320 likes | 1.32k Views
9 ลักษณ์ หลักบริหารคน ( Enneagram ).
E N D
9 ลักษณ์ หลักบริหารคน(Enneagram)
หากบุคลากรของทุกองค์กรเป็นบุคลากรที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อองค์กรนั้นๆและตัวบุคลากรเองก็ยังเป็นที่น่าเชื่อถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนรุ่นใหม่ได้ปฏิบัติเป็นอย่างที่ดี แต่การที่ทำให้ทุกคนมีประสิทธิภาพเหมือนกันได้หมดคงไม่ใช่เรื่องง่ายซึ่งต้องอาศัยเวลาพอสมควร แต่ทว่านั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินความสามารถนักหากรู้จักเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอเมื่อรู้จักตนเองดีพอแล้วต้องไม่ลืมที่จะให้ความร่วมมือกันในองค์กรด้วย “ศาสตร์ 9 ลักษณ์” หรือ “เอ็นเนียแกรม (ENNEAGRAM)”
เอ็นเนียแกรม(Enneagram)คืออะไรเอ็นเนียแกรม(Enneagram)คืออะไร เอ็นเนียแกรม เป็นศาสตร์โบราณเกี่ยวกับการวิเคราะห์ลักษณะของบุคคลได้ศึกษาและรวบรวมโดยนักบวชลัทธิซูฟีของศาสนาอิสลามซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในต่างประเทศสำหรับประเทศไทยเอ็นเนียแกรมได้เข้ามาเมื่อไม่นานนี้ และแพร่หลายในกลุ่มเล็กๆโดยท่านสันติกโรภิกขุพระภิกษุชาวอเมริกันซึ่งศาสตร์นี้ภาษาไทยเรียกว่านพลักษณ์อันหมายถึงลักษณะ 9 แบบคำว่า” เอ็นเนียแกรม” มาจากภาษากรีก เอ็นเนีย แปลว่าเก้า และ แกรม แปลว่า แบบจำลอง โดยรวมแล้วหมายถึง ศาสตร์เพื่อความเข้าใจตนเองและผู้อื่น นั่นเอง
1. คนสมบูรณ์แบบ (Reformer หรือPerfectionist) เป็นคนลักษณะที่เรียกว่าต้องการปรับปรุงตนเองและมีชีวิตในแบบที่ถูกต้องเป็นคนชอบวิพากษ์วิจารณ์ตนเองและผู้อื่นในด้านเด่นคนลักษณ์นี้เป็นคนทำงานหนักอุทิศตนให้งานมีวินัยในตนเองสูงทำอะไรเป็นแบบแผนซื่อสัตย์มีอุดมคติและจริยธรรมเมื่อโกรธจะไม่ค่อยแสดงออกในด้านด้อยอาจมีแนวโน้มชอบตัดสินคนอื่นช่างวิตกกังวลชอบโต้เถียงเหน็บแนมและมักเอาจริงเอาจังเกินไปรวมไปถึงนิสัยที่ชอบควบคุมคนอื่น สื่อสารกับคนลักษณ์ 1 พยายามเติมอารมณ์ขันเล็กๆน้อยๆไปในวงสนทนาแสดงให้เห็นว่าไม่ได้หัวเราะสิ่งที่เขาพูดเพิ่มน้ำหนักให้กับประเด็นที่เขาค้านหัวชนฝาหากเป็นวิธีเดียวที่ทำให้งานเดิน
2. ผู้ให้ (Helperหรือ Giver) เป็นคนที่ต้องการมีคุณค่าเป็นที่รักของคนอื่นมีจิตวิทยาในการสื่อสารกับคนอื่นมากเข้ากับคนอื่นได้ดีและมีพลังเหลือเฟือมาจากความภาคภูมิใจที่มาพร้อมกับภาพลักษณ์ในฐานะผู้ให้ความช่วยเหลือชอบทำตัวเป็นมือขวาในการทำงานเหมือนพวกเลขาฯรู้ความลับเจ้านายประมาณว่ากุมอำนาจอยู่เบื้องหลังชอบเป็นศูนย์กลางข้อมูลของทุกๆ อย่างชอบให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำไม่ว่าคนอื่นต้องการหรือไม่ก็ตามมีหลายบุคลิกปรับเปลี่ยนตนเองไปตามสถานการณ์และความต้องการของคนอื่นด้านไม่ดีอาจควบคุมคนอื่นด้วยการประจบเยินยอคนลักษณ์นี้จัดเป็นนักสื่อสารตัวยงสื่อสารกับคนลักษณ์ 2 ควรใช้กิริยาและน้ำเสียงที่อบอุ่นแสดงความสนใจเป็นการส่วนตัวและชื่นชมในตัวเขา ไม่ควรให้ความคาดหวังเพราะเขาอาจหวังว่าจะต้องได้รับ ในเรื่องการวิพากษ์ต้องชี้ชัดตรงประเด็น
3. นักแสดง ( Achiverหรือ Performer ) เป็นผู้ใฝ่ความสำเร็จแรงจูงใจคือการเป็นที่ยอมรับนับถือประสบความสำเร็จในงานทุกด้านภายนอกดูเป็นคนมีความสุขและมองคนในแง่ดีการรักษาภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เขาใส่ใจทุ่มเททำงานหนักบ้างานจนทิ้งครอบครัวไม่ดูแลตัวเองหวังว่าคนอื่นจะทำงานหนักด้วยเลี่ยงความล้มเหลวทุกประการเลือกทางที่จะได้รับการตอบรับที่ดีเท่านั้นถ้าเกิดความล้มเหลวจะโยนใส่คนอื่นชอบแข่งขันมุ่งเอาชนะต้องการชิงตำแหน่งผู้นำทนการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ สื่อสารกับคนลักษณ์ 3 ใช้วิธีการสื่อสารแบบเซลล์แมนเขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกโอกาสด้วยความที่เป็นคนห่วงภาพลักษณ์อย่างมากดังนั้นวิธีการสื่อสารคือแสดงให้เห็นว่า “ นับถือความสามารถเขาจริงๆแต่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ ”
4. คนโรแมนติกหรือโศกซึ้ง ( IndividualistหรือTragic Romantic ) เป็นคนที่ต้องการที่จะเข้าใจความรู้สึกตัวเองแสวงหาความหมายของชีวิตหลีกเลี่ยงความสามัญธรรมดาต้องการงานที่แตกต่างงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพของงานขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์มีบุคลิกศิลปินช่างจินตนาการอยากให้คนอื่นมองว่าเป็นคนพิเศษข้อด้อยไม่สามารถแยกเรื่องรักใคร่ส่วนตัวออกจากกิจธุระก้าวร้าวหรือพยายามขับคู่แข่งขันออกไปจากพื้นที่การทำงานแต่ชอบคนเก่งที่อยู่นอกทีมจะว้าวุ่นรู้สึกเหี่ยวเฉาถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งกว่า สื่อสารกับคนลักษณ์ 4 ต้องการความสนับสนุนทางจิตใจความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญอย่าหนีหน้าเวลาเขาแสดงอารมณ์แม้อารมณ์จะขึ้นๆ ลงๆแต่ประสิทธิภาพการทำงานจะกลับคืนมาด้วยเมื่อสติเขากลับคืนมา
