1 / 66

บทที่ 4

บทที่ 4. การพัฒนาเครื่องมือการวิจัย. เครื่องมือการวิจัย หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นจริง น่าเชื่อถือ ตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย . การเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัย มีหลักในการ พิจารณา ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่าง

maja
Download Presentation

บทที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 การพัฒนาเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือการวิจัย หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นจริง น่าเชื่อถือ ตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย

  2. การเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัย มีหลักในการ พิจารณา ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่าง 2. พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง 3. ตัวแปร 4. ระยะเวลา 5. ลักษณะของเครื่องมือ 6. การใช้เครื่องมือหลายชนิดในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  3. ลักษณะของเครื่องมือวิจัยที่ดีลักษณะของเครื่องมือวิจัยที่ดี 1. มีความตรง 1.1 ความตรงเชิงเนื้อหา 1.2 ความตรงเชิงโครงสร้าง

  4. 1.3 ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ 1.3.1 ความตรงตามสภาพ 1.3.2 ความตรงเชิงพยากรณ์

  5. 2. มีความเที่ยง 3. ความเป็นปรนัย 4. ความยากพอเหมาะ 5. ความยาวพอเหมาะ 6. จัดลำดับได้เหมาะสม

  6. ประเภทของเครื่องมือ ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 7 แบบดังนี้ 1. แบบทดสอบ (testing) 2. แบบสัมภาษณ์ (interview) 3. แบบสอบถาม (questionnaire) 4. แบบสังเกต (observation) 5. แบบวัดเจตคติ (attitude) 6. แบบเทคนิคการระบายความในใจ (projective techniques) 7. แบบเทคนิคสังคมมิติ (sociometric techniques )

  7. 1. แบบทดสอบ แบบทดสอบ คือ ชุดของข้อคำถามที่สร้างอย่างมีระบบเพื่อใช้วัดพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งทางด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติ ความสามารถในการปฏิบัติ เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระทางวิชาการ 1.1 ประเภทของแบบทดสอบ แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.1.2 แบบทดสอบวัดความถนัด

  8. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.2 ขั้นตอนในการสร้างแบบทดสอบ 1.2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทาง ในการสร้าง 1.2.2 สร้างข้อคำถามให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย 1.2.3 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิจารณาเกี่ยวกับความตรงของเนื้อหาและการใช้ภาษา1.2.4 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ

  9. 1.3 ลักษณะของแบบทดสอบที่ดี 1.3.1 มีความตรง 1.3.2 มีความเที่ยง 1.3.3 มีอำนาจจำแนก 1.3.4 มีความยากพอเหมาะ 1.3.5 มีประสิทธิภาพ

  10. 1.3.6 มีความยุติธรรม 1.3.7 สามารถวัดพฤติกรรมได้หลาย ๆ ด้าน 1.3.8 มีความชัดเจน และเจาะจง 1.3.9 มีการยั่วยุ 1.3.10 มีความเป็นปรนัย

  11. 2. แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 2.1 การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ที่มีการวางแผนดำเนินการไว้อย่างเป็นขั้นตอน กำหนดประเด็นหรือเตรียมชุดคำถามไว้อย่างเป็นระบบ โดยผู้ให้ข้อมูลทุกคนจะตอบคำถามในประเด็นต่างๆ ตามลำดับขั้นตอนที่เหมือนกัน

  12. 2.2 การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ไม่ต้องกำหนดประเด็นปัญหา สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทได้แก่ 2.2.1 การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ 2.2.2 การสัมภาษณ์เชิงลึก 2.2.3 การตะล่อมกล่อมเกลา 2.2.4 การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

  13. 2.3 หลักการสัมภาษณ์ที่ดี 2.3.1 กำหนดจุดมุ่งหมายและขั้นตอนในการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน 2.3.2 ผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมตัวและวัสดุอุปกรณ์ไปให้พร้อม

  14. 2.4 ขั้นตอนการสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่สำคัญในการสัมภาษณ์ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 2.4.1 ขั้นเตรียมการ 2.4.1.1 กำหนดจุดมุ่งหมาย 2.4.1.2 เลือกประเภทของการสัมภาษณ์ 2.4.1.3 การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูล

  15. 2.4.1.4 กำหนด นัดเวลาและสถานที่ 2.4.1.5 เตรียมคำถามและวัสดุอุปกรณ์ 2.4.1.6 ฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์ 2.4.1.7 ศึกษาข้อมูลและประวัติผู้ให้ข้อมูล

