1 / 33

รายงานการศึกษากลุ่ม

รายงานการศึกษากลุ่ม. การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางและนโยบายด้านการเลี้ยงปลาใน กระชังใน ที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์. สำนักผู้เชี่ยวชาญ. รายนามคณะผู้วิจัย. 1. ดร . จุมพล สงวนสิน ผู้เชี่ยวชาญ ด้านจัดการประมง 2 . ดร . จิ ราพร เกสรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคสัตว์น้ำ

marah-casey
Download Presentation

รายงานการศึกษากลุ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการศึกษากลุ่ม การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางและนโยบายด้านการเลี้ยงปลาในกระชังในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ สำนักผู้เชี่ยวชาญ

  2. รายนามคณะผู้วิจัย 1. ดร. จุมพล สงวนสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านจัดการประมง 2. ดร. จิราพร เกสรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสัตว์น้ำ 3. ดร. นฤพล สุขุมาสวิน ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยา 4. ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 5. ดร.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำสวยงาม 6. นายยุงยุทธ ทักษิญ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์น้ำ 7. นายพงศ์พัฒน์ บุญชูวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง 8. นางนิรชา วงษ์จินดา ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ประมง 9. ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงต่างประเทศ 10. นายประดิษฐ์ ชนชื่นชอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 11. ดร. นวลมณี พงศ์ธนา ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ

  3. เค้าโครง • บทนำ • สภาพทั่วไปและเหตุผล • วัตถุประสงค์ของการศึกษา • วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ • ผลการวิเคราะห์ปัญหา • แนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหา • ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหา

  4. สภาพทั่วไปและเหตุผล • มีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังมากกว่า 17,000 ราย • การเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชังประมาณ 6,500 ราย • การเลี้ยงปลาน้ำกร่อยในกระชังประมาณ 10,800 ราย • มีจำนวนกระชังรวมทั้งสิ้นประมาณ 100,000 กระชัง • มีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกับกรมประมง จำนวน 9,213 ราย • การเลี้ยงปลาน้ำจืด จำนวน 3,544 ราย • การเลี้ยงปลาน้ำกร่อย จำนวน 5,669 ราย • มีผลผลิตปีละมากกว่า 50,000 ตัน

  5. สภาพทั่วไปและเหตุผล • ส่วนใหญ่มักจะดำเนินการอยู่ในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมประมง • ประสบปัญหาในการขอขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • และไม่สามารถขอรับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ GAP • ประสบปัญหาปลาตายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ทำการเพาะเลี้ยง • มีความกังวลว่าการเลี้ยงปลาในกระชังอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีจำนวนกระชังเลี้ยงปลาที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี

  6. สภาพทั่วไปและเหตุผล • กรมประมงจึงได้ออกระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • ประกาศกรมประมงเรื่องหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์

  7. ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • คณะกรรมการพิจารณาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์ระดับจังหวัด • กำหนดพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่จะให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ (Zoning) ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย • กำหนดหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณประโยชน์ซึ่งไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ของกรมประมง (ถ้าไม่กำหนดเพิ่มสามารถใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กรมประมงกำหนดได้) • พิจารณาการขออนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณประโยชน์แต่ละราย หรืออาจจะวางหลักเกณฑ์เบื้องต้นไว้ที่ให้เจ้าหน้าที่สามารถพิจารณาดำเนินการได้เลย

  8. ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ • ในเขตจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นคำขอ ณ อำเภอท้องที่ที่จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นคำขอ ณ ส่วนประมงกรุงเทพฯ กรมประมง • เอกสารและหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ • สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน • แผนที่สังเขปบริเวณที่จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • นิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล • กรณีที่ให้ผู้อื่นดำเนินการแทนต้องมีหนังสือมอบอำนาจ • กรณีขออนุญาตทดลองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ (เฉพาะหน่วยงานราชการ/เอกชนร่วมกับราชการ) ให้แนบโครงการทดลองด้วย

  9. ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • การดำเนินการของเจ้าหน้าที่อำเภอ • รับคำขอและตรวจสอบเอกสารหลักฐาน/โครงการ • ตรวจสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามหลักเกณฑ์ที่กรมประมง/คณะกรรมการกำหนด • เสนอนายอำเภอเพื่อให้ความเห็นชอบหรือสั่งการ • การดำเนินการของจังหวัด • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐาน • เสนอคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ • ส่งคำขอและเอกสารหลักฐานไปยังกรมประมง

