1 / 51

สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง

สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. มาตรา ๗๐๓ อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใด ๆ สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จด ทะเบียนแล้วตามกฎหมาย คือ (๑) เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป ฯลฯ (๒) แพ

Download Presentation

สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลางสำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

  2. มาตรา ๗๐๓ อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใด ๆ สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จด ทะเบียนแล้วตามกฎหมาย คือ (๑) เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป ฯลฯ (๒) แพ (๓) สัตว์พาหนะ (๔) สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  3. มาตรา ๗ ให้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลางขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรม มีอำอาจหน้าที่ในการจดทะเบียนเครื่องจักร ฯลฯ มาตรา ๕ เครื่องจักรใดเมื่อได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ตามมาตรา ๗๐๓(๔) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฯลฯ พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. ๒๕๑๔

  4. หน้าที่ความรับผิดชอบ จดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอื่นๆ ตรวจสอบติดตามควบคุมเครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนฯไว้ ประเมินราคาเครื่องจักร งานฐานข้อมูลรายละเอียดและราคาเครื่องจักร งานบำรุงรักษาสภาพเครื่องจักร สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง

  5. แผนภูมิงานตามภารกิจหลักแผนภูมิงานตามภารกิจหลัก

  6. มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้“เครื่องจักร” หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น สำหรับใช้ก่อกำเกิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความรวมถึงอุปกรณ์ไฟลวีล ปุลเล สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสนองกัน“เจ้าของ” หมายความว่า ผู้ถือกรรมสิทธิ์“จดทะเบียนเครื่องจักร” หมายความว่า การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและหรือการจดทะเบียนนิติกรรมอื่นเกี่ยวกับเครื่องจักรในภายหลัง บทนิยาม

  7. มาตรา ๔ “.......ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” ปัจจุบันคือ เครื่องจักรที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๓๒) และ กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ข้อ ๒ ให้เครื่องจักรตามบัญชี ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้สำหรับใช้ในกิจการอุตสาหกรรมตามบัญชี ๒ เป็นเครื่องจักรที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้... เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  8. (ก) เครื่องจักรที่ใช้ในกรรมวิธีโดยตรงของกิจการอุตสาหกรรม (ข) เครื่องจักรดังต่อไปนี้ (๑) เครื่องจักรจ่ายพลังงานซึ่งไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า (๒) เครื่องจักรจ่ายพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้า (๒๑) เครื่องจักรถ่ายเทความร้อน ฯลฯ เครื่องจักรตามบัญชี ๑

  9. กิจการอุตสาหกรรม ๑๐๗ ประเภท เช่น (๑) อุตสาหกรรมการฆ่าสัตว์ การชำแหละหรือการถนอมเนื้อสัตว์ (๒) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม (๓) อุตสาหกรรมการถนอมผลไม้หรือผัก (๔) อุตสาหกรรมการถนอมหรือการปรุงแต่งอาหาร (๕) อุตสาหกรรมน้ำมันพืชหรือไขสัตว์ (๖) อุตสาหกรรมการขัด การสี การโม่หรือการป่นเมล็ดพืช กิจการอุตสาหกรรมตามบัญชี ๒

  10. กิจการอุตสาหกรรม ๑๐๗ ประเภท เช่น (๑๐๔) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการให้บริการขนส่งที่ขับเคลื่อน บนรางหรือเคเบิล (๑๐๕) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ วิเคราะห์และวิจัยเพื่อ การพัฒนาวิทยาการสำหรับแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (๑๐๖) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ วิเคราะห์และวิจัยเพื่อ การพัฒนาวิทยาการด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม (๑๐๗) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ วิเคราะห์และวิจัยเพื่อ การพัฒนามาตรฐานสินค้า กิจการอุตสาหกรรมตามบัญชี ๒

  11. โรงงานอุตสาหกรรม ตามพ.ร.บ.โรงานฯ เช่น เครื่องกลึง เครื่องพิมพ์ เครื่องทอผ้า เครื่องทำน้ำแข็ง ฯลฯ เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  12. สถานบริหารร่างกาย เช่น เครื่องออกกำลังกาย ทุกชนิดเครื่องอบเซาว์น่า เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  13. สถานพยาบาล คลีนิค ศูนย์เอ็กซ์เรย์ เช่น เครื่องฉายรังสี เครื่องสลายนิ่ว เครื่องตรวจชีพจร เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  14. การบันทึก ล้าง อัด ขยายภาพ เช่น เครื่องบันทึก ล้าง อัด ขยายภาพ เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  15. การทำเหมืองแร่ แต่งแร่ ถลุงแร่ เช่น เครื่องถลุงแร่ เครื่องร่อนแร่ รถขุด รถตัก เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  16. กิจการขนส่งทางท่อ เช่น เครื่องสูบ ท่อส่ง เครื่องควบคุมการส่งจ่าย เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  17. การเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก เช่น เครื่องรีดนม เครื่องหว่านเมล็ด รถไถ รถขุด เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  18. การซักรีด อบฟอก ย้อมผ้าเช่น เครื่องซัก รีด อบ ฟอก ย้อมผ้า เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  19. สถานศึกษา การกีฬา เช่น อุปกรณ์การสอน ทุกชนิด โสตทัศนูปกรณ์ เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  20. กิจการโรงแรม สถานที่พักแรม เช่น ลิฟท์ บันไดเลื่อน หม้อน้ำ เครื่องปรับอากาศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  21. กิจการให้บริการขนส่งที่ขับเคลื่อน บนราง หรือ เคเบิลเช่น รถไฟฟ้า รถรางไฟฟ้า ระบบควบคุมรถไฟฟ้า (104) เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  22. กิจการสวนสนุก เช่น เครื่องเล่นในกิจการ สวนสนุกทุกชนิด (86) เครื่องจักรที่นำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

