1 / 13

การพัฒนาระบบบริการด้านผู้พิการ ขาขาด เขตบริการสุขภาพที่ 12

การพัฒนาระบบบริการด้านผู้พิการ ขาขาด เขตบริการสุขภาพที่ 12. จรงฤทธิ์ สังข์ประสิทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ B.PH, B.NS, M.ED กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สสจ . นราธิวาส. สถานการณ์ผลการดำเนินงานเขต ๑๒.

Download Presentation

การพัฒนาระบบบริการด้านผู้พิการ ขาขาด เขตบริการสุขภาพที่ 12

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาระบบบริการด้านผู้พิการ ขาขาด เขตบริการสุขภาพที่ 12 จรงฤทธิ์ สังข์ประสิทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ B.PH, B.NS, M.ED กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.นราธิวาส

  2. สถานการณ์ผลการดำเนินงานเขต ๑๒ ภาพรวม ๗ จังหวัดมีผู้พิการขาขาดจากการสำรวจรวม ๑,๖๘๔ คน (มีนาคม ๒๕๕๗) และได้รับบริการครบถ้วนแล้ว ๑,๑๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๗๐ ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี ๒๕๕๗ (ร้อยละ ๘๐) และจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทุกจังหวัดได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานในด้านนี้ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบฐานข้อมูล

  3. สถานการณ์ผลการดำเนินงานจังหวัดนราธิวาสสถานการณ์ผลการดำเนินงานจังหวัดนราธิวาส จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีผู้พิการขาขาดรวม ๓๑๗ คนคิดเป็นร้อยละ ๒.๘๑ ของผู้พิการทั้งหมด(๑๑,๒๕๘ คน) โดยผู้พิการขาขาดจำนวน ๑๗๘ คนได้รับบริการครบถ้วนคิดเป็นร้อยละ ๕๖.๑๕

  4. ข้อมูลกำลังคน/ขีดความสามารถข้อมูลกำลังคน/ขีดความสามารถ โรงงานทำขาเทียม มีจำนวน ๓ แห่ง คือ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ มีช่างกายอุปกรณ์ (ข้าราชการ) จำนวน ๑ คนและผู้ช่วยจำนวน ๔ คน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก มีช่างกายอุปกรณ์ (ลูกจ้างประจำ) จำนวน ๑ คน และโรงงานทำขาเทียมพระราชทานที่โรงพยาบาลตากใบ มีช่างกายอุปกรณ์ (ลูกจ้างชั่วคราว) จำนวน ๓ คน ทุกแห่งมีความสามารถในการทำขาเทียมทั้งแบบเหนือเข่า (ตามสภาพอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีอยู่) และแบบใต้เข่า

  5. รูปแบบการบริการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันรูปแบบการบริการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ขั้นเตรียมการ ๑.เตรียมสถานบริการสาธารณสุขโดยชี้แจงคำนิยามและค่าเป้าหมายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ๒.พัฒนาแบบรายงานผลการดำเนินงานทุก ๓ เดือนโดยปรับจากแบบรายงานที่มีอยู่เดิม ๓.ชี้แจงรายละเอียดตัวชี้วัด แนวทางการดำเนินงานและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้กับหน่วยงานในพื้นที่

  6. ขั้นดำเนินการ ๑.แจ้งพื้นที่สำรวจสถานการณ์ อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการของคนพิการขาขาด ๒.ประสานความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเพื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ๓.ประชาสัมพันธ์การทำขาเทียมของโรงงานทำขาเทียมพระราชทานและประชาสัมพันธ์กิจกรรมหน่วยบริการทำขาเทียมเคลื่อนที่ของกรมการแพทย์

  7. ขั้นดำเนินการ ๔.จัดทำ Flow Chart มาตรฐานขั้นตอนการดำเนินงานขึ้นทะเบียนและส่งต่อคนพิการ เพื่อรับบริการทำขาเทียม เน้นการติดตามเยี่ยมบ้านปีละ ๒ ครั้ง ๕.จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการให้บริการและส่งต่อเพื่อจัดทำขาเทียมระดับจังหวัด ตามคำสั่งสสจ.นราธิวาสที่ ๑๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ ๖.หน่วยบริการจัดบริการทำขาเทียมให้คนพิการ

  8. ขั้นประเมินผล ๑.วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานตามแบบรายงานจำแนกรายอำเภอ และตรวจสอบข้อมูลจากแบบสำรวจสถานการณ์ฯแต่ละราย หากพบความผิดปกติของข้อมูลแจ้งกลับให้พื้นที่เพื่อตรวจสอบและวางแผนการจัดบริการต่อไป ๒.ติดตามผลการขึ้นทะเบียนคนพิการขาขาดผ่านระบบโปรแกรมลงทะเบียนผู้พิการขาขาด สปสช.

  9. พักก่อน

  10. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ๑.การขาดแคลนช่างกายอุปกรณ์และมีข้อจำกัดในเรื่องศักยภาพของการทำขาเทียม (เหนือเข่า) ๒.การพัฒนาทักษะให้กับช่างกายอุปกรณ์ไม่ต่อเนื่อง ๓.บุคลากรในด้านนี้ขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน (บางแห่ง) ยังไม่ได้รับการบรรจุ ๔.ทีมสหวิชาชีพขาดองค์ความรู้ในการดูแลและติดตามคนพิการขาขาด ๕.ปฏิเสธการใช้ขาเทียม/บางรายมีอายุมาก

  11. ความต้องการในการสนับสนุนความต้องการในการสนับสนุน ๑.การเสริมสร้างขวัญกำลังใจโดยเพิ่มกรอบอัตรากำลังและบรรจุแต่งตั้งช่างกายอุปกรณ์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนที่มีความพร้อมให้เป็นข้าราชการ ๒.สนับสนุนงบประมาณส่วนกลางในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการทำขาเทียมทดแทนของเดิมที่ชำรุด

  12. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ๑.จัดทำแผนการพัฒนาศักยภาพฝึกอบรมให้กับช่างกายอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องทุกปี ๒.การพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแลและติดตามคนพิการขาขาดให้กับทีมสหวิชาชีพ/ภาคีเครือข่าย

  13. ด้วยความขอบคุณ

More Related