  16. 2.4.2. ขั้นการสัมภาษณ์ 2.4.2.1 แนะนำตัว 2.4.2.2 เริ่มสัมภาษณ์โดยสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง

  17. 2.4.3 ขั้นบันทึกผล 2.4.3.1 เมื่อเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ต้องบันทึกผลทันที 2.4.3.2 ถ้าคำถามเป็นแบบฟอร์มให้บันทึกคำตอบตามแบบฟอร์มนั้น 2.4.3.3 ถ้าคำถามปลายเปิดควรบันทึกถ้อยคำเดิมของผู้ให้สัมภาษณ์ให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ 2.4.3.4 ไม่ควรมีอคติในการบันทึกผลการสัมภาษณ์

  18. 2.4.3.5 การบันทึกผลควรบันทึกประเด็นต่อไปนี้ คือ 1) ชื่อ ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล 2) วัน เดือน ปีที่สัมภาษณ์ 3) ผลการสัมภาษณ์ 4) สรุปผลการสัมภาษณ์

  19. 2.4.4. ขั้นปิดการสัมภาษณ์ 2.4.4.1 กล่าวขอบคุณผู้ให้ข้อมูลที่ให้ความร่วมมือ 2.4.4.2 ทบทวนความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล

  20. 2.5 ข้อดีของการสัมภาษณ์ 2.5.1 ใช้ได้กับกลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย 2.5.2 หากผู้ให้สัมภาษณ์เกิดปัญหาหรือข้อสงสัยในคำถามสามารถซักถามได้ทันที 2.5.3 การสัมภาษณ์ทำให้กลุ่มตัวอย่างเปิดเผยข้อมูลได้มาก 2.5.4 ผู้สัมภาษณ์สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ในระหว่างการสัมภาษณ์ 2.5.5 ผู้สัมภาษณ์สามารถพลิกแพลงวิธีการสัมภาษณ์

  21. 2.6 ข้อจำกัดของการสัมภาษณ์ 2.6.1 ข้อมูลที่ได้จะมีคุณภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สัมภาษณ์โดยตรง 2.6.2 ภาวะอารมณ์ของผู้สัมภาษณ์ 2.6.3 ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาก 2.6.4 เสียค่าใช้จ่ายในการสัมภาษณ์มาก

  22. 2.6.5 ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสภาพแวดล้อม 2.6.6 ถ้ามีผู้สัมภาษณ์หลายคน ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของผู้สัมภาษณ์ 2.6.7 ผู้ให้ข้อมูลจะพยายามตอบในด้านบวกเพื่อเข้าข้างตนเอง 2.6.8 ผู้ให้ข้อมูลอาจไม่กล้าที่จะตอบตามความเป็นจริงหากมีผู้อื่น

  23. 2.7 การตรวจสอบคุณภาพของการสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์ 2.7.1 ใช้การสัมภาษณ์ซ้ำ เป็นการใช้ผู้สัมภาษณ์เพียงคนเดียวไปสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างเดียวกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นนำผลการสัมภาษณ์ทั้งสองครั้งมาหาความสัมพันธ์กัน

  24. 3. แบบสอบถาม 3.1 ชนิดของแบบสอบถาม สามารถแบ่ง ได้ 2 ชนิด 3.1.1 คำถามปลายปิด 3.1.1.1 แบบสองคำตอบ 3.1.1.2 แบบหลายคำตอบ 3.1.1.3 แบบประมาณค่า

  25. ข้อดีของแบบสอบถามแบบปลายปิดข้อดีของแบบสอบถามแบบปลายปิด 1. สามารถเก็บรวบรวมผล และวิเคราะห์ได้ง่ายมีคำตอบที่แน่นอน 2. ประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ และประหยัดผู้รวบรวมข้อมูล 3. ผู้ที่ไม่สัดทัดทางภาษา เพียงอ่านออกเขียนได้ก็สามารถตอบ คำถามได้ 4.ผู้วิจัยสามารถได้คำตอบตรงตามจุดมุ่งหมาย และมีความครอบคลุม

