470 likes | 707 Views
การพัฒนานวัตกรรมพื่อการจัดการเรียนรู้. ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน ศึกษานิเทศก์ สพป . นครปฐม เขต 1 เรียบเรียง. แผนการอบรมครู วันที่ 9 พฤษภาคม 2556. คำถามสามข้อ. ให้ตั้งคำถามในเรื่องเกี่ยวกับต่อไปนี้ เรื่องละ 1 ข้อ โดยให้เรียงลำดับตามเรื่องที่อยากรู้มาก ที่สุด นวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้
E N D
การพัฒนานวัตกรรมพื่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนานวัตกรรมพื่อการจัดการเรียนรู้ ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน ศึกษานิเทศก์ สพป.นครปฐม เขต 1เรียบเรียง
แผนการอบรมครู วันที่ 9 พฤษภาคม 2556
คำถามสามข้อ ให้ตั้งคำถามในเรื่องเกี่ยวกับต่อไปนี้ เรื่องละ 1 ข้อ โดยให้เรียงลำดับตามเรื่องที่อยากรู้มากที่สุด • นวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ • การสร้างเครื่องมือวัดผล • การหาประสิทธิภาพนวัตกรรม • เขียนชื่อ เลขที่ โรงเรียน เขตพื้นที่ ที่มุมขวามือบนของกระดาษ
ความหมายของ “นวัตกรรม” • “นวัตกรรม (Innovation)” • หมายถึง การทำโดยใช้แนวคิดและวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางาน • “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)” หมายถึง เทคนิควิธีการ กระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ
ดังนั้นความสำคัญของนวัตกรรมต่อการเรียนรู้ดังนั้นความสำคัญของนวัตกรรมต่อการเรียนรู้ คือ • ช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ
ลักษณะสำคัญของนวัตกรรมลักษณะสำคัญของนวัตกรรม • 1. นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น • 2. นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนด • 3. น่าสนใจ สนุกสนาน • 4. ลดเวลาของครู • 5. ประหยัดทรัพยากร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • ที่สำคัญที่สุดคือ • นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนด
การพัฒนานวัตกรรม การจัดทำนวัตกรรมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องใช้วิธีระบบ (System Approach) ประกอบด้วย ก. ขั้นตอนการเตรียมการสร้าง ข. ขั้นตอนการดำเนินการสร้าง ค. ขั้นตอนการประเมินนวัตกรรม
ก. ขั้นตอนการเตรียมการสร้าง • 1. ศึกษาหลักสูตร 1.1. ศึกษาตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 1.2 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 1.3 วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์และจัดลำดับเนื้อหาย่อย 1.4 จัดลำดับของจุดประสงค์การเรียนรู้ตามลำดับ 1.5 กำหนดภารกิจของผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้ (Task) ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ก. ขั้นตอนการเตรียมการสร้าง (ต่อ) • 2. ศึกษาค้นคว้าแนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง • เช่น -เทคนิคการสอน คู่มือการจัดการเรียนรู้เรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ --การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป -ชุดการเรียนรู้ -แบบฝึก -บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน -หนังสืออ่านประกอบ ฯลฯ
ก. ขั้นตอนการเตรียมการสร้าง (ต่อ) • เลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่นเลือกสร้าง “ชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนของครู” • 3. การเขียนเค้าโครงการพัฒนาและนำนวัตกรรมไปใช้ เป็นการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น • 4. ลงมือสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ข. ขั้นดำเนินการ • 1. นำไปใช้ประกอบการสอนของครู • 2. ใช้จัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน • 3. ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง • 4. ใช้สอนซ่อมเสริม
ค. ขั้นประเมินผล • 1. สอบวัดความรู้ความเข้าใจตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด • 2. ประเมินเจตคติหรือความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยนวัตกรรม
ประเภทของนวัตกรรม • นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้จัดการเรียนรู้มีหลายประเภท • ในที่นี้ขอแบ่งประเภทของนวัตกรรมเป็น 2 ประเภท ดังนี้ • 1. ประเภทวัสดุ อุปกรณ์ • 2. ประเภทเทคนิควิธี
ลักษณะที่ดีของนวัตกรรมลักษณะที่ดีของนวัตกรรม • 1. นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น • 2. นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนด • 3. น่าสนใจ สนุกสนาน • 4. ลดเวลาของครู • 5. ประหยัดทรัพยากร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบทั่วๆ ไปของนวัตกรรมคู่มือนวัตกรรม • 1. คู่มือการใช้นวัตกรรมสำหรับครู • 2. คำชี้แจงสำหรับนักเรียน • 3. แบบทดสอบหรือแบบประเมินนักเรียนก่อนการใช้นวัตกรรมพร้อมเฉลย • 4. ใบงาน แบบฝึก ใบความรู้หรือชุดกิจกรรมที่จัดไว้เป็นหน่วยย่อยๆ พร้อมแบบประเมินหรือแบบทดสอบประจำหน่วยย่อย (แผนจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยย่อย) • 5. แบบทดสอบหรือแบบประเมินหลังเรียน • 6. แบบประเมินความคิดเห็นหรือความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยนวัตกรรม • 7. บรรณานุกรมที่ใช้อ้างอิงหรือเป็นแหล่งข้อมูลในการสร้างนวัตกรรม
การเขียนเค้าโครงการพัฒนาและแผนการนำนวัตกรรมไปใช้การเขียนเค้าโครงการพัฒนาและแผนการนำนวัตกรรมไปใช้ • โดยทั่วไปการเขียนเค้าโครงการวิจัย มีหลักการใหญ่ ๆ คือ • 1. กำหนดปัญหาและความจำเป็นที่ต้องพัฒนา • 2. สร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหา/พัฒนา • 3. การจัดกิจกรรมการแก้ปัญหา/การพัฒนา • 4. การวัดและประเมินผล
ประเด็นการเขียนเค้าโครงงานวิจัยและความหมายประเด็นการเขียนเค้าโครงงานวิจัยและความหมาย • 1. การตั้งชื่อเรื่อง 1.1 กะทัดรัด ชัดเจน ให้สามารถสื่อได้ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร กับใคร 1.2 แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหา 1.3 ภาษาชัดเจน อ่านง่าย ถ้าเป็นศัพท์เทคนิคต้องเป็นที่ยอมรับกันในสาขานั้น
2. การคัดเลือกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • 2.1 ทันสมัย • 2.2 ชี้นำและให้ข้อมูลเพียงพอ • 2.3 มีบรรณานุกรมให้สืบค้น • 2.4 เสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ • 2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องพิจารณาจาก • - ชื่อเรื่อง • - ตัวแปรที่ศึกษา • - ประชากรที่ศึกษา
กรอบแนวคิดในการวิจัย • จัดทำชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้เรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ • นักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ที่กำหนดและมีความพึงพอใจในการเรียน
คำถามในการวิจัย • “การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ จะทำให้นักเรียนมีผลการเรียนเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดหรือไม่หรือมีความรู้สูงขึ้นหรือไม่ และจะมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับใด”
ตัวแปร • ตัวแปรต้น / ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดก่อนหรือที่เรียกว่า “ตัวแปรเหตุ” ในที่นี้คือ “การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ” • ตัวแปรตาม / ตัวแปรผล (Dependent Variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดเนื่องมาจากตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) ในที่นี้คือ “ผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ และระดับความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยวิธีนี้”
สมมุติฐาน ข้อที่ 1 ชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ข้อที่ 2 ผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (สูงขึ้น) ข้อที่ 3 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ มีความพึงพอใจในระดับมาก
นิยามศัพท์เฉพาะ • เป็นการเอาคำสำคัญในสมมุติฐานมาอธิบายให้เข้าใจตรงกันคล้ายกับการนิยามปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เช่นนิยามเกี่ยวกับคำว่า “การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ…หมายถึง……………..” “เกณฑ์ที่กำหนด…หมายถึง……………..” “ความพึงพอใจ” “ระดับมาก…หมายถึง……………..” “ชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ…หมายถึง……………..”
