1 / 36

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. จุดมุ่งหมายของรายวิชา. ๑ . เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการ กระบวนการ และกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ๒ . เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของผู้เรียน

Download Presentation

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

  2. จุดมุ่งหมายของรายวิชาจุดมุ่งหมายของรายวิชา • ๑. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการ กระบวนการ และกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร • ๒. เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของผู้เรียน • ๓. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ และใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับสาร • ๔. เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ

  3. หัวข้อเรื่อง • ความสำคัญของภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร > ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย, หลักการสื่อสาร • การฟัง > หลักการฟังทั่วไป, การฟังจับใจความ, การฟังเพื่อตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ • การอ่าน> หลักการอ่านทั่วไป, การอ่านจับใจความ, การอ่านตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ • การเขียน > ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนที่เป็นแบบแผน, การเขียนโครงเรื่อง, การเขียนประวัติส่วนตัวโดยย่อ • การพูด> ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการพูด, การเตรียมตัวในการพูด, ศิลปะและหลักการพูด • ประมวลความรอบรู้ > สารคดีสั้น

  4. การวัดผลและประเมินผล • คะแนนเก็บระหว่างเรียน ๕๕ % • การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ๑๕ % • คะแนนสอบปลายภาค ๓๐ %

  5. เกณฑ์การให้ระดับคะแนนเกณฑ์การให้ระดับคะแนน ๘๐ - ๑๐๐ = A ๗๕ - ๗๙ = B+ ๗๐ - ๗๔ = B ๖๕ - ๖๙ = C+ ๖๐ - ๖๔ = C ๕๕ - ๕๙ = D+ ๕๐ - ๕๔ = D ๐ - ๔๙ = E

  6. กฎกติกามารยาท • เวลาเข้าชั้นเรียน – check ชื่อตอนไหนก็ได้ – มาสาย ๒ ครั้ง ถือว่า “ขาดเรียน ๑ ครั้ง” • การขาดเรียน (โดยเฉพาะกับวันที่มีการสอบเก็บคะแนน) – ต้องมีใบลา (ใบรับรองแพทย์/ หนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา) • การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ช่วยตอบคำถาม/ แสดงความคิดเห็น/ มีน้ำใจ/ ไม่พูดคุยเสียงดังรบกวนการเรียนการสอน ฯลฯ) • การแต่งกาย • เวลาพัก ดื่มน้ำ – ปัสสาวะ • กรณีมีเหตุจำเป็นสำคัญอื่นๆ กรุณาแจ้งล่วงหน้า และ “กระทำตนให้สมกับเหตุจำเป็นนั้น”

  7. ขอต้อนรับเข้าสู่ภาคทฤษฎีครับขอต้อนรับเข้าสู่ภาคทฤษฎีครับ

  8. ความสำคัญของภาษาไทยเพื่อการสื่อสารความสำคัญของภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

  9. หัวข้อการเรียนการสอน • ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย • ความหมาย • ประเภทของภาษา • ลักษณะทั่วไปของภาษา • ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย • หลักการสื่อสารในชีวิตประจำวัน • ความหมาย • จุดประสงค์ของการสื่อสาร • องค์ประกอบของการสื่อสาร • ประเภทของการสื่อสาร • อุปสรรคของการสื่อสาร

  10. ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย • ภาษา (กริยา ส. ภาษ) แปลว่า พูด บอก หรือ กล่าว (นาม ภาษา) ความหมายว่า คำพูดหรือถ้อยคำ • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ • ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเช่น ภาษาไทย ภาษาจีน • เพื่อสื่อความเฉพาะวงการเช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; • เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง • (โบ)คนหรือชาติที่พูดภาษานั้นๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย ; • (คอม)กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา; • โดยปริยายหมายความว่าสาระ เรื่องราว เนื้อความที่เข้าใจกัน เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา

  11. ประเภทของภาษา • ๑. วัจนภาษา(Verbal Language) - ภาษาพูดหรือภาษาที่ออกเสียงเป็นถ้อยคำ - ตัวอักษรหรือภาษาเขียน • ๒. อวัจนภาษา(Non – Verbal Language) - กิริยาท่าทาง - การใช้สีหน้า ดวงตา - น้ำเสียง - สัญลักษณ์ สัญญาณต่างๆ - การใช้สถานที่ - การใช้เวลา - การใช้สิ่งของ

  12. ลักษณะทั่วไปของภาษา • ๑. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย • ๒. ภาษามีระบบระเบียบมีไวยากรณ์เฉพาะของแต่ละภาษา • ๓. ภาษาเกิดจากการเรียนรู้โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนด • ๔. ภาษามีจำนวนประโยคไม่รู้จบ • ๕. ภาษาคือการกำหนดสัญลักษณ์ร่วมกัน • ๖. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง • ความหมายเปลี่ยนแปลง เช่น แพ้ เป่าปี่ ดัดจริต พลิกแผ่นดิน • ความหมายกว้างขึ้น เช่น หางเครื่อง กระโถน เดินสาย • ความหมายแคบลง เช่น กาพย์

  13. ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยลักษณะเฉพาะของภาษาไทย • ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง • ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด (ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อจะนำไปใช้) • ภาษาไทยส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมีความหมายสมบูรณ์ในตัว • คำเดียวอาจมีหลายความหมาย หลายหน้าที่ เมื่ออยู่ในตำแหน่งต่างกัน • “หลังจากไก่ขันเขาก็ลุกขึ้นใช้ขันตักน้ำหนึ่งขันมาล้างหน้า แล้วก็นึกขันว่า ตื่นมานั่งขันเชือกอย่างแข็งขันแต่เช้าทำไม” • ภาษาไทยมีลักษณนาม เช่นกีตาร์ เกวียน ทะเล ช้าง ปริญญาบัตร • ภาษาไทยมีระบบเสียงสูงต่ำ • ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีชั้นเชิงคือ มีระดับของคำ • คำภาษากวี

  14. หลักการสื่อสารในชีวิตประจำวันหลักการสื่อสารในชีวิตประจำวัน • การสื่อสาร (communication) คือ การติดต่อกันระหว่างมนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น หรือการแสดงความรู้สึก ซึ่งต้องอาศัยเครื่องนำทางหรือสื่อนำไปด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ และทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันตลอดจนเกิดการตอบสนองต่อกัน

  15. จุดประสงค์ของการสื่อสารจุดประสงค์ของการสื่อสาร • แจ้งให้ทราบ – เพื่อทราบ • สอน/ ให้การศึกษา/ ให้รายละเอียด/ ข้อมูลข่าวสาร – เพื่อเรียนรู้ • สร้างความบันเทิง/ จรรโลงใจ - เพื่อความบันเทิง/ ความสุข • โน้มน้าวใจ - เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ

  16. องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร • ๑. ผู้ส่งสาร (sender) • บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้เริ่มต้นการสื่อสาร โดยจะแปลสารให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด เช่น ภาษา กิริยาอาการ เครื่องหมายต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ข้อมูลข่าวสารต่างๆไปยังผู้รับสาร

  17. ผู้ส่งสารที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้ • มีจุดมุ่งหมายในการถ่ายทอดสาร • แจ้งให้ทราบ /ถามให้ตอบ /บอกให้ทำ / นำให้คิด • มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเป็นอย่างดี • ต้องทราบความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร • ความประสงค์ของผู้รับสาร • ความรู้และประสบการณ์ของผู้รับสาร • ทัศนคติของผู้รับสาร • รู้จักใช้วิธีสื่อสารที่เหมาะสม

  18. ๒. สาร (message) • เรื่องราว ตัวข้อมูล สาระสำคัญที่ผู้ส่งสารส่งถึงผู้รับสาร • ข้อเท็จจริง • ข้อคิดเห็น • ข้อคิดเห็นเชิงประเมินค่า • ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำ • ข้อคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกต • สารประเภทแสดงความรู้สึก

