1 / 46

ระบบการหายใจ

Respiration system. ระบบการหายใจ.

maleah
Download Presentation

ระบบการหายใจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Respiration system ระบบการหายใจ

  2. ระบบการหายใจ คือ ระบบที่ประกอบด้วยอวัยวะเกี่ยวข้องกับการหายใจ เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกายส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัย โครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง

  3. ทางเดินอากาศของคนประกอบด้วยทางเดินอากาศของคนประกอบด้วย 1. รูจมูก (Nostril) 2. ช่องจมูกหรือโพรงจมูก (nasal cavity) 3. คอหอย (pharynx) 4.กล่องเสียง (larynx) 5. หลอดลม (trachea) 6. ปอด(Lung) 7. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)

  4. 1. รูจมูก (Nostril) รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย

  5. 2. ช่องจมูกหรือโพรงจมูก (nasal cavity) เป็นโพรงที่ถัดจากรูจมูกเข้าไปซึ่งติดต่อกับคอหอย ที่โพรงจมูกจะมีขนเส้นเล็ก ๆ และต่อมน้ำมันช่วยกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด นอกจากนี้ที่โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนาช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้น

  6. 3. หลอดคอ (pharynx) เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณ 5 นิ้ว มีลักษณะคล้ายกรวยหลอด

  7. 4.กล่องเสียง(larynx) เป็นหลอดยาวประมาณ4.5 cmในผู้ชายและ3.5 cmในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุทำหน้าที่เป็นทางเดินอากาศ ตั้งอยู่ส่วนบนด้านหน้าคือบริเวณลูกกระเดือก

  8. 5. หลอดลม (trachea) ต่อจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะเป็นหลอดกลม ๆหลอดลมยาวประมาณ 4.5 นิ้วส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงเป็นหลอดลมข้างซ้ายและข้างขวาเป็นหลอดลมเล็กในปอด

  9. 6. ปอด (Lung) ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลังฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม   หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ

  10. 7. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)  เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด

  11. กระบวนการหายใจ + + + พลังงาน เอนไซม์ น้ำตาล ออกซิเจน น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์

  12. การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงลมการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงลม อากาศเมื่อเข้าสู่ปอดจะไปอยู่ในถุงลม ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายลูกองุ่น ซึ่งปอดแต่ละข้างจะมีถุงลมข้างละ 150 ล้านถุง แต่ละถุงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 0.1 มิลลิเมตร ถุงลมทุกอันจะมีหลอดเลือดฝอยมาห่อหุ้มไว้ การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน และไอน้ำ ผ่านเข้าออกถุงลมโดยผ่านเยื่อบางๆของถุงลม

  13. เลือดจากหัวใจมาสู่ปอด เป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง เมื่อมาสู่ถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยออกซิเจนในถุงลมจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ถุงลม แล้วขับออกทางลมหายใจออก

  14. กลไกการทำงานของระบบหายใจกลไกการทำงานของระบบหายใจ 1. การหายใจเข้า(Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด

  15. 2. การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก

  16. สิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าและออก คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด -ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำจะทำให้การหายใจช้าลง เช่น การนอนหลับ - ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงจะทำให้การหายใจเร็วขึ้น เช่น การออกกำลังกาย

  17. การดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจการดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ 1.  รักษาสุขภาพให้ดี  โดยการ รับประทานอาหาร  พักผ่อน  และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2.  แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ  เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อป้องกันการเป็นหวัด 3.  หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ

  18. 4.  ปิดปากและจมูกเวลาไอ  หรือจาม 5.  ไม่ใช้สิ่งของปนกับผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ 6.  อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์  ไม่อับชื้นแออัด โดยเฉพาะสถานที่ที่มีควันบุหรี่  เพราะควันบุหรี่มีก๊าซพิษ คือไนโตรเจนไดออกไซด์  ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง 7.  ระวังการกระแทกอย่างแรงกับอวัยวะการหายใจ ได้แก่หน้าอก และปอด 8.  ไม่เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ไว้ในบ้าน เพราะขนสัตว์ก่อให้เกิดโรค

  19. โรคของระบบการหายใจ และองค์ประกอบอื่น ๆที่มีผลต่อการหายใจ 1. โรคถุงลมโป่งพอง (ephysema)    โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ หอบเหนื่อย หายใจลำบากสาเหตุของโรค สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจาก การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ

  20. 2.โรคปอดจากการทำงาน โรคปอดดำ (Anthracosis)เกิดจากการสะสมผงถ่านคาร์บอนในปอดปริมาณมาก 

  21. ซิลิโคซีส (Silicosisi)เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นของซิลิคอนไดออกไซด์(Sillicon dioxide) เข้าไป

  22. แอสเบสโตซีส (Asbestosis)ซึ่งเกิดขึ้นจากการหายใจเอาฝุ่นในโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีกลิ่นและฝุ่นของสีน้ำยาเคลือบเงา 

  23. 3. โรคหอบหืด  คือ โรคของหลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันอันเนื่องมาจากมีการอักเสบของหลอดลม มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก

  24. อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ  มีดังนี้ 1. การจาม เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาดเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกาย โดยการหายใจเข้าลึกแล้วหายใจออกทันที 2. การหาว เกิดจากการที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป จึงต้องขับออกจากร่างกาย โดย การหายใจเข้ายาวและลึก เพื่อรับแก๊สออกซิเจนเข้าปอดและแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด 3. การสะอึก เกิดจากกะบังลมหดตัวเป็นจังหวะๆ ขณะหดตัวอากาศจะถูกดันผ่านลงสู่ปอดทันที ทำให้สายเสียงสั่น เกิดเสียงขึ้น 4. การไอ เป็นการหายใจอย่างรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในกล่องเสียงและหลอดลม ร่างกายจะมี การหายใจเข้ายาวและหายใจออกอย่างแรง 

