1 / 37

เศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการวิจัย

เศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการวิจัย. ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. หัวข้อการบรรยาย. ความเป็นมาและความหมายของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง

macy
Download Presentation

เศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาการวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาการวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาการวิจัย ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  2. หัวข้อการบรรยาย • ความเป็นมาและความหมายของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการวิจัย • การพัฒนาคุณภาพการศึกษา • การสร้างองค์ความรู้ของปรัชญา • การดำเนินการวิจัยตามหลักปรัชญา

  3. วิกฤติแสดงถึงความไม่พอเพียงในสังคมไทยวิกฤติแสดงถึงความไม่พอเพียงในสังคมไทย • ความไม่พอเพียงในการบริโภค---การออมลดลง • การลงทุนอย่างไม่พอเพียง • การก่อหนี้อย่างไม่พอเพียง • การประเมินเศรษฐกิจไทยที่สูงเกินความเป็นจริง • การบริหารเศรษฐกิจที่ขาดภูมิคุ้มกันที่ดี • การขาดคุณธรรม

  4. ความเป็นมาของปรัชญา • วิกฤติแสดงถึงจุดอ่อน ทำให้ต้องมีการหาแนวทางใหม่ • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทในวันที่ 4ธันวาคม 2540 ให้ตระหนักถึง เศรษฐกิจพอเพียง • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ในแนวปรัชญาในหลายโอกาส • ห้าสถาบันร่วมจัดสัมมนาประจำปี TDRI มีการศึกษา รวบรวมพระราโชวาทในวาระต่างๆมาสรุปเป็นความหมายของปรัชญา และขอพระราชานุญาตนำมาในการสัมมนา เพื่อทำความเข้าใจและประยุกต์ • ข้อสรุปนั้นนำมาเป็นหลักแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9 และฉบับที่ 10

  5. ทรงมีกระแสพระราชดำรัสแก่ปวงชนชาวไทย ให้ใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ มาเป็นเวลานานแล้ว โดยมาจากพระราชกรณียกิจของพระองค์

  6. การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจ ขั้นที่สูงขึ้น โดยลำดับต่อไป พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗

  7. ทำโครงการอะไร ก็จะต้องนึกถึงขนาดที่เหมาะสมกับที่เรียกว่า อัตภาพ หรือกับสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการที่จะทำโครงการอะไร จะต้องทำด้วยความรอบคอบ และอย่าตาโตเกินไป พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

  8. การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญสำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจ แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอก ว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

  9. ให้พอเพียงนี้ ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

  10. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิตรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒

  11. พอมีพอกินนี่ได้พูดมาหลายปี สิบกว่าปีแล้ว ให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ self-sufficiency คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆพัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ, จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้ พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

  12. ทั้งหมดนี้พูดอย่างนี้ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า SUFFICIENCY ECONOMY ใครต่อใครก็ต่อว่า ว่าไม่มี SUFFICIENCY ECONOMY แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ หมายความว่า ประหยัดแต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓

  13. มีคณะทำงานการดำเนินการต่อ เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ต่อไป • โดยใช้การศึกษาทฤษฎี การศึกษาพระราโชวาท สรุปลักษณะของปรัชญา • จนมาเป็นคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  14. การพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พฤษภาคม ๒๕๔๖

  15. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ความพอเพียงหมายถึงความพอ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ความ รอบคอบและควาระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึก ในดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่ เหมาะสม เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียง กรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะ คำนิยาม เงื่อนไข แนวปฎิบัติและผลที่คาดหมาย

  16. ทางสายกลาง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล ความรู้ มีสติปัญญา รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง คุณธรรมซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน สามัคคี แบ่งปัน นำไปสู่ เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม/ สมดุล/ยั่งยืน/พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  17. โครงสร้างและเนื้อหาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: ความพอเพียง ความพอประมาณ ความพอดี ยืนบน ขาของตนเอง ความมีเหตุมีผลรอบคอบ มองระยะยาว คำนึงถึง ความเสี่ยง การมีภูมิคุ้มกัน เตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลง สร้างภูมิคุ้มกัน

  18. โครงสร้างและเนื้อหาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: เงื่อนไขปฏิบัติ ความรอบรู้ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการเพื่อใช้เป็น ประโยชน์พื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการ ปฏิบัติอย่างพอเพียง ความรอบคอบ การวางแผนโดยสามารถที่จะนำ ความรู้และหลักวิชาต่าง ๆ มา พิจารณาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ความระมัดระวัง ความมีสติรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง คุณธรรม/ซื่อสัตย์ ความรู้คู่คุณธรรม อดทน พากเพียร

  19. การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • การจะทำตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การตัดสินใจที่เหมาะสม โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดมุ่งหมายตามปรัชญา • การครองตน การอาชีพ การจัดการครอบครัว • การบริหารจัดการองค์การ • การวางแผนและนโยบาย • การตัดสินใจโดยใช้หลักของปรัชญาคือการพิจารณาตามกรอบสามห่วง สองเงื่อนไข

  20. เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา • คุณภาพการศึกษา จะขึ้นอยู่กับ • นักศึกษา อาจารย์ (inputs) • กระบวนการศึกษา(Process) • ผลผลิต (Outputs)

