120 likes | 211 Views
ศาล กับ การใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อคุ้มครองสิทธิฯ. ศาลรัฐธรรมนูญ. โครงสร้าง – ประธาน 1 องค์คณะ 8 ฎีกา 3 ปกครอง 2 นิติศาสตร์ 2 รัฐศาสตร์ 2 สรรหาโดยวุฒิสภาเป็นผู้รับรอง วาระ 9 ปี วาระเดียว อำนาจหน้าที่ – วินิจฉัยคดีความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ - คดีที่มีการวินิจฉัยถึงการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
E N D
ศาล กับ การใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อคุ้มครองสิทธิฯ
ศาลรัฐธรรมนูญ • โครงสร้าง – ประธาน1 องค์คณะ8 ฎีกา3 ปกครอง2 นิติศาสตร์2 รัฐศาสตร์2 สรรหาโดยวุฒิสภาเป็นผู้รับรอง วาระ9ปี วาระเดียว • อำนาจหน้าที่ – วินิจฉัยคดีความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ - คดีที่มีการวินิจฉัยถึงการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ - การออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ - การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต่างๆ ที่ขัดกัน - คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กรอย่างเด็ดขาด ต้องปฏิบัติตาม
การร้องเรียน กระบวนการวินิจฉัยเยียวยา • ผู้ที่สามารถร้องเรียนได้ – ศาล ประธานสภาต่างๆ สมาชิกสภา นายก อัยการสูงสุด ปปช. กกต. ผู้ตรวจการฯ กสม. นายทะเบียน/ผู้จดพรรคฯ • กระบวนการวินิจฉัย – คดีการกระทำที่ขัดหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ - ประชาชนต้องร้องผ่านกระบวนการข้างต้นเพื่อนำคดีสู่ศาลหากใช้หมดแล้วยังไม่ได้ ประชาชนอาจยื่นได้เอง - ศาลประทับรับฟ้อง/ไม่รับต้องให้เหตุผล วางวิธีการคุ้มครองชั่วคราว - สืบพยาน หลักฐานในระบบไต่สวน และทำคำพิพากษาส่วนตัว/รวม - คำพิพากษาผูกพันทุกองค์กรเด็ดขาด อุทธรณ์ไม่ได้ ไม่กระทบคดีอื่น
กรณีการทำหน้าที่ของ กกต.(เลือกตั้ง ๒ เมษายน ๒๕๔๙) • กกต. ถูกร้องเรียนว่าจัดการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ • รัฐบาลยุบสภานอกสมัยประชุมและหารือ กกต.เพื่อออก พรฎ.ให้มีเลือกตั้งหลังยุบสภา 35 วัน หันคูหาออกทำให้มองเห็น เพิกเฉยต่อพฤติกรรมพรรคใหญ่จ้างพรรคเล็กลงสมัคร รับรองผลการเลือกตั้งโดยไม่ปรึกษาหารือ/ไม่รับฟังองค์กรที่เกี่ยวข้อง (มีเพิ่มประเด็นปชป.ล่อซื้อ) • ศาลตัดสิน – อำนาจในการยุบสภาเป็นของฝ่ายบริหารไม่อยู่ในดุลยพินิจศาล การประกาศ พรฎ.และจัดเลือกตั้งอยู่ในอำนาจศาล การประกาศไม่เป็นธรรมไม่ชอบด้วย รธน. การเลือกตั้งไม่ลับไม่ชอบด้วย รธน. การจัดการเลือกตั้งของ กกต.จึงไม่ชอบ ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
กรณีระเบียบและการกระทำของ กต. เลือกประติบัติ • กต. มี พรบ.ระเบียบข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม และการบังคับใช้ที่ทำให้ผู้ที่ร่างกายพิการ(โปลิโอ) ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้พิพากษา • โดยร้องว่า ข้อความใน พรบ. “มีกาย...ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ” มีลักษณะเลือกประติบัติต่อผู้พิการ ไม่เสมอภาคกับคนปกติ ขัดกับ ม.30 ความเสมอภาคของบุคคลภายใต้รัฐธรรมนูญ • ศาลวินิจฉัย – คุณสมบัติดังกล่าวไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเข้าข้อยกเว้น ม.29 ว่าด้วยเรื่องการจำกัดสิทธิที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพเนื่องจาก ออกเป็น พรบ. บังคับใช้ทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจงกับบุคคลใด หรือกรณีใด - ผู้ตรวจร้องให้ปรับกฎ
กรณี พรบ.ชื่อบุคคล บังคับให้สตรีเปลี่ยนนามสกุลตามสามี • มีผู้ร้องว่า พรบ.ชื่อบุคคล ม.12 กำหนด “หญิงมีสามีให้ชื่อสกุลตามสามี” ขัดกับ ม.30 แห่ง รธน.ว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศสภาพ • ศาลวินิจฉัย – บทบัญญัติข้างต้นขัดกับรัฐธรรมนูญ ม.30 จริง เกิดความไม่เสมอภาคทางกฎหมาย เลือกประติบัติต่อสตรี มาตราดังกล่าวของพรบ.ชื่อบุคคล จึงไม่อาจบังคับได้อีกต่อไปโดยผลของรัฐธรรมนูญ • ผลของคำวินิจฉัย นำไปสู่การปรับปรุง พรบ.ชื่อบุคคลในปี 2548 โดยคู่สมรสอาจตกลงใช้นามสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต่างใช้สกุลเดิม เมื่อหย่าหรือศาลเพิกถอนสมรสให้กลับไปใช้สกุลเดิม หากคู่สมรสตายให้กลับไปใช้สกุลเดิมหรือสกุลของคู่สมรสเมื่อแต่งงานใหม่
