1 / 40

เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์. โดย นางศิริพรรณ รักร่วม. เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ผู้แต่ง              นายชิต  บูรทัต

luther
Download Presentation

เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ โดย นางศิริพรรณ รักร่วม

  2. เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ผู้แต่ง             นายชิต  บูรทัต ที่มาของเรื่อง     นายชิต บูรทัต ได้นำมาแต่งเป็นคำฉันท์ เมื่อพ.ศ. 2457 โดยเอามาจากนิทานสุภาษิตเรื่องหนึ่งในหนังสือ ธรรมจักษุ ของ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ซึ่งท่านได้แปลและเรียบเรียงมาจาก ภาษาบาลี จุดมุ่งหมายในการแต่ง1. เพื่อแสดงความสามารถในการแต่ง 2. เพื่อแสดงถึงโทษของการแตกสามัคคี

  3. ลักษณะคำประพันธ์ - แต่งเป็นฉันท์ปนกาพย์ เรียกว่า คำฉันท์ กาพย์ที่ใช้ - กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 ฉันท์ที่ใช้ - มี 18 ชนิด คือ 1. กมลฉันท์ 2.จิตรปทาฉันท์ 3.โตฏกฉันท์ 4. ภุชงคประยาตฉันท์ 5.มาณวกฉันท์ 6. มาลินีฉันท์ 7. วสันตดิลกฉันท์ 8.วังสัฏฐฉันท์ 9.วิชชุมมาลาฉันท์ 10.สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 11.สัทธราฉันท์ 12. สาลินีฉันท์ 13.อินทรวิเชียรฉันท์ 14. อินทรวงศ์ฉันท์ 15.อิทิสังฉันท์ 16. อุปชาติฉันท์ 17. อุปัฏฐิตาฉันท์ 18.อุเปนทรวิเชียรฉันท์

  4. บูชาพระรัตนตรัย (บทแรก) ลักษณะคำประพันธ์  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ พร้อมเบญจางคประดิษฐ์สฤษฎิสดุดี กายจิตวจีไตร ทวาร ไหว้คุณองค์พระสุคตอนาวรณญาณ ยอดศาสดาจารย์ มุนี ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง       นายชิต บูรทัต กล่าวนมัสการพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บูชาคุณบิดามารดา ครู อาจารย์ และอาศิรวาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงถึงโทษของการแตกความสามัคคี บอกวัตถุประสงค์ในการแต่งเพื่อบูชารัตนตรัย  และหากบทใดผิดพลาดไม่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ ขอให้นักปราชญ์ อภัยให้ด้วย

  5. ณ แคว้นมคธ ลักษณะคำประพันธ์    วสันตดิลกฉันท์           โบราณกาลบรมขัตติยรัชเกรียงไกร         ท้าวทรงพระนามอภิไธ       ยอชาตศัตรู          ครองเขตมเหศรวเอก        อภิเษกประสิทธิ์ภู          อาณาปวัตน์ลุบริบู          รณบรรพ์ประเพณี                            ฯลฯ  เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง   ในสมัยโบราณมีบรมกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพคนหนึ่งชื่อว่าพระเจ้าอชาตศัตรู  ครองแคว้นมคธ มีกรุงราชคฤห์เป็นเมืองหลวงทรงประกอบด้วยทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ปราศจากอริราชศัตรู มีความสงบสุขและความรุ่งเรืองมีปราสาทราชวังสวยงามพระสนมกำนัลมาก พรั่งพร้อมไปด้วยทหารที่กล้าหาญมาก บ้านเมืองมีความสุขสนุกสนาน มีเครื่องดีด สี ตี เป่า ดุจเมืองสวรรค์

  6. ทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรม คือ ธรรม 10 ประการ 1. การให้ 2. การสำรวมกายวาจา 3. การสละ 4. ความซื่อตรง 5. ความอ่อนโยน 6. ความเพียรละความชั่ว 7. ความไม่มักโกรธ 8. ความไม่เบียดเบียน 9. ความอดทน 10. ความประพฤติไม่ผิดมรรยาท

