1 / 15

พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง. ประวัติ พระบรมมหาราชวังช่วงปี พ.ศ. 2400 พระบรมมหาราชวังยามค่ำคืน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุง ธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง

mahon
Download Presentation

พระบรมมหาราชวัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระบรมมหาราชวัง

  2. ประวัติพระบรมมหาราชวังช่วงปี พ.ศ. 2400 พระบรมมหาราชวังยามค่ำคืน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุง ธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระราชวังหลวงขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศและเป็น ที่ประทับของพระมหากษัตริย์การก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อม กับการสร้างพระนครเมื่อพ.ศ.2325 โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของพระยาราชาเศรษฐีและชาวจีนทั้งหลาย ดังนั้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่สถานที่แห่งใหม่ตั้งแต่คลองใต้วัดสามปลื้มจนถึงคลองเหนือวัดสามเพ็งเริ่มดำเนินการในวันที่ 6 พฤษภาคมพ.ศ. 2325 หลังพระราชพิธียกเสาหลักเมือง 1 วัน และมีการเฉลิมพระราชมนเฑียรในวันที่ 13 มิถุนายนพ.ศ. 2325 แต่ขณะนั้นพระราชมนเฑียรสร้างด้วยเครื่องไม้

  3. และสร้างเสาระเนียดรายรอบพระราชวัง เพื่อประกอบพระราช พิธีปราบดาภิเษกต่อมาในพระองค์จึงพ.ศ.2326โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระราชมนเทียร พระมหาปราสาท เปลี่ยนเสาระเนียดจากเครื่องไม้เป็นก่อกำแพงอิฐ สร้างประตูรายรอบ พระบรมมหาราชวัง ตลอดจนสร้างพระอารามใน พระราชวังหลวง คือวัดพระศร๊รัตนศาสดารามวรมหาวิหารเพื่อเป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เมื่อสร้างพระราชนิเวศน์มนเฑียรเป็นการถาวรแล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบรมาชาภิเษกเต็มตามแบบแผนราชประเพณีอีก ครั้งหนึ่งในพ.ศ. 2528 พระบรมมหาราชวังได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขยายอาณาเขต และบูรณปฏิสังขรณ์มาในทุกรัชกาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอ มเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระป่นกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบัญญัติให้เรียกพระราชวังหลวงว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นคือ ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า “บรม” สำหรับฝ่ายวังหลวง และ “บวร” สำหรับฝ่ายวังหน้าพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าจึงเรียกว่า “พระบวรราชวัง” เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวังหลวงก็ยังคงใช้ว่า พระบรมมหาราชวัง มาจนกระทั่งปัจจุบัน

  4. ที่ตั้งและอาณาเขตหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังไว้ด้วย ที่ตรงบริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบันนี้แต่เดิมเป็นชุมชนชาวจีนพระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนเหล่านี้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณสำเพ็งในปัจจุบัน ในปัจจุบันพระบรมมหาราชวังตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวังเขตพระนครกรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่สำคัญเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ทิศเหนือติดกับท้องสนามหลวงทิศตะวันออกติดกับกระทรวงกลาโหมทิศใต้ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ฃ

  5. พื้นที่ของพระบรมมหาราชวังในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อแรกสร้าง มีเนื้อที่ทั้งหมด 132 ไร่ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ขยายเขตพื้นที่ออกไปเป็น 152 ไร่ 2 งาน จนถึงปัจจุบัน แผนผังของพระบรมมหาราชวังได้ยึดถือแบบของพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยาคือสร้างติดกับแม่น้ำ หันหน้าไปทางทิศเหนือโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางทิศตะวันตก ให้กำแพงเมืองด้านข้างแม่น้ำเป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก และวัดพระศรีรัตนศาสดารามพระอารามหลวงในพระราชวังตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก

  6. เขตพระราชฐาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท พระบรมมหาราชวังสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามและเขตพระราชฐานอันเป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่ และบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ โดยเขตพระราชฐานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่1.เขตพระราชฐานชั้นหน้า เขตพระราชฐานชั้นหน้า นับตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรีถึงประตูพิมานไชยศรี (ไม่นับรวมบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) รวมทั้ง บริเวณรอบนอกกำแพงชั้นในของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่าง ๆ และที่ทำการของทหารรักษาพระราชวังเช่นสำนักพระราชวังสำนักราชเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน

  7. 2.เขตพระราชฐานชั้นกลางเขตพระราชฐานชั้นกลาง นับตั้งแต่ประตูพิมานไชยศรีถึงประตูสนามราชกิจเป็นที่ตั้งของปราสาทราชมณเฑียรทั้งสถาปัตยกรรมไทยและตะวันตก ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล ประกอบไปด้วย หมู่พระมหามณเฑียร พระมหามณเฑียร เป็นหมู่พระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับและเป็นพระราชพิธีมณฑล ในพระราชพิธีปราบดาภิเษก ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน ปัจจุบัน ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสำคัญอื่น ๆ ในพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องกันมา โดยพระที่นั่งที่สำคัญของพระมหามณเฑียร ได้แก่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานพระที่นั่งไพศาลทักษิณและพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

