330 likes | 628 Views
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติ. ในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔. กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14. กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒. การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔.
E N D
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติ ในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ การศึกษาความถี่น้ำท่วมเชิงภูมิภาคสำหรับลุ่มน้ำในเขตพื้นที่สำนักชลประทานที่ ๑๔ Regional Flood Frequency Studies of River Basin in Irrigation Office 14 พื้นที่ในเขตสำนักชลประทานที่ 14 ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำเกือบทุกปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมและพายุจรต่างๆ มุ่งหน้าเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ยังความเสียหายใหญ่หลวงต่อพื้นที่ ชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแววล้อมของประเทศโดยรวม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศน์บริเวณพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมนั้นด้วย ดังนั้น จึงจำเป็น ต้องกำหนดมาตรการในการวางแผนเพื่อลดความสูญเสียจากน้ำท่วมทั้งมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง (Structural Counter Measure) และไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง (Non-Structural Counter Measure) ข้อมูลที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนได้แก่ ขนาดและความถี่ของการเกิดน้ำท่วม กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ การศึกษาความถี่น้ำท่วมเชิงภูมิภาคสำหรับลุ่มน้ำในเขตพื้นที่สำนักชลประทานที่ ๑๔ Regional Flood Frequency Studies of River Basin in Irrigation Office 14 เนื่องจากข้อมูลทางอุทกวิทยาที่ใช้ในการวิเคราะห์ความถี่น้ำท่วม ได้แก่ อนุกรมน้ำท่วมสูงสุดแบบฉับพลันรายปี (Momentary Peak Discharge Series) ได้จากสถานีวัดน้ำท่าที่ติดตั้งไว้ตามลำน้ำสายต่างๆในประเทศไทยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ได้มีการตรวจวัดไว้ตั้งแต่อดีตจรถึงปัจจุบัน และมีข้อมูลที่มีความยาวนานต่อเนื่องกันพอสมควร อย่างไรก็ตามข้อมูลปริมาณน้ำท่วมแบบฉับพลับปีนี้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะมีการตรวจวัดไว้บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทางตอนล่างของแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งชุมชน และการคมนาคมสะดวกส่วนพื้นที่ทางต้นน้ำลำธารซึ่งมีสภาพภูมิประเทศ ภูเขาสลับซับซ้อน จะยังไม่มีหรือมีแต่สั้นไม่สามารถวิเคราะห์ได้ จึงเป็นอุปสรรค์ในการวิเคราะห์ความถี่น้ำท่วมในบริเวณจุดที่ต้องการและไม่มีข้อมูลพอเพียง กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ BASIN 19 : ลุ่มน้ำเพชรบุรี BASIN 20 : ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์ BASIN 21 : ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก (จ.ชุมพร) BASIN 25 : ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก (จ.ระนอง) กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อหาความสัมพันธ์แบบ Regression Analysis ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดเฉลี่ย (Qf) กับพื้นที่ลุ่มน้ำ (A) 2.2 เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงภูมิภาค ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดในรอบปีการเกิดซ้ำ (QTr) กับพื้นที่ลุ่มน้ำ (A) 2.3 เพื่อหาความสัมพันธ์ค่าแจกแจงความถี่ปริมาณน้ำนองสูงสุดเชิงภูมิภาคแบบไร้มิติ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์อยู่ในเทอมอัตราส่วน ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดรอบปีการเกิดซ้ำต่างๆ กับปริมาณน้ำนองสูงสุดรายปีเฉลี่ย (QTr/Qf) กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ สถานีวัดน้ำท่า จำนวน 49 สถานี กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ วิธีการศึกษา 4.1 การแบ่งพื้นที่การศึกษา พื้นที่ลุ่มน้ำที่ทำการศึกษา เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 14 จึงได้แบ่งออกตามพื้นที่จังหวัด 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ BASIN 19 : ลุ่มน้ำเพชรบุรี สถานีวัดน้ำท่า จำนวน 12 สถานี รหัสสถานี B กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ BASIN 20 : ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์ สถานีวัดน้ำท่า จำนวน 18 สถานี รหัสสถานี Pr, Gt กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ BASIN 21 : ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ในเขตจังหวัดชุมพร) สถานีวัดน้ำท่า จำนวน 12 สถานี รหัสสถานี X กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ BASIN 25 : ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ในเขตจังหวัดระนอง) สถานีวัดน้ำท่า จำนวน 7 สถานี รหัสสถานี X กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ วิธีการศึกษา 4.1 การแบ่งพื้นที่การศึกษา พื้นที่ลุ่มน้ำที่ทำการศึกษา เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 14 จึงได้แบ่งออกตามพื้นที่จังหวัด 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง 4.2 รวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำนองสูงสุดรายปีของแต่ละสถานีในแต่ละลุ่มน้ำที่แบ่งไว้ 4.3 นำข้อมูลปริมาณน้ำนองสูงสุดรายปีของแต่ละสถานี มาหาค่าปริมาณน้ำนองสูงสุดรายปีเฉลี่ย (Qf) และวิเคราะห์หาความถี่ปริมาณน้ำนองสูงสุด (QTr) ด้วยการแจกแจงแบบ Gumber ในรอบปีการเกิดซ้ำ 2, 5, 10, 25, 50, 100, 500 และ 1,000 ปี กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ วิธีการศึกษา 4.4 หาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสูงสุดรายปีเฉลี่ย(Qf) กับพื้นที่ลุ่มน้ำ(A) โดยวิธี regression ในรูปสมการ Qf = a Ab ; R = regression coefficient เมื่อ Qf = ปริมาณน้ำนองสูงสุดรายปีเฉลี่ย – ลบ.ม./ วินาที A = พื้นที่ลุ่มน้ำ – ตร.กม. a , b = สัมประสิทธิ์สมการถดถอย 4.5 หาอัตราส่วนระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดในรอบปีการเกิดซ้ำ กับปริมาณน้ำนองสูงสุดเฉลี่ยของแต่ละสถานี (QTr/Qf) กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ ผลการศึกษา 1.) การศึกษาหาสมาการความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดเฉลี่ย (Qf) กับพื้นที่รับน้ำ (A) ของลุ่มน้ำต่างๆ ดังสมการ โดยการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำที่ทำการศึกษาออกตามพื้นที่จังหวัด 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง แสดงได้ดังตารางที่ 1 กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ ผลการศึกษา 2.) การหาอัตราส่วน ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดในรอบปีต่างๆ ต่อปริมาณน้ำนองสูงสุดเฉลี่ย (QTr/Qf) ของลุ่มน้ำต่างๆ แสดงในตารางที่ 2 กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ ตัวอย่างการคำนวณ การคำนวณปริมาณน้ำหลากผ่านหัวงาน โครงการฝายทดน้ำบ้านหนองยาว ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ ตัวอย่างการคำนวณ การคำนวณปริมาณน้ำหลากผ่านหัวงาน โครงการฝายทดน้ำบ้านหนองยาว ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการประเมินขนาดและความถี่ของการเกิดน้ำท่วมของลุ่มน้ำคลองหนองยาว เนื่องจาก บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำคลองหนองยาว ไม่มีสถานีวัดน้ำท่าในลุ่มน้ำ จึงกำหนดให้ให้สถานีวัดน้ำที่ใกล้เคียง ได้แก่ สถานี GT.9 ซึ่งเป็นสถานีวัดน้ำของคลองทับสะแก