1 / 70

บทที่ 2 ทรัพย์และทรัพยสิทธิ

บทที่ 2 ทรัพย์และทรัพยสิทธิ. หัวข้อ. ทรัพย์ และทรัพย์สิน ประเภทของทรัพย์ ส่วนควบ อุปกรณ์ ดอกผล ทรัพย์นอกพาณิชย์ ประเภทของสิทธิในที่ดิน ทรัพยสิทธิ การได้มาซึ่งทรัพย์และทรัพยสิทธิ. ทรัพย์. ทรัพย์สิน. หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง

lupita
Download Presentation

บทที่ 2 ทรัพย์และทรัพยสิทธิ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 ทรัพย์และทรัพยสิทธิ

  2. หัวข้อ • ทรัพย์ และทรัพย์สิน • ประเภทของทรัพย์ • ส่วนควบ อุปกรณ์ ดอกผล • ทรัพย์นอกพาณิชย์ • ประเภทของสิทธิในที่ดิน • ทรัพยสิทธิ • การได้มาซึ่งทรัพย์และทรัพยสิทธิ

  3. ทรัพย์ ทรัพย์สิน • หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง • หมายถึงวัตถุที่สามารถมองเห็นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ ด้วยตา สัมผัส หรือจับต้องได้ • หมายถึง ทั้งทรัพย์ และสิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น

  4. ทรัพย์สิน • สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น กระแสไฟฟ้า อากาศ, ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน • อาจมีราคา คือ สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามีราคาต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด เช่น ลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล เถ้ากระดูกของพ่อแม่ • อาจถือเอาได้ หมายถึง สิ่งนั้นสามารถเข้าหยิบ จับ ถือด้วยตนเองได้ และหวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้าเกี่ยวข้องได้ด้วย

  5. ประเภทของทรัพย์(แบ่งโดยพิจารณาการแบ่งแยก)ประเภทของทรัพย์(แบ่งโดยพิจารณาการแบ่งแยก) • ทรัพย์แบ่งได้ คือทรัพย์ที่แบ่งออกจากกันเป็นส่วนๆ แล้วยังคงรูปบริบูรณ์ดังเช่นทรัพย์เดิม เช่น ข้าวสาร ถั่ว งา น้ำตาล • ทรัพย์แบ่งไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกัน โดยให้คงภาวะเดิมของทรัพย์ ความสำคัญ: การจัดการทรัพย์เมื่อต้องมีการแบ่งกัน เช่น มาตรา 1364 วรรค 1“การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน”

  6. ประเภทของทรัพย์(พิจารณาจากการจำหน่ายจ่ายโอน)ประเภทของทรัพย์(พิจารณาจากการจำหน่ายจ่ายโอน) • ทรัพย์นอกพาณิชย์ คือทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้ และโอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย -ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ คือ ทรัพย์ที่ไม่สามารถจะนำมาครอบครอง หรือยึดถือเป็นของตน เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาว - ทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ทรัพย์สินที่มีกฎหมายห้ามมิให้โอนให้แก่กัน หากฝ่าฝืนการโอนย่อมเป็นอันมิชอบด้วยกฎหมายและมีผลตกเป็นโมฆะเช่น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในค่าอุปการะเลี้ยงดู

  7. มาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา • มาตรา 1598/41 สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นจะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี

  8. ข้อสังเกต :การห้ามโอน กฎหมายอาจห้ามโอนในบางลักษณะได้ เช่น ห้ามโอนโดยทางนิติกรรม แต่ไม่ห้ามโอนโดยทางมรดก หรือห้ามโอนบางช่วงเวลา เช่น ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

  9. ประเภทของทรัพย์(พิจารณาจากการจำหน่ายจ่ายโอน)ประเภทของทรัพย์(พิจารณาจากการจำหน่ายจ่ายโอน) • ทรัพย์ในพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ความสำคัญ: เพื่อให้ประชาชนทราบว่าทรัพย์บางประเภทไม่ สามารถที่จะยึดถือ หรือโอนให้แก่กันได้ เพื่อที่จะไม่หลงเข้า ทำนิติกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในภายหลัง

  10. ประเภทของทรัพย์(แบ่งโดยพิจารณาการเคลื่อนย้าย)ประเภทของทรัพย์(แบ่งโดยพิจารณาการเคลื่อนย้าย) • อสังหาริมทรัพย์ • สังหาริมทรัพย์ ความสำคัญ: การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์แต่ละประเภท กฎหมายกำหนดวิธีการที่แตกต่างกัน