  7. วัสสการพราหมณ์ ลักษณะคำประพันธ์  กาพย์ฉบัง 16    อันอัครปุโรหิตาจารย์           พราหมณ์นามวัสสการ       ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชิน     กลเวทโกวิทจิตจินต์            สำแดงแจ้งศิล      ปศาสตร์ก็จบสบสรรพ์                                 ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์ เป็นมหาอำมาตย์ของพระเจ้าอชาตศัตรู มีความเฉลียวฉลาดเรียนจบไตรเพทและศิลปะศาสตร์ 18 ประการ  เป็นที่โปรดปรานยิ่งนัก  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงปรารถนาจะได้แคว้นวัชชีไว้ในอำนาจแต่ไม่กล้ายกทัพไปรุกราน  เพราะชาววัชชีมี อปริหานิยธรรม7 ประการ

  8. ศิลปศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ คือ วิชาชีพชั้นสูง 18ประการ ที่พระมหากษัตริย์พึงเรียน มีดังนี้ 1. รู้ฟังเสียงสัตว์ 2. รู้พิจารณาภูเขาและต้นไม้ 3. รู้คำนวณเลข 4. รู้วิชาช่าง 5. รู้แบบแผนอันดี 6. รู้หลักปกครองคน 7. รู้ฤกษ์ยามและวิถีโคจรของดาว 8. รู้ลำนำและดนตรี 9. รู้รักษาโรค 10. รู้ใช้ธนู 11. รู้โบราณคดี 12. รู้ทิศอันเป็นมงคล 13. รู้พยากรณ์ 14. รู้มายาเล่ห์เหลี่ยมและเหตุผลต่างๆ 15. รู้เลี้ยงสัตว์และปลูกพืช 16. รู้ยุทธศาสตร์ 17. รู้อัตถ์ ภาษิต และโวหาร 18. รู้แต่งและฟังฉันท์

  9. อปริหานิยธรรม อปริหานิยธรรม คือ ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มี 7 ประการ  ดังนี้  1.  เมื่อมีราชกิจเกิดขึ้น  มาประชุมพร้อมกัน 2.  เมื่อเลิกประชุมก็เลิกพร้อมกัน ทำกิจที่ควรทำพร้อมกัน 3.  ประพฤติตามขนบประเพณีไม่เปลี่ยนแปลง 4.  เคารพนับถือผู้ใหญ่ 5.  ไม่ประพฤติผิดในบุตรภรรยาของคนอื่น 6.  เคารพยำเกรง บวงสรวงเจดียสถาน 7.  ให้ความคุ้มครองป้องกันแก่พระอรหันต์

  10. ปรึกษาอุบาย ลักษณะคำประพันธ์   อุปชาติฉันท์                  บรมกษัตริย์ปรา                 รภการปราบปราม             กับวัสสการพราหมณ์                  พฤฒิเอกอาจารย์             ปรึกษาอุบายดำ                        ริกระทำไฉนการ             จะสมนิยมภาร                        ธุระปรารถนาเรา                                     ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง      พระเจ้าอชาตศัตรูทรงปรึกษาและนัดแนะกับวัสสการพราหมณ์ ว่าถ้าพระองค์ ออกว่าราชการ พระองค์จะทรงปรึกษาเรื่องจะไปตีแคว้นวัชชี ให้วัสสการพราหมณ์คัดค้านว่าไม่ควรยกทัพไป  เพราะกษัตริย์แคว้นลิจฉวีมีความสามัคคีกัน เก่งกล้าในการรบและไม่เคยคิดมาเบียดเบียนแคว้นมคธมาก่อน จะทำให้ชาวโลกจะติเตียนได้

  11. พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสร้งพิโรธพระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสร้งพิโรธ  ลักษณะคำประพันธ์       อีทิสังฉันท์ เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ศึก บ ถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแกล้งพิโรธกระทืบพระบาท   บริภาษวัสสการพราหมณ์ ว่ายังไม่เกิดสงครามก็หวาดกลัว  คงจะกลัวภัยมาถึงตน ทรงเปรียบวัสสกาพราหมณ์ ว่าเป็น “กาที่หวาดกลัวนายพรานธนู”     จากนั้นพระองค์ทรงสั่งให้ราชมัลฉุดกระชาก วัสสการพราหมณ์ออกไปลงโทษ และขับไล่ให้ออกไปจากแคว้นมคธ