บริเวณบ้านกลาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่รับน้ำ 120 ตารางกิโลเมตร เป็นสถานีอ้างอิงในการประเมินหาปริมาณน้ำหลากที่เกิดขึ้นในที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำคลองหนองยาว แต่ข้อมูลนั้นสั้นและขาดช่วงไป จึงเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ความถี่น้ำท่วมเชิงภูมิภาพ ( Regional Flood Ferquency Analysis ) ในการปริมาณขนาดและความถี่ของการเกิดน้ำท่วมในลุ่มน้ำคลองหนองยาว โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดเฉลี่ย (Qf) กับพื้นที่รับน้ำคลองหนองยาว และหาอัตราส่วนของ Qtr / Qf กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ ตัวอย่างการคำนวณ การคำนวณปริมาณน้ำหลากผ่านหัวงาน โครงการฝายทดน้ำบ้านหนองยาว ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากสมการ Qf =a Ab ; R = regression coefficient เมื่อ Qf = ปริมาณน้ำนองสูงสุดรายปีเฉลี่ย – ลบ.ม./ วินาที A = พื้นที่ลุ่มน้ำ – ตร.กม. a , b = สัมประสิทธิ์สมการถดถอย ข้อมูลโครงการ พื้นที่รับน้ำเหนือจุดที่ตั้งหัวงาน = 33 ตารางกิโลเมตร สัมประสิทธิ์สมการถดถอย ; a = 6.2066 (Basin 20) สัมประสิทธิ์สมการถดถอย ; b = 0.5311 (Basin 20) Regression Coefficient ; R = 0.8095 (Basin 20) กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ ตัวอย่างการคำนวณ การคำนวณปริมาณน้ำหลากผ่านหัวงาน โครงการฝายทดน้ำบ้านหนองยาว ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แทนค่าในสมการ Qf = 6.2066 x 33 0.5311 Qf = 39.75 cms. อัตราส่วนเฉลี่ยของปริมาณน้ำนองสูงสุดในรอบปีต่าง (Qtr / Qf) รอบปีการเกิดซ้ำที่ 2 ปี : (Qtr / Qf) = 0.82 รอบปีการเกิดซ้ำที่ 5 ปี : (Qtr / Qf) = 2.11 รอบปีการเกิดซ้ำที่ 10 ปี : (Qtr / Qf) = 2.97 รอบปีการเกิดซ้ำที่ 25 ปี : (Qtr / Qf) = 4.05 รอบปีการเกิดซ้ำที่ 50 ปี : (Qtr / Qf) = 4.85 รอบปีการเกิดซ้ำที่ 100 ปี : (Qtr / Qf) = 5.65 กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ ตัวอย่างการคำนวณ การคำนวณปริมาณน้ำหลากผ่านหัวงาน โครงการฝายทดน้ำบ้านหนองยาว ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากฝายทดน้ำบ้านหนองยาว เป็นโครงการชลประทานขนาดเล็ก จึงเลือกใช้ปริมาณน้ำนองสูดสุดที่รอบปีการเกิดซ้ำ 25 ปี มาใช้ในการออกแบบปริมาณน้ำที่ไหลผ่านหัวงาน แทนค่า Qtr = Qf x (Qtr / Qf) Qtr = 39.75 x 4.05 Qtr = 160.99 cms. กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติในเขตสำนักชลประทานที่ ๑๔ สรุปผลการศึกษา การคำนวณปริมาณน้ำนองสูงสุดในลำน้ำธรรมชาติ โดยวิธีหาความสัมพันธ์แบบ Regression Analysis ระหว่างปริมาณน้ำนองสูงสุดเฉลี่ย (Qf) กับพื้นที่ลุ่มน้ำ (A)เป็นการใช้ค่าที่เป็นตัวแทนของสถานีวัดน้ำในแต่ละสถานีมาวิเคราะห์ของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการคำนวณหาค่าปริมาณน้ำนองสูดสุด ณ จุดที่พิจารณาต่างๆ เหมาะแก่การพิจารณาวางโครงการในขั้นเบื้องต้น หรือการจัดทำรายงานพิจารณาโครงการเบื้องต้น แต่ไม่ควรนำค่าที่ได้ไปใช้ในการออกแบบรายละเอียดโครงการ เนื่องจาก ค่าปริมาณน้ำนองสูงสุดที่เกิดขึ้นจริง ที่จะนำไปใช้ในการออกแบบรายละเอียดโครงการ ต้องมีการวัดน้ำจากสถานีวัดน้ำในลำน้ำนั้นๆ หรือเป็นค่าที่ได้จากการเก็บข้อมูลตามสภาพภูมิประเทศจริงๆ ในแต่ละลำน้ำนั้นๆ วิศวกรผู้ออกแบบควรคำนึงถึงข้อกำหนดดังกล่าวเป็นสำคัญ เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีความมั่งคงแข็งแรงปลอดภัยต่อการใช้งาน และมีขนาดของอาคารที่เหมาะสมเป็นการประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างโครงการ ตามแนวทางการดำเนินงาน 3 ป. ได้แก่ “ประโยชน์ ประหยัด และประสิทธิผล” กลุ่มพิจารณาโครงการ ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ 14 กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