  26. ข้อจำกัดของแบบสอบถามแบบปลายปิด 1. บางครั้งอาจได้คำตอบไม่ตรงตามความเป็นจริง 2. อาจมีผลโน้มน้าวให้ผู้ตอบเลือกเฉพาะคำตอบที่ได้กำหนดให้เท่านั้น 3. สร้างยากกว่าแบบปลายเปิด 4. ถ้าข้อมูลที่ต้องถามมีมาก ทำให้สิ้นเปลืองเวลา และงบประมาณ 5. เป็นการชี้นำคำตอบ

  27. 3.1.2 คำถามปลายเปิด เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้ตอบเองอย่างอิสระ โดยไม่มีคำตอบให้เลือกตอบแต่อย่างใด มีการเว้นที่ไว้ให้สำหรับตอบ ซึ่งรูปแบบของแบบสอบถามแบบปลายเปิด

  28. ข้อดีของแบบสอบถามปลายเปิดข้อดีของแบบสอบถามปลายเปิด การใช้แบบสอบถามปลายเปิดในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีข้อดี ดังนี้ 1. ผู้ตอบมีโอกาสได้เสนอความคิดเห็นและตอบได้อย่างอิสระเต็มที่ 2. ได้คำตอบที่ตรงกับความจริงของผู้ตอบมากกว่าแบบสอบถามปลายปิด 3. สร้างคำถามได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว เสียเวลาน้อย ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในการสร้างแบบสอบถามก็สามารถสร้างให้มีคุณภาพที่ดีได้ 4. ทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น

  29. ข้อจำกัดของแบบสอบถามปลายเปิดข้อจำกัดของแบบสอบถามปลายเปิด 1. วิเคราะห์ผลหาข้อสรุปได้ยาก คำตอบที่ได้มีความแตกต่างกันมาก 2. ขาดความสะดวกในการตอบ ผู้เขียนต้องคิดหาคำตอบในการตอบและต้องเขียนคำตอบด้วยภาษาของตนเอง ทำให้ตอบได้ช้า บางคนไม่ตอบเลย ซึ่งผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงการตอบ ทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน 3. อาจได้คำตอบไม่ตรงตามประเด็นหรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการ 4. ผู้วิเคราะห์และสรุปผลมีอิทธิพลต่อการวิเคราะห์ที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิดมาก ถ้าขาดความระมัดระวังอาจทำให้ได้ผลที่ผิดไปจากความเป็นจริง

  30. 3.2 ลักษณะคำถามที่ดีของแบบสอบถาม 3.2.1 การตั้งคำถามมีความสอดคล้องและครบถ้วนตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย 3.2.2 มีคำแนะนำในการตอบที่ชัดเจน 3.2.3 ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 3.2.4 เรียงคำถามจากเรื่องง่ายๆ ไม่ซับซ้อนไปหาคำถามที่ลึกซึ้ง 3.2.5 ควรจัดเรียงเนื้อหาของแบบสอบถามให้เป็นหมวดหมู่ 3.2.6 ในคำถามแต่ละข้อควรถามข้อละประเด็นเท่านั้น

  31. 3.2.7 ไม่ถามมากเกินไปจนทำให้แบบสอบถามยาวและหนามาก 3.2.8 ไม่ควรใช้คำย่อ 3.2.9 เลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรมมากเกินไป 3.2.10 ไม่ชักนำให้ผู้ตอบแบบสอบถาม 3.2.11 เลี่ยงคำถามที่ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบในทางที่ปกป้องตนเอง 3.2.12 มีการจัดรูปเล่ม การจัดหน้าให้น่าสนใจ 3.2.13 ใช้ระบบสีมาช่วยในการพิมพ์ 3.2.14 มีจดหมายแนะนำตัวผู้วิจัย

  32. 3.3 การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม 3.3.1 ความเป็นปรนัย 3.3.2 ความยาก 3.3.3 ความตรง คุณภาพของแบบสอบถามที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีความตรงโดยเฉพาะความตรงเชิงเนื้อหา

  33. IOC = ∑R N เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับเนื้อหาตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ∑R แทน คะแนนความคิดเห็นรวมของผู้เชี่ยวชาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

  34. การแปลผล หากข้อคำถามใดในแบบสอบถามมีค่า IOC ใกล้เคียง 1 แสดงว่าข้อคำถามนั้นมีความตรงเชิงเนื้อหามาก หากข้อคำถามใดในแบบสอบถามมีค่า IOC ใกล้เคียง 0 แสดงว่าข้อคำถามนั้นมีความตรงเชิงเนื้อหาน้อย หากข้อคำถามใดในแบบสอบถามมีค่า IOC ติดลบ แสดงว่าข้อคำถามนั้นไม่มีความตรงเชิงเนื้อหาเลย