  23. มาตรา ๖ เจ้าของเครื่องจักรใดประสงค์จะจดทะเบียนเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้... มาตรา ๓ “นายทะเบียน” หมายความว่านายทะเบียนเครื่องจักรกลางหรือนายทะเบียนเครื่องจักรประจำจังหวัด มาตรา ๘ หลักเกณฑ์ วิธีการและแบบในการจดทะเบียนเครื่องจักร...ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง *โปรดดู กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๔) การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องจักร

  24. การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร - ข้อ ๑ การยื่นคำขอ อ ๑/๑ - ข้อ ๒ การปิดประกาศ (ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๕) - ข้อ ๓ การคัดค้านการจดทะเบียนคำขอ อ ๑/๙ - ข้อ ๓ การติดแผ่นป้ายทะเบียน แบบ ร ๘/๑ - ข้อ ๔ การออกหนังสือสำคัญฯ แบบ ร ๒/๑ กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ว่าด้วย

  25. มาตรา ๙ กรณีการพิจารณาออกหนังสือสำคัญฯ สอบถามข้อเท็จจริง ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้นำบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ปฏิเสธการจดทะเบียน * สิทธิการอุทธรณ์ตามมาตรา ๙ ทวิ และพ.ร.บ.วิธีพิจารณาทาง ปกครอง อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่

  26. อำนาจตามมาตรา ๑๓ ตรี การตรวจสอบเครื่องจักร เข้าไปในสถานที่ตั้งเครื่องจักร - ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก * แสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อได้รับการร้องขอ ตามแบบในกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๒) โทษตามมาตรา ๑๕ เบญจ การขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวก อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่

  27. ขั้นตอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรขั้นตอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ยื่นคำขอ ตรวจเครื่องจักร ก่อนประกาศมีการตรวจสอบข้อมูลการติดภารจำนอง ประกาศการจดทะเบียน 5 วัน ครบ 5 วันไม่มีผู้คัดค้าน ชำระค่าธรรมเนียม ติดแผ่นป้าย ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร

  28. มาตรา ๑๐ ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๓๒) การออกใบแทนเนื่องจากเหตุ 3 กรณี - หนังสือสำคัญฯสูญหาย - หนังสือสำคัญฯถูกทำลาย - หนังสือสำคัญฯชำรุดในสาระสำคัญ * เมื่อออกใบแทนแล้ว ให้หนังสือสำคัญฯฉบับเดิมเป็นอันยกเลิก กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๔)การแบ่งแยกรายการจดทะเบียนฯ - จากการซื้อทอดตลาด การออกใบแทน/แบ่งแยกหนังสือสำคัญฯ

  29. การย้ายออกไปภายนอกอย่างถาวร มาตรา ๑๑ วรรค ๑ วรรค ๒ - แจ้งก่อนย้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน - นายทะเบียนเห็นชอบก่อนทำการย้าย - มีการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงหนังสือสำคัญฯ โทษตามมาตรา ๑๕ - ย้ายไม่แจ้งให้นายทะเบียน - ย้ายไม่ตรงตามนายทะเบียนเห็นชอบ โทษเพิ่มตามมาตรา ๑๖ การย้ายเครื่องจักร

  30. การย้ายออกไปภายนอกชั่วคราว มาตรา ๑๑ วรรค ๔ - ไม่เกินสามสิบวัน - แจ้งก่อนย้ายไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน - นายทะเบียนรับทราบ โทษตามมาตรา ๑๕ ทวิ - ย้ายไม่แจ้งนายทะเบียน โทษเพิ่มตามมาตรา ๑๖ การย้ายเครื่องจักร

  31. การย้ายภายในอย่างถาวร มาตรา ๑๑ วรรค ๕ - แจ้งภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ย้าย - มีการแก้ไขหนังสือสำคัญฯ โทษตามมาตรา ๑๕ ทวิ - ไม่แจ้งนายทะเบียน โทษเพิ่มตามมาตรา ๑๖ การย้ายเครื่องจักร

  32. การย้ายโดยปกติวิสัยการทำงาน มาตรา ๑๑ วรรค ท้าย - ไม่ใช้บังคับแก่การย้ายเครื่องจักรซึ่งโดยปกติวิสัยในการ ทำงานต้องเคลื่อนย้ายไปมา การย้ายเครื่องจักร