  10. ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • การดำเนินการของกรมประมง • ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง • เสนออธิบดีกรมประมงหรือผู้ทำการแทนเป็นผู้อนุญาต • การอนุญาต • ออกหนังสืออนุญาตตามแบบท้ายระเบียบ • อนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน 3 ปี การทดลองทางวิชาการตามระยะเวลาของโครงการแต่ไม่เกินครั้งละ 5 ปี • ขอต่ออายุการอนุญาตได้ โดยยื่นคำขอก่อนหนังสืออนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน

  11. ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • หลักเกณฑ์การพิจารณา • เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม/มีสาธารณูประโภคที่จำเป็นแก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีแหล่งพันธุ์สัตว์น้ำ/ใกล้แหล่งอาหารสัตว์น้ำ • อยู่ห่างจากแหล่งสูบจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภค/บริโภค โรงงานอุตสาหกรรม/ชุมชน • คุณภาพน้ำดีและเพียงพอต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การไหลเวียนน้ำดี • ไม่กีดขวางหรือเป็นอันตรายต่อการสัญจรทางน้ำ • ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน • ไม่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ/การชลประทาน • อยู่ห่างจากที่รักษาพืชพันธุ์ • ไม่เป็นที่ที่เคยมีการเน่าเสียของน้ำ/เคยมีสารเคมีรั่วไหล • ไม่เป็นที่หวงห้าม เช่น เขตท่าเรือ เขตร่องน้ำ ประตูระบายน้ำ เป็นต้น • หลักเกณฑ์เฉพาะอื่นๆ ตามประกาศกรมประมง (28 กันยายน 2554) • หลักเกณฑ์อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการจังหวัดกำหนดเพิ่มเติม

  12. ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • เงื่อนไขที่ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติ • ต้องเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต • ต้องติดตั้งโคมไฟ/เครื่องหมายให้เห็นชัดเจนโดยรอบพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ห้ามปลูกสร้างร้าน/โรงเรือเป็นการถาวร • อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าไปตรวจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตต้องรื้อถอนกระชังหรืออุปกรณ์ที่เลี้ยงสัตว์น้ำออกให้หมด • ปฏิบัติตามเงื่อนไขท้ายหนังสืออนุญาต • ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง • ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่กรมประมงกำหนด • ปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเจ้าหน้าที่ • ขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามระเบียบกรมประมง

  13. หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • หลักเกณฑ์ทั่วไป • การเลือกสถานที่ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • เหมือนในระเบียบฯ แต่เพิ่ม “ในกรณีที่เป็นแม่น้ำหรือลำน้ำต้องมีความกว้างเพียงพอ และต้องมีพื้นที่สำหรับสัญจรทางน้ำได้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนของความกว้างของแม่น้ำหรือลำน้ำ หลังจากวางกระชังหรือคอกแล้ว • ควรจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่นเครื่องเพิ่มอากาศ • วัสดุที่ใช้ทำกระชังและอุปกรณ์ต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • ทุ่นต้องลอยพ้นน้ำ และสามารถพยุงกระชังไม่ให้จมน้ำตลอดเวลา

  14. หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืด • ในแหล่งน้ำเปิดหรือน้ำไหล ไม่เกิน ร้อยละ 2 ของพื้นที่แหล่งน้ำ • ในแหล่งน้ำปิดหรือน้ำนิ่ง ไม่เกิน ร้อยละ 0.25 ของพื้นที่แหล่งน้ำ • ความยาวของกระชังแต่ละแถวไม่เกิน 60 เมตร ช่องต่อแถวไม่น้ยกว่า 3 เมตร ซ้อนกันได้ไม่เกิน 2 แถว • ในแม่น้ำหรือลำน้ำ ไม่วางห่างจากฝั่งเกิน 1 ใน 3 ของลำน้ำ • การปักเสายึดกระชังต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เมตร ห้ามผูกกระชังกับขอบฝั่ง • พื้นกระชังต้องห่างจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร ตลอดการเลี้ยง

  15. หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลหรือชายฝั่ง • ความยาวของกระชังแต่ละแถวไม่เกิน 60 เมตร ช่องต่อแถวไม่น้อยกว่า 5 เมตร ซ้อนกันได้ไม่เกิน 2 แถว • พื้นกระชังต้องห่างจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร ตลอดการเลี้ยง