  12. วัสสการพราหมณ์รับโทษ ลักษณะคำประพันธ์   อินทรวิเชียรฉันท์ ควรเพื่อจะสมเพชภยเวทนาการ ด้วยท่านพฤฒาจารย์พะกระทบประสบทัณฑ์ โดยเต็มกตัญญูกตเวทิตาครัน ใหญ่ยิ่งและยากอันนรอื่นจะอาจทน ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์หวังผลประโยชน์ของแผ่นดิน  จึงทนรับโทษทัณฑ์ต่างๆยากที่ใคร จะทนได้  ราชมัลโบยสุดฝีมือจนวัสสการพราหมณ์สลบไป  เมื่อฟื้นขึ้นมาก็ถูกโกนผมและ ขับไล่ออกจากเมือง ประชาชนมาดูวัสสกาพราหมณ์ที่ใจอ่อนก็ร้องไห้ ที่เกลียดชังก็ซ้ำเติม ที่เป็นกลางก็คิดในแง่ดี  ทีมีใจเมตตาก็ให้สิ่งของ วัสสการพราหมณ์ก็ทำตนสมบทบาท เพื่อมิให้ประชาชนสงสัย

  13. เข้าเมืองเวสาลี ลักษณะคำประพันธ์   วิชชุมมาลาฉันท์ แรมทางกลางเถื่อนห่างเพื่อนหาผู้ หนึ่งใดนึกดูเห็นใครไป่มี หลายวันถั่นล่วงเมืองหลวงธานี นามเวสาลีดุ่มเดาเข้าไป เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์เดินทางอยู่หลายวัน จึงเข้าเขตเมืองไพศาลี และผูกไมตรีกับชาวบ้าน   เล่าเรื่องของตนพร้อมทั้งแสดงบาดแผลเป็นประจักษ์พยาน  ชาวบ้านก็เล่าลือ  จนความทราบไปถึงราชสำนัก   เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีจึงประชุมปรึกษากัน และเห็นว่าแม้ ราชคฤห์เป็นศัตรูกับไพศาลีก็จริงอยู่ แต่ควรรับเลี้ยงวัสสการพราหมณ์ไว้ก่อน  หากไม่ชอบมาพากลค่อยไล่ไป จากนั้นก็ให้ราชบุรุษ ไปตามวัสสการพราหมณ์มา

  14. วัสสการพราหมณ์เข้าที่ประชุมวัสสการพราหมณ์เข้าที่ประชุม ลักษณะคำประพันธ์   อินทรวงศ์ฉันท์ ราชาประชุมดำ ริกระทำประการะดั่งดำรัสตระบัดยัง วจนัตถ์ปวัตติพลัน ให้ราชภัฏโป ริสไปขมีขมัน หาพราหมณ์ชราอัน บุรเนรเทศมา ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง กษัตริย์ลิจฉวีให้ราชบุรุษไปนำวัสสการพราหมณ์เข้ามาในที่ประชุม และซักถามเหตุผลที่ได้พลัดพรากจากเมืองมา แต่เนื่องจากราชคฤห์กับไพศาลี เป็นศัตรูกัน จึงยังระแวงอยู่ไม่รู้จะรับรองอย่างไร

  15. วัสสการพราหมณ์สรรเสริญกษัตริย์ลิจฉวีวัสสการพราหมณ์สรรเสริญกษัตริย์ลิจฉวี ลักษณะคำประพันธ์   วสันตดิลกฉันท์ ข้าแต่พระจอมจุฬมกุฎ บริสุทธิกำจาย ปรากฏพระยศระบุระบาย ตระบะเบิกระบือบุณย์ เมตตาทยาลุศุภกรรม อุปถัมภการุณย์ สรรเสริญเจริญพระคุณสุน ทรพูนพิบูลงาม ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์ ได้กล่าวสรรเสริญกษัตริย์ลิจฉวีโดยประการต่างๆ เช่น มีพระทัยเมตตาปรานี ประดุจแม่น้ำสายใหญ่ไหลเย็น ใคร่จะได้พึ่งพระบรมโพธิสมภาร และได้เล่าว่า ตนเป็นผู้คัดค้านไม่ให้พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศุตรูทรงพิโรธจึง สั่งลงโทษดังที่ปรากฏ และตนเองจะขอจงรักภักดีต่อกษัตริย์ลิจฉวีจนกว่าชีวิตจะหาไม่