  33. กรณีมาตรา ๑๒ คือ เปลี่ยนแปลงไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ - แจ้งภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้เปลี่ยนแปลง - ยินยอมจากผู้รับจำนอง(กรณีติดจำนอง) โทษตามมาตรา ๑๕ ตรี โทษเพิ่มตามมาตรา ๑๖ การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ

  34. กรณีมาตรา ๑๓ ทวิ คือ ๑. เครื่องจักรสูญหาย - แจ้งภายในสิบห้าวันเมื่อทราบหรือควรได้ทราบ - อาจถูกเพิกถอนหนังสือสำคัญฯ ๒. เครื่องจักรถูกทำลาย/ชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ - แจ้งภายในสิบห้าวันเมื่อทราบหรือควรได้ทราบ - อาจถูกเพิกถอนหนังสือสำคัญฯ โทษตามมาตรา ๑๕ จัตวา โทษเพิ่มตามมาตรา ๑๖ การเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ

  35. มาตรา ๙ ตรี การเพิกถอนหนังสือสำคัญฯ ๓ กรณี ๑. ได้กระทำไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ๒. เอกสารหลักฐานที่นำมาพิจารณาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ๓. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงไป * สิทธิการคัดค้านตามมาตรา ๙ ตรี วรรคสอง * สิทธิการอุทธรณ์ตามมาตรา ๙ ตรี วรรคสี่ และพ.ร.บ.วิธีพิจารณาทางปกครอง การเพิกถอนหนังสือสำคัญฯ

  36. มาตรา ๑๓ ทวิ การเพิกถอนหนังสือสำคัญฯ ๒ กรณี ๑. วรรคหนึ่ง เครื่องจักรสูญหาย - ต้องแจ้งและได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนอง ๒. วรรคสอง เครื่องจักรถูกทำลายหรือชำรุดจนไม่สามารถใช้เครื่องจักรนั้นต่อไปได้ - จดแจ้งสภาพเครื่องจักร - ต้องแจ้งและได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนอง การเพิกถอนหนังสือสำคัญฯ

  37. มาตรา ๖ เจ้าของเครื่องจักรใดประสงค์จะจดทะเบียนเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้... มาตรา ๘ หลักเกณฑ์ วิธีการและแบบในการจดทะเบียนเครื่องจักร...ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง *โปรดดู กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) การยื่นคำขอจดทะเบียนจำนอง/ขายฝาก

  38. กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๔) - ข้อ ๕ ยื่นคำขอตามแบบ อ ๑/๒ - ข้อ ๖ หนังสือสัญญาตามแบบ อ ๒/๑ หรือ อ ๒/๒ - ข้อ ๘ การยื่นไถ่ถอนตามแบบ อ ๑/๓ กฎกระทรวงฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๒ - อัตราค่าธรรมเนียม การยื่นคำขอจดทะเบียนจำนอง/ขายฝาก

  39. ขั้นตอนการจดทะเบียนจำนอง/ขายฝากเครื่องจักรขั้นตอนการจดทะเบียนจำนอง/ขายฝากเครื่องจักร

  40. กฎกระทรวง (พ.ศ.๒๕๔๔) - การโอนกรรมสิทธิ์ (ประกอบ ป.พ.พ.) - การโอนสิทธิการรับจำนอง แบบเอกสารและคำขอต่าง ๆ การขอแผ่นป้ายทะเบียนใหม่ กฎกระทรวงฉบับอื่น

  41. มาตรา ๑๔ - ตรวจสอบเอกสารซึ่งนายทะเบียนเก็บรักษาไว้ - คัดสำเนาเอกสาร พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ สิทธิตามรัฐธรรมนูญ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

  42. 1. ผู้ประกอบการขอรับการจดทะเบียน จำนวน 1,771 ราย 2. เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียน จำนวน 29,362 เครื่อง 3. ผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจำนอง จำนวน 1,394 ราย 4.เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนจำนอง จำนวน 25,869เครื่อง 5. วงเงินจำนอง จำนวนเงิน 485,403,686,675 บาท 6. ค่าธรรมเนียม จำนวนเงิน 38,415,569 บาท (จดทะเบียนฯ,จำนอง,นิติกรรม) ผลการปฏิบัติงานของสำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

  43. 1. ผู้ประกอบการขอรับการจดทะเบียน จำนวน 43,244 ราย 2. เครื่องจักรที่ได้จดจะเบียนไว้แล้ว จำนวน 706,997 เครื่อง 3. ผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจำนอง จำนวน 30,3156 ราย 4. เครื่องจักรที่ได้จดจำนองไว้แล้ว จำนวน 758,295 เครื่อง 5. วงเงินจำนองเครื่องจักรทั้งหมด จำนวนเงิน3,313,028,916,676 บาท ผลการปฏิบัติงานของสำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515-2551

  44. ผลงานการปฏิบัติงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539-2551

  45. จำนวนเครื่องจักรที่ออกทะเบียนกรรมสิทธิ์และจำนองปีงบประมาณ 2539-2551

More Related