160 likes | 335 Views
บทบาทของรพ.สต.ต่อการส่งเสริมสุขภาพ ของ เด็กปฐมวัย เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ เด็กเปราะบางและ Case Management. บทบาทของ รพ.สต.ต่อการส่งเสริมสุขภาพ ของ เด็กปฐมวัย เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ เด็กเปราะบาง และ Case Management. บุษ รา สุจาโน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
E N D
บทบาทของรพ.สต.ต่อการส่งเสริมสุขภาพ ของเด็กปฐมวัย เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ เด็กเปราะบางและ Case Management
บทบาทของ รพ.สต.ต่อการส่งเสริมสุขภาพ ของเด็กปฐมวัย เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ เด็กเปราะบาง และCase Management บุษรา สุจาโน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี
บทบาทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 1.ติดตามดูแลเด็กกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าถึงการดูแลสุขภาพและพัฒนาการ 2.บริการให้การปรึกษาก่อนและหลังตรวจเลือดเอชไอวี 3.ติดตามผู้รับบริการที่ได้รับการส่งต่อมาจาก รพ.จังหวัดหรือ รพ.ชุมชน 4.ประสานส่งต่อโรงพยาบาลกรณีที่พบเด็กที่สงสัยว่าติดเชื้อเอชไอวี เช่นพัฒนาการล่าช้า เลี้ยงไม่โต ป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสและหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี
กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ ได้แก่ เด็กติดเชื้อเอชไอวีและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ รวมถึง เด็กกลุ่มเปราะบาง เฉพาะเด็กติดเชื้อฯ และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ จำเป็นต้องให้ การดูแลตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ ด้วยเหตุนี้ การให้บริการจึงต้องครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี เริ่มจากการฝากครรภ์ไปจนกระทั่งคลอดและเด็กได้รับการพิสูจน์สถานะการติดเชื้อเอชไอวีด้วยวีธี PCR ที่ ๒ เดือน ๔ เดือน และยืนยันผลด้วยการตรวจ Anti-HIV ที่อายุ ๑๒-๑๘ เดือน ต่อเนื่องไปจนกระทั่งเด็กอายุ ๑๘ ปี ไม่ว่าเด็กจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม
นิยาม เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์
นิยาม เด็กเปราะบาง (พม.) 1.พิการ 2.กำพร้า 3.ยากจน 4.ต้องคดี/สิ้นสุดหรือยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม 5.เร่ร่อน 6.ชาติพันธ์/ไม่มีบัตร 7.ถูกทารุณกรรม 8.ติดเชื้อเอชไอวี(Infected/Affected)
นิยาม การจัดการรายบุคคล การจัดการรายบุคคล (Case Management) เป็นรูปแบบการทำงานที่ใช้ประสานเชื่อมโยงบริการหลายภาคส่วน โดยมีผู้รับบริการ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี เด็กที่ติดเชื้อและได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ผู้ดูแล และเด็กกลุ่มเปราะบาง เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้รับบริการแต่ละบุคคลได้รับบริการแบบองค์รวมโดยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์และความเข้าใจผู้รับบริการ มีการให้บริการต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของผู้รับบริการ ทำให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่ครบถ้วนทั้งในด้านการแพทย์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเดินทาง ที่พัก การช่วยเหลือด้านจิตใจ การเงินและการสนับสนุนอื่นๆรวมถึงการดูแลและสนับสนุนสมาชิกในครอบครัว
OSCC ศูนย์พึ่งได้ One Stop Crisis Center CAG คณะทำงานเด็กในชุมชน Child Action Group CMU หน่วยจัดการรายบุคคล Case Management Unit
แนวทางการดูแลเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีแนวทางการดูแลเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี ๑.การดูแลด้านสุขภาพ ครอบคลุมเรื่องโรค การรักษา การป้องกันโรคฉวยโอกาสและการป้องกันโรคทั่วไปที่จำเป็น(วัคซีน) ตามแนวทางการดูแลเด็กติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ๒.การดูแลแบบองค์รวม (ด้านจิต สังคมและพัฒนาการ) ประกอบด้วย ๒.๑. การดูแลส่งเสริมสุขภาพจิต การสื่อสารให้การปรึกษาเด็ก การสื่อสารให้การปรึกษาเรื่องเอดส์และการมีเชื้อเอชไอวีกับเด็ก การสื่อสารให้การปรึกษาเรื่องเพศ การสื่อสารให้การปรึกษาเรื่องทักษะชีวิต ๒.๒. การส่งเสริมพัฒนาการ ๒.๓. การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและชุมชน
กรอบแนวคิดโครงการ พัฒนาระบบปกป้องคุ้มครอง ทางสังคม, พัฒนานโยบาย พัฒนาระบบสุขภาพ เด็กที่ได้รับผลกระทบ เด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง คณะทำงานเด็กในชุมชน -CAG พัฒนาระบบชุมชน
ขั้นตอนของระบบการจัดการรายบุคคล 1.รับผู้รับบริการที่มีสถานการณ์ปัญหาระบุตามเกณฑ์ที่กำหนดจากหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง 2.ประเมินปัญหาและความต้องการอย่างรอบด้าน 3.พัฒนาแผนการบริการ 4.ให้บริการตามแผน 5.ประสานงาน ติดตามบริการ 6.ทบทวนและประเมินความต้องการซ้ำ 7.จัดประชุม case conference 8.ให้ความช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ 9.การจำหน่ายออกจากระบบ
ผังการดำเนินงาน Case managementภายในหน่วยบริการโรงพยาบาล จุดแรกรับ (หน่วยฝากครรภ์ ห้องคลอด หลังคลอด wardWCC OPD เด็ก ARV Clinicward เด็ก ศูนย์พึ่งได้ ศูนย์องค์รวม) หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่ผลตรวจ HIV บวกและเด็ก อายุ ๐-๑๘ ปีที่มีเชื้อเอชวี เด็กที่ได้รับผลกระทบและเด็กกลุ่มเปราะบาง ( พิจารณาการส่งต่อCase manager/Case management Unitโดยใช้เกณฑ์หน้า ๑๖ ) Casemanager/CasemanagementUnit • Needassessment • Serviceplandevelopment • Serviceplanimplementation เชื่อมบริการกับหน่วยงานนอก รพ. - รับความช่วยเหลือ/สวัสดิการสังคมเช่น พม. เอ็นจีโอ - refer เพื่อรับบริการที่ รพ.ไม่มี ให้บริการในหน่วย CM -ให้การปรึกษาตามสภาพปัญหา - ให้การศึกษาเรื่อง HIV/AIDS การรักษา PMTCT เพศศึกษา เชื่อมบริการกับหน่วยบริการใน รพ. -คลินิกที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น คลินิกฟัน จิตเวช นรีเวช คลินิกยาต้านผู้ใหญ่ ศูนย์องค์รวม Followupandmonitoring Reassessment เป็นระยะ CAG* เอ็นจีโอ พบปัญหาใหม่ จำหน่าย • ย้ายไปรับบริการรพ.อื่น • ย้ายไปคลินิกผู้ใหญ่ • ไม่มาตรวจตามนัด > 6 เดือนและติดตามไม่ได้ • ยุติบริการเนื่องจากปัญหาได้รับการคลี่คลาย • ผู้รับบริการขอยุติบริการ • เสียชีวิต * คณะทำงานเด็กชุมชน (CAG) เป็นกลไกที่ประกอบด้วยฝ่ายสุขภาพ ปกครอง การศึกษา องค์กรชุมชน สวัสดิการและคุ้มครองเด็กในชุมชนเพื่อสนับสนุนการดูแลเด็กให้ได้รับการพัฒนาและติดตามต่อเนื่องผ่านการจัดกิจกรรมและประสานส่งต่อ
การดูแลเด็กปฐมวัยที่ได้รับผลกระทบจาก แม่ติดเชื้อเอชไอวีในชุมชน 1.แนะนำเรื่องอาหารที่เหมาะสมตามวัยเช่นเดียวกับเด็กปกติ 2.นมผสมเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ HIV 3.การเยี่ยมบ้าน แนะนำการเลี้ยงดูเด็ก และกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เช่น การอ่านหนังสือ การเล่านิทาน 4.ให้ความรู้ครอบครัวพ่อแม่เด็กที่ติดเชื้อHIV การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน
คุณภาพของเด็ก • การเจริญเติบโตและภาวะสุขภาพ • พัฒนาการด้านร่างกาย • พัฒนาด้านอารมณ์-จิตใจ • พัฒนาการด้านสังคม • พัฒนาการด้านสติปัญญา
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการเกิดระบบการจัดการรายบุคคล 1.ผู้รับบริการได้รับบริการแบบองค์รวม (กาย ใจ สังคม) สามารถเข้าถึงบริการตั้งแต่เนิ่นๆ 2.ผู้รับบริการมารับบริการอย่างต่อเนื่อง 3.ผู้รับบริการมีสุขภาพแข็งแรง มีข้อมูลในการดูแลสุขภาพ 4.ผู้รับบริการได้รับการส่งเสริมเรื่องพฤติกรรมอนามัยเชิงบวก (Positive living) 5.ผู้รับบริการได้รับการพัฒนาศักยภาพดูแลตนเองและการมารับบริการสุขภาพ แต่ละหน่วยงานในระบบมีการบูรณการการดำเนินงานที่ชัดเจน 6.เกิดเครือข่ายระบบส่งต่อทั้งภายในระบบบริการสาธารณสุขและชุมชน