  11. 1.ที่ดิน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สังหาริมทรัพย์ :(น) ทรัพย์ที่นำไปได้ เช่น แหวน สร้อย โต๊ะ เก้าอี้ อสังหาริมทรัพย์ (ม.139) • หมายถึง พื้นดิน พื้นน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง • ข้อสังเกต ดินที่ขุดหรือแยกออกมาจากที่ดิน จะพ้นสภาพจากอสังหาริมทรัพย์ กลายเป็นสังหาริมทรัพย์

  12. 2. ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินอันมีลักษณะเป็นการถาวร • เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้เช่น บ้านเรือน สะพาน อนุสาวรีย์ ต้นไม้ • ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินอันมีลักษณะเป็นการถาวร พิจารณาจาก เจตนาของผู้นำทรัพย์มาติดว่า

  13. 3. ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน • ทรัพย์เหล่านั้นต้องประกอบหรืออยู่ในพื้นดินจนเป็นส่วนเดียวกันกับที่ดิน เช่น แร่ธาตุ กรวด หิน ดิน ทราย เศษกิ่งไม้ • ทรัพย์ที่ถูกแยกจากที่ดิน ทรัพย์นั้นจะสิ้นสภาการเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ทรายที่ถูกดูดขึ้นมา

  14. 4. ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน • ทรัพยสิทธิ หมายถึง สิทธิต่างๆอันเกี่ยวกับทรัพย์ • ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หมายถึง สิทธิต่างอันเกี่ยวกับที่ดิน เช่น สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกินสิทธิจำนอง เป็นต้น

  15. 5. ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์ที่ติดกับที่ดิน ได้แก่ สิทธิต่างอันเกี่ยวกับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน • ทรัพย์อันติดกับที่ดิน เช่น ต้นไม้ ตึก อาคารบ้านเรือน • ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน เช่น สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน • เช่น มาตรา 1402 “บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือนบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า”

  16. 6. ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน • ได้แก่ สิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น สิทธิในการการสัมปทานเหมือนแร่

  17. สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย - ทรัพย์ที่นำไปได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ - สิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิจำนำ ในคอมพิวเตอร์ รถยนต์

  18. สังหาริมทรัพย์ยังอาจแบ่งได้ 2 ประเภท โดยใช้เกณฑ์การทำตามแบบของนิติกรรม คือ • สังหาริมทรัพย์ธรรมดา เช่น จักรยานยนต์ นาฬิกา โทรศัพท์ เป็นต้น • สังหาริมทรัพย์พิเศษ อันได้แก่ เรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ • การได้มาซึ่งสังหาริมทรัพย์พิเศษจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ (ม.1302)

  19. ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์ • ส่วนควบ • อุปกรณ์ • ดอกผล

  20. ส่วนควบ มาตรา 144 “ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถือว่าเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์ไม่อาจแยกออกจากกันได้ นอกจากจะต้องทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง หรือสภาพไป”

  21. สาระสำคัญของส่วนควบ • ส่วนควบจะต้องประกอบไปด้วยทรัพย์ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป มีสภาพเคยอยู่ต่างหากจากกัน มาประกอบหรือรวมเข้าด้วยกัน จนไม่อาจแยกออกจากกันได้นอกจากทำให้ บุบสลาย ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนแปลง รูปทรง หรือสภาพไป - จอคอมพิวเตอร์ Notebook - ฝากระโปร่งรถยนต์

  22. สาระสำคัญของส่วนควบ • ทรัพย์ที่จะเป็นส่วนควบต้องเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์อีกอันหนึ่ง สาระสำคัญคือหากไม่มีทรัพย์ที่เป็นส่วนควบแล้วจะทำให้ทรัพย์นั้นไม่สามารถใช้ได้สมประโยชน์ - เป็นสาระสำคัญโดยสภาพ เช่น หลังคาบ้าน - เป็นสาระสำคัญโดยจารีตประเพณี เช่น เตาผิง เตาไฟ ในบ้านเมืองหนาว

  23. สาระสำคัญของส่วนควบ • ส่วนควบจะมีขึ้นเมื่อสามารถกำหนดได้ว่าทรัพย์อย่างหนึ่งมีความสำคัญมากกว่าทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง

  24. ผลของการเป็นส่วนควบ • เจ้าของทรัพย์ ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นส่วนควบนั้น (ม.145 ว.2) • เช่น นาย ก. เป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งมีบ้านปลูกไว้หลังหนึ่ง และมีต้นสักรอบบ้านอีก 30 ต้น ดังนี้บ้านและต้นไม้ย่อมเป็นส่วนควบ หากว่านาย ก. ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้นาย ข.ไป นาย ข. ย่อมมีกรรมสิทธิ์ทั้งที่ดิน บ้าน และต้นสักทั้งหมด (เว้นแต่ตกลงว่าตนขายเฉพาะที่ดิน ไม่ขายต้นสัก และบ้าน)