  16. หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • ข้อพึงปฏิบัติของผู้เพาะเลี้ยง • ปฏิบัติตามคู่มือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง • ไม่สร้างที่พักอาศัยเป็นการถาวร • ระมัดระวังการใช้ยา สารเคมี หรือสิ่งอื่นใดในการป้องกันโรค และควรปรึกษากรมประมง • ให้อาหารสัตว์น้ำในปริมาณที่เหมาะสม • ใช้อัตราปล่อยที่เหมาะสม ตามคู่มือและคำแนะนำของกรมประมง • มีการกำจัดสิงปฏิกูลและซากสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม • ห้ามเลี้ยงสัตว์ต่างถิ่นที่มีการควบคุม หรือพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีการทดลองทางวิชาการ • ทำความสะอาดกระชังอย่างสม่ำเสมอ และตากกระชังไม่น้อยกว่า 30 วัน • รักษาความสะอาดในบริเวณที่เพาะเลี้ยง และเมื่อเลิกเลี้ยงให้รือถอนให้เรียบร้อย • ต้องติดตั้งโคมไฟหรือสัญญาลักษณ์ • รายงานสถิติให้กรมประมง • ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  17. วัตถุประสงค์ของการศึกษา • เพื่อประเมินสถานภาพการเลี้ยงปลาในประชังในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำเปิดและแหล่งน้ำปิด • เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะทางวิชาการที่เหมาะสมในการบริหารจัดการการเลี้ยงปลาในกระชังในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ของกรมประมง

  18. วิธีการศึกษาและวิเคราะห์วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ • เลือกพื้นที่การศึกษาการเลี้ยงปลานิลในจังหวัดขอนแก่น และการเลี้ยงปลากะพงขาวในจังหวัดสงขลา • สำรวจ ประเมิน และวิเคราะห์สถานภาพการเลี้ยงปลาในกระชังในพื้นที่ที่คัดเลือก ภายใต้กรอบต่างๆ ดังนี้ • ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์พ.ศ. 2554 • ระเบียบกรมเจ้าท่าตามกฎกระทรวงฉบับที่63 และ 64(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช 2456 • หลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์

  19. วิธีการศึกษาและวิเคราะห์วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ • มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี • ผลกระทบของการเลี้ยงปลาในกระชังต่อสิ่งแวดล้อม • จัดทำข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการบริหารจัดการการเลี้ยงปลาในกระชังในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • ดำเนินการศึกษาในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2555

  20. ผลการวิเคราะห์ปัญหา ด้านกฎหมาย และระเบียบ • ไม่มีการอนุญาตให้เลี้ยงปลาในกระชังตามระเบียบฯ พ.ศ. 2554 เนื่องจากขาดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนใน • ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอและการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • ประกาศกรมประมงเรื่องหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • ระเบียบกรมเจ้าท่าตามกฎกระทรวงฉบับที่63 และ 64(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพุทธศักราช 2456

  21. ผลการวิเคราะห์ปัญหา ด้านโรคพยาธิ์ • ฟาร์มเลี้ยงปลาส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ ซึ่งส่งผลให้การบริหารจัดการฟาร์มไม่เป็นไปตามลักษณะของการเลี้ยงปลาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ และก่อให้เกิดปัญหาปลาตายเป็นจำนวนมาก

  22. ผลการวิเคราะห์ปัญหา ด้านการตลาด • ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาในกระชังส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี ทำให้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้เฉพาะภายในประเทศ ทำให้ราคาจำหน่ายผลผลิตตกต่ำในช่วงที่มีผลผลิตในตลาดมาก และก่อให้เกิดปัญหาด้านการตลาดปลานิล

  23. ผลการวิเคราะห์ปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม • การเลี้ยงปลาในกระชัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงปลานิลในแม่น้ำเริ่มส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ และอาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะในอนาคต

  24. แนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหาแนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหา ด้านกฎหมาย และระเบียบ • ควรจัดทำคู่มือการปฏิบัติตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์และประกาศกรมประมงเรื่องหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ และแจกจ่ายให้เจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้อง • ควรจัดการฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบฯ ต่างๆ และแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการขออนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • ควรเร่งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อพิจารณาและกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมดูแลหรือส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง รวมทั้งพิจารณาในเรื่องของอัตราค่าตอบแทนรายปีด้วย