  25. การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์

  26. การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์มี  2  แบบคือ - การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์น้ำ  - การแลกเปลี่ยนแก๊สใน สัตว์บก

  27. การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์น้ำการแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์น้ำ แก๊สออกซิเจนในน้ำมีปริมาณ 0.446% (ในอากาศมี 21%)  และแก๊สออกซิเจนแพร่ในน้ำแพร่ช้ากว่าในอากาศประมาณ 1000 เท่า ยิ่งอุณหภูมิสูงแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำก็ยิ่งน้อยลง ดังนั้นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจึงต้องทำให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้แก่มากและเพียงพอแก่การดำรงชีวิต

  28. 1.1  โพรโทซัว (Protozoa)ใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส  โดยการแพร่ (diffusion) ของแก๊สโดยตรง (ใช้หลักความเข้มข้นที่แตกต่างกันของแก๊สภายนอกและภายในเซลล์)

  29. 1.2  สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง  (Invertebrate) - ฟองน้ำ --> น้ำจะไหลผ่านเข้าทาง Ostia และไหลออกทาง Osculumขณะที่เกิดการไหลเวียนของน้ำผ่านเซลล์จะเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สได้ทันที 

  30. ไฮดรา --> น้ำไหลเข้าออกทางช่องปากผ่าน Gastrovascular cavity ทำให้เกิดการไหลเวียนและเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊ส   

  31. พลานาเรีย--> ใช้วิธีการแพร่ของแก๊สเข้าและออกทางผิวลำตัวเช่นเดียวกับไฮดรา พลานาเรียมีผิวลำตัวแบนทำให้มีพื้นที่ผิวที่สัมผัสกับน้ำมาก ยิ่งขึ้น

  32. การแลกเปลี่ยนแก๊สของปลาการแลกเปลี่ยนแก๊สของปลา ปลามีเหงือกที่มีลักษณะเป็นแผงเรียกแต่ละแผงว่า Gill arch  แต่ละ Gill arch มีแขนงแยกออกมาเป็นซี่เรียกว่า Gill filament แต่ละ Gill filament มีส่วนที่นูนขึ้นมาเรียกว่า Gill lamella ภายใน Gill lamella จะมีร่างแหของเส้นเลือดฝอยอยู่และเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ส ปลาจะว่ายน้ำอยู่เสมอ  ทำให้น้ำที่มีออกซิเจนผ่านเข้าทางปากและผ่านออกทางเหงือกตลอดเวลาช่วยให้แลกเปลี่ยนแก๊สได้ดีขึ้นโดยกระดูกปิดเหงือก (Operculum) ของปลาจะขยับอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำที่เหงือกและเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สได้ดียิ่งขึ้น

  33. การแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์บกการแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์บก

  34. การแลกเปลี่ยนแก๊สของไส้เดือนการแลกเปลี่ยนแก๊สของไส้เดือน • ไส้เดือนดิน (Earth worm) ใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส  โดยผิวลำตัวของไส้เดือนดินจะเปียกชื้นอยู่เสมอ  ออกซิเจนในอากาศจะละลายน้ำที่เคลือบอยู่ที่ผิวลำตัวของไส้เดือนแล้วจึงแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ใต้ผิวหนังของไส้เดือน

  35. การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลงการแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง แมลง การแลกเปลี่ยนก๊าซของแมลงจะใช้ท่อลม (trachea) เป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซที่มีลักษณะเป็นท่อมีรูเปิดออกสู่ภายนอกเรียกว่า สไปเรเคิล (spiracle) ท่อเทรเคียจะมีการแตกแขนงเป็นท่อเล็ก ๆ แทรกไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกายจึงเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างเซลล์และท่อลมโดยตรง

  36. การแลกเปลี่ยนแก๊สของนกการแลกเปลี่ยนแก๊สของนก ปอดของนกมีขนาดเล็ก แต่นกมีถุงลมซึ่งเจริญดีมากโดยแยกออกจากปอดเป็นคู่ๆ หลายคู่ทั้งถุงลมด้านหน้า ถุงลมในช่องอก ถุงลมในช่องท้องและในกระดูก ในขณะหายใจเข้าอากาศจะผ่านเข้าสู่หลอดลมผ่านปอดแล้วเข้าสู่ถุงลมที่อยู่ตอนท้าย ส่วนอากาศที่ใช้แล้วจะออกจากปอดเข้าสู่ถุงลมตอนหน้าอากาศจากปอดและอากาศจากถุงลมตอนหน้าถูกขับออกจากตัวนกทางลมหายใจออก

  37. การแลกเปลี่ยนแก๊สของกบการแลกเปลี่ยนแก๊สของกบ กบ (Frog)ลูกอ๊อดหายใจด้วยเหงือก เรียกว่า external gill เมื่อโตเต็มวัยกบจะหายใจด้วยปอด (Lung) และผิวหนัง กบมีปอด 1 คู่ ไม่มีกะบังลม ไม่มีซี่โครงและกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครง

  38. การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammal)มีระบบหายใจดีมาก หายใจโดยใช้ปอด ภายในประกอบด้วยถุงลมเล็กๆ ที่เรียกว่า แอลวีโอลัส (Alveolus) มีกล้ามเนื้อกะบังลม (Diaphragm) และกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงช่วยในการหายใจ ทำให้อากาศเข้าและออกจากปอดได้เป็นอย่างดี

  39. ขอให้โชคดี

More Related