1 / 8

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง ในการจัดเตรียมเอกสารก่อน และหลังการส่งออก

N. S. P. มาตรฐาน BRC ระบบคุณภาพสำหรับธุรกิจค้าปลีกอาหาร. การยกเว้นไม่ต้องรับใบอนุญาตนำเข้าโทรศัพท์มือถือ. ข้อแนะนำและข้อควรระวัง ในการจัดเตรียมเอกสารก่อน และหลังการส่งออก. MD Says.

mandell
Download Presentation

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง ในการจัดเตรียมเอกสารก่อน และหลังการส่งออก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S P มาตรฐาน BRC ระบบคุณภาพสำหรับธุรกิจค้าปลีกอาหาร การยกเว้นไม่ต้องรับใบอนุญาตนำเข้าโทรศัพท์มือถือ ข้อแนะนำและข้อควรระวัง ในการจัดเตรียมเอกสารก่อน และหลังการส่งออก MD Says

  2. ปัจจุบันการค้าอาหารระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น ความปลอดภัยด้านอาหาร และการคุ้มครองสุขอนามัยของผู้บริโภคจึงเริ่มมีความสำคัญและเข้ามามีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีภาระต้องดูแลการผลิตของตนเองอยู่ตลอดเวลา ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีข้อกำหนดทางการตลาด และมาตรฐานใหม่ๆจำนวนมากถูกเผยแพร่และนำมาใช้สู่ภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยผลักดันให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง        เมื่อปลายเดือนที่แล้ว กรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยว่าปัจจุบันภาคเอกชนในต่างประเทศได้กำหนดมาตรฐานใหม่ๆ ซึ่งเริ่มมีความสำคัญและเข้ามามีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรฐาน BRC (British Retail Consortium) ซึ่งกำหนดขึ้นโดยกลุ่มผู้ค้าปลีกในอังกฤษ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้รวมกลุ่มกันพัฒนามาตรฐาน BRC สำหรับผู้ค้าปลีกเพื่อใช้บริหารจัดการห่วงโซ่การส่งมอบอาหาร (Food Supply Chain) มาตรฐาน BRC เป็นมาตรฐานที่เข้ากันได้ดีกับระบบมาตรฐานสากลอื่นๆ ที่นำมาใช้อยู่แล้วในภาคอุตสาหกรรม เช่น หลักวิธีปฏิบัติที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point: HACCP) มาตรฐานระบบ SQF 2000 (Safe Quality Food) และ ISO 9000 เป็นต้น S N P ต่อหน้า 2

