1 / 19

วินัยในระบบการบริหารงานบุคคล ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น โดย

วินัยในระบบการบริหารงานบุคคล ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น โดย นายประวิทย์ เปรื่องการ ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. ระบบวินัยก่อน ๓๐ พ.ย. ๒๕๔๒ - อำนาจการออกคำสั่ง

marah-casey
Download Presentation

วินัยในระบบการบริหารงานบุคคล ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น โดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วินัยในระบบการบริหารงานบุคคลวินัยในระบบการบริหารงานบุคคล ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น โดย นายประวิทย์ เปรื่องการ ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

  2. ระบบวินัยก่อน ๓๐ พ.ย. ๒๕๔๒ - อำนาจการออกคำสั่ง - อำนาจพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัย • ระบบวินัยหลัง ๓๐ พ.ย. ๒๕๔๒ (ภายใต้ รธน.ปี ๒๕๔๐) - อำนาจการออกคำสั่ง (ม.๑๕ พ.ร.บ.บุคคลฯ ปี ๔๒) - อำนาจพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัย (ก.จังหวัด) - อำนาจตรวจสอบของ ก.กลาง/ศาลปกครอง/องค์กรอื่น

  3. ผู้ใช้อำนาจทางวินัย - อำนาจแสวงหาข้อเท็จจริง (ผบ.ทุกระดับชั้น) - อำนาจตั้งเรื่องกล่าวหา (ผู้บริหารท้องถิ่น/ผู้รับมอบ) (พลเรือนเป็นข้าราชการ/ท้องถิ่นเป็นฝ่ายการเมือง) - อำนาจพิจารณาสำนวนการสอบสวน (ผู้บริหารท้องถิ่น) - อำนาจให้สอบสวนเพิ่มเติม (ผู้บริหารท้องถิ่น/ก.จังหวัด) - อำนาจออกคำสั่งลงโทษ (ผู้บริหารท้องถิ่น/ตามมติ ก.จังหวัด) - อำนาจพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัย (ก.จังหวัด)

  4. - อำนาจให้แก้ไข/ให้ยกเลิก (ก.กลาง/ศาลปกครอง) • อำนาจที่กฎหมายบังคับให้กระทำ (ให้/ต้อง) - เสริมสร้างและพัฒนาให้มีวินัย (ข้อ ๒๐ ว.๒) - ป้องกันไม่ให้ทำผิดวินัย (ข้อ ๒๐ ว.๓) - มีหลักฐานในเบื้องต้นว่ากระทำผิด ให้ดำเนินการทางวินัยทันที (ข้อ ๒๐ ว.๔) - ปรากฏตัวผู้ร้องหรือสงสัย ต้องสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น

  5. ว่ามีมูลหรือไม่ หากไม่มีมูลให้ยุติเรื่อง ถ้ามีมูลให้ดำเนินการทาง วินัยทันที (ข้อ ๒๐ ว.๕) - ผู้บังคับบัญชาละเลย หรือไม่สุจริต ให้ถือว่ากระทำผิดวินัย (ข้อ ๒๐ ว.๗) • โทษทางวินัย (ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน/ปลดออก/ไล่ออก) • ก่อนมีคำสั่งลงโทษทางวินัย ต้องสอบสวนเสียก่อน (ข้อ ๒๒) หากไม่สอบสวน คำสั่งลงโทษนั้นเสียไป (ยกเว้นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง (ข้อ ๒๗, ๒๘ และ ๒๙)

  6. การสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ให้สอบตามวิธีที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร • การสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ต้องตั้งกรรมการสอบสวน (ตามแบบ สว.๑) • สถานะของกรรมการสอบสวน (ข้อ ๒๓) (พลเรือน/ท้องถิ่น) • การสอบสวนผู้ออกจากราชการไปแล้ว (ข้อ ๒๔) เฉพาะวินัยร้ายแรง • ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง (ข้อ ๒๗, ๒๘, ๒๙) - รับสารภาพเป็นหนังสือ - มีคำพิพากษาถึงที่สุด (มิได้รอกำหนดโทษ/รอการลงโทษ) - ขาดราชการติดต่อกันเกินกว่า ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร

  7. การสอบสวนทางวินัย มี ๓ องค์ประกอบ ดังนี้ ๑. แจ้งข้อกล่าวหา ๒. สรุปพยานหลักฐาน ๓. ให้โอกาสชี้แจง • ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย เพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า • การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา ให้นำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้าฟังได้ • คุณสมบัติกรรมการสอบสวน อย่างใดอย่างหนึ่ง - เป็นนิติกร/จบนิติศาสตร์/ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการ ทางวินัย/มีประสบการณ์ด้านวินัย

  8. ประธานกรรมการ ต้องมีซีเทียบเท่าผู้ถูกกล่าวหาขึ้นไป • กรรมการสอบสวนต้องมีอย่างน้อย ๓ คน (จะมีผู้ช่วยเลขานุการก็ได้) • ห้ามผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งกรรมการสอบสวนเองใน ๒ ประเด็น คือ (ข้อ ๓๑ ว.๕) ๑. เป็นคู่กรณีกับผู้ถูกกล่าวหา ๒. ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดร่วมกัน ต้องให้ ก.จังหวัดตรวจสอบ หากพบว่าจริงให้เลือกกรรมการ สอบสวนส่งให้ผู้บริหารออกกคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวน หมายเหตุคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนเมื่อออกแล้ว ยกเลิกมิได้

  9. ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ต้องระบุ (ข้อ ๓๒) ๑. ชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา ๒. เรื่องที่กล่าวหา ๓. ชื่อและตำแหน่งของกรรมการสอบสวน • เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว (ข้อ ๓๓) ๑. ผู้บริหารท้องถิ่นต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยเร็ว ๒. ส่งคำรับทราบนั้นและสำเนาคำสั่งให้ประธานกรรมการ ลงนามรับทราบ (เริ่มนับระยะเวลาการสอบสวน)

  10. เหตุแห่งการคัดค้านกรรมการสอบสวน มี ๕ เหตุ (ข้อ ๓๖) ดังนี้ ๑. รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำการตามที่กล่าวหา ๒. มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน ๓. มีสาเหตุโกรธเคืองผู้ถูกกล่าวหา ๔. เป็นผู้กล่าวหา บุพการี ผู้สืบสันดาน ร่วมพี่น้อง ๕. มีสาเหตุอื่นที่อาจทำให้เสียความเป็นธรรม

  11. การคัดค้านกรรมการสอบสวน ๑. ผู้ถูกกล่าวหาคัดค้านเอง ๒. กรรมการสอบสวนคัดค้านตัวเอง (ข้อ ๓๗) • วิธีคัดค้านและการสั่งคำคัดค้าน ๑. ทำเป็นหนังสือ คัดค้านภายใน ๗ วัน นับแต่วันทราบ คำสั่งตั้งกรรมการ ๒. ผู้บริหารท้องถิ่นต้องสั่งการใน ๑๕ วันนับแต่รับหนังสือ • เปลี่ยนแปลงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการได้ ถ้ามีเหตุสมควร หรือจำเป็น (ข้อ ๓๘)

  12. ระยะเวลาการสอบสวน (ข้อ ๔๐) - สอบสวนตามปกติ ๑๒๐ วัน - ขยายได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละ ไม่เกิน ๓๐ วัน - หากเกิน ๑๘๐ วัน ขอต่อ ก.จังหวัด - ประธานฯ เป็นผู้ยื่นต่อผู้บริหารท้องถิ่น • การรวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ (ข้อ ๕๑) - กรรมการสอบสวนกำหนดประเด็นที่จะสอบสวน - ประธานฯ ส่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นแจ้งปลายทาง - ผู้บังคับบัญชาปลายทางตั้ง “คณะทำการสอบสวน”

  13. กรรมการสอบสวนสอบพบเรื่องอื่น (ข้อ ๕๒) - สอบเรื่องที่พบนั้นไม่ได้ - ประธานฯ แจ้งผู้บริหารท้องถิ่น ตั้งเรื่องกล่าวหาเพิ่ม • การสอบสวนพบการพาดพิงผู้อื่น (ข้อ ๕๓) - สอบผู้ที่ถูกพาดพิงนั้นไม่ได้ - ประธานฯ แจ้งผู้บริหารท้องถิ่น ตั้งเรื่องกล่าวหาผู้นั้น • ตั้งกรรมการสอบสวนเรื่องอื่น นำสำนวนมาใช้กับวินัยร้ายแรง ได้ แต่ต้องสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยก่อน (ข้อ ๕๔)