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ให้เขียนถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเป็นผลกระทบและเป็นประโยน์ที่ • มากกว่าวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เช่น “นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้น”
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • ในการวิจัยครั้งนี้อาจดำเนินการกับนักเรียนทั้งห้อง หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน เราก็จัดว่าเป็นประชากรของการพัฒนาครั้งนี้ • แต่ถ้ามีนักเรียนมาก หรือหลายห้องเรียนและไม่ต้องการดำเนินการวิจัยกับนักเรียนทุกคนก็ต้องใช้วิธีสุ่มตัวอย่างซึ่งมีหลายวิธี อาจสุ่มโดยใช้นักเรียนแต่ละคนเป็นหน่วยสุ่ม หรือสุ่มเป็นห้องเรียน • นักเรียนที่สุ่มได้เรียกว่าตัวอย่าง แต่การสุ่ม ต้องให้ได้ตัวอย่างที่มีคุณลักษณะเหมือนประชากร อย่างน้อย 30 คน เรียกนักเรียนกลุ่มนี้ว่า กลุ่มตัวอย่าง ตรงนี้ต้องเขียนอธิบายให้ชัดเจน • (ต้องไปหาอ่านเรื่องนี้จากเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง)
นวัตกรรมที่ใช้ • ให้เขียนว่าใช้นวัตกรรมอะไร มีโครงสร้างหรือองค์ประกอบของนวัตกรรมเป็นอย่างไร (ย้อนไปศึกษาเรื่อง องค์ประกอบของนวัตกรรม)
ปฏิทินและระยเวลาการวิจัย ให้ระบุขั้นตอนและระยะเวลาดังนี้ • ขั้นตอนการเตรียมการสร้าง • ขั้นตอนการดำเนินการสร้าง • ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม • ขั้นตอนการนำไปใช้จริง
ขั้นตอนการเตรียมการสร้าง • วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ • ศึกษารูปแบบของนวัตกรรมที่เราสนใจและเหมาะสมกับเนื้อหา
ขั้นตอนการดำเนินการสร้าง • เขียนจุดประสงค์และกำหนดภารกิจของผู้เรียนตามลำดับขั้นการเรียนรู้ • จัดทำข้อทดสอบที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน • จัดทำหน่วยการเรียนรู้ย่อยๆ ตามลำดับของจุดประสงค์การเรียนรู้และภารกิจของผู้เรียน ให้มีรายละเอียดครบตามที่ต้องการเช่น ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบประจำหน่วยย่อย สื่ออื่นๆ ฯลฯ • จัดทำคำชี้แจงสำหรับครู คำชี้แจงสำหรับนักเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ แหล่งอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
ตัวอย่างการศึกษาตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้จัดลำดับของจุดประสงค์การเรียนรู้ตามลำดับ 1. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ของราก ลำต้นและใบได้ 2. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหน้าที่ของรากแต่ละประเภทพร้อมยกตัวอย่างได้ 3. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหน้าที่ของลำต้นแต่ละประเภทพร้อมยกตัวอย่างได้ 4. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหน้าที่ของใบแต่ละประเภทพร้อมยกตัวอย่างได้
วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์และจัดลำดับเนื้อหาย่อย
กำหนดภารกิจของผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้ (Task) ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
12. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • 12.1 ชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 • 12.2 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 30 ข้อ • 12.3 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ประกอบการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบสอบถามแบบชนิดมาตราส่วนประเมินค่า จำนวน 1 ฉบับ
13. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 1. สถิติพื้นฐาน • ประชากร หรือกลุ่มเป้าหมาย ค่าเฉลี่ย ใช้สัญลักษณ์ เป็น ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สัญลักษณ์ เป็น • กลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ย ใช้สัญลักษณ์ เป็น X ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สัญลักษณ์ เป็น SD
13. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ • สถิติเพื่อการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเครื่องมือ • 1. IOC • 2. ความยากง่าย • 3. ความเชื่อมั่น • 4. ค่าอำนาจจำแนก • 5. E1/E2
13. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ • สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน 1. คะแนนความก้าวหน้าในการเรียน นำคะแนนก่อนเรียนหักออกจากคะแนนหลังเรียน 2. ค่าดัชนีประสิทธิผล 3. t-test