230 likes | 521 Views
หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสาร การเตรียมการก่อนการเรียกขาน 1. ต้องจดบันทึกหรือเตรียมข้อความที่จะพูดไว้ก่อน เพื่อความรวดเร็ว การทวงถามถูกต้อง และเป็นหลักฐานในการติดต่อของสถานีตนเองอีกด้วย 2. ข้อความที่จะพูดทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ.
E N D
หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารการเตรียมการก่อนการเรียกขาน 1. ต้องจดบันทึกหรือเตรียมข้อความที่จะพูดไว้ก่อน เพื่อความรวดเร็ว การทวงถามถูกต้อง และเป็นหลักฐานในการติดต่อของสถานีตนเองอีกด้วย 2. ข้อความที่จะพูดทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ
3. ก่อนพูดต้องฟังก่อนว่าข่ายสื่อสารนั้นว่างหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่เกิดการรบกวนการทำงานของสถานีอื่น โดยต้องใช้นามเรียกขานที่กำหนดให้เท่านั้น 4. ตรวจสอบนามเรียกขานของหน่วยงานหรือบุคคลที่จะต้องทำการติดต่อสื่อสารก่อน 5. การเรียกขานหรือการตอบการเรียก ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของข่ายสื่อสารการเรียกขาน
การเรียกขานต้องครบองค์ประกอบ ดังนี้ - “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก - “จาก” - “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก - “เปลี่ยน”
การตอบรับการเรียกขาน การตอบในการเรียกขาน ครั้งแรกต้องตอบแบบเต็ม ซึ่งประกอบด้วย ก. “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก ข. “จาก” ค. “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก ง. “เปลี่ยน”
*ตัวอย่างที่ 1(ศูนย์ฯ เรียก) สายฟ้า จาก พิชิต เปลี่ยนลูกข่ายตอบ) ตอบพิชิต จาก สายฟ้า เปลี่ยน หรือ(ลูกข่ายตอบ) จาก สายฟ้า ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ) หรือ(ลูกข่ายตอบ) สายฟ้า ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ)
ขั้นตอนการติดต่อสื่อสารขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร 1. การติดต่อสื่อสารโดยทั่วไปเรียกศูนย์ฯ ที่สังกัด- การเรียกขาน / การตอบ- ใช้นามเรียกขานที่กำหนด2. แจ้งข้อความ / วัตถุประสงค์ / ความต้องการ- สั้น กะทัดรัด ชัดเจน ได้ใจความ- ใช้ประมวลสัญญาณ ว. ที่กำหนด3. จบข้อความลงท้ายคำว่าเปลี่ยน
การรับ / แจ้งเหตุฉุกเฉิน1. เมื่อพบเหตุหรือต้องการความช่วยเหลือให้แจ้งศูนย์ฯ ที่สังกัดหรือสัญญาณ ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้2. เตรียมรายละเอียด (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร) ของเหตุเพื่อจะได้แจ้งได้ทันที3. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรเปิดเครื่องรับ – ส่งวิทยุให้พร้อมไว้เพื่อจะได้ฟังการติดต่อประสานงาน รายละเอียดเพิ่มเติม
4. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรรายงานผลคืบหน้าในการประสานงานเป็นระยะ5. เมื่อมีผู้แจ้งเหตุแล้วไม่ควรสอดแทรกเข้าไป ควรฟังอย่างสงบเพื่อมิให้เกิดการรบกวนและความสับสน
มารยาทและข้อห้ามการใช้วิทยุสื่อสาร1. ไม่ติดต่อกับสถานีที่ใช้นามเรียกขานไม่ถูกต้อง2. ไม่ส่งข่าวสารที่เกี่ยวกับข่าวทางธุรกิจการค้า3. ไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร4. ไม่แสดงอารมณ์โกรธในการติดต่อสื่อสาร
