลดอัตราลงเหลือ ร้อยละ 10,15,20 หรือ 25) การจำหน่ายกำไรตาม มาตรา 70 ทวิ ร้อยละ 10 ร้อยละ 10 ของรายรับก่อนหัก รายจ่ายใดๆ ของมูลนิธิ หรือ สมาคมที่ประกอบกิจการ ซึ่งมีรายได้ (บางกรณีลดเหลือร้อยละ 2) การหักภาษีตามมาตรา 70 ร้อยละ 15 (เฉพาะ เงินปันผล ร้อยละ 10)

  12. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของ หกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี (สำหรับการเสียภาษีจาก ประมาณการกำไรสุทธิหรือกำไรสุทธิจริง ของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี) ภายใน 150 วัน นับจากวันสุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชี (สำหรับการเสียภาษีจากกำไรสุทธิ ที่ได้ในรอบระยะเวลาบัญชี)

  13. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการ จ่ายเงินได้ประเภทที่กฎหมายกำหนด ต้องนำส่งภาษีที่หักไว้ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักภาษีไว้

  14. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ค่านายหน้า ค่าสิทธิ์ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ เงินได้ที่กฎหมาย กำหนดให้มีการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ ค่าส่งเสริมการขาย เบี้ยประกันวินาศภัย ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง

  15. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า บุคคลที่ขายสินค้าหรือ ให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ ผู้ประกอบการ หรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้นำเข้า

  16. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราภาษี ร้อยละ 0 ร้อยละ 7 การส่งออกสินค้า การขายสินค้า การให้บริการในประเทศและมี การใช้บริการนั้นในต่างประเทศ การให้บริการ การนำเข้า การขนส่งระหว่างประเทศ โดยทางเรือหรืออากาศยาน

  17. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การคำนวณภาษี คำนวณเป็น รายเดือนภาษี VAT = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ ขอคืนภาษี ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผลต่างถือเป็นเครดิตใน การคำนวณภาษี ใช้ชำระภาษี ในเดือนถัดไป

  18. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ยื่นแบบเป็นรายเดือนภาษี กรณีมีสถานประกอบการหลาย แห่งให้แยกยื่นเป็นรายสถาน ประกอบการ (ยกเว้นได้รับอนุมัติ จากอธิบดีให้ยื่นแบบรวมกันได้) ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่ง สถานประกอบการตั้งอยู่

  19. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีสิทธิขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนเริ่มประกอบกิจการได้ ผู้ประกอบการต้องขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับ จากวันที่ฐานภาษีเกินกว่าฐาน ภาษีของกิจการขนาดย่อม (รายรับเกิน 1,800,000 บาทปี)

  20. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) บุคคลที่ประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี การประกอบกิจการโดยปกติ เยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหากำไร การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การประกันชีวิต กิจการอื่นที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ. โรงรับจำนำ

  21. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) ฐานภาษี รายรับเนื่องจากการ ประกอบกิจการที่อยู่ใน บังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

  22. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) อัตราภาษี • 0.10% (2) 2.50% (3) 3.00% ของรายรับก่อนหัก รายจ่ายใดๆ จาก การขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ ของรายรับจากการ ประกอบกิจการ ประกันชีวิต หรือโรงรับจำนำ ของรายรับจากการ ประกอบกิจการ นอกเหนือจาก (1) และ (2)

  23. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) การคำนวณภาษี SBT= ฐานภาษี (รายรับ) คูณ อัตราภาษี คำนวณภาษีเป็นรายเดือนภาษี

  24. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ยื่นแบบเป็นรายเดือนภาษี กรณีมีสถานประกอบการหลาย แห่งให้แยกยื่นเป็นรายสถาน ประกอบการ (ยกเว้นได้รับอนุมัติ จากอธิบดีให้ยื่นแบบรวมกันได้) ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่ง สถานประกอบการตั้งอยู่

  25. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ บุคคลที่ประกอบกิจการซึ่งอยู่ใน บังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่ม ประกอบกิจการ

  26. อากรแสตมป์ (SD) บุคคลซึ่งถูกกำหนดให้ มีหน้าที่เสียอากรตาม บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตราสารที่ต้องปิด อากรแสตมป์ เช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ ตั๋วแลกเงิน กู้ยืมเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน, เช็ค กรมธรรม์ประกันภัย bill of lading, L/C, etc.

