220 likes | 522 Views
โครงการจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กพิการทางการเห็น อายุ 0-6 ปี. ‘JOY CENTER ‘ FOR CHILDREN WITH VISUAL IMPAIRMENT 0-6 YEARS. หลักการและเหตุผล.
E N D
โครงการจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการทางการเห็น อายุ 0-6 ปี ‘JOY CENTER ‘ FOR CHILDREN WITH VISUAL IMPAIRMENT 0-6 YEARS
หลักการและเหตุผล ในช่วงวัยเด็กเล็กเป็นช่วงแรกเริ่มของพัฒนาการทางร่างกาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อการเจริญเติบโตต่อไป การช่วยเหลือเด็กเล็กที่มีปัญหาก่อนเข้าวัยเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมจึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องจัดการฝึกปฏิบัติให้แก่เด็กวัยนี้ โดยเฉพาะเด็กที่มีสายตาบกพร่องไม่สามารถรักษาทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เด็กบางคนมีความพิการร่วมกับการบกพร่องทางการเห็น การดูแลและตรวจรักษา ต้องร่วมกันหลายๆวิธี หากขาดการดูแลที่ทันเวลาจากการเห็นรางๆ จะกลายเป็นเด็กตาบอดสนิทหรือเห็นแค่การรับรู้แสงสว่าง ด้วยเหตุนี้การให้บริการแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความพิการทุกสาขาจึงเป็นเรื่องจำเป็น เด็กที่บกพร่องทางตาต้องใช้วิธีกระตุ้นการมองเห็นให้เร็วที่สุดก่อนอายุ 3 ปี เพราะเด็กทุกคนจะมีการพัฒนาทางร่างกายและทางการเห็นได้จนถึง 4-5 ปี บิดามารดา หรือคนเลี้ยงดูควรจะได้รับการฝึกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (ศุภา คงแสงไชย, 2547)
หลักการและเหตุผล การให้การช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early intervention:EI)คือ กิจกรรม วิธีการ กระบวนการแทรกแซงหรือการกระตุ้นเด็กที่จัดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กให้มีความก้าวหน้ามากที่สุด เพื่อป้องกันความเจ็บป่วย อุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น การจัดกระบวนการต่างๆ ในระยะแรกเริ่ม อาจรวมถึงการให้การศึกษากับพ่อแม่ การปรับการศึกษาให้เหมาะสมและการจัดการศึกษาพิเศษ (Balley & Wolery, 1992; อ้างถึงใน สุวิมล อุดมพิริยะศักย์, 2551) และ เป็นการให้บริการเพื่อช่วยเหลือเด็กทันทีที่พบความผิดปกติ เพื่อจำกัดความพิการที่เพิ่มขึ้นและฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กให้เต็มศักยภาพเท่าที่จะทำได้ (Heward, 2003; อ้างถึงใน สุวิมล อุดมพิริยะศักย์, 2551)
หลักการและเหตุผล ชมรมผู้ปกครองเด็กสายตาเลือนราง และสมาคมคนสายตาเลือนรางจึงมีแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการทางการเห็น อายุ 0-6 ปี เพื่อเป็นสถานที่ดำเนินการกระตุ้นการมองเห็นและพัฒนาการสำหรับเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี ที่มีความบกพร่องทางการเห็นและหรืออาจมีความพิการอื่นร่วม เช่น พิการทางสมองที่มีผลต่อการมองเห็น โดยผู้ปกครองและเด็กเข้ามารับการฝึกกระตุ้นการมองเห็นและพัฒนาการ และนำวิธีการไปฝึกกระตุ้นการมองเห็นด้วยตนเองที่บ้านตามแนวที่ศูนย์ฯได้วางไว้ โดยได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จัดตั้งศูนย์ฯ จากผู้ปกครองของเด็กสายตาเลือนรางที่เคยได้รับบริการนี้และมีพัฒนาการทางการมองเห็นเพียงสายตาเลือนรางและพัฒนาการทางร่างกายและด้านอื่นๆ เช่นเดียวกับคนปกติ จึงเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้เด็กพิการทางการเห็นได้รับบริการนี้ทุกคน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่บกพร่องทางการเห็น และเป็นการป้องกันการตาบอดที่ถูกวิธี