  14. การโอน (ย้าย) ระหว่างการสอบสวน (ข้อ ๕๖) - ให้กรรมการสอบสวน สอบสวนจนเสร็จ แล้วให้ผู้บริหาร ท้องถิ่นคนเดิมตรวจความถูกต้อง (เท่านั้น) - ส่งให้ผู้บริหารท้องถิ่นคนใหม่พิจารณาลงโทษได้เลย - จะอ้างเป็นเหตุไม่ให้โอน (ย้าย) ไม่ได้ • เมื่อกรรมการสอบสวนเสนอสำนวนการสอบสวนมาแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาสำนวน (ข้อ ๕๙) - ตรวจสอบความถูกต้องของสำนวน - กำหนดประเด็นให้สอบสวนเพิ่ม (ถ้ามี) - ให้แก้ไขสำนวนที่ไม่สมบูรณ์ (ถ้าไม่สมบูรณ์) - กรณีไม่แจ้ง สว.๓ ให้สั่งกรรมการสอบสวนรีบแจ้ง

  15. คุณสมบัติของกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้อง เสียไปทั้งหมด (ข้อ ๖๑) • การสั่งลงโทษทางวินัย ๑. กรรมการเห็นไม่ร้ายแรง/ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นด้วย ให้ออกคำสั่งลงโทษได้เลย (ข้อ ๖๗) ๒. หากเห็นว่าเป็นวินัยร้ายแรงแม้เพียงฝ่ายเดียว ส่งให้ ก.จังหวัดพิจารณาก่อนออกคำสั่งลงโทษ (๖๘) แล้วให้ผู้บริหารท้องถิ่นออกคำสั่งตามมติ ก.จังหวัด

  16. ข้อควรสังเกต • มาตรฐานกลาง (ก.ถ.) กำหนดให้วินัยของพนักงานส่วน ท้องถิ่นต้องมีมาตรฐานเดียวกับ ก.พ. ใน ๒ เรื่อง คือ ๑. ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ (๑๘ ฐานความผิด) ๒. การลงโทษทางวินัย • ขั้นตอน/กระบวนการที่แตกต่างจากพลเรือนในปัจจุบัน ๑. ผู้ใช้อำนาจ ๒. ต้องสอบสวนก่อนลงโทษ ๓. อนุญาตให้ทนายความเข้าฟัง

  17. ๔. สถานะของกรรมการสอบสวน ๕. ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งเกี่ยวกับวินัยอย่างร้ายแรง กรณีศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด (ไม่ใช่รอ) ๖. ระดับตำแหน่งของประธานกรรมการสอบสวน ให้ดู จาก ซี ๗. ระยะเวลาการสอบสวน (๑๘๐ กับ ๒๗๐ วัน) ๘. ผู้บริหารท้องถิ่น ทำการสอบสวนทางวินัยได้ กรณี รวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่ (คณะทำการสอบฯ) ๙. ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นคู่กรณีหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ร่วมกัน แต่งตั้งกรรมการสอบสวนเองไม่ได้

  18. ๑๐. โทษลดขั้นเงินเดือน (ลดเงินเดือน) ๑๑. การแต่งตั้งอนุวินัยฯ ของ ก.จังหวัด (เพียงทำ ความเห็นเสนอ) ๑๒. ก.กลาง (๑) มีหน้าที่ศึกษาวิจัย ให้คำปรึกษา แนะนำ และ ชี้แจงให้ดำเนินการให้ถูกต้อง (สป.๑) (๒) มีอำนาจโดยมีมติให้ ก.จังหวัดแก้ไขมติหรือ หลักเกณฑ์ฯ ที่ขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไปของ ก.ลาง หากไม่แก้ไขภายในเวลาอันสมควร และจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง อาจมีมติ ให้ยกเลิกได้ (ม.๑๙ ว.๒)

  19. ส่วนมาตรฐานวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๙๐๐๐ ต่อ ๓๑๓๓ มือถือ ๐๘๑-๑๗๔๓๗๘๔ โทรสาร ๐-๒๒๔๑-๘๔๗๕

More Related