5. นักสังเกตการณ์ ( Investigatorหรือ Observer ) เป็นคนที่ต้องการรู้และเข้าใจในสิ่งต่างๆด้วยตนเองหลีกเลี่ยงความรู้สึกของการถูกครอบงำหรือบุกรุกชอบสะสมชอบอยู่คนเดียวใช้ความคิดหรือในสิ่งที่ตนสนใจต้องการอะไรที่คาดการณ์ได้ตัดสินใจโดยปราศจากความรู้สึกส่วนตัวจะถือว่าการแสดงอารมณ์เป็นการเสียการควบคุมตนเองหลีกเลี่ยงความขัดแย้งจนถึงที่สุดจะมีประสิทธิภาพมากถ้าไม่ต้องยุ่งเกี่ยวหรือสังสรรค์กับใครทำงานหนักได้ถ้าได้รับความเป็นอิสระและความเป็นส่วนตัว สื่อสารกับคนลักษณ์ 5 เป็นคนที่คนอื่นอาจรู้จักเขาน้อยหรือไม่ค่อยเข้าใจเพราะไม่ชอบเล่าเรื่องส่วนตัวให้ใครฟังยิ่งเข้าใกล้ยิ่งถอยห่างดังนั้นพึงเคารพในพื้นที่ของเขาปล่อยให้คิดเห็นอย่างเป็นอิสระ
6. นักปุจฉาหรือพลรบ ( Loyalist หรือ Questioner ) เป็นคนต้องการความมั่นคงปลอดภัยเป็นคนกลัวการขู่คุกคามแล้วจะแสดงความกลัวออกมาระแวดระวังขี้สงสัยลังเลมองโลกในแง่ร้ายบางครั้งพยายามทำตัวให้ถูกใจคนอื่นส่วนประเภทกลัวแล้วจะสู้จะดูกล้าหาญท้าทายเพื่อปกปิดความกลัวส่วนใหญ่จะมีลักษณะทั้งสองปนกัน สื่อสารกับคนลักษณ์ 6 พยายามลดช่องว่างของความเสี่ยงให้มากที่สุดแต่คาดหวังผลลัพธ์สูงเป็นคนที่ไม่สามารถพูดในที่สาธารณะต้องการการยืนยันที่แน่นอนก่อนจะเคลื่อนไหว
7. นักผจญภัยหรือเสพประสบการณ์ (Enthusiast หรือ Adventure ) เป็นคนต้องการที่จะมีความสุขหลีกเลี่ยงความทุกข์ความเจ็บปวดปิดบังความกระวนกระวายด้วยการทำตัวให้ยุ่งและมีแผนการมากมายที่ยังไม่ได้ลงมือทำมีความรู้สึกข้างในว่าตัวเองเก่งและมีคุณค่าเปิดรับความคิดใหม่ๆมากกว่าความจำเจละมุนละม่อมในการแก้ปัญหามักเป็นเพื่อนร่วมงานที่สร้างความสุขสนุกสนานให้เสมอด้วยการมีอารมณ์ขันความคิดสร้างสรรค์และการให้อภัยชอบความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกัน สื่อสารกับคนลักษณ์ 7 ด้วยความเป็นคนมองโลกในแง่ดีทำให้เป็นคนสบายๆง่ายๆแต่บ่อยครั้งก็หละหลวมจึงยากที่จะควบคุมคนพวกนี้สิ่งหนึ่งคือควรช่วยประสานแนวคิดให้เป็นไปในทางเดียวกันพยายามให้เขามองด้านลบไปพร้อมกับด้านบวก
8. เจ้านาย(Challenger หรือ The Boss ) มีความต้องการพึ่งตนเองเข้มแข็งมีอิทธิพลต่อโลกเป็นพวกมีปัญหาเกี่ยวกับความโกรธและหลงลืมตัวเองชอบสวมบทบาทผู้คุมกฎแตกต่างจากลักษณ์ 1 ตรงที่เขาพร้อมจะแสดงความโกรธออกมาได้เสมอในสถานการณ์ที่ไม่มีผู้นำก็แสดงบทบาทเองอาจมองการประนีประนอมว่าเป็นการยินยอมอ่อนแอสนใจเรื่องความถูกต้องยุติธรรมและการปกป้องคนข้อด้อยมักมองว่าตนเองถูกยึดเป็นศูนย์กลางโกรธอย่างตรงไปตรงมาไม่มีวาระซ่อนเร้นแสดงความโกรธแบบไม่ยั้งสนับสนุนกฎเกณฑ์ที่เข้ากับตนเองเบี่ยงเบนกฎที่ไม่ถูกใจ สื่อสารกับคนลักษณ์ 8 ควรสื่อสารแบบตรงไปตรงมาเมื่อเขาโกรธหรือตำหนิติเตียนก็ยอมรับแต่อย่าเอามาเป็นเรื่องส่วนตัวคนลักษณ์นี้รับมือกับข่าวร้ายได้ดีแต่หากมองข้ามเขาจะทำให้รู้สึกเหมือนถูกทรยศหักหลังตรงไปตรงมาดีกว่า