  16. วัสสการพราหมณ์ได้เป็นครูของราชกุมารวัสสการพราหมณ์ได้เป็นครูของราชกุมาร ลักษณะคำประพันธ์   วังสัฏฐฉันท์ ประชุมกษัตริย์รา ชสภาสดับคะนึง คะเน ณ ทุกข์รึง อุระอัดประหวัดประวิง ประกอบระกำพา หิรกายน่าจะจริง มิใช่จะแอบอิง กลอำกระทำอุบาย ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง กษัตริย์ลิจฉวีพิจารณาแล้วคิดว่าน่าจะเป็นจริง เพราะมีบาดแผลเป็นประจักษ์ จึงรับเลี้ยงดูและให้ดำรงตำแหน่งครูราชกุมารลิจฉวีและเป็นผู้พิพากษาอรรถคดี

  17. ได้รับความไว้วางใจ ลักษณะคำประพันธ์   มาลินีฉันท์ กษณะทวิชะรับฐา นันดร์และที่วา จกาจารย์ นิรอลสะประกอบภาร พีริโยฬาร และเต็มใจ ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์ เมื่อได้รับตำแหน่งแล้วก็ไม่เกียจคร้าน มีความยุติธรรม ทำงานโดยปราศจากอคติ 4 ประการ เวลาสอนก็เอาใจใส่ ทำให้กษัตริย์ลิจฉวีและ คนอื่นๆไว้วางใจ

  18. เริ่มดำเนินตามแผนที่วางไว้เริ่มดำเนินตามแผนที่วางไว้ ลักษณะคำประพันธ์   ภุชงคประยาตฉันท์ ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงกาล กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์วัญจโนบาย มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัครสนธิ์สโมสร ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง เมื่อวัสสการพราหมณ์สังเกตเห็นว่าไม่มีใครสงสัยแล้ว ก็เริ่มดำเนินตามแผนที่วางไว้ เมื่อถึงเวลาสอนหนังสือ ก็เรียกราชกุมารคนหนึ่งเข้ามาในห้องเฉพาะ แล้วถามว่า “เมื่อชาวนาจะไถนาต้องไถด้วยโคคู่ใช่ไหม” ราชกุมารรับว่าใช่ วัสสการพราหมณ์ได้เชิญให้ออกไป ราชกุมารอื่นเข้ามาถามเมื่อได้ฟังก็ไม่เชื่อ ทำให้ราชกุมารเกิดความแคลงใจกัน

  19. ทำตามแผนต่อ ลักษณะคำประพันธ์   มาณวกฉันท์ ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม หนึ่ง ณ นิยม ท่านทวิชงค์ เมื่อจะประสิทธิ์ วิทยะยง เชิญวรองค์ เอกกุมาร ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง เวลาต่อมา วัสสการพราหมณ์ก็เชิญราชกุมารองค์หนึ่งไปห้องเฉพาะตัว ถามว่าทานข้าวกับอะไร เมื่อสอนหนังสือเสร็จ วัสสการพราหมณ์ก็กลับไป บรรดาราชกุมารได้ทราบคำถามของอาจารย์แล้วไม่เชื่อ ไม่ไว้วางใจราชกุมารนั้นและเกิดความขุ่นเคืองกัน

  20. ทำตามแผนต่อ ลักษณะคำประพันธ์   อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ทิชงค์เจาะจงเจตน์ กลห์เหตุยุยงเสริม กระหน่ำและซ้ำเติม นฤพัทธก่อการณ์ ละครั้งระหว่างครา ทินวารนานนาน เหมาะท่าทิชาจารย์ ธ ก็เชิญเสด็จไป ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์พยายามหาเหตุให้กุมารแตกความสามัคคีกันอีก ก็เชิญราชกุมารอีกองค์ไปถามว่าจริงหรือเปล่าที่ราชกุมารองค์โน้นว่าท่านเป็นคนขัดสน และเชิญอีกองค์มาถามว่าจริงหรือเปล่าที่ท่านเป็นคนพิการ ราชกุมารโกรธกัน ระแวงกัน และแตกแยกกัน ต่างก็อวดอ้างอิทธิพลของราชบิดาของตน