  25. แนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหาแนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม • ควรติดตามสำรวจและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังหรือในคอก โดยร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของกรมประมงกับเกษตรกร • ควรศึกษาวิจัยเพื่อประเมินศักยภาพที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณประโยชน์ของแหล่งน้ำต่างๆ ไว้เป็นข้อมูลรองรับการพิจารณาอนุญาตให้มีการเพาะเลี้ยง • ควรศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาสูตรอาหารสัตว์น้ำที่ดี สัตว์น้ำสามารถย่อยนำไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบต่อแหล่งน้ำ • ควรบริหารจัดการจำนวน และพื้นที่ของการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในที่สาธารณประโยชน์ให้เหมาะสมกับแหล่งน้ำ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  26. แนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหาแนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหา ด้านโรคพยาธิ์ • ควรสนับสนุนให้มีการสำรวจและแก้ไขปัญหาปลาตายอย่างเป็นระบบ • สร้างระบบติดตามข้อมูลสำหรับการเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์น้ำ (พัฒนาตัวชี้วัดถ้าจำเป็น) ระบบเตือนภัย รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรค • ควรให้ความรู้เรื่องโรคแก่เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุโน้มนำและเชื้อก่อโรค โดยจัดการอบรม จัดทำแผ่นพับ หรือคู่มือต่างๆ ควรเป็นความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นปัจจุบัน หรือโรคเฉพาะถิ่น การป้องกันและรักษาโรค รวมทั้งการใช้ยาและสารเคมี

  27. แนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหาแนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหา ด้านโรคพยาธิ์ • ควรส่งเสริมให้มีการวิจัยและต่อยอดงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโรคระบาดในปลาโดยจัดให้เป็นปัญหาเร่งด่วน ไม่ต้องของบประมาณประจำปีและควรเป็นงบประมาณที่ต่อเนื่องสำหรับการแก้ไขปัญหาโรคนั้นๆ • ควรพัฒนาคู่มือปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure; SOP) สำหรับควบคุม ป้องกันและการจัดการโรคระบาดสัตว์น้ำ

  28. แนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหาแนวทางและข้อเสนอในการแก้ปัญหา ด้านการตลาด • ควรผลักดันให้ยุทธ์ศาตร์การพัฒนาปลานิล (2553-2557) ของกรมประมงให้ดำเนินการไปตามแผน

  29. ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหาข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหา • แต่งตั้งคณะกรรมการคณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ดังนี้ • กำหนดวิธีปฏิบัติตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขออนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • กำหนดวิธีปฏิบัติตามตามประกาศกรมประมงเรื่องหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • เพื่อพิจารณาและกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมดูแลหรือส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง รวมทั้งพิจารณาในเรื่องของอัตราค่าตอบแทนรายปีด้วย (คณะกรรมการร่วมกรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น)

  30. ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหาข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหา • จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ต่างๆ ดังนี้ • คู่มือการปฏิบัติงานตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขออนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • คู่มือการปฏิบัติงานตามประกาศกรมประมงเรื่องหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับควบคุมโรคระบาด การป้องกันและการจัดการโรคระบาดสัตว์น้ำ • คู่มือการตรวจสอบและติดตามคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม

  31. ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหาข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหา • ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กรมประมงที่เกี่ยวข้อง ตามหลักสูตรดังต่อไปนี้ • หลักสูตรการปฏิบัติงานตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขออนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ พ.ศ. 2554 • หลักสูตรการปฏิบัติงานตามประกาศกรมประมงเรื่องหลักเกณฑ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • หลักสูตรการปฏิบัติงานสำหรับควบคุมโรคระบาด การป้องกันและการจัดการโรคระบาดสัตว์น้ำ • หลักสูตรการตรวจสอบและติดตามคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม

  32. ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหาข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหา • สำรวจการเลี้ยงปลาในกระชังในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งน้ำทั่วประเทศและจัดทำเขตพื้นที่อนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • เร่งรัดการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณะประโยชน์ • เร่งรัดการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • เร่งรัดการรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี • ศึกษา วิจัย ค้นคว้าเพื่อพัฒนาอาหารสัตว์น้ำที่ดี สำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง

  33. กิติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ • ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่นและเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ทุกท่าน • ประมงจังหวัดขอนแก่น สงขลา ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดทุกท่าน • องค์การบริหารส่วนตำบลศิลา และเกษตรกรบ้านดงพอง หมู่ที่ 10 ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเซิง และเกษตรกรบ้านหนองกุงเซิง ตำบลหนองกุงเซิง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น • เกษตรกรบ้านพระพุทธ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา • เกษตรกรบ้านอ่าวทราย ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา • ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักฯ ทุกท่าน • เจ้าหน้าที่สำนักผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน

More Related