  27. อากรแสตมป์ (SD) ค่าอากรแสตมป์ จำนวนเงินคงที่ 1-30 บาท กำหนดใน บัญชีอัตรา อากรแสตมป์ อัตราคงที่ เช่น 1 บาท สำหรับ จำนวนเงินตามสัญญาทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เป็นต้น

  28. อากรแสตมป์ (SD) วิธีการเสียอากร ในจำนวนที่ไม่น้อย กว่าที่ต้องเสีย เสียอากรโดย ปิดแสตมป์ทับบนตราสารและขีดฆ่า ใช้แสตมป์ดุน ชำระอากรเป็นตัวเงิน

  29. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์

  30. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ที่บุคคลธรรมดา ได้รับจากการรับจ้างทำงานวิจัยและให้คำปรึกษาแนะนำ โดยได้ทำเพียงคนเดียวเงินที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจาก การรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร หากได้ทำโดยร่วมกับ บุคคลอื่นหรือมีลูกจ้างหรือมีสำนักงานและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจำนวน มากเงินได้ที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร

  31. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินค่าตอบแทนการวิจัยที่บุคคลธรรมดาได้รับจะถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) หรือมาตรา 40(2) หรือมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น ต้องพิจารณาเป็น รายกรณี ดังนี้ (1) กรณีจะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องปรากฏว่า คู่สัญญามีความประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กันอย่างนายจ้างกับลูกจ้าง (2) กรณีผู้รับจ้างวิจัยได้ทำการวิจัย และต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตามสัญญาจ้าง เงินที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

  32. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (3) กรณีผู้รับจ้างได้ทำการวิจัยร่วมกับบุคคลอื่น หรือมีลูกจ้างหรือมีสำนักงาน และ มีค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจำนวนมาก เงินได้ที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ กำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502

  33. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โครงการวิจัยซึ่งมีบุคคลธรรมดา เป็นหัวหน้าโครงการ และมีบุคคลอื่น ร่วมปฏิบัติงานวิจัยด้วยจึงถือว่าผู้ร่วมโครงการวิจัยเป็นคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล ดังนั้น เงินทุนศึกษาวิจัยที่ได้รับจึงต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ ในนามของคณะบุคคล ตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ตามมาตรา 46 แห่ง ประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502

  34. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คณะทำงานฯ ที่ทำการศึกษาวิจัยมีลักษณะเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เมื่อได้รับเงินได้พึงประเมิน มีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ในชื่อของคณะบุคคล และเมื่อมีการจ่ายเงินส่วนแบ่งจากการทำงานให้แก่ บุคคลในคณะทำงานฯ เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรจาก คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม มาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร

  35. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินทุนอุดหนุนการวิจัยฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจ่ายให้แก่ผู้ร่วม รับทุนใน ลักษณะเหมาจ่ายโดยแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ ตามผลสำเร็จของงานที่กำหนดในสัญญา และ เงินทุนที่จ่ายถูกนำไปใช้จ่ายเป็นค่าอุปกรณ์และค่าวิเคราะห์ต่าง ๆ โดยผลงานวิจัยตกเป็น กรรมสิทธิ์ของสำนักงานฯ เงินทุนอุดหนุนดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เข้าลักษณะเป็นรางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าใน วิทยาการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (11) แห่ง ปร. กรณีสำนักงานฯจ่ายเงินทุนอุดหนุนการวิจัยให้แก่บุคคลธรรมดาและหน่วยงานภาครัฐซึ่ง เป็นผู้ร่วมรับทุนฯ อันเข้าลักษณะเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สำนักงานฯ จึงมีหน้าที่ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินที่จ่าย ตามมาตรา 50(4) แห่ง ปร.