  3. หน้า 2 โดยประเด็นหลักตามข้อกำหนดของมาตรฐาน BRC ประกอบด้วย 6 เรื่องหลักคือ 1. ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP 2. ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) 3. มาตรฐานสภาพแวดล้อมโรงงาน (Factory Environment Standards) 4. การควบคุมผลิตภัณฑ์ (Product Control) 5. การควบคุมกระบวนการผลิต (Process Control) 6. บุคคลากร (Personal) ปัจจุบันผู้นำเข้าที่อังกฤษได้แจ้งให้ผู้ผลิตของไทยรับทราบข้อมูล BRC เพื่อปรับตัวและเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการตามข้อกำหนด BRC แล้ว ดังนั้นหากผู้ประกอบการท่านใดสนใจที่จะส่งออกโดยดำเนินการตามหลักมาตรฐานของ BRC เพื่อเป็นผลประโยชน์สูงสุดแก่ทุกท่าน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มบริษัท เอส. เอ็น. พี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2333-1199 ต่อ 111 หรือผ่านทาง logistics@snp.co.thได้ตลอดเวลาทำการ และสามารถตรวจสอบข้อมูลโดยตรงได้ที่ www.dft.go.th S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีผู้ประกอบการรายหนึ่งได้เข้ามาปรึกษากับทางบริษัทฯ เราเกี่ยวกับการนำเข้าโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการสงสัยว่า การนำเข้าโทรศัพท์มือถือต้องขออนุญาตหรือไม่ก่อนการนำเข้า  ทางบริษัทฯจึงอ้างอึงถึงพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2535 ข้อ 4 และ ข้อ 5 ซึ่งสรุปใจความได้ว่า เครื่องวิทยุคมนาคมที่เป็นเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบรังผึ้ง (Cellular) เครื่องวิทยุติดตามตัว (Radio Paging) หรือเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบสื่อสารเคลื่อนที่ส่วนบุคคลรอบโลกผ่านดาวเทียม (Global Mobile Personal Communications by Satellite) ที่มีตราอักษร แบบ หรือรุ่นที่ได้ผ่านการทดสอบรับรองตัวอย่างเครื่องวิทยุคมนาคมจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และที่เป็นเครื่องลูกข่ายของผู้ให้บริการในประเทศหรือผู้ให้บริการในต่างประเทศ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตมี ใช้ นำเข้าหรือส่งออก  แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ประกอบการจะต้องทำการยื่นขอเลขผู้ประกอบการและเครื่องหมายการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องโทรศัพท์ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสียก่อนด้วย จากข้อมูลเพียงเล็กน้อยข้างต้นที่ทางบริษัทฯ ได้นำเสนอแก่ผู้ประกอบการรายนั้นไป ได้เป็นที่ประทับใจแก่เขามาก หากมีผู้ประกอบการท่านใดสนใจที่จะนำเข้าโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องมือสารโทรคมนาคมประเภทอื่นและต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรติดต่อสอบถามเข้ามากับทางเราได้ที่กลุ่มบริษัทเอส.เอ็น.พี. หมายเลขโทรศัพท์ 02-333-1199 ต่อ 207 คุณประภาส  ศรีปทุมภรณ์ ได้ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  5.   การส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศนับเป็นกิจกรรมที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งของเศรษฐกิจของประเทศ  ในการส่งออกแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้เอกสารหลายอย่าง รวมถึงขั้นตอนที่บางครั้งค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นการส่งออกแต่ละครั้งจึงต้องคำนึงถึงความละเอียดรอบคอบในการจัดเตรียมเอกสารเป็นสำคัญ ซึ่งเอกสารดังกล่าวนั้น มีสองส่วนคือ ในส่วนของเอกสารก่อนการส่งออก เช่น การขอบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า การขอใบอนุญาตก่อนทำการส่งออก การขอแบบตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้า การลงทะเบียน Paperless และ ส่วนของเอกสารที่จะต้องจัดเตรียมหลังการส่งออก เช่น การขอรับ Bill of Lading การขอรับใบ Airway Bill การยื่นขอฟอร์ม Certificate of Origins การยื่นขอใบชดเชย เป็นต้น ซึ่งเอกสารหลังการส่งออกจะเป็นในเรื่องของการนำเข้าสินค้า และ การขอลดหย่อนภาษีของประเทศปลายทาง ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกรณีศึกษาเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการท่านหนึ่งที่ต้องการส่งออกสินค้าแปรงสีฟัน พลาสติก ไปยังกลุ่มประเทศ Europe โดยได้ดำเนินการขั้นตอนเอกสารการส่งออกเรียบร้อยแล้ว แต่หลังจากที่ส่งออกไปถึงประเทศปลายทางแล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถดำเนินพิธีการนำเข้าที่ประเทศปลายทางได้ เพราะว่าเอกสารไม่ครบ เนื่องจากประเทศปลายทางประเทศนี้ต้องการใช้ Certificate of Origins form A เพื่อนำเข้าสินค้าด้วย ทำให้ต้องเสียเวลาในการยื่นขอฟอร์ม ทั้งที่ควรจะทำตั้งแต่เรือออกจากประเทศต้นทางไปแล้ว S N P ต่อหน้า 2