  8. หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการและเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน เดิมประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 11 องค์ ปัจจุบัน พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่ในสภาพที่ชำรุดจนเกินกว่าการบูรณะได้จึงมีการรื้อพระที่นั่งลงหลายองค์ อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่บนสถานที่เดิม พระที่นั่งที่สำคัญของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้แก่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติและพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

  9. หมู่พระมหาปราสาท หมู่พระมหาปราสาท เป็นหมู่พระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญและเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน ปัจจุบัน หมู่พระมหาปราสาทใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ อาทิ พระราชพิธีฉัตรมงคล รวมทั้ง เป็นสถานที่สำหรับสรงน้ำพระบรมศพและประดิษฐานพระบรมศพของของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง พระที่นั่งที่สำคัญ ได้แก่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทพระที่นั่งพิมานรัตยา พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทและพระที่นั่งราชกรัณยสภาพระที่นั่งบริเวณสวนศิวาลัยสวนศิวาลัย เป็นสวนภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ใน อดีตเคยเป็นที่ตั้งของพระอภิเนาว์นิเวศน์อันเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตราบจนเสด็จสวรรคต แต่พระราชมณเฑียร ดังกล่าวเกิดการชำรุดทรุดโทรมจนยากต่อการบูรณะซ่อมแซม ดังนั้น จึงจำต้องรื้อ ถอนไปเกือบหมดสิ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปัจจุบัน สวนศิวาลัยและบริเวณใกล้เคียงมีพระที่นั่งที่สำคัญตั้งอยู่ ได้แก่พระพุทธรัตน ส ถานพระที่นั่งมหิศรปราสาทพระที่นั่งบรมพิมานและพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท

  10. 3.เขตพระราชฐานชั้นในเขตพระราชฐานชั้นในนับตั้งแต่ประตูสนามราชกิจจนถึงแถวเต๊งทางทิศใต้ เป็นเขตสำหรับผู้หญิงล้วน ผู้ชายที่อายุ 13 ปีขึ้นไปห้ามเข้า (ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์) หากจะเข้าก็ต้องมีโขลนกำกับดูแล (โขลน คือ ตำรวจหญิงที่คอยกำกับดูแล ความเรียบร้อยในเขตพระราชฐานชั้นใน) เป็นที่ตั้งของพระตำหนัก ตำหนัก เรือน ของพระมเหสี พระราชเทวี พระชายา พระราชธิดา เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม ข้าราชบริพารและข้าราชการฝ่ายใน

  11. การใช้งาน พระบรมมหาราชวังได้ใช้เป็นที่ประทับและศูนย์กลางการปกครองของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์มาตลอด จนถึงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับเพียงครั้งคราว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับในพระบรมมหาราชวังเป็นการถาวรอีก ในรัชกาล ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับบ้างเป็นครั้งคราว เช่นเวลาซ่อมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หรือเวลามีการพระราชพิธี เป็นต้น พระบรมมหาราชวังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตามพระราชประเพณี, เป็นที่รับแขกเมือง และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งเป็นที่ตั้งพระบรมศพและพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ส่วนบริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอกได้ใช้เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ เช่นสำนักพระราชวัง,สำนักราชเลขาธิการและราชบัณฑิตยสถานและเขตพระราชฐานชั้นในก็มิได้เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านายฝ่ายในอีกต่อไป แต่ยังคงเป็นที่ทำการและที่พำนักของข้าราชการสำนักพระราชวัง ฝ่ายพระราชฐานชั้นในบางส่วนซึ่งล้วนเป็นสตรีทั้งสิ้น

  12. แผนที่ภายในพระบรมมหาราชวัง1.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม2.อาคารสำนักพระราชวัง3.สำนักราชเลขาธิการ4.ศาลาลูกขุนใน5.ศาลาสหทัยสมาคม6.พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม7.ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์8.พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย9.พระที่นั่งไพศาลทักษิณ10.พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน11.พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์12.พระที่นั่งราชฤดี13.พระที่นั่งสนามจันทร์14.หอศาสตราคม15.หอพระสุราลัยพิมาน16.หอพระธาตุมณเฑียร17.พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท18.พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์19.พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ20.พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร21.พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท22.พระที่นั่งพิมานรัตยา23.พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท24.พระที่นั่งราชกรัณยสภา25.ศาลาเปลื้องเครื่อง26.เขาไกรลาสจำลอง27.สวนศิวาลัย28.พระที่นั่งบรมพิมาน29.พระที่นั่งมหิศรปราสาท30.พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท31.พระที่นั่งสีตลาภิรมย์32.พระพุทธรัตนสถาน33.พระที่นั่งไชยชุมพล34.พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท35.เขตพระราชฐานชั้นใน

  13. อ้างอิง1. Global Market Information Database, Tourist Attractions - World, 10 Apr 20082. คณะผู้จัดทำ, เขตพระราชฐานในพระบรมมหาราชวัง, เข้าถึงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 25553. http://th.wikipedia.org/wiki4. http://www.tour.co.th

  14. คณะผู้จัดทำ ม.4/3 1.นางสาวกรกนก เถรว่อง เลขที่ 9 2.นางสาวจุฬา พฤกษา เลขที่ 26 3.นางสาวตะวัน ระกาศ เลขที่ 30 4.นางสาวศันสนีย์ สังข์ทอง เลขที่ 32

  15. ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ ขอบคุณค่ะ

More Related