  21. กษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีกษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคี ลักษณะคำประพันธ์   สัทธราฉันท์ ลำดับนั้นวัสสการพราหมณ์ ธ ก็ยุศิษยตาม แต่งอุบายงาม ฉงนงำ ปวงโอรสลิจฉวิดำ ริ ณ วิรุธก็สำ คัญประดุจคำ ธ เสกสรร ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์ยุแหย่ให้ราชกุมารลิจฉวีแตกความสามัคคีกัน เมื่อราชกุมารไปบอกแก่พระราชบิดาของตน พระราชบิดามิไตร่ตรองเชื่อคำโอรส ก็เกิดแตกความสามัคคีและโกรธแค้นกันในใจ สามปีต่อมา กษัตริย์ลิจฉวีก็แตกความสามัคคีกัน

  22. ลองตีกลองประชุม ลักษณะคำประพันธ์   สาลินีฉันท์ พราหมณ์ครูรู้สังเกต ตระหนักเหตุถนัดครัน ราชาวัชชีสรร พจักสู่พินาศสม ยินดีบัดนี้กิจ จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ เริ่มมาด้วยปรากรม และอุตสาหแห่งตน ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง วัสสการพราหมณ์สังเกตเห็นว่า กษัตริย์ลิจฉวีปราศจากความสามัคคีกัน จึงตีกลองประชุมเป็นการทดลอง ก็ไม่มีกษัตริย์องค์ใดมาประชุม ต่างก็เพิกเฉย ธุระไม่ใช่ โดยบอกว่าใครเป็นใหญ่ก็ไปประชุม

  23. แจ้งข่าวพระเจ้าอชาตศัตรูแจ้งข่าวพระเจ้าอชาตศัตรู ลักษณะคำประพันธ์   อุปัฏฐิตาฉันท์ เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม พราหมณ์เวทอุดม ธ ก็ลอบแถลงการณ์ ให้วัลลภชน คมดลประเทศฐาน กราบทูลนฤบาล อภิเผ้ามคธไกร ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง เมื่อเห็นช่องทางแล้ว วัสสการพราหมณ์ก็ให้คนสนิทไปกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูว่า ขณะนี้กษัตริย์ลิจฉวีได้แตกความสามัคคีแล้ว ขอเชิญพระองค์ยกทัพมาโดยเร็ว

  24. พระเจ้าอชาตศัตรูเตรียมทัพพระเจ้าอชาตศัตรูเตรียมทัพ ลักษณะคำประพันธ์   สุรางคนางค์ 28 ไม่มีตัวอย่างบทประพันธ์ ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงทราบ จึงตรัสบอกมหาอำมาตย์ให้จัดกองทัพให้ยิ่งใหญ่ เหล่าทหารก็ฮึกเหิม ชื่นบานเต็มใจสนองพระเดชพระคุณ ทหารจะงามก็เมื่ออยู่ในสนามรบ ถ้าเกียจคร้านย่อมไม่ต่างกับบุรุษสามัญ เสียงกองทัพดังกึกก้อง รอฤกษ์การเดินทัพ

  25. ประกอบพิธีตามโบราณราชประเพณี ลักษณะคำประพันธ์   โตฏกฉันท์ ไม่มีตัวอย่างบทประพันธ์ ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง ครั้นได้เวลาศุภฤกษ์ ชีพ่อพราหมณ์ก็ประกอบพิธีตามไสยศาสตร์ ตอนเช้าวันอาทิตย์ พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จสรงสนาน ฉลองพระองค์ตามโบราณราชประเพณี เสด็จตรวจพลทัพ

  26. ฤกษ์เคลื่อนทัพ ลักษณะคำประพันธ์   กาพย์ฉบัง 16 ไม่มีตัวอย่างบทประพันธ์ ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง ครั้นได้เวลาที่เป็นมงคล พราหมณ์ก็ตีฆ้องชัย พนักงานประโคมดนตรี พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จประทับช้างพระที่นั่ง มีเครื่องประดับตามโบราณราชประเพณี เสนา 4 เหล่าพรั่งพร้อมกันจัดทัพเป็นหมวดหมู่ ปลุกเสกตัวอาบว่านยา มีอาวุธครบมือ เคลื่อนไปตามท้องถนน มีเสียงดนตรีพิณพาทย์ประโคมกึกก้องปานแผ่นดินจะถล่ม มุ่งหน้าสู่แคว้นวัชชี