  25. ข้อยกเว้นหลักส่วนควบ!!!ข้อยกเว้นหลักส่วนควบ!!! ทรัพย์บางอย่างแม้เข้าลักษณะเป็นส่วนควบ แต่กฎหมายมิให้ถือว่าเป็นส่วนควบของทรัพย์ ดังนี้ 1. ไม้ล้มลุก ธัญพืชอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้ครั้งหนึ่ง หรือหลายครั้งต่อปี เช่น พืชผักสวนครัว ข้าวโพด ถั่วลิสง ข้าว

  26. 2. ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือโรงเรือนเพียงชั่วคราว เช่น อาคารที่ปลูกสร้างเพื่อแสดงสินค้าประจำปี 1 เดือนแล้วรื้อถอนไป

  27. 3. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่น ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้น (มาตรา 146 ตอนท้าย)

  28. ผลของการไม่เป็น “ส่วนควบของทรัพย์” • เมื่อไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์ใดแล้ว เจ้าของทรัพย์ก็ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ไม่เป็นส่วนควบนั้น ๆ • เช่น นาย ก. ให้นาย ข.มาเช่าที่ดิน เพื่อทำโรงงานเป็นเวลา 20 ปี เช่นนี้ โรงงานย่อมไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน เพราะนาย ข.เป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน ดังนั้นเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง นาย ก. จะไม่ยอมให้นาย ข. รื้อถอนโรงงานจากที่ดินไม่ได้เว้นแต่ นาย ก. จะขอซื้อ หรือยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ก.

  29. อุปกรณ์

  30. ความมุ่งหมายเรื่องส่วนควบความมุ่งหมายเรื่องส่วนควบ • ก็เพื่อป้องกันการแยกกันถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่กฎหมายถือว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อสงวนสารัตถแห่งทรัพยากร กฎหมายบัญญัติเสียว่า ให้กรรมสิทธ์ในบรรดาส่วนควบทั่งหลายตกไปเป็นของบุคคลแต่คนเดียว

  31. อุปกรณ์ (Accessories) มาตรา 147 อุปกรณ์ หมายถึง สังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานมีเจตนาชัดแจ้งหรือโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น ได้นำเอาสังหาริมทรัพย์นั้นมาเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์ในการจัดการ ดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธานและเจ้าของทรัพย์ประธานได้นำมาติดต่อ หรือมาปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดให้เป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ประธานนั้น

  32. อุปกรณ์ (Accessories) 1. สังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น หรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ประธาน 2. เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ซึ่งเป็นทรัพย์ประธานเป็นอาจิณ 3. โดยวัตถุประสงค์เพื่อ ก. ประโยชน์แก่การจัดการดูแล เช่น กระเป๋า Notebook ข. ใช้สอย เช่น ขาตั้งกล้องถ่ายรูป หรือ ค. รักษา เช่น สัญญากันขโมย

  33. ถ้านำมาใช้ด้วยเหตุผลอื่นเช่น เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้ ไม่ใช่ทรัพย์อุปกรณ์อาทิเช่น หมอนอิง หมอนรองศีรษะในรถยนต์ เป็นต้น

  34. รถยนต์ กับ ล้ออะไหล่ โดยปกตินิยมย่อมเป็นทรัพย์ที่ติดกับไปกับรถยนต์เสมอ เพื่อเป็นล้อสำรองในการใช้รถ ดังนั้นถือว่าเป็น “อุปกรณ์”ได้ เพราะปกตินิยม • รถยนต์ กับ ถังดับเพลิง ไม่เป็นปกตินิยมที่ต้องมีในรถยนต์ แต่ถ้าเจ้าของเจตนาเอามาไว้ใช้ในรถยนต์เป็นอาจิณก็เป็น “อุปกรณ์” ได้ เพราะโดยเจตนาที่จัดแจ้ง

  35. ข้อพิจารณา 1. ต้องมีทรัพย์ประธาน : ซึ่งอาจเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ 2. อุปกรณ์จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ เสมอ 3. อุปกรณ์จะต้องไม่มีการรวมสภาพกับทรัพย์ประธาน

  36. เจ้าของทรัพย์ประธานเป็นผู้ นำมาติด หรือปรับเข้าไว้หรือโดยประการอื่น อุปกรณ์ต้องใช้ประจำกับทรัพย์ประธานเป็นอาจิณ การแยกอุปกรณ์เพียงชั่วคราว ไม่ทำให้ทรัพย์นั้นขาดจากการเป็นอุปกรณ์

  37. เช่น นาย ก. ซื้อเชือกลากรถ กับสายชาร์ตแบตเตอรี่ มาใช้กับรถของตนเอง เช่นนี้ทั้งสองสิ่งเป็นอุปกรณ์ของรถยนต์ แต่หากนาย ก. ยืมทั้งสองสิ่งมาจากเพื่อนบ้านเพื่อนำติดไว้กับรถระหว่างเดินทางไปต่างจังหวัด เช่นนี้ไม่ใช่อุปกรณ์เพราะไม่ใช่ทรัพย์ของนาย ก.