  21. ผลิตบัณฑิตและงานวิชาการที่มีคุณภาพผลิตบัณฑิตและงานวิชาการที่มีคุณภาพ และคุณธรรม โดยการควบคุมคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ประกันและพัฒนาคุณภาพ • Input • Instructor Process Output

  22. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยพัฒนาการศึกษาโดยใช้เป็นแนวทาง • ควบคุมพัฒนาคุณภาพ inputs • จัดกระบวนการศึกษา (เนื้อหาและการบริหารเป็นไปตามหลักของปรัชญา) • บัณฑิตเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมตามเศรษฐกิจพอเพียง

  23. บัณฑิตที่มีจิตใจแห่งความพอเพียงบัณฑิตที่มีจิตใจแห่งความพอเพียง • ไม่เป็นผู้บริโภคนิยม แต่เข้าใจถึงการมีการบริโภคที่ยั่งยืน • มีความใฝ่รู้ มีการทดลองกับความเป็นจริง ไม่ติดตำรา • มีความพากเพียร • มีความเอื้ออาทร • มีคุณธรรม

  24. การพัฒนากระบวนการการศึกษาการพัฒนากระบวนการการศึกษา • หลักสูตรทำให้นักศึกษาเข้าใจและมีจิตใจตามหลักของปรัชญา • การบริหารการศึกษาเป็นไปตามหลักของปรัชญา • ใช้หลักของปรัชญาประกันคุณภาพของปัจจัยการผลิต • มีการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการสอน

  25. การสร้างองค์ความรู้ของปรัชญาการสร้างองค์ความรู้ของปรัชญา • ยึดหลักความพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (สามห่วง สองเงื่อนไข) • สร้างงานวิจัยในประเด็น • วิจัยในเชิงทฤษฎี ให้เข้าใจหลักปรัชญาได้ดีขึ้น • วิจัยประยุกต์ เพื่อให้มีความรู้ใช้หลักสามห่วงสองเงื่อนไขได้ดีขึ้น • วิจัยเพื่อสร้างความพอเพียง (วิจัยเฉพาะด้าน)

  26. Rethinking Sufficiency Economy Dr. Wichai Turongpun Somchai Likitkean ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การตีความเชิงวิพากษ์ว่าด้วยมิติทางวัฒนธรรมจากมุมมองหลังสมัยใหม่ โดย ผศ.ดร.จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต

  27. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเศรษฐกิจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเศรษฐกิจ โดย ผศ.ดร.ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาชุมชน โดย อาจารย์วิชัย รูปขำดี

  28. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์กรหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์กร โดย อาจารย์ ดร. สมบัติ กุสุมาวลี • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการทรัพยากรดิน

  29. ความพอเพียงที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนกับการจัดการร่วมสมัย:ความพอเพียงที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนกับการจัดการร่วมสมัย: ตัวแบบธุรกิจล้นเกล้า โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ผลิน ภู่จรูญ • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการภาครัฐ โดย ดร.ไพโรจน์ ภัทรนรากุล

  30. หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล : ทฤษฎีและ ผลวิจัยเพื่อสร้างดัชนีในแนวจิตพฤติกรรมศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ดุจเดือน พันธุมนาวิน และ ศ.ดร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน

  31. คลังข้อมูลสำหรับการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจคลังข้อมูลสำหรับการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล รศ. ดร. จิราวัลย์ จิตรถเวช ดร.ปราโมทย์ กั่วเจริญ การพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง โดย ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค

  32. การประกันสังคมเกษตรกรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการประกันสังคมเกษตรกรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย ผศ วีณา ฉายศิลปรุ่งเรือง,รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และ ผศ..ดร.นฤมล สอาดโฉม • การบริหารความเสี่ยงภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับภาคเอกชน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สอาดโฉม

  33. การวิจัยตามหลักของปรัชญาการวิจัยตามหลักของปรัชญา • นักวิจัยสามารถใช้ปรัชญาทำให้งานวิจัยของเรามีคุณภาพ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักสามห่วงสองเงื่อนไข

  34. ความมีเหตุมีผล เป็นงานที่มีประโยชน์ มี Research Design ที่ดี ความพอประมาณ มีความเหมาะสมกับ งบประมาณ เวลา โดยได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ การมีภูมิคุ้มกัน หากงานไม่เป็นตามแผน (ขาดข้อมูล มีปัญหาจากแบบสอบถาม) จะเตรียมแก้อย่างไร ความรอบรู้ มีความรู้ในเรื่องที่จะทำ คุณธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

  35. ข้อสังเกตในการประยุกต์ปรัชญาข้อสังเกตในการประยุกต์ปรัชญา • การประยุกต์ใช้ปรัชญานี้เกิดได้ในหลายมิติ และหลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ละคนจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี ให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และสภาวะที่เผชิญอยู่ • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยในการให้ “ฉุกคิด” ว่าการตัดสินใจ การดำเนินชีวิต หรือการดำเนินธุรกิจ มีความเหมาะสมหรือไม่ จะมีความสมดุล ยั่งยืนหรือไม่ มีความเสี่ยงและการเตรียมรับความเสี่ยงอย่างไร

  36. จบการบรรยาย ขอขอบคุณ

More Related