  27. พักระหว่างทาง ลักษณะคำประพันธ์   กมลฉันท์ ไม่มีตัวอย่างบทประพันธ์ ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพไป ผ่านป่า ภูเขา ท้องนา ไม่รีบร้อน ตอนกลางวันเดินทาง ตอนกลางคืนพักนอน วันรุ่งขึ้นก็เดินทางต่อไปจนถึงเมืองไพศาลี ซึ่งต้องข้ามน้ำไป

  28. พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชี ลักษณะคำประพันธ์   วิชชุมมาลาฉันท์ ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง ชาววัชชีเมื่อทราบว่ามีศึกมาก็หวาดกลัว ตื่นเต้น หน้าซีดเผือด ต่างหลบหนีเอาตัวรอด มุขอำมาตย์ให้ตีกลองประชุม แต่ไม่มีกษัตริย์ลิจฉวีองค์ใดมาประชุม ต่างนิ่งเฉย และเกี่ยงงอนกัน

  29. กษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคี ลักษณะคำประพันธ์   อินทรวิเชียรฉันท์ ภินท์พัทธสามัค คิยพรรคพระราชา ชาวลิจฉวีวา รจะพ้องอนันต์ภัย ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง พระเจ้าอชาตศัตรูเห็นว่าไม่มีกษัตริย์องค์ใดมาป้องกันบ้านเมือง จึงรู้ว่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีแล้ว เพราะวัสสการพราหมณ์หาเรื่องยุแหย่ดุจลูกข่างที่บรรดาทารกขว้างไป จึงทรงบัญชาให้ทหารทำแพไม้ไผ่ข้ามแม่น้ำเข้าสู่ไพศาลีได้อย่างสะดวก

  30. ประตูเมืองไม่มีคนปิด ลักษณะคำประพันธ์   จิตรปทาฉันท์ ต่างก็บคลา ณสภาคาร แม้พระทวาร บุรทั่วไป รอบทิศด้าน และทวารใด เห็นนรไหน สิจะปิดมี ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง ชาวไพศาลีเห็นข้าศึกข้ามแม่น้ำมาเป็นจำนวนมาก ก็พากันตกใจหวาดกลัว โกลาหลกันไปทั่ว มุขอำมาตย์ตีกลองประชุมจนกลองแทบจะขาดทะลุ ก็ไม่มีใครมาประชุม ประตูเมืองทุกทิศก็ไม่มีใครปิดเลย

  31. พระเจ้าอชาตศัตรูได้ไพศาลี ลักษณะคำประพันธ์   สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ เรื่องต้นยุกติก็แต่จะต่อพจนเติม ภาษิตลิขิตเสริม ประสงค์ ปรุงโสตเป็นคติสุทราภรณจง จับข้อประโยชน์ตรง ตริดู ฯลฯ เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึง พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จผ่านประตูเมืองไพศาลีโดยไม่มีใครต่อต้านเลย และวัสสการพราหมณ์ก็นำเสด็จเข้าปราบกษัตริย์ลิจฉวีได้ โดยไม่เปลืองกำลังแม้แต่น้อย เมื่อจัดการเมืองไพศาลีเรียบร้อยก็เดินทางกลับกรุงราชคฤห์

  32. ความรู้เพิ่มเติม ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง • สามัคคีคือพลัง • สงครามนำมาซึ่งความทุกข์และความเดือดร้อนของคนในประเทศ • การละทิฐิมานะ ละอคติ จะทำให้บุคคลนั้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข • อย่าเป็นคนหูเบา ใจเบา • การขาดความสามัคคี เป็นเหตุนำมาซึ่งความหายนะ