5. ห้ามการรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง6. ไม่ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง และการโฆษณาทุกประเภท7. ให้โอกาสสถานีที่มีข่าวสำคัญ เร่งด่วน ข่าวฉุกเฉิน ส่งข่าวก่อน8. ไม่ควรยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องวิทยุคมนาคม9. ห้ามติดต่อสื่อสารในขณะมึนเมาสุราหรือควบคุมสติไม่ได้10. ในกรณีที่มีเรื่องเร่งด่วนต้องการส่งแทรกหรือขัดจังหวะการส่งข่าวควรรอจังหวะที่คู่สถานีจบข้อความที่สำคัญก่อนแล้วจึงส่ง
การใช้และการบำรุงรักษาการใช้และการบำรุงรักษา เครื่องวิทยุคมนาคม
เครื่องรับ–ส่งวิทยุคมนาคม1. การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมือถือไม่ควรอยู่ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ต้นไม้ใหญ่ สะพานเหล็ก หรือสิ่งกำบังอย่างอื่นที่เป็นอุปสรรคในการใช้ความถี่วิทยุ2. ก่อนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ตรวจดูว่าสายอากาศ หรือสายนำสัญญาณต่อเข้ากับขั้วสายอากาศเรียบร้อยหรือไม่3. ขณะส่งออกอากาศไม่ควรเพิ่มหรือลดกำลังส่ง (HI – LOW)4. ในการส่งข้อความ หรือพูดแต่ละครั้งอย่ากดสวิทซ์ (PTT) ไม่ควรส่งนานเกินไป (เกินกว่า 30 วินาที)
สายอากาศ1. ความยาวของสายอากาศจะต้องสัมพันธ์กับความถี่วิทยุที่ใช้งาน2. สายอากาศชนิดชัก ต้องชักสายอากาศให้สุดในขณะใช้งาน และเก็บทีละท่อน
สูตรการคำนวณหาความยาวคลื่นสูตรการคำนวณหาความยาวคลื่น วิธีการคำนวณหาความยาวคลื่น(แลมด้า)เรื่องง่ายๆที่นักวิทยุหลายคนยังไม่รู้ วิธีการคำนวณความยาวคลื่นความถี่เรามีจุดประสงค์ในการคำนวณอยู่ 2 อย่างคือ1. ต้องการคำนวณเพื่อจะนำไปสร้างสายอากาศ สูตร = 300 / ความถี่ต้องการคำนวณ * ค่า Vilocityของท่ออะลูมิเนียม
2.ต้องการคำนวณเพื่อจะนำไปตัดสายนำสัญญาณให้ได้ขนาดที่ถูกต้องตามตำรา สูตร = 300 / ความถี่ต้องการคำนวณ * ค่า Vilocityของสายนำสัญญาณ พื้นฐานการคำนวณเพื่อหาความยาวคลื่น สูตร = 300 หารด้วยความถี่ที่เราต้องการจะคำนวณ เช่น ความถี่ 165MHz = 300 / 165 = 181 cm.
คำตอบ คือ ย่านความถี่ 165mhz จะมีความยาวคลื่นเท่ากับ 181 ซม. หรือ 1 แลมด้านี้คือการคำนวณความยาวคลื่นแบบพื้นฐานเท่านั้นแต่ถ้าเราต้องการนำไปใช้งานจริงต้องคูณค่า Vilocity Factor เข้าไปด้วยเช่นเราต้องการคำนวณหาความยาวของสายนำสัญญาณเราก็จะได้สูตรดังนี้ สูตรการคำนวณ300 หารด้วยความถี่ที่ต้องการคำนวณ แล้วคูณด้วยค่า Vilocity Factor ของสายชนิดนั้นๆ
ตัวอย่าง ผมใช้สายนำสัญญาณ RG8 ซึ่งมีค่า Vilocityเท่ากับ 0.66 ใช้กับความถี่ 165MHz = 300/165 *0.66 = 120.0 cmเราจะได้ค่าความยาวของสายนำสัญญาณ 1 แลมด้าสำหรับย่านความถี่ 165MHz ยาวเท่ากับ 120.0Cm
วิธีการคำนวณเพื่อแบ่งสายนำสัญญาณให้เป็นท่อสั้นลง ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ 1/4 แลมด้าคือการนำความยาว 1 แลมด้ามาหารด้วย 4 1/8 แลมด้าคือการนำความยาว 1 แลมด้ามาหารด้วย 8 1/16 แลมด้าคือการนำความยาว 1 แลมด้ามาหารด้วย 16
ตัวอย่าง ความถี่ 165Mhz สายนำสัญญาณชนิด RG8 ยาว 1แลมด้าเท่า 120ซม. ต้องการ 1/4 แลมด้า = 120/4*1 = 30cm ต้องการ 3/4 แลมด้า = 120/ 4 * 3 = 90cm
ต้องการ 5/4 แลมด้า = 120/ 4 * 5 = 150cmต้องการ 5/8 แลมด้า = 120/ 8 *5 = 75cm