  19. ๓. สื่อ หรือ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (channel) • ช่องทางหรือตัวกลางที่เชื่อมโยงสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร • ภาษา (วัจนภาษาและอวัจนภาษา) • สื่อธรรมชาติ • สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล • สื่อสิ่งพิมพ์ • สื่ออิเล็กทรอนิกส์ • สื่อระคน / อื่นๆ

  20. 4. ผู้รับสาร (receiver) • บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับรู้ข้อมูลจากผู้ส่งสาร ทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับและมีปฏิกิริยาตอบสนอง • ผู้รับสารที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ • เปิดรับเรื่องราวข่าวสารต่างๆอยู่เสมอ • มีสมาธิ • มีปฏิกิริยาตอบสนองได้รวดเร็วและถูกต้อง

  21. 5. ปฏิกิริยาตอบสนอง (feedback) • สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเข้าใจความหมายร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร

  22. กระบวนการสื่อสารที่สัมฤทธิผลกระบวนการสื่อสารที่สัมฤทธิผล สาร สื่อ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ปฏิกิริยาตอบสนอง

  23. ประเภทของการสื่อสาร • การสื่อสารทางเดียว (one – way communication) • การสื่อสารสองทาง (two – way communication)

  24. อุปสรรคของการสื่อสาร • อุปสรรคจากผู้ส่งสาร • ขาดความรู้ • ขาดความพร้อม เช่น เจ็บป่วย • ขาดความสามารถในการถ่ายทอดหรือมีกลวิธีที่ไม่เหมาะสม • ขาดการวิเคราะห์ผู้ฟัง • มีทัศนคติแง่ลบต่อตนเอง ผู้รับสาร

  25. อุปสรรคจากสาร • เลือกสารไม่เหมาะสม • ยาก – ง่าย • มาก – น้อย • ซับซ้อน • คลุมเครือ ไม่ชัดเจน • ขัดกับความคิด ความเชื่อ ค่านิยม

  26. อุปสรรคจากสื่อ • ใช้สื่อไม่เหมาะสม • สื่อขัดข้อง • บรรยากาศ • ภาษาไม่เหมาะสม

  27. อุปสรรคจากผู้รับสาร • ขาดความรู้ • มีทัศนคติแง่ลบต่อผู้ส่งสาร /สาร • คิดว่าตนมีความรู้ดีแล้ว • ขาดความพร้อมทางร่างกาย • ขาดสมาธิ • ตั้งความหวังในการรับสารไว้สูงเกินไป

  28. ครูพลอยสอนวิชาภาษาไทย วันหนึ่งเธอสอนนักเรียนเรื่องการเขียนจดหมายสมัครงาน เธอพยายามอธิบายถึงหลักการเขียนจดหมายสมัครงานและแสดงวิธีการเขียนให้นักเรียนดูด้วย microsoftpowerpointนักเรียนต่างตั้งใจฟังจนสามารถเข้าใจหลักและวิธีการเขียนจดหมายสมัครงานตามที่ครูพลอยต้องการทุกประการ

  29. ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคการเมืองพรรคหนึ่งไปหาเสียงที่บ้านของยายมี ขอร้องให้ยายมีเลือกตนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยายมีรับปากว่าจะเลือก แต่เมื่อถึงวันเลือกตั้ง ยายมีกลับไปเลือกคนอื่น

  30. เอกสารอ้างอิงและแนะนำให้อ่านเพิ่มเติมเอกสารอ้างอิงและแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา. (๒๕๔๐). การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายของสำนวนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (๒๕๓๙). การใช้ภาษาไทย ๑. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ; และบาหยัน อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ). (๒๕๕๒). การใช้ภาษาไทย. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. . (๒๕๕๓). ภาษากับการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. ตวงรัตน์ คูหเจริญ ; และคณะ. (๒๕๓๘). ภาษาไทยพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ธีรพงศ์การพิมพ์. ผะอบโปษกฤษณะ. (๒๕๔๔). ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (๒๕๒๘). การใช้ภาษาไทย. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

More Related