581 likes | 1.09k Views
โครงการตามแนวทาง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. โดย พรพิมล วร ดิลก. พระปฐมบรมราชโองการเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์. “...เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม...”. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวคิด หลักการและทฤษฎีการพัฒนาในการดำเนินงานโครงการพัฒนาต่างๆ.
E N D
โครงการตามแนวทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการตามแนวทางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดย พรพิมล วรดิลก
พระปฐมบรมราชโองการเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์พระปฐมบรมราชโองการเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ “...เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวคิด หลักการและทฤษฎีการพัฒนาในการดำเนินงานโครงการพัฒนาต่างๆ
การพัฒนาตามแนวพระราชดำริการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ • เป็นการพัฒนาที่มีลักษณะพึ่งตนเอง โดยพึ่งความแข็งแกร่งและทรัพยากรของตนเอง • เป็นการพัฒนาที่เกิดจากเนื้อในของสังคม โดยก่อตัวจากระบบคุณค่าดั้งเดิม ที่อยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น • การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากร ธรรมชาติยังคงอยู่อย่างยั่งยืน
พระราชปรัชญาดังกล่าวนี้ เป็นวิธีการที่นำไปสู่ การพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนจาก “พออยู่พอกิน” ไปสู่ความสำเร็จในขั้นสุดท้าย คือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”
หลักการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลักการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว • พัฒนาโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานเดิมของสังคม • พัฒนาตามลำดับขั้น • พัฒนาเพื่อรักษาสิ่งที่ดีให้คงอยู่ • พัฒนาบนหลักของภูมิสังคม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขปัญหาประเทศอย่างเป็นขั้นตอน
พัฒนาตามลำดับขั้น “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชน ส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติ ได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” พระราชดำรัส 18 กรกฎาคม 2517
ทรงแก้ไขปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิตทรงแก้ไขปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต เพื่อให้ประชาชนพึ่งตนเองได้
พัฒนาเพื่อพึ่งตนเอง • ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้ประชาชน สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นหลัก • ทรงเน้นการสร้างความแข็งแรงให้ชุมชน เพื่อให้มีความพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆ จากภายนอก ทรงเรียกว่า“ระเบิดจากข้างใน”
พัฒนาโดยยึดหลักภูมิสังคมพัฒนาโดยยึดหลักภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ : ธรรมชาติ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ สังคมวิทยา : คน อุปนิสัย ภูมิปัญญา ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณี
พระราชดำรัสพระราชทานแก่ทหารพระราชดำรัสพระราชทานแก่ทหาร “...การป้องกันบ้านเมืองที่ดีที่สุดก็คือ การเข้าใจถึงภูมิประเทศ ความเข้าใจถึงประชากร และความเข้าใจที่สำคัญที่สุด คือ ความสามัคคีคนในประเทศ ถ้าเข้าใจข้อนี้แล้ว ก็จะสามารถที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันบ้านเมืองไม่ให้ล่มจมได้...”
พระราชดำรัสพระราชทานแก่ทหารพระราชดำรัสพระราชทานแก่ทหาร “...ยังมีหน้าที่ด้านอื่นอีก ซึ่งมีความสำคัญเท่าเทียมกัน คือ การบำบัดบรรเทาทุกข์ยาก และการปฏิบัติพัฒนาให้บังเกิดความเจริญร่มเย็นแก่บ้านเมืองและประชาชน...”
โครงการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิ • โครงการตามพระราชประสงค์ • โครงการหลวง • โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ • มูลนิธิชัยพัฒนา
ทรงให้ความรู้แก่ประชาชนทรงให้ความรู้แก่ประชาชน ทรงทำให้ดู ทรงให้จัดตั้งศูนย์ ศึกษาการพัฒนาและศูนย์สาธิต การเกษตรต่างๆ
หลักการพัฒนาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลักการพัฒนาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ในการก่อตั้งและดำเนินงาน โครงการพัฒนาและแนวทางปฏิบัติงานต่างๆ
ข้อที่ 1 เป็นรูปแบบของการพัฒนาที่เน้นให้ประชาชนสามารถช่วยตนเองหรือพึ่งตนเองได้ ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง • ข้อที่ 2 การพัฒนาต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานเดิมของสังคมไทย • ข้อที่ 3 การพัฒนาต้องอยู่บนหลักของภูมิสังคม • ข้อที่ 4 การพัฒนาต้องเกิดจากภายในจึงจะมีความมั่นคง ทรงใช้คำว่า “ระเบิดจากข้างใน” • ข้อที่ 5 การพัฒนาต้องเกิดขึ้นเป็นขั้นตอนตามลำดับ
ข้อที่ 6 ยึดหลักผลประโยชน์ของประชาชนและการได้รับการยอมรับ การจัดทำโครงการจึงมีขั้นตอนประชาพิจารณ์ (PublicHearing) เช่น กระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักฯ • ข้อที่ 7 ยึดหลักความคุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุน “ขาดทุนคือกำไร our loss is our gain” • ข้อที่ 8 ทำสิ่งยากให้กลายเป็นสิ่งง่าย (Simplicity) • ข้อที่ 9 ทรงเน้นให้เริ่มจากหลักการ หลักวิชาการ และทดสอบทดลองและนำวิชาการทุกแขนงมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ข้อที่ 10 ยึดหลักความประหยัด • ข้อที่ 11 การพัฒนามีการประสานงานและบูรณาการ ได้แก่ จัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OneStop Services): ทำงานแบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริ โดยพระราชทานศูนย์ศึกษาการพัฒนาจำนวน 6 ศูนย์ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ สำหรับเกษตรกรให้เข้าไปศึกษาหาความรู้ • ข้อที่ 12 พระราชทานหลักแนวคิด “บวร” • ข้อที่ 13 ทรงเน้นเรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริต • ข้อที่ 14 ทรงเน้นความอ่อนน้อมถ่อมตน • ข้อที่ 15 ทรงเน้นความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
ข้อที่ 16 ทรงเน้นให้ยึดหลัก รู้ รัก สามัคคี • ข้อที่ 17 ทรงเน้น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา • ข้อที่ 18 ยึดธรรมะเป็นที่ตั้งในทุกเรื่อง ดังทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ทรงคิดค้นเทคโนโลยีให้ความรู้แก่ประชาชนและแก้ปัญหาความเดือดร้อนทรงคิดค้นเทคโนโลยีให้ความรู้แก่ประชาชนและแก้ปัญหาความเดือดร้อน ตัวอย่างเช่น • ทรงคิดค้นสร้าง “ฝนเทียม”หรือเรียกว่า “ฝนหลวง” • พระราชดำริ เรื่อง “การปลูกป่า” • การจัดทำ “ฝายแม้ว”(Check Dam) เพื่อเก็บกักน้ำในพื้นที่สูง • แก้ปัญหาน้ำท่วมโดยวิธี “แก้มลิง” • การ“แกล้งดิน”แก้ปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินพรุ • การปลูกหญ้าแฝกป้องกันการพังทลายของดิน • การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยใช้กระบวนการธรรมชาติ ฯลฯ
พระราชดำรัส “...ทหารเป็นผู้ที่สำคัญเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ไม่ใช่เฉพาะในด้านการป้องกันศัตรู แต่ว่าทหารได้เป็นผู้อุ้มชูความมั่นคงในด้านทั่วๆ ไป ของประเทศชาติมาตลอดตั้งแต่สมัยแต่ก่อนนี้...”
พระราชดำรัส5 ธันวาคม 2552 “...ความสุข ความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญ มั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติ รู้ตัว ด้วยปัญญา รู้คิด และด้วยความ สุจริต จริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น...”
หยาดพระเสโท คือ น้ำพระทัย เพื่อความสุขของปวงประชาและความมั่นคงของแผ่นดิน