  36. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีนักวิจัยจากต่างประเทศมีเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่หรือ กิจการที่ทำในประเทศไทย ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว นักวิจัยดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศ ไทยตามมาตรา 41 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร

  37. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 18 แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดให้ศาสตราจารย์ ครู และนักวิจัย ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางเข้ามาทำ การสอน หรือวิจัยตาม คำเชิญของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาอื่น อันเป็นที่รับรองแล้วในประเทศไทยโดยมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ได้เดินทางเข้ามา ในประเทศไทยเพื่อทำการสอนหรือวิจัยในสถาบันการศึกษาดังกล่าว ได้รับการยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินค่าตอบแทนการสอนหรือวิจัยนั้น ตามมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ทั้งนี้ การสอนหรือ การค้นคว้าวิจัยดังกล่าวจะต้องมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลประโยชน์แก่เอกชนคนเดียว หรือหลายคนโดยเฉพาะ

  38. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีข้าราชการของมหาวิทยาลัย ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนประจำจาก มหาวิทยาลัยอยู่แล้ว และได้รับเงินค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานในโครงการ วิจัยจากมหาวิทยาลัยอีก เงินค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานในโครงการวิจัย ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้อันเนื่องมาจากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

  39. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมหาวิทยาลัยจ่ายเงินค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานในโครงการวิจัยให้แก่ บุคคลภายนอกซึ่งมิได้รับเงินเดือนประจำจากมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น วิศวกร สถาปนิก หรือแพทย์ เข้าลักษณะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่ง ประมวลรัษฎากร

  40. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินรางวัล ของขวัญ หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานวิจัย หรืองานวรรณกรรม ตามผลสำเร็จของงานที่ได้นำไปใช้ประโยชน์แล้วในอัตรา ร้อยละของส่วนแบ่งที่ได้รับไม่เข้าลักษณะเป็นรางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้า ในวิทยาการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(11)แห่งประมวลรัษฎากร

  41. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับจ้างทำวิจัย ต้องนำรายได้จากการรับจ้างมารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

  42. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีห้างฯ ได้ให้บริการรับทำวิจัย ให้คำปรึกษา โดยผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นส่วนราชการ เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยนั้น เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการวิจัยให้แก่ห้างฯ เงินที่ห้างฯ ได้รับดังกล่าว เข้าลักษณะเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ห้างฯ ต้องนำเงินได้ ดังกล่าวมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 1 ของยอดเงินได้ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

  43. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีมูลนิธิฯ ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถาน สาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่เข้าลักษณะ เป็น "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตามมาตรา 39 แห่งประมวล รัษฎากร ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้น มูลนิธิฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ให้แก่มูลนิธิฯ ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

  44. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างทำวิจัยและเป็นที่ปรึกษาการทำวิจัยในโครงการ ต่าง ๆ ให้แก่ภาครัฐและเอกชน เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ โดยผู้ประกอบการ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร

  45. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับจ้างทำวิจัย เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่ง ประมวลรัษฎากร เมื่อประกอบกิจการมีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(5) มาตรา 77/2(1) มาตรา 82(1) และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมาตรา 85/1 แห่ง ประมวลรัษฎากร

  46. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ ให้บริการวิจัยและบริการวิชาการ แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าลักษณะเป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1(5) แห่งประมวลรัษฎากร มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประกอบการ จึงมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่ง ปร. แต่เนื่องจากผู้ประกอบกิจการดังกล่าวเป็น สถาบันการศึกษา จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนด สาขาและลักษณะการประกอบกิจการ การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ ตามมาตรา 81(1)(ฎ) แห่ง ปร. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 171) (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป)

  47. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย ภาษีมูลค่าเพิ่ม การจ่ายค่าจ้างทำวิจัยให้แก่บุคคลในต่างประเทศ ถือเป็นการจ่ายค่า บริการแก่ผู้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นใน ราชอาณาจักร ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร

  48. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย อากรแสตมป์ สัญญาจ้างทำวิจัย เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ ตามลักษณะตราสาร 4. จ้างทำของ แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากร ในอัตรา 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้

  49. ภาระภาษีอากรกับงานวิจัยภาระภาษีอากรกับงานวิจัย อากรแสตมป์ ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาล เจ้าพนักงานผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่ บุคคลผู้กระทำการในนามของรัฐบาล องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น สภา กาชาดไทย วัดวาอารามและองค์การศาสนาใด ๆ ในราชอาณาจักรซึ่งเป็นนิติบุคคล อากรเป็นอันไม่ต้องเสีย แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้ใช้แก่องค์การของรัฐบาลที่ใช้ทุนหรือ ทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบการพาณิชย์ หรือการพาณิชย์ซึ่งองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำทั้งนี้ตามมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากร

  50. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ ....... (11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่ง หรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือ แข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทาง ราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามกระทำความผิด

More Related