ศาลปกครอง • โครงสร้าง – ประธานองค์คณะวาระ แล้วแต่คณะกรรมการตุลาการศาลฯ สอบเข้าและระบบคุณวุฒิ มีสองชั้น ชั้นต้น17 สูงสุด1เพิ่มได้ • อำนาจหน้าที่ – วินิจฉัยคดีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย(ปกครอง) - คดีที่มีการวินิจฉัยถึงการละเมิดสิทธิตามกฎหมายโดยรัฐ/รัฐวิสาหกิจ - การออกกฎหมาย หรือกฎระเบียบ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ/กฎหมายอื่น - การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ สัญญาของรัฐ - คำพิพากษาของศาลปกครองมีผลผูกพันทุกองค์กรอย่างเด็ดขาด ต้องปฏิบัติตาม มีการอุทธรณ์สูงศาลปกครองสูงสุดได้
การร้องเรียน กระบวนการวินิจฉัยเยียวยา • ผู้ที่สามารถร้องเรียนได้ – ศาล ประธานสภาต่างๆ สมาชิกสภา นายก อัยการ ปปช. กกต. ผู้ตรวจการฯ กสม. ประชาชนยื่นโดยตรง • กระบวนการวินิจฉัย – คดีการกระทำที่ขัดหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย - ประชาชนอาจร้องผ่านกระบวนการข้างต้นเพื่อนำคดีสู่ศาลหากใช้หมดแล้วยังไม่ได้ ประชาชนอาจริเริ่มยื่นเรื่องต่อศาลปกครองได้เอง - ศาลประทับรับฟ้อง/ไม่รับต้องให้เหตุผล วางวิธีการคุ้มครองชั่วคราว - สืบพยาน หลักฐานในระบบไต่สวน และทำคำพิพากษาส่วนตัว/รวม - คำพิพากษาผูกพันทุกองค์กรเด็ดขาด อุทธรณ์ได้ ไม่กระทบคดีอื่น
กรณีการถอนสัญชาติ อ.แม่อาย • กรมการปกครองถอนสัญชาติโดยจำหน่ายบัญชีทะเบียนออกจากระบบ • เจ้าหน้าที่ปกครอง ตำรวจ เข้าจับกุม ชาวบ้าน อ.แม่อาย • ฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นเชียงใหม่ • ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ศาลชั้นต้นสั่งให้คืนสัญชาติ และมีการจัดทำทะเบียนบ้านบัตรประชาชน • ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้การกระทำทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องคืนสถานะคืนแก่ประชาชน • เหตุผล เป็นการกระทำลิดรอนสิทธิของประชาชนที่กฎหมายรับรอง
การปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงท่อก๊าซ ไทย-มาเลย์ • มีผู้ร้องเรียนผ่าน ผู้ตรวจฯ ว่าฝ่ายรัฐ(รมต.มหาดไทย) สั่งให้ใช้กำลังตำรวจเข้าปราบผู้ชุมนุมประท้วงโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ขัดกับ รธน. ม.44 ว่าด้วยเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ • ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของตำรวจชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมีการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมดังกล่าว (ครั้งสมัย สนั่น) • อีกกรณี ร้องผ่าน กสม.ว่าด้วยฝ่ายรัฐ(รมต.มหาดไทย) สั่งให้ใช้กำลังตำรวจเข้าปราบผู้ชุมนุมประท้วงโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลย์ (ทักษิณ) • ศาลปกครองวินิจฉัยว่ารัฐใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่พบการใช้ความรุนแรงในการประท้วง และไม่พบอาวุธ
กรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตกรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต • มีผู้ร้องว่าการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ให้โอนอำนาจรัฐบางอย่างไปให้บริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตด้วย (การเวนคืนที่ดิน การเข้าจัดทำโครงข่ายพื้นฐานในที่รัฐ) • ศาลปกครองกลางวินิจฉัย – การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดว่า กรรมสิทธิ์ในที่ดินของประชาชนได้รับการคุ้มครองรัฐจะล่วงล้ำได้ก็ต่อเมื่อรัฐใช้อำนาจตาม พรบ. ในการเวนคืนเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ การโอนอำนาจซึ่งแต่เดิมเป็นของภาครัฐไปให้กับภาคเอกชน ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ • ผลของคำวินิจฉัย ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้องระงับการเข้าตลาดหุ้น
ข้อสังเกตต่อบทบาทศาลต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนข้อสังเกตต่อบทบาทศาลต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน • รธน.2550 ทำให้การเข้าสู่ศาลง่ายขึ้น โดยเฉพาะประชาชน • ศาลมีบทบาทในการแก้ไขข้อยัดแย้งทางการเมืองมากขึ้น อาจมีผลต่อความเป็นอิสระของศาล โดยเฉพาะกรณีศาลรัฐธรรมนูญซึ่งการเมืองตั้ง • ศาลรัฐธรรมนูญเดิมมีปัญหาเรื่องการวินิจฉัยคดีว่าถูกต้องหรือไม่ ในหลายๆคดี ปรากฏการใช้ดุลยพินิจที่อาจขัดต่อหลักกฎหมาย • กระบวนการรับคดีของศาลรัฐธรรมนูญ/ศาลปกครองค่อนข้างรวดเร็ว แต่ระหว่างคดีพิจารณาจะกินเวลามาก/การบังคับใช้มาตรการชั่วคราวเร็ว • คดีในศาลปกครองค่อนข้างเป็นธรรม(ตาม กม.) ศาลรัฐธรรมนูญ?