วัตถุประสงค์ • เพื่อจัดฝึกอบรมวิธีการกระตุ้นการมองเห็นให้แก่เด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีสายตาบกพร่องแต่กำเนิดและเป็นในภายหลัง ให้แก่ผู้ปกครอง • เพื่อจัดฝึกอบรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีสายตาบกพร่องควบคู่กับการกระตุ้นการมองเห็นให้แก่ผู้ปกครอง • เพื่อพัฒนาการการมองเห็นในเด็กเล็กที่มีสายตาบกพร่องในช่วงที่สามารถพัฒนาระดับสายตาให้ดีขึ้น • เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่บกพร่องทางการเห็นให้ดีขึ้นและเป็นการป้องกันการตาบอดที่ถูกวิธี
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองและเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี ที่มีความบกพร่องทางการเห็น โดยรับส่งต่อจาก ศูนย์ E.I มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ/หรือ จากโรงพยาบาล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.เด็กที่มีสายตาบกพร่องที่เป็นแต่กำเนิดและเป็นในภายหลังได้รับการดูแล เตรียมความพร้อม และมีการรับรู้ประสบการณ์ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยผู้ปกครอง 2. เด็กที่มีสายตาบกพร่องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยตามสภาพการมองเห็นจากผู้ปกครอง 3. เด็กเล็กที่มีสายตาบกพร่องได้รับการพัฒนาระดับสายตาให้ดีขึ้น 4. เด็กที่บกพร่องทางการเห็นได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการป้องกันการตาบอดที่ถูกวิธี
รูปแบบโครงการ ศูนย์ให้บริการแรกเริ่มเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีการบกพร่องทางการเห็นตั้งแต่วัยก่อนเข้าเรียนอายุ 0-6 ปี โดยเน้นครอบครัวเป็นสำคัญ จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เด็กรู้สึกเหมือนอยู่ที่บ้าน ให้ผู้ปกครองได้เรียนรู้วิธีการฟื้นฟูเด็กพิการทางการเห็นแบบบูรณาการ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานพิการเข้ามารับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และเปิดโลกทัศน์ของผู้ปกครองเด็กพิการและเด็กพิการ และเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
กิจกรรม • ประเมินการมองเห็นของเด็ก และจัดกิจกรรมฝึกการกระตุ้นการมองเห็น • ประเมินพัฒนาการใน 6 ด้าน – กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ทักษะทางภาษา การสื่อสาร ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ด้านสังคม ทางวิชาการและจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ • ฝึกการนวดเด็กเพื่อคลายความเกร็งของกล้ามเนื้อ • จัดทำแผนการให้บริการเฉพาะครอบครัวตามความต้องการของครอบครัว
การให้บริการ • วันจันทร์ /พฤหัสบดี และศุกร์ เวลา 9.00 น.- 15.00 น. สถานที่ • บ้านเลขที่ 250/571 หมู่บ้านชวนชื่นโครงการ 2 ถ.พุทธมณฑลสาย2 เขตทวีวัฒนา กทม.
งบประมาณ 5 ปี รายจ่าย ปีที่ 1 2 3 4 5 • งบบุคลากร 683,280 1,239,444 1,293,736.20 1,880,423.01 1,966,764.16 • งบดำเนินการ 230,400268,800 288,000 336,000 364,800 • งบลงทุน 285,000 - - - - รายรับ ปีที่ 1 2 3 4 5 • เงินนอกงบประมาณ 700,000 1,000,000 1,100,000 1,200,000 1,500,000 • เงินรายได้ 120,000168,000 216,000 288,000 360,000
แผนดำเนินงาน • กันยายน 2555ปรับปรุง ซ่อมแซม พื้นที่ใช้งาน(บริเวณชั้นล่าง และสนามรอบบ้าน) • ตุลาคม 2555 -ตบแต่งและจัดซื้อเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ประจำศูนย์-จัดจ้างพนักงานประจำ (ครูและแม่บ้าน) -จัดงานประชาสัมพันธ์ผู้ปกครองและรับบริจาคเงิน • พฤศจิกายน 2555เริ่มให้บริการช่วงทดลอง (1พ.ย. 2555 ถึง มีนาคม 2556) • เมษายน 2556 พิธีเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ
Charity Party Sat.13,Oct. 2012 09.00-14.00