  6. หน้า 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เสียทั้งเวลา และต้นทุน ดังนั้น การทำเอกสารในการส่งออก ไม่ว่าทั้งก่อนส่งออก และหลังการส่งออกไปแล้ว จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะว่าแม้แต่ความผิดพลาดเพียงตัวอักษรเดียวก็ทำให้เกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ พิธีการนำเข้าของแต่ละประเทศต้นทางก็มีข้อตกลงที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วน ก่อนการส่งออก หากท่านผู้ประกอบการท่านใดที่ยังไม่เคยส่งออก หรือ เคยส่งออกแล้ว แต่ยังพบว่ายังมีปัญหาในเรื่องของเอกสารขาดตก บกพร่อง หรือ ไม่ครบ สามารถขอรับคำแนะนำได้ที่ www.customs.go.thหรือ www.dft.moc.go.thหรือติดต่อคุณ จักรี หวังเกษม โทรศัพท์ 02-333-1199-505 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  7. S การประกันภัยสินค้า ปัจจุบันนี้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการมักจะซื้อกรมธรรณ์ประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายให้แก่สินค้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่ง ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานรับผิดชอบอยู่แล้วในแต่ละขั้นตอนก็ตาม แต่ผู้รับผิดชอบแต่ละขั้นตอนนั้นก็สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ง่ายๆ หากเมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้นำเข้ารายหนึ่งได้นำเข้าสินค้าเป็นจอมอนิเตอร์ใช้กับคอมพิวเตอร์เข้ามาจำหน่ายเพียง 20 ชิ้น โดยราคาที่สั่งซื้อเป็นราคาค่าสินค้ารวมกับค่าขนส่งทางเรือที่ส่งถึงท่าเรือกรุงเทพฯ  ซึ่งผู้นำเข้าได้ให้พนักงานของผมช่วยจัดซื้อกรมธรรณ์ประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายให้แก่สินค้าที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง เมื่อสินค้าได้ผ่านพิธีการศุลกากรและดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จทุกอย่างแล้ว   พอ 2 วันถัดมา ผู้นำเข้าก็ได้ทำการเปิดหีบห่อเพื่อตรวจสอบสินค้าก็พบว่าที่หน้าจอมอนิเตอร์ 1 ชิ้นมีรอยแตกร้าว  เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ผู้นำเข้าจึงได้ปรึกษากับพนักงานของผมเพื่อหาแนวทางการเรียกร้องค่าเสียหาย และมีหนังสือแจ้งถึงผู้ขายที่อยู่ต่างประเทศให้ตรวจสอบสภาพสินค้าก่อนการบรรจุเข้าหีบห่อ แต่ด้านผู้ขายต่างประเทศกลับมีการยืนยันกลับมาว่า สินค้าของเขาได้ถูกทำการบรรจุเข้าหีบห่อในสภาพที่เรียบร้อยและตัวหีบห่อก็มีความแข็งแรงถูกต้องตามมาตรฐาน N P ต่อหน้า 2

  8. หน้า 2 ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่าความเสียหายอาจจะเกิดจากการกระแทกระหว่างทำการขนส่งและขนย้ายสินค้าก็ได้ โดยที่ตัวแทนสายเรือหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำการขนส่งปฏิเสธความรับผิดชอบต่อค่าเสียหายทั้งหมด ส่วนด้านพนักงานของผมก็ได้พยายามติดต่อกับตัวแทนเรือและคลังสินค้าให้ทำการออกใบรายงานการสำรวจสินค้าเสียหาย (Survey Report)ให้  แต่เนื่องจากว่าตัวแทนเรือและคลังสินค้าได้มีหลักฐานการส่งมอบสินค้าในสภาพเรียบร้อยไปแล้ว จึงทำให้การขอ Survey Report เป็นการทำย้อนหลังไป ทำให้ไม่สามารถขอรับใบรายงานสำรวจสินค้าเสียหายได้ ซึ่งนั้นก็หมายถึงการขาดหลักฐานเพื่อนำไปเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทประกันภัย  แต่พนักงานของผมกลับขอร้องให้บริษัทประกันภัยช่วยแม้ว่าจะขาดหลักฐานใบรายงานการสำรวจความเสียหาย (Survey Report) ก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ว่า พนักงานของผมเป็นผู้ซื้อกรมธรรณ์ประกันภัยจากบริษัทประกันภัยดังกล่าวให้แก่ผู้นำเข้าจำนวนมากในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาและความเสียหายครั้งนี้ก็เป็นมูลค่าไม่มากเพียงแต่ว่าขาด Survey Report ไปเท่านั้น ท้ายที่สุดพนักงานของผมก็ได้รับแจ้งจากบริษัทประกันภัยมาว่า ผู้บริหารของบริษัทประกันภัยยินดีที่จะช่วยเหลือเคลมค่าเสียหายทั้งหมดให้  ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น จะไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ที่จะมากำหนดว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายต้องซื้อกรมธรรณ์ประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายให้แก่สินค้าที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากสินค้าบางประเภทมีโอกาสเสียหายน้อย หรืออาจไม่มีความเสียหายเลย ดังนั้นหากผู้นำเข้ามีบริษัทประกันภัยที่ให้ความช่วยเหลือที่ดี การเลือกมาซื้อประกันภัยในประเทศไทยจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าให้ผู้ขายจัดซื้อให้และนำค่าเบี้ยประกันภัยมารวมในค่าสินค้า  แต่หากผู้นำเข้าไม่มีบริษัทประกันที่ดีพอ การรวมกลุ่มกันเพื่ออำนาจการต่อรองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related