  38. ผลทางกฎหมายเกี่ยวกับ “อุปกรณ์” อุปกรณ์ ย่อมตกติดไปกับตัวทรัพย์ประธาน เว้นแต่จะกำหนดไว้ให้เป็นอย่างอื่น เช่น รถยนต์ย่อมต้องมีล้ออะไหล่เป็นอุปกรณ์ (เสมอ) และมีถังดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ (เสริม) เข้าไปด้วย ดังนั้นเมื่อได้ขายรถยนต์ไปก็ต้องส่งมอบทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์ทั้งหลายนั้นไปด้วย(ยกเว้นแต่จะแสดงเจตนาว่าไม่รวม อุปกรณ์)

  39. ดอกผลของทรัพย์ • ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ • ดอกผลธรรมดา และ • ดอกผลโดยนิตินัย

  40. ดอกผลธรรมดา • หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมและสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น(ม.148 ว.2) • ข้อพิจารณา • ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จากการมี หรือใช้ทรัพย์นั้น ตามปกติ • จากการมีทรัพย์ เช่น เขากวาง ขนแกะ • จากการใช้ทรัพย์ เช่น พ่อแม่พันธ์สัตว์ • ดอกผลเกิดขึ้นเมื่อ สิ่งนั้นขาดจากทรัพย์

  41. ดอกผลนิตินัย • หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่น เพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ (ม.148 ว.3) • ดอกผลนิตินัย อาจเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ค่าเช่า ข้าวเปลือก ดอกเบี้ย หรือประโยชน์อย่างอื่นก็ได้ เช่น การได้ใช้ทรัพย์ • ดอกผลนิตินัยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้อื่นให้เจ้าของทรัพย์เนื่องจากได้ใช้ทรัพย์นั้น เช่น ค่าเช่านา เป็นสิ่งที่ผู้เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า เนื่องจากการที่ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์จากที่นา

  42. ผลทางกฎหมายของดอกผลของทรัพย์ผลทางกฎหมายของดอกผลของทรัพย์ • เจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิในดอกผลที่เกิดจากตัวทรัพย์นั้น ยกเว้นแต่ มีสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ก. ขายที่ดินซึ่งมีต้นลำไย ซึ่งกำลังติดผล ให้แก่ ข. เช่นนี้ ถ้าไม่ตกลงเป็นอย่างอื่น ผลลำไย เมื่อเก็บเกี่ยวได้ ย่อมเป็นสิทธิของ ข. ยกเว้นแต่ ก. กับ ข. จะตกลงกันว่า การซื้อขายไม่รวมถึงผลลำไย

  43. ทรัพย์สินของแผ่นดิน

  44. ทรัพย์นอกพาณิชย์ • ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ คือ ทรัพย์ที่ไม่สามารถจะนำมาครอบครอง หรือยึดถือเป็นของตน หรือนำไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาว ฯลฯ • ทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ทรัพย์สินที่จะนำมาจำหน่ายจ่ายโอนเช่นทรัพย์สินทั่วไปไม่ได้หากฝ่าฝืนการกระทำ หรือนิติกรรมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย (โมฆะ) เช่น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในค่าอุปการะเลี้ยงดู ที่ดินที่มีข้อกำหนดห้ามจำหน่ายจ่ายโอน จะสละหรือโอนมิได้

  45. ประเภทของทรัพย์(พิจารณาจากผู้เป็นเจ้าของ)ประเภทของทรัพย์(พิจารณาจากผู้เป็นเจ้าของ) ทรัพย์สินของเอกชน เจ้าของ ทรัพย์สินของแผ่นดิน

  46. ทรัพย์สินของแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน 2. ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา

  47. 1. ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา หมายถึง ทรัพย์สินที่เป็นของแผ่นดิน(รัฐ) ทั้ง“อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์” เช่น ที่ราชพัสดุใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน รถยนต์ พิมพ์ดีด computer ตู้เย็น ฯลฯ

  48. ผลของการเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาผลของการเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา 1. สามารถถูกแย่งการครอบครอง หรือการครอบครองปรปักษ์ ได้ตามกฎหมาย(เช่นเดียวกับ ทรัพย์สินของเอกชน) 2. ห้ามยึดทรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อ นำมาชำระหนี้ หรือยึดเพื่อบังคับตามคำพิพากษา 3. สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้

  49. 2. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นทรัพย์สินของแผนดิน เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน

More Related