400 likes | 748 Views
การอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร เรื่อง การขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยสมชื่อ กอปรคุณูปการ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป. นนทบุรี เขต 2. การขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ปรัชญา ( Philosophy).
E N D
การอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรเรื่อง การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยสมชื่อ กอปรคุณูปการศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นนทบุรี เขต 2
การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญา (Philosophy) เสฐียร พันธรังสี :"ปรัชญา ได้แก่หลักฐานแห่งความรู้ ,หลักวิทยาการหรือหลักประพฤติปฏิบัติ หรือหมายถึงความเชื่ออันใดอันหนึ่ง เป็นความรู้ความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเจ้าใดๆ" หลวงวิจิตรวาทการ :"ปรัชญา หมายถึงหลักความดีที่สามารถสอนกันเองได้ คิดค้นมาใหม่ได้ ซึ่งมีจดจารึกกันไว้เพื่อศึกษากันต่อมา ไม่เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ไม่ได้มาจากเทพเจ้า หรือสวรรค์ชั้นใด" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน :"ปรัชญาเป็นวิชาว่าด้วยหลักความรู้และความจริง" เพลโต นักปรัชญากรีกผู้ยิ่งใหญ่ : "ปรัชญาหมายถึงการศึกษาหาความรู้เรื่องสิ่งนิรันดรและธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย" อริสโตเดิล : "ปรัชญาคือศาสตร์ที่สืบค้นถึงธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่โดยตัวเอง ตลอดจนคุณลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งนั้น"
ปรัชญา (Philosophy) อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปรัชญา เป็นความเชื่อที่มีเหตุผล และมีการนำความเชื่อนั้นไปใช้ในการดำรงชีวิต วิธีการของปรัชญาต้องอาศัยศาสตร์ของการอ้างเหตุผล และต้องพัฒนาศาสตร์นี้ไปด้วย เพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ วิชาปรัชญาไม่ใช่วิชาชีพ แต่เป็นวิชาชีวิต นำไปใช้เลี้ยงชีวิตไม่ได้ แต่ทำให้เรามีชีวิตที่ดีได้ การนับถือศาสนา ถึงแม้เราจะเชื่อด้วยเหตุผล แต่โดยพื้นฐานแล้วมีความเชื่อส่วนหนึ่งที่เป็นพื้นฐานที่ต้องอาศัยศรัทธา เป็นเรื่องที่อยู่นอกขอบเขตของเหตุผล หรือเป็นสิ่งที่ต้องรู้ด้วยสมรรถนะที่ไม่ใช่เหตุผล ส่วนปรัชญานั้นถือว่าทุกอย่างสอบถามด้วยเหตุผลได้
สรุป “ปรัชญา เป็น ความรู้หรือความเชื่อที่มีเหตุผล และมีการนำความรู้ความหรือเชื่อนั้น ไปใช้ในการดำรงชีวิต”
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
“เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
" เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy… คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่… Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ …และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น. (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542)
"อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวจะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก" (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญา ที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
องค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงองค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลางในการดำรงชีวิต/การปฏิบัติตนในทุกระดับ (ครอบครัว/ชุมชน/รัฐ) และการพัฒนา/บริหารประเทศ แนวคิด พอประมาณ หลักการ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ความรอบรู้ คุณธรรม เงื่อนไข รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน มีสติ แบ่งปัน เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม เป้า ประสงค์ “สมดุล อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
•การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
•เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 2 เงื่อนไข
1. ความพอประมาณ - เหมาะสมกับฐานะการเงิน - เหมาะสมกับรายได้ - สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ - ช่วงเวลาการประกอบอาชีพ - จำนวนสมาชิกในครอบครัว - ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทางภูมิประเทศและสังคม
2. ความมีเหตุผล • มีวินัยทางการเงิน ใช้เงินอย่างมีเหตุผล • เป็นแรงจูงใจในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย • มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต
3. ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี • ประหยัดอดออม • ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และสังคม • มีความมั่งคงในชีวิตและครอบครัว • สุขภาพที่ดี • ครอบครัวอบอุ่น • มีความขยัน อดทน มุ่งมั่น
4. ความรอบรู้ • รู้หลักวิชา เนื้อหาสาระ • รู้วิธีการวางแผน การออมเงิน • วิธีวิเคราะห์ รายรับรายจ่าย • รู้จักกระบวนการ วิธีการทำงาน การทำบัญชี • มีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต
5. คุณธรรม • ความซื่อสัตย์ สุจริต ใฝ่เรียนรู้ ขยัน ประหยัด มีวินัย • มีสติปัญญา ในการดำเนินชีวิต • ยึดธรรมะในการดำเนินชีวิต • ขยันหมั่นเพียร อดทน • ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือนร้อน การแบ่งปัน
การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา • มิถุนายน 2550 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา 2550-2554 • โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สถานศึกษานำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินการเป็น 4 ด้านคือ • 1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา • 2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน • 3. ด้านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน • 4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 1.2 วิชาการ 1.3 อาคารสถานที่ 1.4 งบประมาณ 1.5 ความสัมพันธ์กับชุมชน
2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2.1 การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน 2.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 2.3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.4 ผู้เรียนมีความรู้และปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 2.5 การวัดและประเมินผล
3. ด้านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน 3.1 การแนะแนวและระบบดูแลนักเรียน 3.2 กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ นักศึกษาวิชาทหาร 3.3 โครงงาน โครงการเสริมทักษะอาชีพ สิ่งประดิษฐ์ 3.4 ชุมนุม ชมรม องค์การ 3.5 การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรมหรือหลักคำ สอนศาสนา
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 4.1 การสร้างความตระหนักและเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 4.2 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.3 การดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 4.4 การติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร 4.5 การเผยแพร่แนวคิดและผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง (การประชาสัมพันธ์)
ในการประเมินของ สอศ. ได้มีการเพิ่มองค์ประกอบการประเมิน อีก 1องค์ประกอบ เป็นองค์ประกอบที่ 5 คือ5. ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จประกอบด้วย 5.1 ด้านสถานศึกษาพอเพียง 5.2 ผู้บริหารพอเพียง 5.2 ครูพอเพียง 5.3 บุคลากรพอเพียง 5.4 นักเรียนนักศึกษาพอเพียง จาก : แนวทางการนิเทศ เศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ก.พ.52)