  33. ลักษณะนิสัยของตัวละครลักษณะนิสัยของตัวละคร • วัสสการพราหมณ์ • รักชาติบ้านเมือง ยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติ • จงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรู • กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เชื่อมั่นในความคิดของตน • รอบคอบและมีความเพียร พระเจ้าอชาตศัตรู • มีพระปรีชาสามารถในการปกครองบ้านเมือง • ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม • มีพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ • มีพระทัยทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง • มีพระทัยที่จะแผ่พระบรมเดชานุภาพ ทรงรอบคอบและดำเนินการจนสำเร็จ

  34. กษัตริย์ลิจฉวี- มีความพร้อมเพรียงสามัคคีกัน แต่ภายหลังขาดวิจารณญาณ ขาดสติสัมปชัญญะ ไม่คิด ไตร่ตรอง หูเบา ในที่สุดก็ เสียเมือง- มีพระเมตตาอย่างยิ่ง (ทรง ชุบเลี้ยงวัสสการพราหมณ์) ราชบุตรกษัตริย์ลิจฉวี • อ่อนต่อความคิดเพราะยังอยู่ในวัยเด็กเพิ่งจะรุ่นหนุ่ม • หุนหันพลันแล่น ถือตัวเองเป็นใหญ่ ขาดการยั้งคิด เป็นเหตุให้เกิดความหมางใจกันจนผู้ใหญ่เกิดความแตกแยก ในที่สุดบ้านเมืองก็พินาศ

  35. แคว้นมคธ เป็นแคว้นหนึ่งในอินเดียภาคเหนือ เมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้ทรงประดิษฐานพระศาสนาลงในแคว้นนี้ก่อน ราชคฤห์เป็นเมืองหลวงเดิมของแคว้นมคธ แคว้นวัชชี เป็นสหพันธรัฐ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคันธกะ แควหนึ่งของแม่น้ำคงคา มีกรุงเวสาลีเป็นเมืองหลวง มีพื้นที่เล็กกว่าแคว้นมคธ มีพรมแดนติดต่อกับแคว้นมคธ กษัตริย์ลิจฉวีผลัดกันปกครองโดยระบอบสามัคคีธรรม มีรัฐสภาเป็นที่ประชุมปรึกษาราชการ แผ่นดิน มีวัฒนธรรมประจำชาติ 7ประการ เรียกว่า อปริหานิยธรรม บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองไม่น้อยกว่าแคว้นมคธ กรณีพิพาทของแคว้นมคธกับแคว้นวัชชี เรื่องแย่งเครื่องเทศ อันมีค่าที่ภูเขาพรมแดนซึ่งอยู่ห่างจากแม่น้ำคงคาไปประมาณ 8 โยชน์

  36. จบการเล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ (พอสังเขป) แบบที่ 1 งานที่มอบหมาย งานกลุ่ม (กลุ่มเดิมที่นำเสนอข้อบังคับของฉันท์ฯ) • ให้นักเรียนอธิบายเปรียบเทียบเหตุการณ์ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์กับเหตุการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเปรียบเทียบประกอบให้ชัดเจน • ทำลงในกระดาษ A4 • ส่งภายในวันที่ 17 ก.พ. 2553 (วันสุดท้าย)

  37. คำสั่ง... ให้นักเรียนอธิบายเปรียบเทียบเหตุการณ์ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ กับเหตุการณ์ของบ้านเมือง ในปัจจุบัน ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน ตัวอย่างรูปแบบการทำชิ้นงาน ชื่อสมาชิกกลุ่ม / ชื่อวิชา / ชื่อครูผู้สอน

  38. แบบที่ 2 งานที่มอบหมาย งานกลุ่ม • นำเสนอผังภูมิฉันทลักษณ์ของฉันท์ ที่ได้รับมอบหมาย (ทำก่อนเรียน) • สรุปเรื่องย่อ วาดภาพประกอบ • บอกข้อคิดที่ได้จากเรื่อง • แสดงความคิดเห็นว่าข้อคิดนั้นนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

  39. เรื่องสามัคคีเภทตอน ................................... เรื่องย่อ.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ข้อคิด.......................................................................................................................................................................................................................................ข้อคิดนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ในเรื่องเกี่ยวกับ.......................................................................................................................................................................................................................................... รูปแบบการทำชิ้นงาน สมาชิกกลุ่ม /วิชา /ผู้สอน

  40. ตัวอย่างภาพวาด

More Related