  35. 3.4 โครงสร้างของแบบสอบถาม 3.4.1 หนังสือนำ 3.4.1.1 การแนะนำตัวผู้วิจัย 3.4.1.2 แนะนำโครงการวิจัย

  36. 3.4.1.3 ชี้แจงเหตุผลในการเลือกผู้ตอบแบบสอบถาม 3.4.1.4 ต้องให้สัญญาแก่ผู้ตอบแบบสอบถามว่าข้อมูลที่ได้ตอบในแบบสอบถามจะเป็นความลับ 3.4.1.5 ในกรณีที่ผู้วิจัยไม่ได้มารับแบบสอบถามคืนด้วยตนเองต้องกำหนดเวลาและสถานที่ที่ให้ส่งกลับคืน

  37. 3.4.2 คำชี้แจงในการตอบ 3.4.2.1 คำชี้แจงทั่วไป 3.4.3.2 คำชี้แจงย่อยแต่ละตอน

  38. 3.4.3 ส่วนของเนื้อหาของแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั้งหมดที่ผู้วิจัยต้องการได้จากผู้ตอบแบบสอบถาม

  39. 4. แบบสังเกต 4.1 วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกต มีพฤติกรรมหลายอย่างที่ไม่สามารถใช้แบบทดสอบแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์

  40. 4.2 ประเภทของการสังเกต 4.2.1 ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเกณฑ์ 4.2.1.1 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง 4.2.1.2 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง

  41. 4.2.2 ใช้วิธีการสังเกตเป็นเกณฑ์ 4.2.2.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4.2.2.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

  42. 4.3 หลักในการสังเกต 4.3.1 การสังเกตต้องมีระบบแบบแผน 4.3.2 การสังเกตข้อเท็จจริงให้เป็นแบบปริมาณโดยมีการ กำหนดช่วงเวลาในการสังเกตอย่างชัดเจน 4.3.3 ต้องบันทึกผลการสังเกตทันทีหรือบันทึกให้เร็วที่สุด

  43. 4.3.4 ควรกำหนดจุดมุ่งหมายของการสังเกต 4.3.5 ผู้สังเกตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะไปสังเกตเป็นอย่างดี 4.3.6 มีการเตรียมเครื่องมือตามลักษณะของสิ่งที่ต้องการสังเกต 4.3.7 ควรสังเกตทีละประเด็น 4.3.8 ควรมีการทดลองใช้เครื่องมือช่วยในการสังเกต 4.3.9 หลังการสังเกตต้องมีการตรวจสอบผลการสังเกตกับผู้สังเกตหลายๆ คนหรือมีการสังเกตซ้ำ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

  44. 4.4 ข้อดีของการสังเกต 4.4.1 ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมีความเชื่อถือได้สูง 4.4.2 สามารถบันทึกข้อเท็จจริงได้ในระหว่างที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 4.4.3 ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง 4.4.4 ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ผู้ถูกสังเกตไม่เต็มใจจะบอก 4.4.5 ใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างทุกประเภท เช่น คน สัตว์ สิ่งของ

  45. 4.5 การสังเกตที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยมีข้อจำกัด ดังนี้ 4.5.1 ไม่สามารถที่เก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังการสังเกตปรากฏการณ์นั้นๆ ได้ 4.5.2 ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ทุกประเด็นที่ต้องการ 4.5.3 ความไม่เข้าใจ ไม่มีความรู้ และอคติของผู้สังเกต 4.5.4 ต้องใช้เวลามากและเสียค่าใช้จ่ายสูงในการสังเกต 4.5.5 ไม่สามารถใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ได้ 4.5.6 ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สังเกตเป็นสำคัญ

  46. 4.6 การหาคุณภาพของแบบสังเกต 4.6.1 ความตรง (validity)

  47. 4.6.1.1 มีความชัดเจน ครบถ้วนและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย ซึ่งต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาเป็นผู้ตรวจสอบ 4.6.1.2 วิธีการสังเกต ควรพิจารณาว่าข้อมูลนั้นๆ ใช้วิธีการสังเกตที่เหมาะสมหรือไม่

  48. 4.6.1.3 ผู้สังเกต 1) มีความสามารถในการสังเกตได้ดี 2) สามารถประเมินพฤติกรรม 3) มีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ 4) สามารถควบคุมความลำเอียงส่วนตัว

More Related