9. นักไกล่เกลี่ย หรือประสานไมตรี ( The Peacemaker ) เป็นคนหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทุกรูปแบบดูผ่อนคลายสบายๆมีความต้องการมีสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและเจ้านายชอบการทำงานชัดเจนหรือทำงานเป็นกระบวนการทำงานได้รวดเร็วประสานงานดีวางลำดับความสำคัญงานยากแต่ก็ไม่ชอบถูกกะเกณฑ์โดยคนอื่นทำงานแข่งกับเส้นตายใช้เวลาจนนาทีสุดท้ายข้อด้อยมักหลงลืมความต้องการแต่บางทีก็แสดงความโกรธออกมาอย่างไม่รู้ตัวเพิกเฉยปัญหาแล้วก็โทษระบบโทษการจัดการว่าไม่ดีซะอย่างนั้น สื่อสารกับคนลักษณ์ 9 หากเขาไม่ตอบรับแสดงว่าเขาปฏิเสธหากต้องการให้ตกลงควรวางกรอบการสนทนาที่ชัดเจนพยายามควานหาความต้องการของเขาใส่ไปในโครงการด้วย
บทสรุป“นพลักษณ์” ศาสตร์สำหรับนักบริหาร • มนุษย์โลกเกิดมาพร้อม วัน - เดือน - ปี และเวลาตกฟาก ของใครก็ของมัน เรามีราศีเกิด ดวงใครก็ของคนๆนั้น ไม่เพียงท่านี้ คนทุกคนยังมี "ลักษณ์" ประจำตัว ซึ่งไม่ต้องเปิดตำราโหราพยากรณ์ ไม่ต้องผูกดวงปีเกิด คนๆ นั้นก็เกิดมาพร้อม "ลักษณ์" ประจำตัวเฉกเช่นราศีเกิด... ลักษณ์ หรือลักษณะ คือบุคลิกนิสัยประจำตัว คุณมีความคิด ความรู้สึก อย่างไร อธิบายไว้ในลักษณ์ทั้ง 9 หรือ "นพลักษณ์" ดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งปัจจุบันนักวิชาการด้านบริหารบุคคล นักจิตวิทยา จัดให้นพลักษณ์ เป็นศาสตร์แห่งการเรียนรู้ตัวคน เข้าถึงบุคลิกและจิตวิญญาณของคน จะเรียกว่านพลักษณ์คือ "แผนที่มนุษย์" ก็ไม่น่าจะผิด... นพลักษณ์ เป็นทั้งแผนที่ไว้ดูตัวเอง ดูคนอื่น เพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของแต่ละคน เพิ่มความเข้าใจคน เข้าใจชีวิต ลดอัตตา ลดความเป็นตัวของฉัน ของๆ ฉัน หากช่วยเพิ่มความเข้าใจ ความมีเมตตากรุณา และมองเพื่อนมนุษย์ทุกคนด้วยความเข้าใจ
นพลักษณ์เป็นศาสตร์ใหม่แห่งการเรียนรู้มนุษย์ แม้จะยังไม่ได้จัดเข้าหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยาอย่างเป็นทางการ แต่นักจิตวิทยารุ่นใหม่กำลังศึกษา ให้ถึงแก่นแท้ ปัจจุบันนักจิตวิทยาจากหลายสำนัก พบว่า นพลักษณ์สอดคล้องอย่างน่าประหลาดกับหลักการอธิบายบุคลิกภาพสมัยใหม่ ด้วยความง่าย แม่นยำ หากลึกซึ้ง และสามารถเชื่อมโยง อธิบาย และชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างของความแตกต่างกันในความเป็น "ตัวฉัน" และ "ของคนอื่น" ในขณะที่กระบวนการวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาทั่วไป ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเข้าใจ นพลักษณ์ หรือ Enneagram (เอ็นเนียแกรม) เป็นศาสตร์ใหม่ในเมืองไทยจึงน่าสนใจเรียนรู้ศึกษาอย่างยิ่ง.